วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

เครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้เปิดรับโครงการเมืองไทยตะกาฟุล

คณะกรรมการเมืองไทยชารีอะห์และผู้บริหารเมืองไทยตะกาฟุล เข้าร่วมหารือกับคณะทำงานเครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้เกี่ยวกับโครงการเมืองไทยตะกาฟุล ที่โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี เมื่อวันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้
การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในกรอปความร่วมมือระหว่างเมืองไทยตะกาฟุลและเครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้
ในด้านการให้บริการเมืองไทยตะกาฟุลแก่พี่น้องมุสลิมโดยมีท่านอาจารย์อรุณ บุญชม ประธานคณะกรรมการเมืองไทยชารีอะห์เป็นหัวหน้าคณะทำงานของเมืองไทยตะกาฟุล และ ตัวแทนจากเครือข่ายรวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาหลายท่านเข้าร่วม อาทิเช่น รศ.ดร.อิสมาแอล อาลี ผู้อำนวยการอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี ดร.มะรอนิง สาแลมิง ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิกฮ์ซึ่งเป็น อ.ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี ดร.อับดุลฮาลิม ไซซิง คณบดีคณะอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามยะลา เมืองไทยตะกาฟุลเป็นโครงการของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เพื่อให้บริการที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามแก่พี่น้องมุสลิม
โดยเล็งเห็นว่าโครงการตะกาฟุลที่เป็นที่ยอมรับในประเทศมาเลเซียเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องมุสลิม จึงดำเนินการเพื่อให้บริการที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องมุสลิมในประเทศไทยบ้าง โดยใช้หลักของการมอบอำนาจให้บริษัทเป็นผู้บริหารจัดการ ในฐานะที่บริษัทเป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีความมั่นคง ในการประชุมดังกล่าวได้มีการหารือในด้านหลักวิชาการศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของเมืองไทยตะกาฟุล ทั้งนี้ อ.อรุณ บุญชม ประธานคณะกรรมการเมืองไทยชารีอะห์ ได้กล่าวว่า “การประชุมดังกล่าวเป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่าย เนื่องจากเป็นการประชุมเพื่อหาข้อสรุปในแนวทางการดำเนินการร่วมกัน ในช่วงเริ่มต้นการดำเนินการในหลายๆด้านต้องดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาต อาจจะไม่ได้ดังใจทั้งหมด แต่หากเราร่วมมือกันและเข้มแข็ง เสียงของเราก็จะดังขึ้น กฎระเบียบต่างๆ ก็อาจเป็นไป ตามที่เราต้องการได้” ขณะเดียวกัน อ.บรรจง บินกาซัน กรรมการเมืองไทยชารีอะห์ และนักแปล นักเขียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ให้ได้ข้อคิดเห็นว่า “อยากให้มองว่าตะกาฟุลเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่ามองว่าเป็นเรื่องซื้อ-ขาย ทุกๆฝ่ายได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้และขอให้เหนียตว่าเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะทำให้กลุ่มเหนียวแน่นและมั่นคงขึ้น” การประชุมดังกล่าวเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ เจาะลึกเรื่องการดำเนินการของเมืองไทยตะกาฟุลว่าดำเนินการได้ถูกต้องตามหลักศาสนาอย่างไรบ้าง จะมีการนำมาปรับใช้กับวิถีชีวิตมุสลิมและการดำเนินงานของสหกรณ์ได้อย่างไร ตลอดการประชุมมีการถาม-ตอบและแบ่งปันข้อคิดเห็นซึ่งกันและกันจากท่านผู้รู้ในสาขาต่างๆ
และสามารถสรุปได้ว่า ว่าจะมีสหกรณ์บางส่วนดำเนินการนำร่องไปก่อน แล้วแต่สหกรณ์ไหนจะรับอาสา ทั้งนี้รศ.ดร.อิสมาแอล อาลีได้แสดงความคิดเห็นกับสำนักข่าวมุสลิมไทยต่อตะกาฟุลว่า
“ในปัจจุบันเรื่องประกันมีความจำเป็นและเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต มนุษย์มีความต้องการในเรื่องต่างๆมากขึ้น อย่างไรก็ดีให้พิจารณาดูว่าอันไหนถูกต้องมากที่สุดก็สนับสนุน ไม่ใช่คำนึงถึงผลประโยชน์ ให้สนับสนุนตามหลักการ แนะนำว่าสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้แก้ไข และให้รับและนำไปเผยแพร่ ผลักดันสิ่งที่ดีที่สุด
ขณะเดียวกันก็ให้พิจารณาดูที่ปรึกษาด้วย ที่ปรึกษาไม่ใช่แค่เป็นมุสลิมเท่านั้น แต่ต้องรู้ละเอียดเกี่ยวกับการประกันและหลักชารีอะห์ ตลอดจนดูแลการดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักอิสลาม”
อาจารย์อรุณ บุญชม
บรรยากาศการประชุม

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552

ก้าวสำคัญของ ibank ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยความหวังของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย


พล.ท.สมชาย วิรุฬหผล ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย


เมื่อวานนี้ พล.ท.สมชาย วิรุฬหผล ประธานกรรมการ พร้อมด้วย คุณสัญญา ปรีชาศิลป์ ผู้จัดการส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและสื่อสารองค์กร ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพเลี้ยงขอบคุณคณะสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ที่ห้องอาหารมุสลิมชื่อดัง สินธรสเต็ก (www.steaksinthorn.com)

