วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การประกันชีวิตในปัจจุบันอาจจะผิดหลักการศาสนาอิสลาม?

การประกันชีวิตในปัจจุบันอาจจะผิดหลักการศาสนาอิสลาม

มุสลิมในอังกฤษบางคนอาจไม่เคยตระหนักเลยว่ากรมธรรม์ประกันภัยของพวกเขานั้นขัดต่อหลักการอิสลาม

สุลต่าน ชุฮูรี ผู้อำนวยการด้านการค้าของธนาคารอิสลามแห่งประเทศอังกฤษกล่าวว่ามุสลิมในปัจจุบันเพิ่งจะมีทางเลือกในการมีการประกันภัยที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามกล่าวคือตั้งแต่มีการตั้งบริษัทประกันที่ถูกหลักศาสนาอิสลามเป็นแห่งแรกในอังกฤษ

การประกันตามหลักการอิสลามดำเนินการภายใต้หลักการอิสลามของตะกาฟุลซึ่งหมายถึง "การให้การประกันซึ่งกันและกัน"

โดยตะกาฟุลนั้น จะแตกต่าง จากการประกันแบบปกติทั่วไปคือบริษัทประกันโดยทั่วไปนั้นจะเป็นผู้รับความเสี่ยงเอาไว้ทั้งหมด

ขณะที่ตะกาฟุลนั้นผู้ถือกรมธรรม์หรือสมาชิกตะกาฟุลจะ ทำข้อตกลงที่จะให้การประกันซึ่งกันและกันโดยการนำเงินสมทบตะกาฟุลทั้งหมดเข้าไปในกองทุนร่วมกันแทนการชำระเบี้ยประกันให้กับบริษัทประกัน

ซึ่งหลักการดังกล่าวของตะกาฟุลถือว่าเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยการรับความเสี่ยงร่วมกันซึ่งเป็นหลักการดำเนินงานที่ถูกต้องตามหลักการอิสลาม

source: http://www.saveborrowspend.co.uk/

ธนาคารกับวิกฤติการทางการเงิน(financial crisis, Islamic Economics)

โดยปกติ ธุรกิจทั่วๆ ไปจะหากำไรจากส่วนต่างของราคาต้นทุนสินค้ากับราคาขาย เงินเป็นสื่อกลางในการวัดค่าของสินค้าที่ใช้ในการซื้อขาย แต่วิธีคิดของระบบธนาคารต่างออกไป ธนาคารมอง “เงิน” เป็นดั่ง “สินค้า” ประเภทหนึ่งที่มีราคาและหากำไรได้ ราคาของเงินทุน ถูกเรียกกันว่าอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นคือราคาที่เรียกเก็บจากผู้กู้ และอัตราดอกเบี้ยระยะยาวคือต้นทุนของเงินทุนที่ธนาคารกู้มาจากแหล่งเงินทุน ส่วนต่างในที่นี้คือกำไรที่ธนาคารแสวงหา
วิกฤติการณ์คราวนี้ Yield curve (กราฟแสดงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวในช่วงเวลาหนึ่ง) มีลักษณะที่แบนราบบ่งบอกว่า ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวแทบจะไม่แตกต่างกันเลย “ราคา” ที่ธนาคารได้รับจากการปล่อยกู้เกือบๆ จะเท่ากับ “ราคา” ของต้นทุนที่ธนาคารจ่ายไป ทำให้วิธีการหากำไรหลักของธนาคารโดยทั่วไปที่ผมพูดในย่อหน้าก่อนเกิด “พิการ” เมื่อธนาคารหากำไรไม่ได้มาเจอกับการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เราจึงเห็นสถาบันการเงินดิ้นรนหาเงินมาเติมเต็มช่องว่างที่ว่า หากทำไม่ได้ก็ล้มละลาย

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญก็คือ ตัวดอกเบี้ยสร้างระบบผิดนัดชำระหนี้ (default) ขึ้นมาในตัวของมันเอง เนื่องจากเมื่อใดก็ตามที่ผู้กู้ยืมเงินจากธนาคาร เขาจะต้องจ่ายคืนในจำนวนที่มากกว่า (เงินต้น+ดอกเบี้ย) นั่นคือหากผู้กู้เป็นคนรายได้น้อย เขาต้องทำงานมากขึ้นเพื่อมาจ่ายหนี้ ยิ่งดอกเบี้ยทบต้นยิ่งส่งผลร้ายให้ผู้กู้มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ได้โดยง่าย จะเห็นได้ว่าระบบดอกเบี้ยสร้างกลไกให้ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ในตัวของมันเองอยู่แล้ว

มาพูดถึงธนาคารอิสลามกันสักนิด ตามทฤษฎีแล้วธนาคารอิสลามจะไม่ได้หากำไรจาก “เงิน” แต่จะทำกำไรจากการค้าในลักษณะร่วมหุ้นและแบ่งกำไรขาดทุนกัน และในส่วนของการให้กู้ ธนาคารอิสลามจะให้กู้ในลักษณะที่มีหลักทรัพย์หนุนหลัง (asset-backed financing) กระแสเงินที่ธนาคารได้รับ เกิดมาจากตัวสินค้าจริงๆ ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยจากเงินกู้ วิธีการหากำไรจึงต่างออกไป ดังนั้นการที่ Yield curve มีลักษณะแบนราบจะไม่กระทบผลกำไรของตัวธนาคารอิสลาม

อย่างที่สองก็คือ การซื้อขายหนี้ (Debt trading) ที่ทำกันอย่างเป็นวงกว้างในวงการการเงินโลก เจ้าตัวนี้แหละครับที่เป็นตัวทวีความเสียหาย เร่งให้ระบบการเงินไปสู่หายนะได้เร็วยิ่งขึ้น

การที่ธนาคารผู้ที่สมควรเป็นเจ้าหนี้ของผู้กู้รายย่อยมีช่องทางการหาสภาพคล่อง โดยการนำหนี้รายย่อยต่างๆ นั้น มาจัด port folio สร้างตราสารหนี้ตัวใหม่ขึ้นมาโดยมีเจ้าหนี้รายเล็กๆ อยู่ภายใน แล้วนำออกขายให้นักลงทุน โดยสิ่งที่นักลงทุนจะได้รับจากการซื้อตราสารเหล่านี้ก็คือกระแสเงินที่มาจากลูกหนี้ของธนาคารนั่นเอง โดยราคาของตราสารหนี้เหล่านี้จะมีราคาขายที่ต่ำกว่าราคาหนี้จริงๆ คือขายที่ราคา discount นักลงทุนเหล่านี้ก็สามารถเอาไปขายต่อในตลาดหุ้นได้

ความง่ายในการซื้อขายหนี้ ส่งผลให้เกิดความมักง่ายในการแสวงหากำไรจากการซื้อขายหนี้ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ กระบวนการนี้นอกจากผู้ขายจะสามารถเพิ่มสภาพคล่องให้กับตนได้แล้ว ยังสามารถส่งผ่านความเสี่ยงไปยังผู้ถือตราสารฯได้อีกด้วย

เมื่อระบบดอกเบี้ยที่สร้างกลไกการผิดนัดชำระหนี้โดยอัตโนมัติ มาประกอบกับ ความ(มัก)ง่ายในการซื้อขายหนี้ ส่งผลให้ปัญหา sub-prime loan ที่เร้นกายอยู่ภายในระบบการเงินสหรัฐอเมริกา สำแดงอาการออกมาจนสถาบันทางการเงินหลายๆ แห่งล้มละลายไปไม่น้อย จนทางการต้องออกมาตรการช่วยเหลือเป็นจำนวนเงินมหาศาล (ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเงินภาษีของประชาชน) เพื่อช่วยเหลือบรรดาสถาบันทางการเงินที่ประสบปัญหา

ในมุมมองของหลักการอิสลาม แน่นอนว่าดอกเบี้ยเป็นตัวต้นตอของความเลวร้ายในการเงินอิสลามอย่างไม่มีข้อสงสัย ทั้งอัลกุรอานและฮะดิษได้บอกห้ามไว้ชัดเจนแล้วว่า “และถ้าหากว่าพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตาม (ละเว้นจากริบาอฺ) ก็พึงรับรู้ไว้ด้วย ซึ่งสงครามจากอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์…” อัลบะกาเราะฮฺ 2:279

ส่วนเรื่องการซื้อขายหนี้ ผู้รู้ส่วนใหญ่บอกว่า การขายหนี้ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าจริงๆ ให้กับผู้อื่น (คือไม่ได้ขายกลับแก่เจ้าหนี้คนแรก) เป็นสิ่งต้องห้าม หนี้เปรียบเสมือนเงินในอนาคต ต้องซื้อขาย (หรือแลกเปลี่ยน) ในมูลค่าที่เท่ากัน

ท้ายที่สุดแล้ว มุมมองที่เราละเลยไปอีกเรื่องก็คือ ผู้เดือดร้อนจริงๆ ของวิกฤติการณ์คราวนี้ น่าจะเป็น ประชาชนที่ต้องการมีบ้านเป็นของตนเอง ยามที่ราคาบ้านดีๆ ธนาคารก็เอาเงินมาให้กู้ แต่ครั้นราคาบ้านตก ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารก็มายึดบ้านคืน ครั้นจะเอาไปขายก็ราคาต่ำไม่พอชดเชยหนี้ ก็เลยล็อกบ้านไว้เฉยๆ ให้เจ้าของบ้านไปเผชิญยถากรรมในท้องถนนกันเอาเอง สมจริงดังที่มีคนเคยพูดว่า ธนาคารก็เปรียบเหมือนคนที่เอาร่มมาให้เรายามแดดร้อน (ไม่ได้ต้องการนักหรอก แต่ก็เอาไว้กันร้อนก็ดี) แต่เอาร่มคืนไปเมื่อฝนตก (พอทีต้องการจริงๆ กลับปล่อยเราลำบาก)

เรื่องความเป็นอยู่ของผู้คนจริงๆ น่าจะเป็นอีกประเด็นหลักที่ผู้มีอำนาจออกนโยบายต้องพิจารณา

ตะกาฟุล ประกันภัยแบบอิสลาม(Takaful in islam)

ตะกาฟุล​ ​ประ​กัน​ภัยแบบอิสลาม

โดย​ปกติ​ ​เมื่อ​ผู้​เอาประ​กัน​จ่ายเบี้ยประ​กัน​ไป​แล้ว​ ​ผู้​เอาประ​กัน​จะ​ไม่​รู้​เลยว่าบริษัทประ​กัน​จะ​บริหาร​และ​จัดสรรเงินเบี้ยประ​กัน​อย่างไร​ ​เพราะ​เมื่อซื้อประ​กัน​แล้ว​ ​ผู้​เอาประ​กัน​ก็ถือว่า​ "เป็น​เรื่องของเอ็ง​ ​รถข้าประสบอุบัติ​เหตุ​เมื่อ​ใด​ ​เอ็งจ่ายเงินประ​กัน​ให้​ข้าก็​แล้ว​กัน" ความ​คิดดังกล่าว​จึง​เป็น​ความ​คิดแบบตัวใครตัวมัน​ ​ขอ​ให้​ตัวเอง​ได้​ก็​แล้ว​กัน​

แต่​ความ​คิดเช่นนี้​จะ​หมดไป​ถ้า​หาก

1) ผู้​เอาประ​กัน​ได้​รู้ว่า​เบี้ยประ​กัน​ของตน​จะ​ถูกหักออกไปจำ​นวนหนึ่ง​ ​สมมุติ​ 2.5% เป็น "เงินบริจาค​ช่วย​เหลือ​ผู้​เอาประ​กัน​กัน​คน​อื่นๆ​ที่ประสบภัย" และ​ตัวเลขนี้​ต้อง​ระบุ​ให้​ชัดเจนว่า​เป็น​อะ​ไร​และ​จำ​นวน​เท่า​ใด

2) ผู้​เอาประ​กัน​ได้​รู้ว่า​เขา​เป็น​หุ้น​ส่วน​ใน​บริษัทที่​เขา​จ่ายเบี้ยประ​กัน​ด้วย​ ​บริษัทประ​กัน​ไม่​ใช่​เจ้ามือ​ ​แต่​เป็น​คณะ​ผู้​รับมอบอำ​นาจ​ใน​การบริหารเงินเบี้ยประ​กัน​ของพวก​เขา​ใน​การนำ​ไป​ช่วย​เหลือสมาชิก​ผู้​จ่ายเบี้ยประ​กัน​ร่วม​กับ​พวก​เขา​เมื่อประสบอุบัติ​เหตุ​ ​เจ็บไข้​ได้​ป่วย​หรือ​เสียชีวิตตามที่ตกลง​กัน​ไว้​ใน​กรมธรรม์ แต่​เมื่อบริษัท​ต้อง​มี​ผู้​บริหาร​ ​ผู้​จัดการ​ ​พนักงาน​ ​ค่า​ใช้​จ่ายต่างๆ​ ​พวก​เขา​ก็ยินดีที่​จะ​จ่าย​ ​ขอ​ให้​กำ​หนดมา​ให้​ชัดเจนก็​แล้ว​กัน

ส่วน​เงินที่​เหลือ​จาก​นั้น​ ​บริษัท​ผู้​บริหารเงินประ​กัน​จะ​ต้อง​ใช้​ความ​สามารถ​ใน​การนำ​ไป​ ​แสวงหาราย​ได้​ที่​ไม่​ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลาม (ชะรีอ๊ะฮฺ) หาก​ได้​กำ​ไรก็​จะ​ปันผลแก่​ผู้​จ่ายเบี้ยประ​กัน​ตามสัด​ส่วน​ที่ตกลง​กัน​ไว้​เมื่อกรมธรรม์ครบอายุ​ใน​กรณีของการประ​กัน​อุบัติ​เหตุ​หรือ​นำ​ไปสะสม​ไว้​ใน​บัญชีของ​ผู้​ถือกรมธรรม์ประ​กัน​ชีวิต​ใน​ระยะยาว เงินกำ​ไรนี้​ ​บริษัท​สามารถ​ที่​จะ​นำ​ส่วน​หนึ่งไปสะสม​ไว้​ใน​ "บัญชีบริจาค" ก็​ได้​เพื่อ​เป็น​การเพิ่มสวัสดิการแก่สมาชิก​และ​รักษาบรรยากาศการแข่งขัน​ใน​การ​ให้​บริการ

หาก​เป็น​ไปดังที่กล่าวมาข้างต้น​ ​ธุรกิจประ​กัน​ก็​ไม่​มีอะ​ไรที่ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลาม

การเติบโตของธุรกิจตะกาฟุล

ถึง​แม้อิสลาม​จะ​เริ่มต้นที่ซาอุดีอารเบีย​ ​แต่การนำ​หลักการอิสลามมาประยุกต์​ใช้​ใน​ธุรกิจตะกาฟุลกลับเริ่มต้นที่ซูดาน​และ​มา​เติบโตที่มา​เลเซีย​ ​บริษัทตะกาฟุลของมา​เลเซียถูกจัดตั้งขึ้น​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ.2527 หลัง​จาก​ที่​ได้​มีการก่อตั้งธนาคารอิสลามขึ้นมาก่อน​ ​ทั้ง​นี้​เนื่อง​จาก​ธุรกิจประ​กัน​เป็น​สิ่งจำ​เป็น​สำ​หรับธุรกิจธนาคาร​และ​เนื่อง​จาก​รัฐบาลประ​เทศมา​เลเซียมีนโยบายที่​จะ​ให้​ระบบการเงินอิสลาม​เป็น​ทางเลือกของประชาชนที่นับถืออิสลาม​ ​รัฐบาลมา​เลเซียก็​ได้​ออกพระราชบัญญัติตะกาฟุลมาสนับสนุนจนธุรกิจตะกาฟุลของมา​เลเซียมี​ความ​เข้มแข็ง