โดยมีสื่อเข้าร่วมงาน ดังเช่นสำนักข่าวมุสลิมไทย (www.muslimthai.com), หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ, หนังสือพิมพ์เดะพับลิค, หนังสือพิมพ์กัมปง, และนิตยสารนิสา ภายหลังที่การจัดงานเปิดตัวภาพลักษณ์ใหม่ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBank เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างสูง

ซึ่ง พล.ท.สมชาย วิรุฬหผล ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวมุสลิมไทยในประเด็นต่างๆ อย่างน่าสนใจ

ความคืบหน้า อิสลามมิกบอนด์

ท่านได้กล่าวว่า Ibank มีแผนระดมทุนออกพันธบัตรอิสลามมิก หรืออิสลามมิกบอนด์ โดยมีธนาคารอิสลามฯ เป็นที่ปรึกษาการเงิน จากการเดินทางไปตะวันออกกลาง มีนักลงทุนจากคูเวตสนใจเข้ามาลงทุนซื้ออิสลามมิกบอนด์ ซึ่งออกโดยรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เช่น ปตท. กฟผ. โดยต้องการซื้อประมาณ 3,000 ล้านบาท และนักลงทุนจากดูไบมีความประสงค์ต้องการซื้อประมาณ 200 ล้านบาท โดยคาดว่าในอนาคตอิสลามมิกบอนด์จะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทาง ธนาคารอิสลามฯ เองจะต้องระดมทุนจากประเทศอาหรับและประเทศมุสลิมให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของภาครัฐ ดังเช่นสายการบิน หรือแม้แต่โครงการขยายรถไฟฟ้าสายต่างๆในกรุงเทพมหานคร

กรณีการทำธุรกิจส่งออก และธุรกิจอาหารฮาลาล มีวงเงินค้ำประกันสูงถึง 3,000-5,000 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่สถาบันการเงิน ในการเปิดแอลซีกับผู้ส่งออก นอกจากนั้น ธนาคารอิสลามฯ ยังมีแผนในการเปิดสาขาที่ดูไบและบาห์เรน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจไทยในตะวันออกกลางอีกด้วย

การตอบรับจากลูกค้ามุสลิม
ปัจจุบันนี้กลุ่มลูกค้าหลักของ ธนาคารอิสลามฯ เป็นลูกค้ามุสลิมกว่า 60% นอกนั้นจะเป็นลูกค้าต่างศาสนิก ในการทำธุรกรรมทางด้านการเงิน เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วน จะมีมุสลิมมาใช้บริการกับทางธนาคารประมาณ 40% โดยทางธนาคารอิสลามฯ หวังว่าในอนาคตจะมีมุสลิมมาใช้บริการมากยิ่งขึ้น


คณะสื่อมวลชน

การพัฒนาบุคลากรของ Ibank
ผู้สื่อข่าวมุสลิมไทยสอบถามเกี่ยวกับพนักงานในองค์ ซึ่งได้คำตอบว่า ธนาคารอิสลามฯ ยังคงต้องพัฒนาบุคลากรต่างๆอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันนี้พนักงานของธนาคารอิสลามฯ จะเป็นมุสลิมประมาณ 65% พุทธศาสนิกชน 33% ทั้งนี้มีพนักงานที่นับถือศาสนาคริสต์ด้วยประมาณ 2%
พร้อมกันนั้น ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าจากกลางปีที่แล้ว แม้ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับปัญหาทางเศรฐกิจ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้รับพนักงานเพิ่มกว่า 100 ตำแหน่ง และภายในปีนี้จะรับเพิ่มอีกกว่า 50 ตำแหน่ง ซึ่งผู้สนใจที่จะร่วมงานกับทางธนาคารอิสลามฯ สามารถติดต่อรับขอรับใบสมัครงานตามสาขาของธนาคารอิสลามฯ ใกล้บ้าน

ผลประกอบการของธนาคารฯ
ปี 2551 ธนาคารมีผลกำไรกว่า 40 ล้าน ทั้งนี้ในปี 2552 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยคาดการว่าจะมีผลกำไรประมาณ 200 ล้านเป็นอย่างน้อย พร้อมกันนั้นธนาคารมีแผนที่จะเปิดสาขาต่าง อย่างน้อย 4 สาขา ดังเช่น ที่จังหวัดอยุธยา,นครศรีธรรมราช,กรุงเทพ สาขาแจ้งวัฒนะ

ในเร็วๆนี้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จะมีธนาคารเคลื่อนที่หรือ Ibank Mobile เพื่อคอยให้บริการรับ ฝาก ถอนและบริการธุรกรรมต่างๆ กับพี่น้องมุสลิม ยังมัสยิดและงานต่างๆ โดย Ibank mobile จะมีสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์องค์กรได้เป็นอย่างดียิ่ง

ความร่วมเรื่อง Islamic Index กับตลาดหลักทรัยพ์แห่งประเทศไทย
สำหรับนักธุรกิจมุสลิมที่สนใจเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามฯมีข่าวดีว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและธนาคารอิสลามฯ กำลังจะเปิดบริการ Islamic Index ในเร็วๆนี้ เพื่อบริการการลงทุนในตลาดหุ้นที่ถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานเกินรอ

ส่วนความคืบหน้าการดำเนินการตามนโยบายการพื้นฟูและการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
• โครงการสินเชื่อสู่ผู้ประกอบการท่องเที่ยววงเงินสินเชื่อ มูลค่า 5,000 ล้านบาท
• โครงการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย
- โครงการสินเชื่อเพื่อทดแทน Soft Loan มูลค่า 5,000 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 8 โครงการ มูลค่า 10,000 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมอาชีพ มูลค่า 200 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลาม 2,000 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 1,000 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการธุรกิจ SME 2,000 ล้านบาท
- โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการ 3 จังหวัดชายแดนใต้ของธนาคารแห่งประเทศไทย 500 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการธุรกิจฮาลาล 2,000 ล้านบาท

ซึ่งทั้งนี้ยังมีโครงการอื่นๆอีกมากมาย โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ibank.co.th หรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ อาคารคิวเฮ้าส์ อโศก ถนนสุขุมวิท 21 และมีสาขารวม 26 สาขาทั่วประเทศ โทร.0-2-650-6999 - สำนักข่าวมุสลิมไทย

ธอท.เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา 3 ผลิตภัณฑ์ หวังแบ่งเบาภาระผู้บริโภคช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

ธอท.เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา 3 ผลิตภัณฑ์ หวังแบ่งเบาภาระผู้บริโภคช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว


ธนาคาร อิสลามแห่งประเทศไทย เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา ด้วย 3 ผลิตภัณฑ์ สินเชื่อเพื่อไถ่ถอน หรือเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ที่ให้วงเงินสูงสุดถึง 110% ปลอดเงินต้น 3 ปี และสินเชื่อรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต/สินเชื่อบุคคล ที่สามารถเลือกผ่อนชำระได้นานถึง 6 ปี พร้อมปลอดชำระเงินต้นได้สูงสุด 6 เดือน หวังช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ผู้บริโภค

นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น เพราะสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะชะลอการปล่อยสินเชื่อ ประกอบกับหลายอุตสาหกรรมมีการเลิกจ้างงาน ทำให้ผู้บริโภคมีปัญหาภาระหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วน นี้ธนาคารอิสลามได้ให้ความร่วมมือในการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยการออกโครงการสินเชื่อซับน้ำตา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ให้กับผู้บริโภค

สำหรับโครงการสินเชื่อซับน้ำตา ประกอบไปด้วย 3 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ทีหนึ่ง สินเชื่อเพื่อไถ่ถอนที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อไถ่ถอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง บ้าน ทาวเฮาส์ อาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของตนเองและครอบครัวจากสถาบันการเงินอื่น ให้วงเงินสูงสุด 110% ของภาระหนี้คงเหลือ

ผลิตภัณฑ์ที่สอง คือ สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ให้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน ซึ่งทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ จะกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 30 ปี และสามารถขอปลอดชำระเงินต้นได้สูงสุด 3 ปี

นาย ธีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า สินเชื่อเพื่อไถ่ถอนที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย จะคิดอัตรากำไรแบบคงที่พิเศษต่ำสุด ปีที่ 1 คิดอัตรากำไร 4.25% ปีที่ 2 และ 3 อัตรากำไร 6.00% พร้อมปลอดเงินต้น 3 ปี

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่สาม คือ สินเชื่อรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล เพื่อไถ่ถอนหนี้บัตรเครดิตหรือหนี้ส่วนบุคคลจากสถาบันการเงินอื่น วงเงินไม่เกิน 100% ของภาระหนี้คงเหลือรวมทั้งหมดในกรณีที่ลูกค้ารีไฟแนนซ์มากกว่า 1 วงเงิน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า ซึ่งหากมีบุคคลค้ำประกันสามารถเลือกปลอดชำระเงินต้นได้สูงสุด 6 เดือน และมีระยะเวลาชำระสูงสุด 6 ปี อัตรากำไร SPRR+7.75%

“การออก โครงการสินเชื่อซับน้ำตา เชื่อว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และแบ่งเบาภาระหนี้ให้กับผู้บริโภคได้ ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินรัฐวิสาหกิจก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน นโยบายรัฐบาลในการแบ่งเบาภาระหนี้ภาคประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม โดยโครงการนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 31 สิงหาคม 2552” นายธีรศักดิ์ กล่าว

สำนักข่าวมุสลิมไทย : ธอท.เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา 3 ผลิตภัณฑ์ หวังแบ่งเบาภาระผู้บริโภคช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
www.muslimthai.com

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

สารพันปัญหาว่าด้วยการเงินการธนาคาร(Banking and Financial)

สารพันปัญหาว่าด้วยการเงินการธนาคาร
ถาม ไม่เป็นการผิดหรือที่พ่อค้าจะขายสินค้าด้วยเงินสดราคาหนึ่งและเงินผ่อนอีกราคาหนึ่ง กฎหมายอิสลามมีข้อกำหนดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ?
ตอบ มติเอกฉันท์ของนักวิชาการอิสลามถือว่าการขายโดยการผ่อนชำระเป็นที่อนุญาตตาม หลักกฎหมายอิสลามถึงแม้ว่าราคาขายแบบผ่อนชำระจะสูงกว่าราคาขายสด

และเรื่องนี้ได้ผ่านมติรับรองโดยที่ประชุมวิชาการนิติศาสตร์อิสลามที่มีขึ้นที่เมืองญิดด๊ะฮฺระหว่างวันที่ 17-23 เดือนชะอ์บาน ฮ.ศ.1410 หรือตรงกับวันที่ 14-20 มีนาคม ค.ศ.1990 มติเกี่ยวกับเรื่องนี้มีดังนี้

ประการแรก
อนุญาตให้กำหนดราคาเพิ่มสำหรับสินค้าที่ขายแบบผ่อนชำระ นอกจากนี้แล้วก็ยังอนุญาตให้บอกราคาที่แตกต่างกันสำหรับการขายเงินสดและการ ขายแบบผ่อนชำระถึงแม้ว่าราคาผ่อนชำระจะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็ตาม