อาจกล่าว​ได้​ว่า​ใน​ปัจจุบัน​ ​ถึง​แม้มา​เลเซีย​จะ​เป็น​ประ​เทศ​เล็กๆ​ที่มีประชาชนนับถืออิสลามประมาณ​ 60 % แต่ประ​เทศมุสลิม​ทั่ว​โลกก็ยอมรับว่ามา​เลเซีย​เป็น​ชาติ​ผู้​นำ​และ​เป็น​แบบอย่างทางด้านสถาบันการเงินอิสลาม​ ​ธุรกิจตะกาฟุลเติบโตอย่างรวด​เร็ว​และ​มีจำ​นวนเพิ่มมากขึ้น​ใน​มา​เลเซีย​ ​ถึง​แม้ประ​เทศต่างๆ​ใน​ภูมิภาคเอเชีย​จะ​ประสบปัญหา​เศรษฐกิจฟองสบู่​แตก​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ.2540 แต่​ด้วย​ระบบของอิสลาม​ ​ทั้ง​ธนาคารอิสลาม​และ​ธุรกิจตะกาฟุลของมา​เลเซียก็​สามารถ​ยืนท้าทายฝ่าวิกฤตมา​ได้​อย่างสง่างาม​ ​เป็น​หลักฐานพิสูจน์ว่าระบบของอิสลาม​สามารถ​นำ​มา​ใช้​ได้​ใน​โลกปัจจุบัน​

ธุรกิจประกันในอิสลาม(Insurance of Islam)

ตะกาฟุล​ ​ธุรกิจประ​กัน​ใน​อิสลาม​

นอก​จาก​อาหาร​ ​เครื่องนุ่งห่ม​ ​ที่​อยู่​อาศัย​ ​ยารักษา​โรค​ ​หรือ​ที่​เรียกว่าปัจจัยสี่​จะ​มี​ความ​จำ​เป็น​สำ​หรับมนุษย์​แล้ว มนุษย์​ยัง​ต้อง​การหลักประ​กัน​ความ​มั่นคงปลอดภัย​ใน​การดำ​รงชีวิต​และ​การดำ​เนินธุรกิจการค้าของตน​ด้วย ดัง​นั้น​ ​นับตั้งแต่อดีต​ ​มนุษย์​จึง​หาหนทางที่​จะ​สร้าง​ความ​มั่นคงปลอดภัย​และ​มาตรการบรรเทา​ความ​สูญเสียต่างๆ​ใน​การดำ​รงชีวิต​และ​การทำ​ธุรกิจของตนหลากหลายวิธี​ ​เช่น​ ​จ้างคนคุ้มครอง​ ​จ่ายส่วย​ให้​แก่​เจ้า​เมือง​ ​เก็บรักษาพืชผล​หรือ​ผลผลิตของตัวเอง​ไว้​เพื่อ​ใช้​ใน​ยามขาดแคลน​ ​เป็น​ต้น

สัญชาตญาณ​ใน​การเตรียมตัวเพื่อ​ความ​มั่นคงปลอดภัย​และ​บรรเทาภาระ​ความ​เดือดร้อนนี้มี​อยู่​ใน​สิ่งมีชีวิตแม้​แต่สัตว์​ ​เช่น​ ​มดรู้จักสะสมเสบียง​ไว้​ใน​ภาวะขาดแคลน​ ​คนป่าหันมาปลูกพืช​และ​เลี้ยงสัตว์​เพื่อ​เป็น​หลักประ​กัน​ความ​ไม่​แน่นอน​ใน​อนาคต​ ​แม้​แต่นบียูซุฟเองก็สะสมเมล็ดข้าว​ไว้​เตรียมพร้อมสำ​หรับภาวะขาดแคลนที่​จะ​เกิดขึ้น​เป็น​เวลา 7 ปีตามคำ​ทำ​นายฝันของท่าน​ ​เป็น​ต้น

ศาสนาก็มีหลักคำ​สอนที่​จะ​ช่วย​เหลือสมาชิก​ใน​สังคมเช่น​กัน​ ​เช่น​ ​หลักคำ​สอนเรื่องการทำ​ทานที่มี​ใน​ทุกศาสนา

นอก​จาก​นี้​แล้ว​ ​รัฐก็มีหน้าที่หลัก​ใน​การรักษา​ความ​มั่นคงปลอดภัย​และ​บรรเทา​ความ​เดือดร้อน​ให้​แก่ประชาชนของตน​ด้วย​ ​นี่คือเหตุผลว่าทำ​ไมประชาชน​จึง​มีหน้าที่​ต้อง​จ่ายภาษี​ให้​แก่รัฐ บางประ​เทศที่​ใช้​นโยบายรัฐสวัสดิการอย่างเช่นอังกฤษก็ดำ​เนินนโยบายประ​กัน​สังคม​โดย​การเรียกเก็บภาษี​(เบี้ย)​ประ​กัน​สังคม​จาก​ประชาชน​ใน​อัตราสูง​โดย​รัฐรับประ​กัน​การรักษาพยาบาล​ให้​ฟรี​และ​มี​เงินบำ​นาญ​ให้​หลังการปลดเกษียณ

การประ​กัน​ภัยก่อนสมัยอิสลาม

ใน​สมัยก่อนหน้าอิสลาม​ ​เมื่อพ่อค้าชาวอาหรับ​จะ​นำ​กองคาราวานออกเดินทางไปค้าขาย​ยัง​แดน​ไกล​ ​ชาวอาหรับรู้ดีว่า​เส้นทาง​ใน​ทะ​เลทรายมีอันตราย​จาก​ทั้ง​โจร​และ​ภัยธรรมชาติ​ ​ดัง​นั้น​ ​ก่อนออกเดินทาง​ ​พ่อค้าชาวอาหรับก็​จะ​นำ​เงิน​ส่วน​หนึ่งมารวม​ไว้​เป็น​กองกลาง​โดย​ให้​คนที่​ไว้​ใจ​ได้​เป็น​ผู้​ดู​แล​และ​ตกลง​กัน​ว่า​ถ้า​หากพ่อค้าคน​ใด​ประสบภัย​หรือ​ความ​เสียหายระหว่างการเดินทางค้าขาย​ ​เงินกองกลางนี้​จะ​ถูกนำ​ไป​ช่วย​บรรเทาทุกข์​หรือ​ความ​เสียหาย​ให้​แก่พ่อค้าคน​นั้น​ ​หากกองคาราวานเดินทางกลับมา​โดย​ปลอดภัย​ ​เงินกองกลางก็​จะ​ถูกแบ่ง​ให้​ผู้​ดู​แลเงิน​ส่วน​หนึ่ง​เป็น​ค่าจ้าง​ ​ส่วน​ที่​เหลือก็​จะ​คืน​ให้​แก่สมาชิก​ผู้​จ่ายเงิน​ ​วิธีการเช่นนี้​ใน​ภาษาอาหรับเรียกว่า "ตะกาฟุล" ซึ่ง​หมาย​ถึง​ความ​ร่วมมือเพื่อ​ช่วย​เหลือ​กัน​ใน​หมู่คณะ

ประ​กัน​ภัยกลาย​เป็น​ธุรกิจ

เมื่อโลกเจริญก้าวหน้า​ไปตามกาลเวลา​และ​การดำ​เนินธุรกิจการค้ามี​ความ​สลับซับซ้อนขยายกว้างออกไปมากยิ่งขึ้น​ ​รัฐ​ไม่​สามารถ​ตอบสนอง​ความ​ต้อง​การของประชาชน​ ​พ่อค้า​และ​นักธุรกิจ​ใน​การ​ให้​หลักประ​กัน​ความ​ปลอดภัย​และ​การบรรเทา​ความ​เดือดร้อน​ได้​อย่างเพียงพอ​และ​ทันการ ภาระนี้​ส่วน​หนึ่ง​จึง​ถูกปล่อย​ให้​เอกชน​เข้า​มาดำ​เนินการ​กัน​เอง​ใน​รูปขององค์กรการกุศล​และ​องค์กรบรรเทาทุกข์​ ​เช่น​ ​สมาคมฌาปนกิจ​ ​สมาคมสงเคราะห์ต่างๆ​ ​และ​บริษัทประ​กัน​ภัย​ซึ่ง​ทำ​หน้าที่รับประ​กัน​วินาศภัย​และ​ประ​กัน​ชีวิตเพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของรัฐ​ใน​การดู​แล​ช่วย​เหลือ​และ​บรรเทาทุกข์ของสมาชิก​ใน​สังคม ดัง​นั้น​ ​การประ​กัน​ภัย​จึง​กลาย​เป็น​ธุรกิจขึ้นมา​ด้วย​ความ​จำ​เป็น​ของสถานการณ์

ธุรกิจประ​กัน​ใน​มุมมองของอิสลาม

ธุรกิจประ​กัน​ภัยอย่างที่​เรารู้จัก​ใน​ปัจจุบันนี้มีขึ้นมานานหลายร้อยปี​แล้ว​ใน​ประ​เทศตะวันตก​และ​เจริญก้าวหน้าอย่างรวด​เร็ว แต่​เนื่อง​จาก​ธุรกิจประ​กัน​ได้​คืบคลาน​เข้า​มาสู่​โลกอิสลามจนกลาย​เป็น​ความ​จำ​เป็น​ที่ขาดเสียมิ​ได้​ใน​การดำ​เนินธุรกิจสมัย​ใหม่​เช่นเดียว​กับ​สถาบันการเงินระบบดอกเบี้ยที่ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลาม​ ​ดัง​นั้น​ ​ใน​ช่วง​ 30-40 ปีที่ผ่านมา​ ​นักวิชาการมุสลิม​จึง​มองธุรกิจประ​กัน​จาก​มุมมองของอิสลาม​และ​เห็นว่าธุรกิจประ​กัน​โดย​หลักการ​แล้ว​สอดคล้อง​กับ​เจตนารมณ์ของอิสลาม​ ​แต่วิธีการดำ​เนินธุรกิจประ​กัน​ภัยมีบางสิ่งที่ขัดต่อบทบัญญัติ​และ​เจตนารมณ์ของอิสลาม​ ​เช่น

1) ธุรกิจประ​กัน​ภัยสมัย​ใหม่​มี​เรื่องของ​ความ​เสี่ยงแบบการพนัน​อยู่​ ​เช่น​ ​ข้อเสนอ​จะ​ให้​เงินชด​ใช้​แก่​ผู้​ซื้อประ​กัน​เป็น​วงเงิน​ถึง​ 1 แสนบาท​ถ้า​หาก​ผู้​ซื้อประ​กัน​จ่ายเงินเบี้ยประ​กัน​จำ​นวน​ 100 บาท​และ​เสียชีวิตลง​ใน​ระยะ​เวลา​ 1 ปี​ ​แต่​ถ้า​หาก​ผู้​ซื้อประ​กัน​ไม่​เสียชีวิต​ใน​ช่วงระยะ​เวลาดังกล่าว​ ​ผู้​เอาประ​กัน​ก็​จะ​สูญเสียเงิน​นั้น​ไป​เพราะ​ได้​ซื้อประ​กัน​นั้น​ไป​แล้ว​ ​ลักษณะของการประ​กัน​ดังกล่าวนี้​ไม่​ต่างอะ​ไรไป​จาก​การซื้อล็อตเตอรี่ที่หากว่า​ไม่​ถูกรางวัลก็​เสียเงินเปล่า​ ​แต่​ถ้า​หากถูกรางวัลก็​ได้​รับเงินก้อนโตไป​ ​ซึ่ง​ไม่​ต่างอะ​ไรไป​จาก​การพนันที่ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลาม

กรณีของการประ​กัน​วินาศภัยก็​เช่น​กัน​ ​ถ้า​หาก​ผู้​เอาประ​กัน​ซื้อประ​กัน​รถยนต์หนึ่งปี​และ​ไม่​มีอุบัติ​เหตุ​หรือ​รถ​ไม่​สูญหายตามเงื่อนไข​ ​ผู้​เอาประ​กัน​ก็​จะ​เสียเงินเบี้ยประ​กัน​ไป​และ​จะ​ได้​รับ​ส่วน​ลดค่า​เบี้ยประ​กัน​ใน​ปีถัดไป​ถ้า​หากมีการต่อประ​กัน​กับ​บริษัทเดิม​ ​แต่หากเปลี่ยนบริษัทประ​กัน​ก็​จะ​ไม่​ได้​รับประ​โยชน์​ใดๆ​จาก​ส่วน​ลดนี้​ ​ถ้า​หากเกิดอุบัติ​เหตุ​หรือ​รถยนต์ที่ทำ​ประ​กัน​หาย​ ​ผู้​เอาประ​กัน​ก็​จะ​ได้​รับการชด​ใช้​ตามที่​ได้​ตกลง​กัน​ไว้​ ​ถึง​แม้​ผู้​เอาประ​กัน​จะ​ได้​รับการชด​ใช้​เพื่อบรรเทาทุกข์​ ​แต่สัญญาประ​กัน​ภัยก็​ไม่​ต่างอะ​ไรไป​จาก​การพนัน​ ​และ​บริษัทประ​กัน​ก็​ไม่​ต่างอะ​ไรไป​จาก "เจ้ามือ"

2) เรื่องของ​ความ​ไม่​แน่นอนที่​จะ​เกิดขึ้น​ใน​ระหว่างสัญญา​ ​เพราะ​ทั้ง​ผู้​เอาประ​กัน​และ​ผู้​ประ​กัน​ต่างก็​ไม่​รู้ว่าอุบัติ​เหตุ​หรือ​ความ​ตาย​จะ​เกิดขึ้นเมื่อ​ใด​ ​และ​ทรัพย์สินที่​เสียหาย​นั้น​มีจำ​นวน​เท่า​ใด​ ​นักวิชาการอิสลาม​จึง​นำ​เรื่องนี้มา​เป็น​ประ​เด็นโต้​แย้งว่าธุรกิจประ​กัน​ภัย​ไม่​ใช่​การซื้อขาย​ใน​ความ​หมายของอิสลาม​ถึง​แม้​จะ​ใช้​คำ​ว่า "ซื้อประ​กัน" "ขายประ​กัน" ก็ตาม​ ​เพราะ​ใน​การซื้อขายตามหลักของอิสลาม​นั้น​ ​ทั้ง​ผู้​ซื้อ​และ​ผู้​ขาย​จะ​ต้อง​รู้ชัดเจน​ถึง​จำ​นวนสินค้า​และ​เวลาที่ส่งมอบ​ ​แต่ธุรกิจประ​กัน​ภัย​ไม่​สามารถ​ให้​คำ​ตอบ​ได้​ใน​เรื่องนี้

3) ประ​เด็นที่สำ​คัญคือบริษัทประ​กัน​ภัย​ใน​ปัจจุบัน​ไม่​ต่างอะ​ไรไป​จาก​สถาบันการเงิน​ใน​ระบบดอกเบี้ยที่​แสวงหากำ​ไร​โดย​การนำ​เงินเบี้ยประ​กัน​ส่วน​ใหญ่​ของลูกค้า​ไปบริหารเพื่อหาราย​ได้​ ​ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​แล้ว​ก็ทำ​โดย​การซื้อพันธบัตร​ ​การปล่อยกู้ระยะสั้น​ ​การเก็งกำ​ไร​ใน​ตลาดหุ้นเพื่อเอาดอกเบี้ย​และ​ราย​ได้​จาก​การเก็งกำ​ไรมาจัดสรร​เป็น​ผลประ​โยชน์​แก่​ผู้​เอาประ​กัน​ตามที่ตกลง​กัน​