แต่การขายไม่สามารถเกิดขึ้นได้จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงเรื่องวิธีการจ่าย เงินและระบุว่าจะจ่ายเป็นเงินสดหรือผ่อนชำระ ดังนั้น ถ้าหากการขายเกิดขึ้นโดยไม่ได้ระบุวิธีการจ่ายให้ชัดเจนและปล่อยให้เกิดความ ไม่แน่ใจว่าผู้ซื้อจะจ่ายเป็นเงินสดหรือผ่อนชำระเป็นงวด การขายนั้นก็ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลาม

ประการที่สอง
ตามหลักกฎหมายอิสลาม ในการขายแบบผ่อนชำระ ไม่อนุญาตให้ระบุราคาขายสดและราคาผ่อนชำระไว้ในสัญญา

ประการที่สาม
ถ้าผู้ซื้อ/ลูกหนี้ล่าช้าในการผ่อนชำระหลังจากวันที่ได้กำหนดไว้แล้ว ไม่อนุญาตให้คิดเงินเพิ่มนอกเหนือไปจากหนี้ที่ค้างชำระอยู่ไม่ว่าจะกำหนด เป็นเงื่อนไขล่วงหน้าไว้ในสัญญาหรือเรียกร้องโดยไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วง หน้า เพราะนี่คือริบาซึ่งเป็นที่ต้องห้าม

ประการที่สี่
เป็นที่ต้องห้ามสำหรับลูกหนี้ที่ไม่มีภาระหนี้สินจะล่าช้าในการจ่ายค่างวดเมื่อถึงเวลากำหนด อย่างไรก็ตาม หลักนิติศาสตร์อิสลามก็ไม่อนุญาตให้กำหนดค่าชดใช้เมื่อมีการจ่ายล่าช้า

ประการที่ห้า
ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม อนุญาตให้ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขในการขายผ่อนชำระว่าหากลูกหนี้หรือผู้ซื้อจ่าย เงินบางงวดล่าช้า เงินค่างวดที่ยังค้างอยู่จะต้องจ่ายทันทีก่อนวันที่ได้ตกลงกันไว้ เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขที่ใช้ได้ถ้าผู้ซื้อหรือลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในตอนตกลง ซื้อขาย

ประการที่หก
ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปถือกรรมสิทธิ์(ในสินค้าที่ถูกขายไป)หลังจากที่ การขายได้เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ขายได้รับอนุญาตให้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ซื้อจะต้องจำนองสินค้าไว้กับผู้ ขายเพื่อที่จะเป็นหลักประกันสิทธิของตนในการที่จะได้รับชำระค่างวด นอกจากนั้นแล้ว มติของที่ประชุมทางวิชาการนิติศาสตร์อิสลามที่จัดขึ้นที่เมืองญิดด๊ะ ฮฺระหว่างวันที่ 7-12 เดือนซุลเกาะอ๊ะฮฺ ฮ.ศ.1412 ตรงกับวันที่ 9-14 พฤษภาคม ค.ศ.1992 ก็กล่าวว่า
1. การขายโดยวิธีการผ่อนชำระเป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลามถึงแม้ราคาผ่อนส่งจะสูงกว่าราคาขายสด
2. เอกสารทางการค้า เช่น เช็ค หนังสือมอบอำนาจ ใบถอนเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน เป็นรูปแบบของการยืนยันการเป็นหนี้สินที่ถูกต้อง
3. การซื้อลดเอกสารทางการค้าไม่เป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลามเพราะมันเท่า กับการทำธุรกรรมเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยอันนาซิอ๊ะฮฺ (ดอกเบี้ยที่เกิดจากการจ่ายล่าช้า) ซึ่งเป็นที่ต้องห้ามอย่างชัดเจน
4. การลดหนี้ผ่อนชำระเพื่อเร่งให้จ่ายเงินคืนเร็วขึ้น (จ่ายน้อยแต่จ่ายก่อนเวลา) ไม่ว่าจะเป็นการร้องขอของเจ้าหนี้หรือของลูกหนี้เป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมาย อิสลาม วิธีการนี้ไม่ตกอยู่ในข่ายของดอกเบี้ยที่เป็นสิ่งต้องห้าม ถ้าหากว่าไม่ได้มีการตกลงล่วงหน้ากันไว้ก่อนและตราบใดที่เป็นเรื่องความ สัมพันธ์สองฝ่ายระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ถ้าหากมีฝ่ายที่สามขึ้นมา การลดหนี้ไม่เป็นที่อนุญาตเพราะหากเป็นเช่นนั้นกฎระเบียบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็จะเหมือนกับการซื้อลดเอกสารทางการค้า
5. อนุญาตให้สองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินตกลงกันว่าเงินผ่อนชำระทั้งหมดจะ ต้องจ่ายเมื่อครบกำหนดเวลาถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายค่าผ่อนชำระงวดหนึ่งงวดใด ที่เขายังเป็นหนี้อยู่ตราบใดที่เขาไม่ได้เป็นบุคคลล้มละลาย
6. ถ้าหากถึงเวลากำหนดแล้ว ลูกหนี้เสียชีวิต ล้มละลายหรือผัดหนี้ จะต้องมีการลดหนี้เพื่อเร่งให้มีการจ่ายคืนโดยการยินยอมร่วมกัน
7. เกณฑ์ตัดสินการล้มละลายที่จะนำมาใช้ก็คือลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดเกินกว่า ความจำเป็นขั้นพื้นฐานซึ่งคนเหล่านี้จะต้องได้รับการปลดหนี้