สรุป​แล้ว​ ​ธุรกิจประ​กัน​ภัย​และ​ประ​กัน​ชีวิตที่ปฏิบัติ​กัน​อยู่​ใน​ปัจจุบัน​จึง​มีอะ​ไรที่ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลามมากกว่าธนาคารเสียอีก

ของดีที่ควรเก็บ​ไว้​ ​และ​ของเสียที่ควรแก้​ไข

จะ​เห็น​ได้​ว่าธุรกิจประ​กัน​ภัยสมัย​ใหม่​มี​ทั้ง​สิ่งที่สอดคล้อง​กับ​เจตนารมณ์​และ​วิธีการที่ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลาม​อยู่​รวม​กัน

สิ่งดีที่สอดคล้อง​กับ​เจตนารมณ์ของอิสลามก็คือการ​ช่วย​เหลือ​กัน​ใน​หมู่​ผู้​เอาประ​กัน​โดย​การจ่ายค่า​เบี้ยประ​กัน​เพื่อ​ให้​บริษัทประ​กัน​เป็น​ผู้​บริหารงานรับประ​กัน แต่​เนื่อง​จาก​บริษัทประ​กัน​เป็น​เอกชน​และ​ดำ​เนินธุรกิจ​ ​ดัง​นั้น​ ​เป้าหมายของบริษัทประ​กัน​ก็คือกำ​ไร ยิ่งมี​ผู้​เอาประ​กัน​มีจำ​นวนมาก​ ​บริษัทประ​กัน​ก็ยิ่งมั่นคง​และ​ยิ่งเจริญเติบโต​ ​เพราะ​ธุรกิจประ​กัน​ก็​เหมือน​กับ​ธุรกิจ​อื่นๆ​ที่​ต้อง​ใช้​หลัก​ "จำ​นวนมาก" เป็น​ฐาน​ใน​การทำ​ธุรกิจ​ ​ถึง​แม้ธุรกิจประ​กัน​จะ​เป็น​ธุรกิจที่รับ​ความ​เสี่ยง แต่ก็​เป็น​ความ​เสี่ยงที่ถูกคำ​นวณมา​เป็น​อย่างดี​แล้ว​ว่า​อยู่​ใน​เกณฑ์ที่รับ​ได้​และ​ทำ​กำ​ไรดี​ ​เพราะ​ถึง​แม้คน​จะ​จ่ายเบี้ยประ​กัน​สุขภาพ​หรือ​ประ​กัน​รถยนต์​ ​แต่ก็​ไม่​มี​ใครอยาก​จะ​ป่วย​หรือ​อยาก​จะ​ขับรถชนใคร​หรือ​อยาก​ให้​ใครมาชน​ ​ดัง​นั้น​ ​ธุรกิจนี้​จึง​ต้อง​มีฝ่ายหนึ่ง​ได้​และ​ฝ่ายหนึ่งเสีย

ปัญหา​จึง​อยู่​ที่ว่า​จะ​ทำ​อย่างไรที่​จะ​ทำ​ลายร่องรอยของ​ความ​เสี่ยงเยี่ยงการพนันนี้​ให้​หมดไป​จาก​การธุรกิจประ​กัน ? และ​ทำ​ให้​ผู้​ที่ร่วมเอาประ​กัน​เปลี่ยน​ความ​รู้สึก​จาก​ "ความ​เสี่ยง" มา​เป็น "ความ​ช่วย​เหลือ​ซึ่ง​กัน​และ​กัน" หรือ​ที่ศัพท์ทางวิชาการอิสลามเรียกว่า​ "ตะกาฟุล"

บัญชี ซะกาต

หลักการซะกาต

เป็นหลักการสำคัญข้อหนึ่งจากหลักการอิสลามทั้งห้าประการ ในทางภาษา ซะกาต คือความเพิ่มพูน และความเจริญงอกงาม และยังหมายถึงการชำระตัวผู้จ่ายซะกาต และทรัพย์สินของเขาให้สะอาดอีกด้วย ในทางศาสนา ซะกาต คือ ส่วนหนึ่งของทรัพย์ตามที่ศาสนากำหนด ที่จะต้องจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ

ผู้ที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต
คือ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม และครอบครองทรัพย์สินไว้ครบพิกัดครบหนึ่งปีจันทรคติ

ทรัพย์ที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต
ได้แก่ ทองคำและเงิน, ปศุสัตว์ เช่น แพะแกะ วัวควาย อูฐ, ธัญญพืช เช่น ข้าวสาร ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโพด ถั่ว และผลไม้จำพวกอินทผลัมแห้ง องุ่นแห้ง, ทรัพย์สินที่ใช้ในการค้าหรือสินค้า

พิกัดซะกาต
ทองคำ มีน้ำหนักตั้งแต่ 20 มิซกอลหรือ 85 กรัม (ประมาณ 5.6 บาท) เงิน มีน้ำหนักตั้งแต่ 200 ดิรฮัมหรือ 672 กรัม ซึ่งแต่เดิมมีค่าเท่ากับทองคำ 20 มิซกอล ให้ตีราคาทองคำตามราคาตลาด ณ วันที่ครบรอบปีเป็นธนบัตร และจ่ายซะกาต 2.5 %

วิธีคิดซะกาต
เช่น ขณะนี้ทองคำมีราคาบาทละ 9,150 บาท X 5.6 ═ 51,240 บาท X 2.5 ÷ 100 ═ 1,281 บาทดังนั้นผู้ที่มีเงินเก็บไว้ตั้งแต่ 51,240 บาท ไว้จนครบรอบปีจันทรคติ เขาจะต้องจ่ายซะกาตเป็นเงินจำนวน 1,281 บาท

องค์กรจัดเก็บซะกาตในประเทศไทย ยังไม่มีองค์กรจัดเก็บซะกาตในประเทศไทย กฎหมายที่ระบุเรื่องซะกาต คือ พระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “บัญชีซะกาต” หมายความว่า บัญชีที่ธนาคารจัดตั้งขึ้นเพื่อบริจาค และรับดำเนินการบริจาคตามหลักการของศาสนาอิสลาม

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งบัญชีซะกาตขึ้นแล้ว ชื่อบัญชี บัญชีซะกาต บัญชีเลขที่ 001-2-03879-0 สาขาคลองตัน และจ่ายซะกาตสมทบ เข้าบัญชีได้ที่ทุกสาขา

การดำเนินการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 3 “บัญชีซะกาต”
1- เป็นตัวแทนรับจ่ายซะกาต และจากผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมสมทบกับบัญชีซะกาตของธนาคาร และจ่ายซะกาตธนาคารจะจ่ายซะกาตจากบัญชีของลูกค้าได้หรือไม่ ?ลูกค้าคือผู้ที่จะจ่ายซะกาตจากบัญชีของตนเอง แต่มีบางกรณีที่ธนาคารอาจเข้าทำหน้าที่จ่ายซะกาต จากบัญชีของลูกค้าได้ คือ ในกรณีที่ลูกค้ามอบอำนาจให้ธนาคารจ่ายซะกาตแทนตนเงินฝากของลูกค้าต้องจ่ายซะกาตหรือไม่ ?ทรัพย์สินของมุสลิมที่อยู่ในธนาคารอิสลาม จะต้องจ่ายซะกาต ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้หลักวะดีอะห์หรือภายใต้หลักมุฎอรอบะฮ์ ก็ตาม

2- ให้บริการรับโอนซะกาต คือ เมื่อลูกค้ามีความประสงค์จะโอนเงินซะกาตของตน ไปให้แก่บุคคลที่ตนต้องการผ่านธนาคาร การให้บริการนี้ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเงิน

3- จ่ายสมทบเข้าบัญชีซะกาต ทรัพย์สินในธนาคารมีสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นของผู้ถือหุ้น และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากของลูกค้า ส่วนที่ธนาคารจะจ่ายสมทบเข้าบัญชีซะกาต คือ ผลกำไรที่เกิดจากการประกอบการของธนาคาร

ปีบัญชีซะกาต คิดบัญชีซะกาต ตามปฏิทินจันทรคติ และจ่ายซะกาตในอัตราร้อยละ 2.5 % ไม่ยินยอมให้ใช้ปฏิทินสุริยคติ นอกจากกรณีจำเป็น เช่นบริษัทต่างๆที่มีปีงบดุลตามปฏิทินสุริยคติ ซึ่งมากกว่าปฏิทินจันทรคติ ประมาณ 11 วัน และจะต้องจ่ายซะกาตเพิ่มขึ้น เป็นอัตราร้อยละ 2.5775 %

ผู้มีสิทธิ์รับซะกาต
ตามที่ศาสนากำหนดคือ คนยากจน, คนยากไร้, เจ้าหน้าที่เก็บซะกาต, ผู้ที่ศรัทธาใหม่, ทาสที่ต้องการไถ่ตน, คนมีหนี้สินในวิถีทางของอัลเลาะห์, และคนเดินทาง

คณะกรรมการซะกาตของธนาคาร คือ คณะที่ปรึกษาด้านศาสนาของธนาคาร มีหน้าที่พิจารณากิจการซะกาต

สถานภาพของระบบทุนนิยมปัจจุบัน

พัฒนาการทางสังคมที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมจากจุดแรกเริ่มมาถึงปัจจุบันเราเห็นได้อย่างชัดเจน ในแง่เทคโนโลยี มันมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ล่าสุดคอมพิวเตอร์ ,พันธุวิศวกรรม สิ่งใหม่เกิดขึ้นเพื่อทดแทนสิ่งเก่าโดยมีแรงผลักดันที่สำคัญ ๆ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มอัตรากำไร ทั้งในด้านการผลิตและโครงสร้างทางสังคม

ในยุคปัจจุบันแน่นอนที่สุดว่า การพัฒนาขั้นสูงไม่ได้ถูกใช้เพื่อสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่แต่อย่างใด ดังนั้นความอดอยากจึงดำรงอยู่คู่กันเป็นเส้นขนาน เพื่อเปิดประตูเข้าสู่การค้นหาความจริงว่า เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธสามารถที่จะแทรกตัวเข้าสู่ระบบปัจจุบันได้หรือไม่? เมื่อโครงสร้างทางสังคมโดยรวมของโลกเป็นระบบทุนนิยม ประชากรโลกอยู่ในโครงข่ายวิถีการผลิตของระบบทุน โครงสร้างทางสังคม สถาบันทางสังคม คุก ศาล ทหาร ตำรวจ รัฐสภา ล้วนมีอยู่เพื่อสอดรับพิทักษ์ผลประโยชน์ของทุน ไม่เว้นแม้กระทั่งสถาบันทางศาสนา พุทธเศรษฐศาสตร์จะเข้ามาจุติ ณ ที่แห่งใดในแรกเริ่ม กลุ่มพลังใดจะเป็นตัวผลักดันการเปลี่ยนแปลง? และมีพลังจริงหรือไม่?

มีวิธีการรับอำนาจเก่าอย่างไร? วิธีการจัดการกับทุนในระบบเศรษฐกิจมีอะไร? เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตตรงไหน? วิธีการสะสมทุนเพื่อสร้างสวัสดิการทางสังคมจะเอามาจากไหน? เหล่านี้ล้วนแต่เป็นโจทย์สำคัญที่แนวศาสนาต้องตอบให้ได้ว่าจะจัดการกับระบบเดิมอย่างไร ความเชื่อ ความศรัทธา จะเข้ากับความเป็นจริงได้หรือไม่?(วารสารประชาธิปไตยแรงงาน ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือนกพ.2547)

เศรษฐกิจแนวศาสนา พาเราไปทางไหน?

กาลอดีตเมื่อไม่นานฟองสบู่สีสวยแห่งทุนนิยมแตกออก มันได้ดับฝันดับอนาคตของคนหลาย ๆ คน หลายคนมีความรวดร้าวทั้งทางด้านกายและจิตใจ การหันกลับไปมองรากเหง้าของวัฒนธรรมไทยๆ นับเป็นทางเลือกที่ชวนปรารถนา เนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนหมู่บ้านไทยมีรากฐานบนวัฒนธรรมศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุทธ จึงมีความพยายามที่จะดึงเอาศาสนาพุทธ มาปักเป็นธงนำเพื่อหาทางออกโดยยึดและประยุกต์ คำสอนทางศาสนาให้เป็นศาสตร์ทางเศรษฐกิจ กลุ่มที่น้อมรับแนวนี้อย่างสุดตัวก็ เช่น กลุ่ม เอ็นจีโอ บางส่วน , เศรษฐศาสตร์การเมืองจุฬา ที่เน้นประวัติศาสตร์หมู่บ้าน, ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ชูทฤษฎีสองระบบหมู่บ้านไทย, ประเวศ วะสี นำเสนอพุทธเกษตร เป็นต้น ส่วนที่พยายามยกระดับให้เป็นศาสตร์ทางเลือกแทนที่ระบบปัจจุบันก็คงจะหนีไม่พ้นหนังสือ ?พุทธเศรษฐศาสตร์? ของ อภิชัย พันธเสน ในคำนำของหนังสือเล่มนี้ เขากล่าวไว้ว่า ปัญหาเศรษฐกิจอาจจะมีสาเหตุที่มิใช่เหตุผลทางเศรษฐกิจก็ได้ ดังนั้นแนวทางแก้ไขก็ไม่จำเป็นต้องใช้แนวทางเศรษฐศาสตร์เสมอไป แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยคุณธรรมและจริยธรรมของแนวทางศาสนา

มติและคำแนะนำสภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม เลขที่ 110(9/12) เกี่ยวกับเรื่องเงินเฟ้อและการขึ้นลงของอัตราเงิน

มติและคำแนะนำสภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม เลขที่ 110(9/12) เกี่ยวกับเรื่องเงินเฟ้อและการขึ้นลงของอัตราเงิน

ในการประชุมครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ญะมาดิลอาคิรฺ ถึงวันที่ 1 เดือนเราะญับ ฮ.ศ.1421 ตรงกับวันที่ 23 -28 กันยายน ค.ศ.2000 ในกรุงริย้าด (อาณาจักรซาอุดิอารเบีย) สภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม(The Council of Islamic Fiqh Academy) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยองค์การที่ประชุมอิสลาม (OIC) ได้พิจารณาการศึกษาครั้งล่าสุดและการแนะนำของสภานิติศาสตร์เศรษฐกิจเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าเรื่องเงินเฟ้อ (ซึ่งจัดขึ้นสามครั้งในญิดด๊ะฮฺ, กัวลาลัมเปอร์และมานาม) และหลังจากที่ได้ฟังการพูดคุยกันถึงเรื่องนี้โดยผู้เชี่ยวชาญและนักนิติศาสตร์อิสลามแล้ว สภามีมติว่า :

1) ยืนยันมติหมายเลข 42 (4/5) ก่อนหน้านี้ซึ่งกล่าวว่า :- “สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงในการชำระเงินกู้คืนก็คือการจ่ายเงินคืนจะต้องจ่ายด้วยเงินสกุลเดียวกันในจำนวนที่เท่ากัน ไม่ใช่จ่ายโดยมูลค่าของสกุลเงินนั้น เพราะเงินกู้จะต้องจ่ายคืนด้วยเงินจำนวนเดียวกัน ดังนั้น จึงไม่เป็นที่อนุญาตให้ผูกการจ่ายเงินกู้ไว้กับการขึ้นลงของอัตราสกุลเงินไม่ว่าจะสกุลเงินอะไรก็ตาม”

2) อนุญาตให้กำหนดมาตรการระวังล่วงหน้าเมื่อทำสัญญากู้เงินในช่วงเวลาของเงินเฟ้อโดยไม่ต้องใช้สกุลเงินที่คิดว่าจะมีอัตราผันผวน เงินกู้อาจทำได้โดยสิ่งต่อไปนี้ :

ก) ทองคำหรือเงิน

ข) สินค้าที่เหมือนกัน

ค) สินค้าที่เหมือนกันจำนวนหนึ่ง

ง) เงินต่างประเทศที่แข็งค่ากว่า

จ) เงินจำนวนหนึ่ง เป็นเรื่องจำเป็นที่เครื่องมือการชำระเงินในกรณีดังกล่าวมาข้างต้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากับจำนวนที่กู้มา ผู้ให้กู้จะต้องได้รับเฉพาะสิ่งที่ตัวเองให้กู้ไปเท่านั้น กรณีดังกล่าวแตกต่างไปจากกรณีต้องห้ามที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งให้เงินกู้ไปสกุลหนึ่งและกำหนดให้ผู้กู้จ่ายคืนด้วยเงินอีกสกุลหนึ่งหรือจำนวนหนึ่ง ข้อห้ามในกรณีเช่นนี้ได้ถูกประกาศไว้แล้วในมติเลขที่ 75 (6/8) ของสภาในการประชุมครั้งที่ 8

3) จากทัศนะของอิสลาม ไม่เป็นที่อนุญาตให้ทำสัญญาที่มีข้อตกลงผูกพันเงินกู้ไว้กับสิ่งต่อไปนี้ :-

ก) สกุลเงินที่ใช้หักหนี้

ข) ดัชนีครองชีพหรือดัชนีอื่นๆ

ค) ทองคำและเงิน

ง) ราคาของสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง

จ) ดัชนีการพัฒนาผลผลิตแห่งชาติ

ฉ) สกุลเงินอื่น

ช) ดอกเบี้ย

ซ) ดัชนีราคาของสินค้าบางอย่าง

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการผูกพันดังกล่าวนำไปสู่การหลอกลวงและคู่สัญญาไม่รู้แน่ชัดถึงสิทธิ์และความรับผิดชอบของตน สัญญาจะถูกต้องใช้ได้ก็ต่อเมื่อคู่สัญญารู้แน่ชัดในสัญญาและทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นล่วงหน้าในการทำสัญญา ถ้าเงินกู้ถูกกำหนดไว้ให้ขึ้นอยู่กับการขึ้นราคาของสินค้าแล้ว เงินกู้ก็จะไม่มีมูลค่าเท่าเดิมในตอนชำระคืน และการเพิ่มขึ้นใดในสิ่งที่ได้ถูกกำหนดไว้ในสัญญาก็คือดอกเบี้ย

มติและคำแนะนำสภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม เลขที่ 66(4/7) เกี่ยวกับเรื่องการขายที่มีเงื่อนไขจำนอง

มติและคำแนะนำสภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม เลขที่ 66(4/7) เกี่ยวกับเรื่อง “บัยอฺ อัลวะฟาอฺ” (การขายที่มีเงื่อนไขจำนอง)

ในการประชุมครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-12 ซุลเกาะอฺด๊ะฮฺ ฮ.ศ.1412 ตรงกับวันที่ 9-14 พฤษภาคม ค.ศ.1992 ในนครญิดด๊ะฮฺ (อาณาจักรซาอุดิอารเบีย) สภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม(The Council of Islamic Fiqh Academy)ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยองค์การที่ประชุมอิสลาม (OIC) ได้พิจารณาเอกสารการศึกษาค้นคว้าที่สภาได้รับมาเกี่ยวกับเรื่อง “การขายที่มีเงื่อนไขจำนำ” (การขายที่ผู้ขายจ่ายคืนราคาให้แล้ว ผู้ซื้อก็คืนสินค้าที่ซื้อมาให้)

และหลังจากที่ได้ฟังการถกเถียงกันถึงเรื่องนี้แล้ว สภาได้มีมติว่า :-

1) การขายเช่นนี้ความจริงแล้วเป็น “เงินกู้อย่างหนึ่งซึ่งได้ก่อให้เกิดกำไรแล้ว” ดังนั้น มันจึงเป็นการหลอกลวงในเรื่อง “ริบา” และตามทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง

2) ตามหลักกฎหมาย สัญญานี้ไม่เป็นที่อนุญาต หมายเหตุ : บัยอฺ อัลวะฟาอฺ (การขายโดยมีเงื่อนไขจำนำ) เป็นการขายโดยมีเงื่อนไขที่ว่าเมื่อผู้ขายคืนราคาให้ ผู้ซื้อก็จะคืนสิ่งที่ซื้อมาให้ ตามฮุกุม(กฎ) การค้าขายเป็นที่อนุญาตถ้ามองในแง่ที่ว่าผู้ซื้อได้รับกำไร อย่างไรก็ตาม การค้านี้ถูกมองว่าเหมือนกับ “การจำนำ” ที่ผู้ซื้อไม่มีสิทธิ์ที่จะขายสินค้าของตนให้คนอื่น

มติและคำแนะนำสภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม เลขที่ 65(3/7) เกี่ยวกับเรื่องสัญญาจ้างทำ

ในการประชุมครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-12 ซุลเกาะอฺด๊ะฮฺ ฮ.ศ.1412 ตรงกับวันที่ 9-14 พฤษภาคม ค.ศ.1992 ในนครญิดด๊ะฮฺ (อาณาจักรซาอุดิอารเบีย) สภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม(The Council of Islamic Fiqh Academy)ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยองค์การที่ประชุมอิสลาม (OIC) ได้พิจารณาเอกสารการศึกษาค้นคว้าที่สภาได้รับมาเกี่ยวกับเรื่อง “สัญญาจ้างทำ” (อะกั๊ดอิสติศนาอฺ) หลังจากได้ฟังการถกเถียงกันในเรื่องนี้โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน กฎของนิติศาสตร์อิสลามเกี่ยวกับเรื่องสัญญาและการค้าขายและได้พิจารณาถึงความสำคัญของสัญญาอิสติศนาอฺในการกระตุ้นอุตสาหกรรมและในการเปิดโอกาสให้กว้างขึ้นทางด้านสินเชื่อและการส่งเสริมเศรษฐกิจอิสลามแล้ว สภาได้มีมติว่า :-

1) สัญญาอิสติศนาอฺซึ่งเป็นเรื่องของการให้สินเชื่อแก่งานและสินค้านั้นเป็นข้อผูกมัดทั้งสองฝ่ายถ้ามันเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขขั้นพื้นฐาน

2) สัญญาอิสติศนาอฺจะต้องกำหนดสิ่งต่อไปนี้ไว้ ก. ลักษณะ ประเภท จำนวนและข้อกำหนดที่จำเป็นของสิ่งที่จะทำหรือบริการที่ต้องการ ข. ขอบเขตของเวลา

3) ในสัญญาอิสติศนาอฺ การจ่ายเงินเต็มจำนวนอาจทำทีหลังหรืออาจจ่ายเป็นงวดตามวันที่กำหนดไว้ก็ได้

4) สัญญาอิสติศนาอฺอาจรวมบทลงโทษไว้ก็ได้ถ้าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันตราบใดที่ไม่มีเรื่องของการบังคับกัน

นิติศาสตร์อิสลามเกี่ยวกับการตกลงซื้อ-ขายในรูปแบบต่างๆ

มติและคำแนะนำของสภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม เลขที่ 65(2/7) เกี่ยวกับเรื่องการขายแบบผ่อนชำระ ในการประชุมครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-12 ซุลเกาะอฺด๊ะฮฺ ฮ.ศ.1412 ตรงกับวันที่ 9-14 พฤษภาคม ค.ศ.1992 ในนครญิดด๊ะฮฺ (อาณาจักรซาอุดิอารเบีย) สภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม(The Council of Islamic Fiqh Academy)ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยองค์การที่ประชุมอิสลาม (OIC) ได้พิจารณาเอกสารการศึกษาค้นคว้าที่สภาได้รับมาเกี่ยวกับเรื่อง “การขายแบบผ่อนชำระ” และเป็นเรื่องสืบนื่องมาจากมติหมายเลข 51(2/6) ในการประชุมของสภาครั้งที่ 6

หลังจากได้พิจารณาข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว สภาได้ลงมติว่า :-

1) การขายผ่อนชำระเป็นงวดๆเป็นที่อนุญาตในหลักกฎหมายอิสลามถึงแม้ว่าราคาขายผ่อนจะเกินกว่าราคาขายสด (ที่จ่ายกันทันทีเมื่อซื้อขาย)

2) เอกสารทางการค้า เช่น เช็ค หนังสือมอบอำนาจ ใบเบิกถอน ตั๋วสัญญาใช้เงินและใบแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นรูปแบบบางอย่างของเอกสารรับรองหนี้ที่เชื่อถือได้

3) การลดมูลค่าเอกสารการค้าไม่เป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลามเพราะมันเหมือนกับการค้าที่เกี่ยวข้องกับริบาอันนาซิอ๊ะฮฺ (ดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากการเลื่อนเวลาจ่ายเงิน) ซึ่งเป็นที่ต้องห้าม(ฮะรอม)อย่างชัดเจน

4) การลดหนี้ผ่อนชำระเพื่อกระตุ้นให้จ่ายหนี้เร็วขึ้นไม่ว่าจะโดยการขอร้องของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ (จ่ายน้อยแต่จ่ายก่อนกำหนดเวลา) ถือเป็นที่อนุญาตในหลักกฎหมายอิสลาม วิธีการนี้ไม่ตกอยู่ในข่ายริบาที่ต้องห้าม ถ้าหากไม่ได้มีการตกลงล่วงหน้ากันไว้ก่อนและตราบใดที่ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้อยู่ ถ้าหากมีฝ่ายที่สามระหว่างทั้งสองฝ่าย การลดหนี้ไม่เป็นที่อนุญาตเพราะกฎ(ฮุกุม)ในเรื่องนี้จะเหมือนกับกฎของการซื้อลดเอกสารทางการค้า

5) เป็นที่อนุญาตให้สองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินตกลงกันว่าค่างวดทั้งหมดจะต้องได้รับการชำระถ้าหากลูกหนี้ปฏิเสธที่จะชำระหนี้งวดหนึ่งงวดใดตราบใดที่ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

6) ถ้าหากถึงเวลาชำระหนี้ หากมีการตาย การล้มละลายหรือการล่าช้าของลูกหนี้ ในกรณีที่กล่าวมานี้ทั้งหมด จำนวนหนี้อาจลดได้ทั้งนี้เพื่อที่จะให้มีการชำระหนี้เร็วขึ้นโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องได้รับการยินยอมร่วมกันของทั้งสองฝ่าย

7) เกณฑ์ตัดสินการล้มละลายที่จะนำมาใช้ก็คือลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่เกินความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่เขาจะชำระหนี้เป็นเงินสดหรือเป็นสิ่งของ

นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์อิสลาม-ศาสตราจารย์ คูรชีด อะหฺมัด

ศาสตราจารย์ คูรชีด อะหฺมัดรองหัวหน้า Jamaat-e-Islami Pakistan

ศาสตราจารย์คูรชีด อะหฺมัด เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลก ในฐานะเป็นนักการศึกษา นักเศรษฐศาสตร์ นักเขียน และเผยแผ่อิสลาม ท่านเกิดที่เมืองเดลฮีในวันที่ 23 เมษายน 1932 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านกฎหมาย ปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์และอิสลามศึกษา และได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ด้านการศึกษาอีกด้วย


เป็นเรื่องยากที่จะบอกถึงการเสียสละทั้งหมดของศาตราจารย์คูรชีด อะหฺมัด ที่มีต่องานอิสลาม ไม่ว่าทางการศึกษา ทางเศรษฐศาสตร์ หรืองานด้านสังคมมุสลิมทั้งหมดได้ ความลึกซึ้งเกี่ยวกับการศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาทางศาสนาทั้งทางตะวันตกและตะวันออก รวมไปถึงด้านเศรษฐศาสตร์และงานวิชาการด้านอื่นๆ ทำให้ท่านได้รับความเชื่อถือในระดับประเทศและนานาชาติในสาขาสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ และสาขาอื่นๆที่ประกอบด้วยมุมมองปัญหาที่ซับซ้อน


ในฐานะนักวิชการ ศาสตร์จารย์คูรชีด อะหฺมัดเคยสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยการาจีระหว่างปี 1955-68 และเคยเป็นนักวิชาการ นักวิจัยประจำของ University of Leicester ในประเทศอังกฤษ ท่านเคยทำงานในฐานะประธานของสถาบันนานาชาติเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม(International Institute of Islamic Economics) ของมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ ปากีสตานในระหว่างปี 1983-87 เป็นประธานสมาคมนานาชาติเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม(International Association of Islamic Economics)ณ ประเทศอังกฤษในปี1984-92 เป็นสมาชิกของสภาทีปรึกษาสูงสุด(Supreme Advisory Council) ของมหาวิทยลัย คิง อับดุลอะซีซ ประเทศซาอุดี อาระเบียในปี 1979-83 และตำแหน่งทางวิชการอื่นๆอีกมากมาย ท่านเคยได้รับตำแหน่งทางการเมือง โดยได้รับการรับเลือกเป็นสมาชิกสภาสูงของปากีสตาน 2 สมัย(1985-l997)
ศาสตราจารย์คูรชีด อะหฺมัดเคยเป็นบรรณาธิการวารสารหลายฉบับ และได้เขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษและอูรดูมากกว่า 70 เล่ม ไม่รวมงานเขียนชิ้นเล็กๆอีกจำนวนมาก นอกจากนี้ท่านยังได้ให้ประโยชน์ทางวิชาการ โดยเข้าร่วมประชุมและสัมมนาระหว่างประเทศอย่างมากมาย


ด้วยการทุมเทงานด้านเศรษฐศาสตร์ ท่านได้รับรางวัล the First Islamic Development Bank Award for Economics ในปี 1988 และรางวัล King Faisal International Prize ในปี 1990 และรางวั Prize of American Finance House ทีสหรัฐอเมริกาในปี 1998


ท่านเริ่มต้นเข้าสู่ขบวนการอิสลาม โดยการเข้าร่วมกับขบวนการนักศึกษาอิสลามของปากิสตาน หรือเรียกเป็นภาษาอูรดูว่า อิสลามี ญะมิอัต-อี-ตาลาบา(Islami Jamiat-e-Talaba (IJT)) องค์กรนักศึกษาที่ใหญ่ที่สุดของปากีสตานในปี 1949 และได้รับเลือกเป็นประธานขององค์กร(Nazim-e-A’ala)ในปี 1953 ในที่สุดท่านก็ได้เข้าสู่ขบวนการอิสลามระหว่างประเทศคือ ญะมะอะฮฺ อิสลามียะฮฺ(Jama’at-e-Islami) ในปี 1956 ซึ่งเป็นขบวนการอิสลามที่ก่อตั้งโดยเมาลานา อบุล อะอฺลา อัล-เมาดูดี ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกมุสลิม ท่านเองเป็นศิษย์คนสำคัญของซัยยิด เมาดูดี และได้แปลงานเขียนหลายเล่มของซัยยิด เมาดูดี สู่ภาษาอังกฤษ


นอกจากนี้ท่านยังรับบทบาทสำคัญคือ การเป็นบรรณธิการของวารสารตัรญมะนุล กุรอาน(Tarjumanul Quran) ซึ่งวารสารที่สำคัญที่สุดของ ญะมะอะฮฺ อิสลามียะฮฺ ปากีสตาน ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้า(Naib Ameer)ของ ญะมะอะฮฺ อิสลามียะฮฺ ปากีสตาน
..............................................