ผู้เขียนบทความ : บรรจง บินกาซัน

ข้อสงสัยในการทำสัญญาตามหลักการอิสลาม

ข้อสงสัยในการทำสัญญาตามหลักการอิสลาม
ถาม อะกั๊ด หมายถึงอะไร ?
ตอบ คำว่า “อะกั๊ด” (عقد พหูพจน์ คือ عقود) ในภาษาอาหรับหมายถึงความผูกพันทางกายภาพระหว่างสองฝ่าย
นักนิติศาสตร์มีคำจำกัดความ 2 อย่างสำหรับคำว่าอะกั๊ด ดังนี้
คำจำกัดความแรกครอบคลุมทุกสิ่งที่นำไปสู่ความผูกพันหรือความสัมพันธ์ ระหว่างสองฝ่ายหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ดังนั้น ตามคำจำกัดความนี้ อะกั๊ดจึงรวมถึงการซื้อและการขาย การขอร้อง การจำนำ เป็นต้น และอะกั๊ดของฝ่ายหนึ่งจะหมายถึงการชำระหนี้ด้วย
คำจำกัดความที่สองของคำว่าอะกั๊ดก็คือการกระทำที่ต้องอาศัยเจตนาของสอง ฝ่าย คำจำกัดความนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักนิติศาสตร์อิสลาม การกระทำของสองฝ่ายนี้รวมถึงการซื้อ/ขาย การแลกเปลี่ยนเงินตรา การทำสัญญามุฎอรอบ๊ะฮ์ (แบ่งกำไรและขาดทุน) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม (ภายใต้คำจำกัดความนี้) การกระทำที่ทำโดยฝ่ายเดียว เช่น การหย่าภรรยาหรือการชำระหนี้ เดิมทีแล้วจึงไม่ใช่อะกั๊ดถึงแม้ว่ามันจะมีผลตามกฎหมายก็ตาม
นักนิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่กล่าวว่าอะกั๊ดประกอบด้วยคำกล่าวเสนอ คำตอบรับและสิ่งที่เสนอ ทั้งสามนี้เรียกว่าหลักหรือหลักการพื้นฐานของอะกั๊ด
เพื่อให้เป็นไปตามหลักการพื้นฐานดังกล่าว จำเป็นจะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ประการแรก : การเสนอและการตอบรับ
1) ทุกข้อเสนอและคำตอบรับจะต้องแสดงเจตนาของคู่สัญญาอย่างชัดเจน ดังนั้น คู่สัญญาจะต้องเป็นผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถที่จะทำสัญญา คนที่มีสติไม่สมประกอบ คนวิกลจริตและเด็กเล็กไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะทำสัญญา (ซึ่งทำให้สัญญาไม่ถูกต้องและใช้ไม่ได้) เพราะคนเหล่านี้ไม่มีความสามารถที่จะแสดงเจตนารมณ์ในการทำสัญญา
2) มีการเสนอและการตอบรับที่ถูกต้องและเหมาะสม ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขายรถยนต์ให้แก่นาย ข. ในราคา 500,000 บาท และนาย ข.ตกลงตามข้อเสนอของนาย ก. และราคาที่นาย ก.เสนอด้วย
3) การตอบรับจะต้องทำทันทีหลังจากที่มีการเสนอ นี่หมายความว่าการตอบรับจะต้องกระทำในสถานที่เดียวกันนั้น (สถานที่และเวลาของการแลกเปลี่ยน) โดยไม่ปล่อยให้มีช่วงเวลามาขวางกั้นโดยไม่จำเป็นระหว่างการเสนอและการตอบรับ ในหนังสือ “อัลฟิกฮฺ อัลอิสลามี วะอาดิละตุฮา” เล่ม 4 หน้า 106-111 ดร.วะฮ์บะฮ์ อัซซุฮัยลี ได้กล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในสถานที่และเวลาของการทำอะกั๊ด อะกั๊ดก็สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายหนึ่งได้รับทราบความประสงค์ของอีกฝ่าย หนึ่งไม่ว่าจะโดยจดหมาย ตัวแทน โทรศัพท์หรือการติดต่อสื่อสารอย่างอื่นๆที่ทันสมัยกว่า เช่น โทรสาร หรืออีเมล์ เป็นต้น
ประการที่สอง : สิ่งที่นำมาทำสัญญา สิ่งที่นำมาทำสัญญาหมายถึงสิ่งที่เป็นที่มาของอะกั๊ด ซึ่งมี 7 รูปแบบด้วยกัน คือ