การให้สินเชื่อของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(The service of loan)

การให้สินเชื่อของธนาคาร ให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ในการใช้เงินของลูกค้า ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลงร่วมกัน โดยลูกค้าจะทราบถึงภาระการชำระที่ลูกค้าผูกพันกับธนาคารตลาดอายุสัญญา

สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค
+ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
+ สินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์
+ สินเชื่อเพื่อการอุปโภค
+ สินเชื่อเพื่อการเดินทาง
+ สินเชื่อเพื่อการศึกษาต่อในประเทศ
+ สินเชื่อเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ
+ วงเงินสัจจวัฏ
+ วงเงินอเนกประสงค์


สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
สินเชื่อระยะเวลา (Term Financing Facilities)
+ สินเชื่อเพื่อซื้อร้านค้า
+ สินเชื่อเพื่อซื้อที่ดิน
+ สินเชื่อเพื่อซื้อโรงงานพร้อมเครื่องจักร
+ สินเชื่อเพื่อก่อสร้าง
+ สินเชื่อเพื่อก่อสร้างโรงงาน
+ สินเชื่อเพื่อไถ่ถอนทรัพย์สินสินเชื่อหมุนเวียน (Revolving Facilities)
+ วงเงินทุนหมุนเวียน
+ สินเชื่อวงเงินเบิกถอนเงินสด
+ สินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์สินเชื่อการเช่าและการเช่าซื้อ
+ การเช่าซื้อรถยนต์
+ การเช่าซื้อเครื่องจักร
+ การเช่าซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือ
+ การเช่าซื้อคอมพิวเตอร์
+ สินเชื่อเพื่อการเช่าทรัพย์สิน

ตั๋วเงินและภาระผูกพัน
+ การค้ำประกัน
+ การรับรองตั๋วแลกเงิน และ การอาวัลตั๋วเงิน
+ การซื้อลดตั๋วเงิน

สินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ
+ เลตเตอร์ออฟเครดิต
+ ทรัสต์รีซีท
+ แพคกิ้งเครดิต

บัญชีเงินฝากภายใต้หลักวาดิอะฮ์(Wadeeah of deposit type)

บัญชีเงินฝากภายใต้หลักวาดิอะฮ์
เป็นเงินฝากที่ผู้ฝากจะได้รับความสะดวกในการบริการทางการเงินผ่านสมุดคู่ฝาก บัตร ATM และเช็ค ขึ้นอยู่กับบัญชีแต่ละประเภท
+ บัญชีออมทรัพย์
+ บัญชีเดินสะพัด
+ บัญชีอัล – ฮัจญ์

บัญชีเงินฝากภายใต้หลักมุดอรอบะฮ์(Mudorabah of deposit type)

บัญชีเงินฝากภายใต้หลักมุดอรอบะฮ์

เป็นเงินฝากที่ผู้ฝากมอบเงินให้ธนาคารไปบริหาร และธนาคารจะแบ่งกำไรจากผลประกอบการให้กับผู้ฝาก ตามสัดส่วนที่ได้ตกลง

บัญชีมุดอรอบะฮ์ทั่วไปรับผลตอบแทนหากครบกำหนดระยะเวลา
เปิดบัญชีขั้นต่ำ 5,000 บาท
- 3 เดือน ผลตอบแทน 50:50
- 6 เดือน ผลตอบแทน 60:40
- 12 เดือน ผลตอบแทน 70:30

บัญชีอัล อะมีน
รับผลตอบแทนทุกเดือนเปิดบัญชีขั้นต่ำ 500,000 บาท
- อัล อะมีน 3 เดือน ผลตอบแทน 50:50
- อัล อะมีน 6 เดือน ผลตอบแทน 55:45

เปิดบัญชีขั้นต่ำ 1,000,000 บาท
- อัล อะมีน 12 เดือน ผลตอบแทน 60:40

เปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000,000 บาท
- อัล อะมีน 12 เดือน ผลตอบแทน 70:30

บัญชีอัล ศิดดีก

บริการด้านเงินฝากของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(Deposit Service of Islamic Bank)


รูปแบบการเงินใหม่ล่าสุดของเมืองไทย ฉีกกฎเกณฑ์เดิมที่ท่านเคยรู้จัก ภายใต้การบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจากมืออาชีพทางการเงิน ด้วยบริการด้านเงินฝากของเรา ท่านไม่ต้องกังวลกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลงทุกวัน เพราะเราให้มากกว่าดอกเบี้ย เดินเข้ามาหาเราแล้วท่านจะพบกับสิ่งที่ดีกว่า...

บัญชีเงินฝากภายใต้หลักมุดอรอบะฮ์

เป็นเงินฝากที่ผู้ฝากมอบเงินให้ธนาคารไปบริหาร และธนาคารจะแบ่งกำไรจากผลประกอบการให้กับผู้ฝาก ตามสัดส่วนที่ได้ตกลง




บัญชีเงินฝากภายใต้หลักวาดิอะฮ์

เป็นเงินฝากที่ผู้ฝากจะได้รับความสะดวกในการบริการทางการเงิน ผ่านสมุดคู่ฝาก บัตร ATM และเช็ค ขึ้นอยู่กับบัญชีแต่ละประเภท

บริการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (The services of Islamic Bank)

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารเฉพาะกิจที่ดำเนินงานตาม พระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ปัจจุบันมีสถานะเป็น รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง โดยมีคณะกรรมการธนาคารดูแลควบคุมทางด้านการบริหารจัดการ และคณะที่ปรึกษาด้านศาสนาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยดูแล และควบคุม ให้บริการทางการเงินถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม

ธนาคารตามหลักอิสลาม ให้บริการเพื่อทุกท่านโดยยึดหลักการที่สำคัญ คือ
1. ธนาคารไม่ดำเนินธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย
2. ธนาคารไม่สนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเก็งกำไร การผูกขาด การผิดศีลธรรม และอบายมุข
3. มุ่งเน้นการดำเนินงานที่ชัดเจน โปร่งใส และยุติธรรม

รูปแบบการให้บริการ
-บริการด้านเงินฝาก
-บริการด้านสินเชื่อ
-บริการทางการเงินอื่นๆ

ธนาคารอิสลามในประเทศไทย(Islamic Bank of Thailand)

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารเฉพาะกิจที่ดำเนินงาน ตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง โดยมีคณะกรรมการธนาคารดูแลควบคุมทางด้านการบริหารจัดการ และคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ดูแลควบคุมให้บริการทางการเงินถูกต้อง ตามหลักศาสนาอิสลาม ธนาคารให้บริการทางการเงินแก่คนไทยทุกคน โดยไม่จำกัดศาสนา

แนวความคิดในการจัดตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2537 ธนาคารจะมุ่งดำเนินธุรกิจตามหลักการของศาสนาอิสลาม ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ให้บริการด้วยความรวดเร็วถูกต้อง

เป็นธนาคารแนวหน้าในประเทศไทยที่ให้บริการทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม โดยคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 5 พ.ย.2545

แนวความคิดในการจัดตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2537 เมื่อรัฐบาลไทยได้ลงนามในโครงการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่ายระหว่างอินโดนิเซีย, มาเลเซีย, ไทย หรือที่เรียกว่า"โครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ" โดยโครงการดังกล่าวรัฐบาลไทยเป็นฝ่ายรับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการเฉพาะเพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงในโครงการดังกล่าวเนื่องจากประชากรในพื้นที่โครงการของทั้งสามฝ่ายเป็นชาวมุสลิมส่วนใหญ่ที่ดำเนินชีวิตตามหลักการอิสลาม ดังนั้นจึงได้มีข้อเสนอให้มีการจัดตั้งธนาคารอิสลามขึ้นเพื่อเป็นช่องทางทางด้านการเงินสำหรับชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ของโครงการด้วย

ความแตกต่างทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์อิสลาม(The various of economist) ตอนที่ 3

กลุ่ม 3

ทัศนะของกลุ่มนี้จะวิจารณ์ทัศนะของทั้งสองกลุ่มที่กล่าวมาว่า กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่พยามค้นหาสิ่งใหม่ ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่คนเขาค้นพบมาแล้ว และสลัดทิ้งทฤษฎีเก่าเอาทฤษฎีใหม่ ส่วนกลุ่มที่ 2 ถูกวิจารณ์ว่าเป็นกลุ่มที่ลอกเลียนแบบเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกโดยให้ดอกเบี้ยหายไปและแทนด้วยซะกาตและเนียต(เจตนา)

ทัศนะของกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่คิดเชิงวิจารณ์ พวกเขามีความเห็นว่าการวิเคราะห์เชิงวิจารณ์ไม่ใช่เฉพาะกับระบบทุนนิยมหรือสังคมนิยมเท่านั้น แต่กับระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามก็เช่นกัน พวกเขามีความเชื่อมั่นว่าอิสลามนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด แต่เศรษฐศาสตร์อิสลามนั้นยังไม่แน่นอน เพราะเศรษฐศาสตร์อิสลามคือผลมาจากการวิเคราะห์ของมนุษย์จากอัลกุรอ่านและสุนนะห์ จนค่าของความเป็นจริงไม่เป็นสิ่งเด็จขาด ทฤษฎีหรือสิ่งค้นพบจำเป็นต้องทดสอบความถูกต้องอยู่เสมอ เช่นเดียวกับเศรษฐศาสตร์ทั่วไป

นักคิดกลุ่มนี้คือ Timur Kuran (หัวหน้าสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ของ University of Southern Califonia) , Jomo (Yale, Cambridge, Harvard, Malaya) Muhammad Arif และคนอื่นๆ

ความแตกต่างทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์อิสลาม(The various of economist) ตอนที่ 2

กลุ่มที่ 2

ทัศนะของกลุ่มนี้มีความเห็นที่แตกต่างจากกลุ่มแรก ทัศนะของกลุ่มนี้กลับเห็นด้วยกับทัศนะที่ว่า ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นจากการที่ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด อาจจะเป็นจริงว่าอุปสงค์รวมและอุปทานของข้าวสารที่มีอยู่บนโลกนี้อยู่ในจุดดุลยภาพ แต่ถ้าเราไปมองในสถานที่ที่หนึ่งหรือในเวลาเวลาหนึ่งจะพบว่ามีการขาดแคลนเกิดขึ้น แถมยังเกิดขึ้นบ่อยเสียด้วย ตัวอย่างเช่น อุปทานข้าวในประเทศอิทิโอเปีย บังลาเทศ แน่นอนย่อมมีความขาดแคลนมากกว่าข้าวสารในประเทศไทย ดังเหตุนั้นความขาดแคลนนั้นย่อมมี และอิสลามก็ยอมรับ ดังหลักฐานที่มีใจความว่า “และแน่นอน เราจะทดลองพวกเจ้าด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากความกลัว และความหิวด้วยความสูญเสีย (อย่างใดอย่างหนึ่ง) จากทรัพย์สมบัติ ชีวิต และพืชผล และเจ้าจงแจ้งข่าวดีกับผู้อดทนเถิด” (สูเราะห์อัลบากอเราะห์ อายาตที่ 155)

ส่วนความต้องการของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด ถือเป็นเรื่องปกติ ด้วยหลักฐาน ที่มีใจความว่า “การสะสมทรัพย์สมบัติเพื่ออวดอ้าง ได้ทำให้พวกเจ้าเพลิดเพลิน จนกระทั่งพวกเจ้าเข้าไปยังหลุมฝังศพ เปล่าเลย พวกเจ้าจะได้รู้ และเปล่าเลยพวกเจ้าจะได้รู้ มิใช่เช่นนั้น ถ้าพวกเจ้าได้รู้อย่างแท้จริงแล้ว” (สูเราะห์อัตตากาซูร อายาตที่ 1-5) และก็ได้มีฮาดีษของท่านรซูลที่มีใจความสรุปว่า มนุษย์นั้นไม่เคยมีวันที่เขามีความพอเพียง ถ้าให้ทองหนึ่งก้อน เขาก็จะขอก้อนที่สอง ถ้าให้ก้อนที่สอง เขาก็จะได้ก้อนที่สาม และต่อๆ ไป จนกว่าเขาจะเข้าหลุมฝังศพ ถ้าดูแล้วกลุ่มทัศนะนี้ก็ไม่มีความแตกต่างจากแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป แล้วใหนละที่เป็นอิสลาม?

ความแตกต่างของทัศนะนี้กับเศรษฐศาสตร์ทั่วไปอยู่ที่การตัดสินใจหรือการแก้ปัญหา ในการที่มนุษย์เจอกับปัญหาความขาดแคลนทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์ไม่สิ้นสุด ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องเลือก และให้ความสำคัญก่อนหลังเพื่อตอบสนองความต้องการ และจะตัดสินใจเลือกในสิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับเขาก่อน ในการตัดสินใจของมนุษย์ที่ไม่มีศาสนาจะตัดสินใจตามความอำเภอใจของเขา แต่สำหรับมนุษย์ที่มีศาสนาจะตัดสินใจตามหลักการศาสนาที่มาจากอัลกุรอ่านและสุนนะห์

นักคิดกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งคือ M.Umer Chapra, M.A.Mannan, M.Nejatullah Siddiqi และคนอื่น ส่วนใหญ่พวกเขาทำงานกับ Islamic Development Bank (IDB) ซึ่งมีงบประมาณอยู่มาก และสามารถขยายแนวความคิดได้อย่างรวดเร็ว พวกเขาส่วนใหญ่เป็นบัณฑิตที่จบจากตะวันตก ด้วยเหตุนั้นพวกเขาจึงไม่ทิ้งทฤษฎีทั่วไปลงในถังขยะ การเอาสิ่งที่ดีและมีประโยชน์จากเชื้อชาติไม่ใช่สิ่งที่ฮาราม ท่านนบีได้กล่าวว่าวิชาความรู้สำหรับมุสลิมเปรียบเสมือนสิ่งของที่สูญหาย หากมีการพบเจออุมมัตอิสลามเป็นผู้เหมาะสมที่สุดที่จะได้รับ ประวัติศาสตร์ได้จารึกถึงเหตุการณ์เหล่านี้ที่นักวิชาการมุสลิมได้จับเอาวิชาความรู้จากวัฒนธรรมอื่น เช่น ยูนาน อินเดีย จีน เปอร์เซีย เป็นต้น จนทำให้มีการเพิ่อทางความรุ้และให้แสงสว่างให้กับอิสลาม

ความแตกต่างทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์อิสลาม(The various of economist) ตอนที่ 1

ความแตกต่างทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์อิสลามที่สามารถรวบรวมได้จนถึงปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1 ทัศนะในกลุ่มแรกนี้นำโดย Bagir as-Sadr ด้วยงานเขียนของเขาที่ชื่อว่า “อิกติศอดุนา” ทัศนะในกลุ่มนี้มรความเห็นว่า วิชาเศรษฐศาสตร์นั้นไม่เคยไปในทางเดียวกันกับอิสลาม เศรษฐศาสตร์ก็เป็นเศรษฐศาสตร์ อิสลามก็ยังคงเป็นอิสลาม ทั้งสองไม่สามารถที่จะรวมกันได้เลย เพราะทั้งสองมาจากปรัชญาที่แตกต่างกัน อีกด้านหนึ่งต่อต้านอิสลาม อีกด้านหนึ่งเป็นอิสลาม

ตามทัศนะของกลุ่มนี้มีความเห็นว่า ความแตกต่างทางปรัชญามีผลต่อความแตกต่างทางมุมมองในเรื่องเศรษฐกิจ ตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นเพราะความต้องการของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด ส่วนทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อตอบสนองความต้องการของมุษย์มีอยู่จำนวนจำกัด ตามทัศนะกลุ่มนี้ปฎิเสฐขัอคิดเห็นดังกล่าว เพราะพวกเขาเห็นว่าอิสลามนั้นไม่รู้จักกับคำว่าทรัพยากรมีอยู่จำกัด หลักฐานที่ใช้คือ อายาตอัลกุรอ่านที่มีใจความว่า “แท้จริงทุกๆ สิ่งนั้นเราสร้างมันตามสัดส่วน” (สูเราะห์อัลกอมัร อายาตที่ 49)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺนั้นได้สร้างทรัพยากรที่มีอยู่อย่างพอเพียงต่อมนุษย์ในการมีชีวิตในโลกนี้ ทัศนะกลุ่มนี้เช่นกันได้ปฎิเสฐแนวความคิดที่ว่า มนุษย์นั้นมีความต้องการที่ไม่จำกัด ดูได้จากตัวอย่าง การที่มนุษย์ดื่มน้ำ เมื่อเขาอิ่มเขาก็จะหยุดกินทันที เป็นการไม่จริงที่มนุษย์มีความต้องการไม่จำกัด (จงเปรียบทัศนะนี้กับทฤษฎีอรรถประโยชน์เพิ่ม กฎของการลดน้อยถอยลงและกฎของ Gossen ในวิชาเศรษฐศาสตร์) ทัศนะกลุ่มนี้มีความเห็นว่า เศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นมาจากการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม จนทำให้ผู้ที่แข็งแรงเอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่า มีสิทธิในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรมากกว่า จนทำให้มีความร่ำรวยอย่างล้นหลาม คนที่จนก็จนอย่างน่าเอ็นดู ด้วยเหตุนั้นเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่เกิดขึ้นจากความขาดแคลนทรัพยากร แต่เกิดขึ้นจากความละโมบของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด

ด้วยเหตุนั้นพวกเขาเห็นว่า คำว่าเศรษฐศาสตร์อิสลามไม่เพียงแค่ไม่เหมาะสมหรือผิดเท่านั้น แต่ยังทำให้หลงผิดไปด้วย ดังนั้นให้หยุดใช้คำว่า เศรษฐศาสตร์อิสลามเสีย และเสนอศัพย์ใหม่ให้ ซึ่งมาจากปรัชญาอิสลาม นั้นก็คือค่ำว่า “อิกติศอด” ซึ่งมาจากรากเดิมของคำว่า “กอสด” มีความหมายว่า ความสมดุล ในฐานะที่เท่าเทียมกัน เหมาะสมหรือกึ่งกลาง

ในแนวทางเดียวกันพวกเขาได้ปฎิเสฐและสลัดทิ้งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทั่วไป และพยายามที่จะสร้างและเรียบเรียงทฤษฎีใหม่ที่ได้มาจากการค้นคว้าจากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะห์ นักคิดในกลุ่มนี้นอกจาก Bagir as-Sadr แล้วก็ยังมี Abbas Mirakhor, Baqir al-Hasani, Kadim as-Sadr, Iraj Toutonchian, Hedayati คนอื่นๆ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม(The Fundummental of Islamic Economics)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม กลุ่มแนวความคิดในเศรษฐศาสร์อิสลาม ( The School of Thoughts in Islamic Economics)ตามที่เราได้ทราบถึงความเป็นมาของเศรษฐศาสตร์อิสลามในเบื้องต้นแล้วว่า วิชาทางเศรษฐศาสตร์อิสลามนั้น ด้วยหลักการแล้วได้มีมาตั้งแต่การมาของอิสลาม แต่ในสมัยต้นของอิสามมิได้แยกวิชาต่างๆ ออกเป็นสาขาวิชาย่อย แต่จะรวมอยู่ในหลักการอิสลามโดยรวม เนื่องด้วยยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลง การเข้ามาของแนวความคิดที่แปลกปลอมในอิสลามจนทำให้เกิดวิชาต่างๆ ขึ้นมา

วิชาเศรษฐศาสตร์อิสลามถือเป็นวิชาใหม่ที่เกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 20 ในหลักการแล้วนักเศรษฐศาสตร์อิสลามเห็นพ้องกันว่าวิชาเศรษฐศาสตร์อิสลามกับเศรษฐศาสตร์ทั่วไปย่อมมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน เพราะเศรษฐศาสตร์ทั่วไปไม่มีพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องในระบบเศรษฐกิจ แต่ในระบบอิสลามนั้นมีพระเจ้าเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอนอย่างไรก็ตามเมื่อมีคำถามในเรื่องหลักการทางเศรษฐศาสตร์อิสลามก็เริ่มที่จะมีทัศนะที่หลากหลายเกิดขึ้นตามไปด้วย

สารพันปัญหาว่าด้วยการเงินการธนาคาร(FAQ of Financial and Banking)

ถาม ไม่เป็นการผิดหรือที่พ่อค้าจะขายสินค้าด้วยเงินสดราคาหนึ่งและเงินผ่อนอีกราคาหนึ่ง กฎหมายอิสลามมีข้อกำหนดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ?

ตอบ มติเอกฉันท์ของนักวิชาการอิสลามถือว่าการขายโดยการผ่อนชำระเป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลามถึงแม้ว่าราคาขายแบบผ่อนชำระจะสูงกว่าราคาขายสด


และเรื่องนี้ได้ผ่านมติรับรองโดยที่ประชุมวิชาการนิติศาสตร์อิสลามที่มีขึ้นที่เมืองญิดด๊ะฮฺระหว่างวันที่ 17-23 เดือนชะอ์บาน ฮ.ศ.1410 หรือตรงกับวันที่ 14-20 มีนาคม ค.ศ.1990 มติเกี่ยวกับ

ประการแรก

อนุญาตให้กำหนดราคาเพิ่มสำหรับสินค้าที่ขายแบบผ่อนชำระ นอกจากนี้แล้วก็ยังอนุญาตให้บอกราคาที่แตกต่างกันสำหรับการขายเงินสดและการขายแบบผ่อนชำระถึงแม้ว่าราคาผ่อนชำระจะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ตาม

แต่การขายไม่สามารถเกิดขึ้นได้จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงเรื่องวิธีการจ่ายเงินและระบุว่าจะจ่ายเป็นเงินสดหรือผ่อนชำระ ดังนั้น ถ้าหากการขายเกิดขึ้นโดยไม่ได้ระบุวิธีการจ่ายให้ชัดเจนและปล่อยให้เกิดความไม่แน่ใจว่าผู้ซื้อจะจ่ายเป็นเงินสดหรือผ่อนชำระเป็นงวด การขายนั้นก็ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลาม

ประการที่สอง

ตามหลักกฎหมายอิสลาม ในการขายแบบผ่อนชำระ ไม่อนุญาตให้ระบุราคาขายสดและราคาผ่อนชำระไว้ในสัญญา

ประการที่สาม

ถ้าผู้ซื้อ/ลูกหนี้ล่าช้าในการผ่อนชำระหลังจากวันที่ได้กำหนดไว้แล้ว ไม่อนุญาตให้คิดเงินเพิ่มนอกเหนือไปจากหนี้ที่ค้างชำระอยู่ไม่ว่าจะกำหนดเป็นเงื่อนไขล่วงหน้าไว้ในสัญญาหรือเรียกร้องโดยไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้า เพราะนี่คือริบาซึ่งเป็นที่ต้องห้าม

ประการที่สี่

เป็นที่ต้องห้ามสำหรับลูกหนี้ที่ไม่มีภาระหนี้สินจะล่าช้าในการจ่ายค่างวดเมื่อถึงเวลากำหนด อย่างไรก็ตาม หลักนิติศาสตร์อิสลามก็ไม่อนุญาตให้กำหนดค่าชดใช้เมื่อมีการจ่ายล่าช้า

ประการที่ห้า

ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม อนุญาตให้ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขในการขายผ่อนชำระว่าหากลูกหนี้หรือผู้ซื้อจ่ายเงินบางงวดล่าช้า เงินค่างวดที่ยังค้างอยู่จะต้องจ่ายทันทีก่อนวันที่ได้ตกลงกันไว้ เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขที่ใช้ได้ถ้าผู้ซื้อหรือลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในตอนตกลงซื้อขาย

ประการที่หก

ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปถือกรรมสิทธิ์(ในสินค้าที่ถูกขายไป)หลังจากที่การขายได้เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ขายได้รับอนุญาตให้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ซื้อจะต้องจำนองสินค้าไว้กับผู้ขายเพื่อที่จะเป็นหลักประกันสิทธิของตนในการที่จะได้รับชำระค่างวด นอกจากนั้นแล้ว มติของที่ประชุมทางวิชาการนิติศาสตร์อิสลามที่จัดขึ้นที่เมืองญิดด๊ะฮฺระหว่างวันที่ 7-12 เดือนซุลเกาะอ๊ะฮฺ ฮ.ศ.1412 ตรงกับวันที่ 9-14 พฤษภาคม ค.ศ.1992 ก็กล่าวว่า
1. การขายโดยวิธีการผ่อนชำระเป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลามถึงแม้ราคาผ่อนส่งจะสูงกว่าราคาขายสด

2. เอกสารทางการค้า เช่น เช็ค หนังสือมอบอำนาจ ใบถอนเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน เป็นรูปแบบของการยืนยันการเป็นหนี้สินที่ถูกต้อง

3. การซื้อลดเอกสารทางการค้าไม่เป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลามเพราะมันเท่ากับการทำธุรกรรมเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยอันนาซิอ๊ะฮฺ (ดอกเบี้ยที่เกิดจากการจ่ายล่าช้า) ซึ่งเป็นที่ต้องห้ามอย่างชัดเจน

4. การลดหนี้ผ่อนชำระเพื่อเร่งให้จ่ายเงินคืนเร็วขึ้น (จ่ายน้อยแต่จ่ายก่อนเวลา) ไม่ว่าจะเป็นการร้องขอของเจ้าหนี้หรือของลูกหนี้เป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลาม วิธีการนี้ไม่ตกอยู่ในข่ายของดอกเบี้ยที่เป็นสิ่งต้องห้าม ถ้าหากว่าไม่ได้มีการตกลงล่วงหน้ากันไว้ก่อนและตราบใดที่เป็นเรื่องความสัมพันธ์สองฝ่ายระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ถ้าหากมีฝ่ายที่สามขึ้นมา การลดหนี้ไม่เป็นที่อนุญาตเพราะหากเป็นเช่นนั้นกฎระเบียบเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะเหมือนกับการซื้อลดเอกสารทางการค้า

5. อนุญาตให้สองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินตกลงกันว่าเงินผ่อนชำระทั้งหมดจะต้องจ่ายเมื่อครบกำหนดเวลาถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายค่าผ่อนชำระงวดหนึ่งงวดใดที่เขายังเป็นหนี้อยู่ตราบใดที่เขาไม่ได้เป็นบุคคลล้มละลาย

6. ถ้าหากถึงเวลากำหนดแล้ว ลูกหนี้เสียชีวิต ล้มละลายหรือผัดหนี้ จะต้องมีการลดหนี้เพื่อเร่งให้มีการจ่ายคืนโดยการยินยอมร่วมกัน

7. เกณฑ์ตัดสินการล้มละลายที่จะนำมาใช้ก็คือลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานซึ่งคนเหล่านี้จะต้องได้รับการปลดหนี้

ธนาคารอิสลามในปากีสถาน(The Pakistan Bank)

ธนาคารอิสลามในปากีสถาน เช่นเดียวกับอิหร่าน ปากีสถานเริ่มทำให้ระบบธนาคารของตนเป็นไปตามหลักการอิสลามในปลายปี ค.ศ.1970 อย่างไรก็ตาม เจตนาในการนำระบบนี้เข้ามาในปากีสถานมีขึ้นตั้งแต่เมื่อก่อนหน้านี้สี่สิบปีแล้ว เพราะในตอนที่มุฮัมมัด อะลี ญินนะฮ์ บิดาแห่งชาติของปากีสถานได้เคยประกาศไว้ว่าจะทำให้ระบบธนาคารของปากีสถานเป็นไปตามหลักการอิสลามเมื่อตอนที่ไปเปิดธนาคารชาติแห่งปากีสถานในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1948 หลังจากนั้น การปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้เป็นแบบอิสาลามก็ได้มีการยืนยันไว้อีกครั้งหนึ่งในคำประกาศเจตนารมณ์ (Objectives Resolution) ของสภารัฐธรรมนูญแห่งปากีสถานใน ค.ศ. 1949 แต่เนื่องจากเหตุผลหลายประการทางโครงสร้างภายในประเทศและความคิดแบบประเทศที่ตกเป็นอาณานิคม จึงทำให้มีการล่าช้าในการปฏิรูปตามเจตนารมณ์ดังกล่าว เมื่อนายพลเซียอุลฮักทำรัฐประการใน ค.ศ.1977 ก็ได้มีการเร่งดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินไปสู่หลักการอิสลามทันที
ในเดือนกันยายน ค.ศ.1977นายพลเซียอุลฮักได้ตั้งสาพอุดมการณ์อิสลามขึ้นซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 19 คนเพื่อทำหน้าที่วางกรอบในการยกเลิกดอกเบี้ยออกจากระบบเศรษฐกิจ แต่เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ของสภานี้มิได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ สภานี้จึงได้แต่งตั้งนักเศรษฐศาสตร์และนักการธนาคารจำนวน 15 คนขึ้นมาคอยให้ความช่วยเหลือในการเตรียมรายงานให้ท่านนายพลเซีย สภาได้นำเสนอวิธีการต่างๆที่เป็นไปได้ซึ่งจะสามารถนำมาใช้แทนระบบดอกเบี้ยคงที่ได้วิธีการต่างๆในการหารายได้ของธนาคารที่ถูกนำเสนอได้แก่การเก็บค่าธรรมเนียมบริการ การให้เช่า การประมูลเพื่อการลงทุน การซื้อผ่อนส่ง การเช่าซื้อ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินบนพื้นฐานของผลตอบแทนตามปกติ การให้เงินกู้แก่กันโดยเพิ่มเวลาให้และการให้เงินกู้พิเศษ พร้อมกันนั้นก็มีการระบุถึงวันเวลาที่จะนำระบบปลอดดอกเบี้ยมาใช้ไว้ในรายงานนั้นด้วย ส่วนที่สองของรายงานได้อธิบายถึงการดำนเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในระบบปลอดดอกเบี้ย ข้อแนะนำในรายงานนี้พูดถึงวิธีการต่างๆทางการเงิน การถอนเงินฝากและธุรกรรมปลีกย่อยอื่นๆ สิ่งสำคัญก็คือการคำนวณกำไรและการขาดทุนระหว่างะนาคารกับผู้ยืม สภาพได้แนะนำว่าการตอบแทนเงินออมด้วยอัตราคงที่นั้นควรจะถูกแทนที่ด้วยการตอบแทนที่ไม่แน่นอนโดยอาศัยแนวความคิดของการแบ่งผลกำไร