1) อะกั๊ดที่ให้กรรมสิทธิ์ ( عقود التمليكات) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.1 อะกั๊ดที่ให้สิทธิ์โดยการแลกเปลี่ยนร่วมกัน ( عقود المعاوضات) เช่น การซื้อและขาย การเช่าและการแต่งงาน เป็นต้น
1.2 อะกั๊ดที่ให้สิทธิ์โดยไม่คิดสิ่งใดตอบแทน ( عقود التبرّعات ) เช่น ของขวัญ การบริจาคและการวะกั๊ฟ (การอุทิศทรัพย์สินให้เป็นสารธารณประโยชน์)
2) อะกั๊ดที่ปล่อยกรรมสิทธิ์ ( عقود الاسقاطات ) เช่น การให้สิทธิ์ในการนำเงินที่ยืมไปใช้ และการหย่า
3) อะกั๊ดที่ให้อนุญาต ( عقودالاطلاقات ) เช่น การแต่งตั้งตัวทน (อัลวะกาละฮฺ) การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ (อัตเตาลีอ๊ะฮ์)
4) อะกั๊ดที่มีข้อจำกัด ( عقود التّقييدات ) เช่นข้อกำหนดที่ใช้กับผู้ล้มละลาย และการเพิกถอนการแต่งตั้ง
5) อะกั๊ดเป็นเอกสารที่ให้ความเชื่อมั่น ( عقود التَّوثِيْقات ) เช่น ความแน่นอนและการจำนำ
6) อะกั๊ดการมีส่วนร่วมกัน ( عقود الاشتراك ) เช่น สัญญามุชารอก๊ะฮ์ และสัญญามุฎอรอบ๊ะฮ์
7) อะกั๊ดดูแลรักษา ( عقود الحفظ ) เช่น สัญญาวาดิอ๊ะฮ์
สัญญาหรืออะกั๊ดเหล่านี้ต่างมีเงื่อนไขต่างๆของมันเอง ดังนี้
1. สิ่งที่จะนำมาทำสัญญาจะต้องไม่ขัดกับเจตนารมณ์ของอะกั๊ดเองและจะต้องเป็นไป ตามกฎของศาสนา เช่น ไม่ใช่ซากสัตว์ สื่งมึนเมา หรือสุกร เป็นต้น
2. สิ่งที่จะนำมาทำสัญญาจะต้องมีอยู่ในตอนที่ทำสัญญา อย่างไรก็ตาม นักนิติศาสตร์อิสลามทั้งหมดก็เห็นพ้องต้องกันว่าเงื่อนไขนี้ไม่ใช่เงื่อนไข เบ็ดเสร็จสำหรับทุกสัญญา
นักนิติศาสตร์อิสลามในสำนักฮันบะลีมีความเห็นว่าอะไรบางอย่างที่ไม่มี อยู่ก็อาจเป็นสิ่งที่นำมาใช้ทำสัญญาได้โดยมีเงื่อนไขว่าคู่สัญญาที่เกี่ยว ข้องสามารถที่จะทำสิ่งนั้นหลังจากที่ทำสัญญาแล้วก็ได้ สิ่งที่สำคัญในการทำสัญญาก็คือจะต้องไม่มีความเสี่ยงใดๆและฝ่ายที่เกี่ยว ข้องสามารถที่จะส่งมอบสิ่งที่ทำสัญญาในเวลาที่กำหนดได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะสำคัญหรือไม่ก็ตามไม่ใช่เงื่อนไข ดังนั้น สัญญาเช่า การแบ่งกำไรและการซื้อขายผลไม้ที่ยังไม่สุกก็ถือว่าใช้ได้เพราะว่าไม่มีความ เสี่ยง การห้ามซื้อสิ่งที่ไม่มีอยู่ตามคำพูดของท่านนบีมุฮัมมัดที่กล่าวว่า “อย่าขายสิ่งที่ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของ” นั้นหมายถึงสิ่งที่ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบแก่ผู้ซื้อ ไมได้หมายถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่ (อิบนุกุดามะฮ, อัลมุฆนี เล่ม 4 หน้า 2000)
3. สิ่งที่ทำสัญญาจะต้องเป็นที่รู้ของทั้งสองฝ่าย
4. สิ่งที่ทำสัญญาจะต้องส่งมอบแก่คู่สัญญาตามเวลาที่กำหนดไว้
ประการที่สาม :
คู่สัญญาจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความสามารถที่จะเข้าร่วมสัญญาได้ หมายความว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดชอบในสัญญาได้ นั่นคือ มีสติสมประกอบ เป็นผู้ใหญ่และรู้จักใช้สติปัญญาได้แล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่ถูกห้ามจากการซื้อขายแลกเปลี่ยน และทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่ถูกบังคับโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดให้ทำสัญญาดังกล่าว