นอกจากนี้แล้วก็ยังมีการพูดถึงธุรกรรมระหว่างธนาคาร ความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารกลาง ธุรกรรมต่างประเทศของธนาคารที่จะต้องเก่ยวข้องกับดอกเบี้ยและเงินกู้ของะนาคารให้แก่พนักงานของตน ธุรกรรมระหว่างธนาคารซึ่งรวมทั้งกับธนาคารชาตินั้นได้รับคำแนะนำให้ทำโดยอาศัยพื้นฐานของการแบ่งกำไร มีข้อแนะนำให้ปล่อยเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างของธนาคารด้วย แต่ในรายงานดังล่าวไม่มีเรื่องการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการทำธุรกรรมกับธนาคารต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยไว้ ดังนั้น หนทางในการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายอิสลามก็คือสภาแนะนำว่าควรจะมีการตั้งบริษัทขึ้นมาต่างหากเพื่อบริหารสาขาต่างประเทศของธนาคารปากีสถานทั้งหมด

เงินฝากต่างประเทศที่ธนาคารปากีสถานถืออยู่จะถูกโอนไปยังบริษัทนี้และบริษัทนี้จะถูกสั่งห้ามมิให้รับเงินฝากในท้องถิ่น สถาบันทางการเงินที่เชี่ยวชาญที่รวมอยู่ในรายงานของสภานั้นก็คือบริษัทสิ้นเชื่อและการลงทุนทางอุตสาหกรรมของปากีสถาน, ธนาคารเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งปากีสถาน, บริษัทเงินทุนพัฒนาแห่งชาติ, ธนาคารพัฒนาการทางด้านการเกษตรของปากีสถาน, บริษัทเงินทุนธุรกิจขนาดเล็ก, กองทุนการมีส่วนเข้าร่วมลงทุน, สหธนาคารเพื่อสหกรณ์และสถาบันสินเชื่อสหกรณ์อื่นๆ และบริษัทประกันภัย

สภาเชื่อว่าความรับผิดชอบและการทำงานของธนาคารชาติของปากีสถานหรือธนาคารกลางภายใต้ระบบปลอดดอกเบี้ยจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มันจะทำหน้าที่ของธนาคารกลางสมัยใหม่ซึ่งรวมทั้งการออกธนบัตร การกำหนดเงินและสินเชื่อ เป็นธนาคารและที่ปรึกษาใหแก่รัฐบาลและเป็นแหล่งสำรองสุดท้ายของสภาพคล่องสำหรับระบบการเงินและธนาคาร

เครื่องมือนโยบายทางการเงินที่สภาแห่งนี้เสนอก็คือการสำรองเงินสดขั้นต่ำสุด สัดส่วนสภาพคล่อง เพดานการปล่อยสินเชื่อและการลงทุน เป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้สำหรับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับภาคที่จำเป็น การควบคุมสินเชื่อ การออกคำสั่งแก่ธนาคารในเรื่องต่างๆของการปฏิบัติงานธนาคารที่เครื่องมือนโยบายและการชักชวนไม่สามารถครอบคลุมไปถึงในส่วนของธุรกรรมของรัฐบาลนั้น สภาได้ให้คำแนะนำว่าเงินกู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การของรัฐบาล (กล่าวคือเงินกู้จากธนาคารรัฐที่ให้แก่รัฐบาลหรือเงินกู้ที่รัฐบาลกลางให้แก่รัฐบาลท้องถิ่น) นั้น จะต้องทำบนพื้นฐานของการปลอดดอกเบี้ย ในกรณีของการยืมมาจากภายนอกซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย สภายอมรับว่าการปฏิบัติจะต้องเป็นไปเหมือนเดิม

แต่ขณะเดียวกันก็แนะนำให้รัฐบาลพยายามที่จะลดความเกี่ยวข้องกับเงินกู้ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย

ธนาคารอิสลามในมาเลเซีย(The Malaysia Bank)

ระบบธนาคารอิสลามในมาเลเซียถือว่ามีความก้าวหน้ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบในประเทศมุสลิมอื่นๆ ธนาคารอิสลามเริ่มต้นเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทธนาคารอิสลามมาเลเซียขึ้นใน ค.ศ.1983 และปัจจุบัน ระบบธนาคารอิสลามของมาเลเซียได้รับการเสริมโดยตลาดเงินอิสลาม ช่องหน้าต่างบริการแบบอิสลามและตลาดหุ้นอิสลาม นอกจากนั้น ระบบธนาคารอิสลามมาเลเซียจึงทำหน้าที่เป็นแม่แบบสำหรับธนาคารอิสลามในอินโดนีเซียและบรูไนด้วย

ความริเริ่มและความพยายามก่อตั้งธนาคารอิสลามในมาเลเซียเกิดขึ้นจากฝ่ายเอกชนเช่นเดียวกับประเทศมุสลิมอื่นๆ

ข้อเสนอให้มีการจัดตั้งธนาคารอิสลามอย่างเป็นทางการครั้งแรกมีขึ้นระหว่างการประชุมสภาเศรษฐกิจภูมิบุตร (Bumiputra Economic Congress) ใน ค.ศ.1980 และสภานี้ได้ผ่านมติที่เรียกร้องรัฐบาลให้อนุญาตคณะกรรมฮัจญ์จัดตั้งธนาคารอิสลามขึ้นมา หลังจากนั้น ในการประชุมสัมมนาที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซียในค.ศ.1981 ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ขอให้รัฐบาลออกกฎหมายพิเศษที่อนุญาตให้มีการจัดตั้งธนาคารใหม่ที่วางพื้นฐานอยู่บนหลักการอิสลามขึ้นมา ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองคำร้องขอดังกล่าว

ในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ.1981รัฐบาลจึงได้ตั้งคณะทำงานแห่งชาติเรื่องธนาคารอิสลามขึ้นโดยมีราชา โมฮาร์ ราชา บะดีอุซามาน ที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในเวลานั้นเป็นประธานและคณะกรรมการฮัจญ์ของมาเลเซียรับผิดชอบงานด้านเลขานุการ

คณะกรรมการชุดนี้ได้ศึกษาทั้งการทำงานของธนาคารอิสลามไฟซอลแห่งอิยีปต์และธนาคารอิสลามไฟซอลของซูดาน หลังจากนั้นก็ทำงานถึงนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียพร้อมกับมีข้อแนะนำดังนี้ :-
1) รัฐบาลควรตั้งธนาคารอิสลามที่ดำเนินงานตามหลักกฎหมายอิสลามขึ้น

2) ธนาคารที่ถูกเสนอให้จัดตั้งควรจะอยู่ในรูปของบริษัทภายใต้พระราชบัญญัติบริษัท ค.ศ.1965

3) เนื่องจากพระราชบัญญัติธนาคาร ค.ศ.1973 ไม่สามารถใช้ได้กับการปฏิบัติงานของธนาคารอิสลามจำเป็นจะต้องมีพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามใหม่ขึ้นมาฉบับหนึ่งเพื่ออนุญาตและควบคุมธนาคารอิสลาม การควบคุมและการบริหารพระราชบัญญัติที่เสนอนี้ให้เป็นความรับผิดชอบของธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย

4) ธนาคารอิสลามจะตั้งคณะกรรมการควบคุมทางด้านกฎหมายอิสลามของตนเองขึ้นมาเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานของธนาคารอิสลามเป็นไปตามกฎหมายอิสลาม(ชะรีอ๊ะฮ)โดยแท้จริง พระราชบัญญัติธนาคารอิสลาม ค.ศ.1983 ซึ่งถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ.1983 นี้เองที่ทำให้มีการจัดตั้งธนาคารอิสลามขึ้นมาในมาเลเซีย พระราชบัญญัตินี้ให้อำนาจธนาคารกลางแห่งมาเลเซียในการควบคุมดูแลธนาคารอิสลามในมาเลเซีย

ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ได้นำพระราชบัญญัติการลงทุนของรัฐบาลออกมาใช้ใน ค.ศ.1983 เพื่อทำให้รัฐบาลสามารถออกบัตรลงทุน(หรือพันธบัตร)ของรัฐบาลตามหลักการอิสลาม ทุนเริ่มต้นในการจัดตั้งธนาคารอิสลามมาเลเซียมีจำนวน 80 ล้านริงกิต ซึ่งมาจากกระทรวงการคลัง 30 ล้านริงกิต คณะกรรมการกองทุนฮัจญ์ 10 ล้าน องค์การสวัสดิการมุสลิมแห่งมาเลเซีย 5 ล้าน สภาศาสนาประจำรัฐต่างๆ 20 ล้าน หน่วยงานด้านศาสนาของรัฐต่างๆ 3 ล้าน หน่วยงานของรัฐต่างๆ 12 ล้าน

ธนาคารอิสลามมาเลเซียถูกจัดตั้งเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.1983 และเริ่มดำเนินงานเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมในปีเดียวกัน ขณะนี้ธนาคารอิสลามมาเลเซียมีสาขามากกว่า 50 แห่งทั่วประเทศ

ธนาคารอิสลามมาเลเซียไม่เพียงแต่จะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ธนาคารอิสลามของตนเองเท่านั้น แต่ยังนำผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินแบบอิสลามเข้าไปในบริษัทในเครือของตนด้วย

ปัจจุบันธนาคารอิสลามมาเลเซียมีบริษัทในเครือหลายแห่งที่ทำธุรกิจเช่าซื้อ บริการรับจัดการ ธุรกิจประกัน(ตะกาฟุล) การบริหารกองทุนและเป็นนายหน้าซื้อขายหุ้น

การจัดตั้งธนาคารอิสลามมาเลเซียถือเป็นการเริ่มต้นความมุ่งมั่นของรัฐบาลมาเลเซียที่จะทำให้มีธนาคารอิสลามขึ้นในมาเลเซีย ถึงแม้รัฐบาลในปัจจุบันไม่มีเจตนาที่จะทำให้ระบบการเงินทั้งหมดของประเทศเป็นระบบอิสลามก็ตาม แต่ธนาคารกลางแห่งมาเลเซียก็มีเป้าหมายที่จะสร้างระบบธนาคารอิสลามคู่ขนานไปกับระบบธนาคารเดิม ธนาคารกลางแห่งมาเลเซียเชื่อว่าเป้าหมายดังกล่าวนี้สามารถสำเร็จได้โดยการ
1) ให้มีผู้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก
2) มีเครื่องมือต่างๆทางการเงินอย่างกว้างขวาง และ
3) มีตลาดเงินระหว่างธนาคาร (อินเตอร์แบงค์) แบบอิสลาม

ในการเพิ่มจำนวนผู้มีส่วนร่วมในระบบธนาคารอิสลามนั้น ธนาคารกลางของมาเลเซียไม่ได้อนุญาตมีการเปิดธนาคารอิสลามใหม่ แต่ได้วางแผนการให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทการเงินต่างๆเปิด“ช่องหน้าต่างอิสลาม” (Islamic Windows) ขึ้นเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการธนาคารอิสลามแก่ลูกค้าของตน แผนการขั้นนี้เริ่มเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ.1993 โดยมีธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่งในมาเลเซียมาเข้าร่วม หลังจากนั้นอีกประมาณห้าเดือนก็มีสถาบันการเงินอีก 10 บริษัทมาเข้าร่วม ในตอนปลายปี ค.ศ.1993 ปรากฏว่ามีสถาบันการเงินจำนวน 21 แห่งได้รับใบอนุญาตจากธนาคารกลางให้เข้าร่วมในแผนการนี้ ธนาคารกลางของมาเลเซียเองก็มีส่วนในการสร้างผลิตภัณฑ์ธนาคารใหม่ที่ไม่ขัดต่อหลักการอิสลาม

ในตอนต้นปี ค.ศ.1994 ตลาดอินเตอร์แบงค์อิสลามได้ถูกนำเข้ามาในระบบการเงินของมาเลเซีย ตลาดนี้ประกอบด้วย
(1) อินเตอร์แบงค์เทรดดิ้งในเครื่องมือทางการเงิน
(2) การลงทุนอินเตอร์แบงค์อิสลาม และ
(3) ระบบเคลียริ่งเช็คอินเตอร์แบงค์อิสลาม

ธนาคารอิสลามในตุรกี(The Turkey Bank)

ประวัติศาสตร์และการพัฒนาระบบธนาคารอิสลามในตุรกีเป็นเรื่องน่าสนใจเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะว่าตุรกีเป็นประเทศมุสลิมประเทศเดียวที่ดำเนินนโยบายแยกรัฐออกจากคำสอนของศาสนา ในรัฐธรรมนูญของตุรกีไม่มีตรงไหนที่มีคำว่าอิสลามทั้งๆที่ประชาชนของตุรกี 99% เป็นมุสลิม มาตรา 24 ของรัฐธรรมนูญก็ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าศาสนาจะต้องถูกแยกออกจากเรื่องอื่นๆทั้งหมด ความจริงแล้ว ไม่มีใครได้รับอนุญาตให้นำศาสนามาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลหรือประโยชน์ทางการเมืองเสียด้วยซ้ำ

ความเคลื่อนไหวในการก่อตั้งธนาคารอิสลามในตุรกีเริ่มต้นใน ค.ศ.1983 ก่อนหน้าการเลือกตั้งใหญ่ นายกรัฐมนตรีได้ให้สัญญาว่ารัฐบาลจะออกกฎหมายพิเศษอนุญาตให้มีการก่อตั้งธนาคารอิสลามในตุรกี ถึงแม้คำสัญญานี้ดูเหมือนจะเป็นเพียงคำสัญญาเลือกตั้ง แต่ก็ปรากฏว่าตุรกีได้ถูกกดดันโดยรัฐบางรัฐในองค์การประเทศอิสลามและธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนาให้เปิดโอกาสสำหรับการก่อตั้งธนาคารอิสลาม

ดังนั้น หลังจากการเลือกตั้ง คณะรัฐมนตรีจึงได้ออกกฎหมายพิเศษเป็นกฤษฎีการเลขที่ 83/7506 วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.1983 ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการก่อตั้งธนาคารอิสลามในตุรกี กฎหมายนี้มี 17 มาตราและอธิบายถึงวิธีการและขั้นตอนในการก่อตั้งสถาบันการเงินพิเศษ (Special Financial House) และกิจกรรมต่างของสถาบันเหล่านี้ นอกจากนั้นแล้ว กฎหมายนี้ยังมีกฎและระเบียบอื่นๆเกี่ยวกับธนาคารอิสลามในตุรกีซึ่งออกโดยฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น กฎและระเบียบกว้างๆที่ออกโดยปลัดกระทรวงการคลังและการค้าต่างประเทศ

กฎดังกล่าวนี้ถูกตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1984 ซึ่งกล่าวถึงการก่อตั้ง โครงสร้างการดำเนินงาน รูปแบบของทุนที่สถาบันยอมรับสภาพคล่องของสถาบันและขั้นตอนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธนาคารอิสลาม

กฎหมายอีกฉบับหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับธนาคารอิสลามออกโดยธนาคารกลางของตุรกีตีพิมพ์อยู่ในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1984 กฎหมายฉบับนี้มี 18 มาตราครอบคลุมเรื่องกฎระเบียบเกี่ยวกับใบอนุญาติระเบียบเกี่ยวกับการอนุญาตให้เริ่มต้นดำเนินงาน บทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการใช้เงินตราต่างประเทศที่สะสมในบัญชีและบทเฉพาะกาลทั่วไป