ถาม สัญญา (อะกั๊ด) จะเกิดขึ้นได้อย่างไรในโลกไอทีปัจจุบัน ?
ตอบ การพัฒนาในโลกปัจจุบันได้ทำให้อินเตอร์เนตกลายเป็นสื่อของการ แลกเปลี่ยนในศตวรรษที่ 21 เป็นแหล่งของข้อมูลข่าวสารอันหลากหลาย เป็นระบบสื่อสารที่รวดเร็วและค่าใช้จ่ายต่ำ เป็นเครือข่ายของโลก เป็นการสร้างโลกไซเบอร์ที่จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เปิดโอกาสให้มีการทำ ธุรกิจได้กว้างขวางขึ้น
ด้วยอินเตอร์เนตนี่เองที่ก่อให้เกิดวิธีการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจที่ เรียกว่า อีแบ๊งค์กิ้ง (ธนาคารอีเล็คโทรนิก) อีคอมเมิร์ซ (การพาณิชย์อีเล็กโทรนิก) อีอินชัวรันซ์ (ประกันภัยอีเล็กโทรนิก) ซึ่งสถาบันทางการเงินและตลาดหุ้นนำมาใช้ เท่าที่ผ่านมา เครื่องมือติดต่อสื่อสารทางธุรกิจเหล่านี้เป็นที่รู้กันดีว่ามีประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จ
ก่อนที่จะมีการติดต่อสื่อสารดังกล่าว โลกเราก็เคยมีการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ในทำนองนี้มาแล้ว เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เป็นต้น
กฎของชะรีอ๊ะฮฺในเรื่องการติดต่อสื่อสารสมัยใหม่
หนังสือ “อัลฟิกฮฺ อะลา มะซาฮิบ อัลอัรฺบะอ๊ะฮฺ” เล่ม 2 กล่าวว่าอิสลามกำหนดว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนจะต้องวางพื้นฐานอยู่บนสัญญา (อะกั๊ด) ซึ่งเป็นความผูกพันระหว่างฝ่ายเสนอและฝ่ายตอบรับ
ในการจะเข้ามาร่วมทำสัญญานั้นมีหลักการที่จะต้องปฏิบัติตาม 3 ประการดังนี้ คือ
1) มีคู่สัญญาสองฝ่าย
2) วัตถุประสงค์ของสัญญา
3) การกล่าวคำสัญญา (การเสนอและตอบรับ) เมื่อมีผู้ซื้อ ผู้ขาย สินค้า(สิ่งของ) และข้อความที่ระบุถึงข้อเสนอและการตอบรับ กล่าวคือ เมื่อทั้งสองฝ่ายพึงพอใจกับประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับจากการทำธุรกรรมแล้ว การทำธุรกรรมนั้นก็ถือว่าเป็นที่ถูกต้องเว้นเสียแต่ว่าการทำธุรกรรมนั้นไม่ สอดคล้องกับหลักกฎหมายอิสลาม
อะกั๊ดอาจมี 2 รูปแบบ คือ
1) อะกั๊ดโดยวาจา
2) อะกั๊ดเป็นลายลักษณ์อักษร
ตัวอย่างของสัญญาด้วยวาจาก็คือสัญญาที่ทำกันทางโทรศัพท์ สัญญาเช่นนี้ได้รวมอยู่ในความหมายของคำว่า “สถานที่และเวลา” (มัจญ์ลิส) สำหรับการทำสัญญาด้วย ดังนั้น การไปปรากฏตัวในสถานที่หนึ่งที่ใดจึงไม่จำเป็น รูปแบบของสัญญาประเภทนี้เริ่มด้วยการตอบรับโทรศัพท์ของฝ่ายหนึ่งและจบลงด้วย การตกลงทางโทรศัพท์ของอีกฝ่ายหนึ่ง
ตัวอย่างของสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็คือแฟกซ์ อีแบ๊งค์กิ้ง อีเมล์ เป็นต้น การทำสัญญาจะถูกต้องใช้ได้ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามหลักการของสัญญาซึ่งทำ ให้มันแตกต่างไปจากการเป็นเพียงข้อตกลง สถานที่และเวลาสำหรับการทำสัญญา (มัจญ์ลิส) เริ่มต้นเมื่อสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ถูกอีกฝ่ายหนึ่งตอบรับหลังจาก ที่ได้รับตอบตกลง
บนพื้นฐานดังกล่าวมาก็ไม่มีข้อห้ามใดๆที่จะทำสัญญาโดยการติดต่อสื่อสารสมัยใหม่ในโลกธุรกิจปัจจุบัน
ความจริงแล้ว อิสลามก็ยอมรับสัญญาที่ทำกันด้วยอินเตอร์เนต ในที่ประชุมวิชาการนิติศาสตร์อิสลามซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-23 เดือนชะอ์บาน ฮ.ศ.1410 (ตรงกับวันที่ 14-20 มีนาคม 1990) ได้กล่าวว่า :-
ประการแรก : ถ้าสองฝ่ายทำสัญญากันโดยไม่ได้ปรากฏตัวอยู่ในที่หนึ่ง และไม่สามารถได้ยินหรือเห็นกัน แต่ติดต่อกันโดยการเขียนหรือโดยการใช้เครื่องมือสื่อสารซึ่งรวมทั้งโทรเลข เทเล็กซ์ แฟกซ์หรือคอมพิวเตอร์ สัญญานั้นจะถือว่าสมบูรณ์เมื่อการเสนอได้ถูกติดต่อสื่อสารไปยังฝ่ายที่ ตั้งใจไว้และการยอมรับได้ถูกสื่อสารไปยังผู้ที่ได้ทำการเสนอแล้ว
ประการที่สอง : ถ้าสองฝ่ายทำสัญญากันในเวลาเดียวกัน แต่ทั้งสองฝ่ายอยู่ต่างสถานที่กัน เช่นในกรณีของการทำสัญญาทางโทรศัพท์และวิทยุ ก็ถือว่านั่นเป็นสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายปรากฏตัวอยู่ ในกรณีนี้ ให้นำกฎดั้งเดิมที่นักนิติศาสตร์มุสลิมกำหนดไว้มาใช้
ประการที่สาม : ถ้าหากใครคนหนึ่งอาศัยเครื่องมือเหล่านี้เพิ่มข้อเสนอภายในระยะเวลาที่กำหนด ไว้ เขาจะต้องปฏิบัติตามข้อเสนอของเขาตลอดระยะเวลานั้นและไม่สามารถถอนสัญญาได้
ประการที่สี่ : หลักการทำสัญญา 3 ประการที่กล่าวไว้ข้างต้นไม่ครอบคลุมสัญญาแต่งงาน (เพราะการมีพยาน 2 คนเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการทำให้สัญญามีผลถูกต้อง) และไม่รวมไปถึงสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตรา (เพราะมันต้องอาศัยการเป็นเจ้าของ) และไม่ครอบคลุมถึงสัญญาซื้อขายแบบ “สะลัม"(เพราะว่ามันกำหนดให้มีการจ่ายราคาทุนทันที)
ประการที่ห้า : ในเรื่องของความเป็นไปได้ที่จะมีการปลอม การบิดเบือนหรือการทำผิดนั้นจะต้องอาศัยกฎทั่วไปเกี่ยวกับหลักฐาน


ผู้เขียนบทความ : อ.บรรจง บินกาซัน

รุกขยายตลาดฮาลาลในอเมริกาเหนือ

‘มะกัน-อียู’ ฟุบ กลุ่มตะวันออกกลางอนาคตสดใส

เกษตรฯ รุกขยายตลาด “สินค้าฮาลาล” ในทวีปอเมริกาเหนือ ชี้โอกาสส่ง ออกสูง เพราะกฎระเบียบไม่เข้ม ขณะที่ตุรกี ซูดาน โอมาน น่าสนใจอนาคตสดใส

นาง สาวเมทนี สุคนธรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ปี 2552 นี้ มกอช.ได้มีแผนส่งเสริมผลักดันการส่งออกสินค้าฮาลาลไปยังทวีปอเมริกาเหนือ ทั้งในประเทศแคนาดาและสหรัฐ อเมริกา ซึ่งผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศ มีประชากรมุสลิมรวมกันมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีแนวโน้มค่อนข้างสดใส ประเทศไทยจึงมีโอกาสสูงที่จะขยายตลาดสินค้าฮาลาลเนื่องจากไทยมีความสามารถใน การผลิตสินค้าให้เป็นไปตามศาสนบัญญัติ รวมทั้งมีคุณภาพและราคาที่สามารถแข่งขันได้ทั้ง สินค้าที่เป็นอาหาร เช่น ไก่ปรุงสุก ซอสปรุงรส เครื่องดื่ม และน้ำผลไม้ รวมทั้งสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางและ เสื้อผ้า เป็นต้น - สยามธุรกิจ

เกษตรฯรุกขยายตลาดสินค้า"ฮาลาล"ไปทวีปอเมริกาเหนือ

เกษตรฯรุกขยายตลาดสินค้า"ฮาลาล"ไปทวีปอเมริกาเหนือ

นางสาวเมทนี สุคนธรักษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ปี 2552 นี้ มกอช.ได้มีแผนส่งเสริมผลักดันการส่งออกสินค้าฮาลาลไปยังทวีปอเมริกาเหนือทั้งในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ซึ่ง ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศ มีประชากรมุสลิมรวมกันมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีแนวโน้มค่อนข้างสดใส ประเทศไทยจึงมีโอกาสสูงที่จะขยายตลาดสินค้าฮาลาลเนื่องจากไทยมีความสามารถใน การผลิตสินค้าให้เป็นไปตามศาสนบัญญัติ รวมทั้งมีคุณภาพและราคาที่สามารถแข่งขันได้ทั้งสินค้าที่เป็นอาหาร เช่น ไก่ปรุงสุก ซอสปรุงรส เครื่องดื่ม และน้ำผลไม้ รวมทั้งสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางและเสื้อผ้า เป็นต้น

มกอ ช.ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งศึกษากฎระเบียบและเงื่อนไขการนำเข้า รวมถึงการตลาดสินค้าอาหารฮาลาลในทวีปอเมริกาเหนือ รวมทั้งยังได้ร่วมมือกับ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหรัฐอเมริกาเชิญเลขาธิการสมาคมอิสลามแห่งอเมริกาเหนือ (ISNA) เดินทางมาดูระบบการผลิตและตรวจสอบสินค้าฮาลาลของไทย ผลปรากฏว่า ISNA มีความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการผลิต จึงได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในการยอมรับมาตรฐานของตราสัญลักษณ์ฮาลาลไทย รวมทั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการตรวจสอบสินค้าฮาลาลที่สำคัญของไทย จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการขยายตลาดฮาลาลในอเมริกาเหนือ

“ขณะ นี้ไทยกำลังเร่งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตลาดสินค้าอาหารฮาลาล ทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เช่น รสนิยม พฤติกรรมการบริโภค ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถผลิตสินค้าอาหารฮาลาลเจาะตลาดได้ตรงความต้องการของ ผู้บริโภคในทวีปอเมริกาเหนือ รวมทั้งพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ตราสัญลักษณ์ฮาลาลร่วมกัน เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ใน ตราสัญลักษณ์ของไทย ด้วย นอกจากนี้แคนาดาและสหรัฐฯ ไม่ได้กำหนดกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าฮาลาลเป็นมาตรการภาคบังคับ และไม่ต้องตรวจสอบกระบวนการผลิตก่อนส่งออก ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงโดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ ซึ่งคาดการณ์ว่ามีมูลค่าสินค้าฮาลาลสูงถึง 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี หรือกว่า 396,000 ล้านบาท ขณะที่สินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ในแคนาดาก็มีแนวโน้มสดใสเช่นกัน” นางสาวเมทนี กล่าว

นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน ผู้อำนวยการกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร มกอช.กล่าวว่า ถึงแม้ผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (EU) จะได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจถดถอย ในส่วนของตลาดสินค้าฮาลาลคงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยังมีแนวโน้มดีเพราะกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมก็สามารถรับประทานได้ ซึ่งปีนี้ไทยยังมีโอกาสขยายและเปิดตลาดในกลุ่มตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้น อาทิ ประเทศตุรกี ซูดาน และโอมาน มีความน่าสนใจและเป็นไปได้สูงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับสินค้าอาหารฮาลาลไทย จำเป็นต้องเร่งศึกษาการตลาดเพิ่มเติมโดยเฉพาะเรื่องรสนิยมของผู้บริโภค เพื่อผู้ประกอบการจะได้ผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งจะช่วยผลักดันส่งออกสินค้าฮาลาลไทยไปสู่ตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้น

source : matichon