ลักษณะที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของกฎหมายทั้งหมดเกี่ยวกับธนาคารอิสลามในตุรกีก็คือถ้อยคำบางคำอย่างเช่น “อิสลาม” หรือ “ชะรีอ๊ะฮ” ไม่มีปรากฏให้เห็นอยู่เลย เชื่อกันว่าการใช้คำว่า “สถาบันการเงินพิเศษ” แทนคำว่า “ธนาคารอิสลาม” ก็คือ ความพยายามอย่างหนึ่งของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจที่ตองการจะหลีกเลี่ยงการขัดแย้งอย่างเปิดเผยกับเป้าหมายและหลักการที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญที่แยกรัฐออกจากศาสนา

ธนาคารอิสลามในตุรกีมีอยู่สองแห่งถ้าไม่รวมธนคารอิสลามไฟซอลแห่งกิบริสซึ่งดำเนินงานอยู่ในสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ นั่นคือ สถาบันการเงินอัลบะรอก๊ะฮตุรกี (Albaraka Turkish Finance House)และบรรษัทสถาบันการเงินไฟซอล (Faisal Faniance Institution Incorporation) ธนาคารทั้งสองนี้ให้บริการรับฝากเงินและปล่อยสินเชื่อ การรับฝากเงินอยู่ในรูปของบัญชีกระแสรายวันและบัญชีร่วมลงทุนบนพื้นฐานของการรับผิดชอบในการกำไรและขาดทุนร่วมกัน การปล่อยสินเชื่อก็ทำในรูปของการบวกผลกำไร (มุรอบะฮะฮ) การเข้าเป็นหุ้นส่วน การให้เช่าและการเช่าซื้อ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีบริการอื่นๆที่ธนาคารโดยทั่วไปทำกัน เช่น การโอนเงิน การเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต การออกหนังสือค้ำประกันจากธนาคารและการปริวรรตเงินตรา เป็นต้น

ธนาคารอิสลามในซูดาน(The Soudan Bank)

ซูดานเป็นประเทศมุสลิมประเทศที่สามที่ได้ทำให้ระบบธนาคารอิสลามของตนเป็นไปตามระบบของอิสลามทั้งหมด ระบบธนาคารอิสลามของซูดานเริ่มต้นใน ค.ศ.1977 เมื่อธนาคารอิสลามไฟซอลแห่งซูดานได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลซูดานให้การสนับสนุนภายใต้กฎหมายพิเศษที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติธนาคารอิสลามไฟซอลแห่งซูดานของสภาประชาชนแห่งชาติ”

ความสำเร็จของธนาคารอิสลามไฟซอลได้ทำให้เจ้าหน้าที่อนุญาตให้มีการเปิดธนาคารอิสลามอื่นๆอีก ดังนั้น จึงมีธนาคารอิสลามอีกห้าแห่งเปิดขึ้น นั่นคือ ธนาคารอิสลามทาดามอน (Tadamon Islamic Bank) ธนาคารอิสลามซูดาน (Sudanese Islamic Bank) ธนาคารสหกรณ์อิสลาม (Islamic Co-operative Bank) ธนาคารอัลบะรอก๊ะฮฺแห่งซูดาน (Al Barakah Bank of Sudan) และธนาคารอิสลามเพื่อซูดานตะวันตก (Islamic Bank for Western Sudan)

ในเดือนกันยายน ค.ศ.1983 รัฐบาลซูดานได้เริ่มต้นพยายาทำให้ระบบธนาคารทั้งหมดเป็นอิสลาม ธนาคารทุกแห่งได้ถูกขอร้องให้เปลี่ยนกิจกรรมของตนตามหลักกฎหมายอิสลาม และหวังกันว่าในเดือนกันยายน ค.ศ.1984 ระบบธนาคารทั้งหมดจะดำเนินงานไปตามหลักการอิสลาม แต่อย่างไรก็ตาม ในทางด้านปฏิบัติ ธนาคารในระบบเดิมดอกเบี้ยก็ยังคงดำเนินงานต่อไป การเปลี่ยนแปลงปรากฏขึ้นแต่เฉพาะในบัญชีที่ยื่นให้แก่ธนาคารกลางแห่งซูดานเท่านั้น

การต่อต้านกระบวนการปฏิรูปให้ธนาคารระบบดอกเบี้ยหันมาใช้ระบบอิสลามไม่เพียงแต่จะมาจากบรรดาธนาคารในระบบเดิมเท่านั้น แต่ยังมาจากผู้กำหนดนโยบายที่ไม่พอใจกับกระบวนเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย คนพวกนี้เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเพียงเกมส์การเมืองอย่างหนึ่งเท่านั้น

ระบบธนาคารอิสลามในซูดานประสบภาวะถดถอยอย่างรุนแรงเมื่อรัฐบาลที่ต้องการจะเปลี่ยนระบบธนาคารทั้งหมดให้หันมาใช้ระบบอิสลามได้ถูกโค่นล้มในค.ศ.1985 ดังนั้น ธนาคารอิสลามทั้งหมดที่ได้รับสิทธิ์พิเศษต่างๆจึงต้องเผชิญกับกฎระเบียบที่เข้มงวดจากธนาคารกลางและอภิสิทธิ์บางอย่างที่รัฐบาลก่อนหน้านี้ให้ไว้ได้ถูกยกเลิกหมด

นอกเหนือไปจากธนาคารอิสลามที่ดำเนินการอยู่ตามหลักการกฎหมายอิสลามแล้ว ธนาคารพาณิชย์อื่นๆได้เลิกใช้วิธีการของอิสลามโดยสิ้นเชิงและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้ระบบดอกเบี้ยได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้น ใน ค.ศ.1994 ระบบธนาคารอิสลามก็ได้รับความสนใจเป็นพิเศษเมื่อรัฐบาลยุคนั้นตัดสินใจที่จะทำให้ระบบธนาคารทั้งหมดดำเนินงานตามหลักกฎหมายอิสลามอีกครั้งหนึ่ง และครั้งนี้การเปลี่ยนแปลงดำเนินไปอย่างจริงจังและดีกว่าเดิม

ธนาคารอิสลามในอิหร่าน(The Iran Bank)

ระบบธนาคารอิสลามในอิหร่านเริ่มต้นทันทีหลังจากการปฏิวัติอิสลามซึ่งทำให้กษัตริย์ชาห์แห่งอิหร่านสิ้นอำนาจใน ค.ศ.1979 อย่างไรก็ตามการนำระบบธนาคารอิสลามมาใช้ก็ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยใช้เวลา 6 ปีจึงเสร็จสิ้นสมบูรณ์ หลังการปฏิวัติอิสลามมีธนาคารประมาณ 35 แห่งเกิดขึ้นในอิหร่านทั้งภาครัฐและเอกชนโดยธนาคารเหล่านี้อาศัยเงินทุนจากภายในและนอกประเทศ
ในระหว่างที่เกิดความวุ่นวายจากการปฏิวัติ ระบบธนาคารในอิหร่านต้องประสบปัญหาต่างๆมากมายทั้งในด้านทุนไหลออกและการดำเนินงาน ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ.1979 สภาปฏิวัติได้โอนระบบธนาคารมาเป็นของชาติและจำนวนธนาคารได้ลดลงโดยการรวมกิจการเข้าด้วยกันจนเหลือธนาคารพาณิชย์ในระบบเพียง 6 แห่งและธนาคารเฉพาะกิจอีก 3 แห่ง

ขั้นแรกที่รัฐบาลใหม่นำมาใช้ในการสร้างระบบธนาคารอิสลามในอิหร่านก็คือการนำเอา “การคิดค่าบริการสูงสุด” และ “ ประกันกำไรต่ำสุด” มาใช้ในระบบธนาคาร ขณะเดียวกันก็มีการตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยบุคคลจากสาขาต่างๆมาจัดเตรียมกรอบกฎหมายกว้างๆเพื่อนำระบบธนาคารทั้งหมดให้เป็นไปตามหลักกฎหมายอิสลาม หลังจากนั้น ก็มีการเสนอกฎหมายดังกล่าวต่อสภาปฏิวัติในเดือนมีนาคม ค.ศ.1982 และสภาผู้แทนได้ผ่านออกมาเป็นกฎหมายในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1983 โดยเรียกกฎหมายฉบับนี้ว่า “ กฎหมายเพื่อการธนาคารปลอดดอกเบี้ย” (Law for Usury-Free Banking)

กฎหมายใหม่นี้ได้กำหนดให้ธนาคารต่างๆเปลี่ยนแปลงการฝากเงินโดยระบบจ่ายดอกเบี้ยมาเป็นระบบปลอดดอกเบี้ยภายในระยะเวลาหนึ่งปี นอกจากนี้แล้ว ธนาคารจะต้องเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของตนทั้งหมดตามกฎหมายใหม่ภายในเวลา 3 ปีนับตั้งแต่วันที่สภาผู้แทนอนุมัติกฎหมาย หลังจากนั้น นับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1984 ไม่มีธนาคารใดได้รับอนุญาตให้เกี่ยวข้องกับระบบดอกเบี้ยทั้งในด้านเงินฝากและการให้สินเชื่อในเดือนมีนาคม ค.ศ.1985 ธุรกรรมของธนาคารทั้งหมดก็เป็นไปตามหลักกฎหมายอิสลามอย่างเคร่งครัด

การศึกษาความสำเร็จของธนาคารอิสลามในอิหร่านซึ่งเกิดขึ้นจากระบบใหม่ชี้ให้เห็นว่าเงินฝากภาคเอกชนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แสดงว่า ระบบธนาคารอิสลามมีประสิทธิภาพในการระดมเงินฝาก ส่วนในการประกอบกิจการนั้น ธนาคารอิสลามในอิหร่านจะใช้ทุนไปในธุรกิจที่ใช้วิธีการบวกกำไรแทนที่จะเข้าไปร่วมในการลงทุนเช่นเดียวกับธนาคารอิสลามในประเทศอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ.1985 ทุนทั้งหมดในการให้สินเชื่อซื้อผ่อนชำระของธนาคารอิสลามอิหร่านทั้งหมดคิดเป็น 33.3% และเพิ่มขึ้นเป็น 46.7% ในปลายปี ค.ศ.1992 แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เงินทุนที่นำไปใช้โดยวิธีการมุฏอรอบ๊ะฮฺ (ร่วมลงทุนกับผู้อื่นโดยที่ตัวเองไม่มีอำนาจเข้าไปควบคุม)กลับลดลงจาก 18.1% เหลือเพียง 9.6%

ความเป็นมาของธนาคารอิสลาม(The history of islamic bank)

แนวความคิดในการจัดตั้งธนาคารอิสลามเริ่มมีตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 โดยกลุ่มนักฟื้นฟูอิสลามที่ต้องการจะให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมุสลิมวางพื้นฐานอยู่บนบทบัญญัติในคัมภีร์กุรอานที่สั่ง“ห้ามดอกเบี้ย แต่อนุมัติการค้า” และคำสอนที่ว่า “พระผู้เป็นเจ้าจะเพิ่มพูนการทำกุศลทานและบั่นทอนดอกเบี้ย”
วิวัฒนาการของธนาคารอิสลามในบางประเทศเริ่มต้นที่อียิปต์ ธนาคารอิสลามเกิดขึ้นครั้งแรกในเมืองมิตฆ็อมร์ (Mit Ghamr) ประเทศอียิปต์ในปีค.ศ.1963 โดยความพยายามของนายอะหมัด อัลนัจญาร์ชาวอียิปต์ทั้งนี้เพื่อเป็นการทดลองการนำหลักการอิสลามที่ห้ามเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยมาใช้ในระบบธนาคาร

เดิมที ธนาคารแห่งนี้ตั้งขึ้นมาในรูปของธนาคารออมทรัพย์ท้องถิ่นและได้รับการสนับสนุนจากลูกค้าเป็นจำนวนมาก จำนวนผู้ฝากเงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปีการเงินแรกของธนาคาร (1963/1964) มีผู้ฝาก 17,560 ราย จำนวนเงินฝาก 40,944 ปอนด์อียิปต์ แต่ในตอนสิ้นสุดปี 1966/1967 มีผู้ฝากเพิ่มขึ้นเป็น 251,152 ราย โดยมีจำนวนเงินฝากถึง 1,828,375 ปอนด์อียิปต์โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรและชาวบ้านในท้องถิ่น

แต่หลังจากนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นในอียิปต์ การดำเนินงานของธนาคารอิสลามที่มิตฆ็อมร์ก็ได้ถูกธนาคารแห่งชาติเข้ามาแทรกแซงจนทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินแบบปลอดดอกเบี้ยของธนาคารอิสลามถูกละทิ้งและมีการนำเอาระบบดอกเบี้ยมาใช้ซึ่งทำให้ผู้ฝากลดจำนวนลงไปมากอย่างเห็นได้ชัด

ดังนั้นประธานาธิบดีซาดัตจึงได้ฟื้นฟูแนวความคิดเรื่องการธนาคารปลอดดอกเบี้ยขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งและในปี ค.ศ.1971 ธนาคารใหม่ที่มีชื่อว่า “นัสเซอร์ โซเชียล แบงค์” (Nasser Social Bank) ก็ได้ถูกตั้งขึ้นโดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ

หลังจากนั้นก็มีธนาคารอิสลามเกิดขึ้นติดตามมาอีก 3 ธนาคาร นั่นคือ ธนาคารอิสลามไฟซอลแห่งอียิปต์ (Faisal Islamic Bank of Egypt), ธนาคารอิสลามระหว่างประเทศเพื่อการลงทุนและการพัฒนา (Islamic Internatioanl Bank for Investment and Development) และธนาคารการเงินอียิปต์ซาอุดี (Egyptian Saudi Finance Bank) โดยทั้งหมดได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการอย่างถูกต้องในอียิปต์

ความเป็นมาของธนาคาร(The history of Bank)

คำว่า “แบงค์” ผันมาจากคำว่า “แบงโค” ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี มีความหมายว่า “โต๊ะอาหาร” เพราะว่าผู้ซื้อขายตั๋วแลกเงินจะต้องมีโต๊ะหนึ่งตัววางอยู่ข้างทาง ซึ่งบนโต๊ะก็จะมีเงินตราไว้เพื่อทำการค้า ซึ่งผู้ซื้อขายตัวแลกเงินส่วนเป็นชาวยิว

ปรากฏว่าในอดีต ธนาคารคือผู้เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทอง ของมีค่า และผลผลิตทางการเกษตรที่ชาวบ้านนำมาฝากไว้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ธนาคารคือสถานที่ที่ปลอดภัยในการเก็บรักษาเงินทอง และเพชรพลอยอันมีค่า โดยว่าการฝากเป็นการว่าจ้าง บรรดาเจ้าของธนาคารจะให้พันธบัตรแก่ผู้ที่นำทรัพย์สินมาฝาก เพื่อเป็นเอกสารยืนยันการฝาก ซึ่งสามารถใช้ในการถอนเงินตราที่เขาต้องการได้ ต่อมาได้มีการพัฒนากระบวนการการธนาคาร โดยเหล่าพ่อค้าที่เอาทรัพย์สินมาฝากธนาคารได้เริ่มใช้พันธบัตรในกลุ่มพวกเขา เพื่อทำการซื้อขาย และชดใช้หนี้ เพราะการใช้พันธบัตรจะเบาและสะดวกในการพกพามากกว่าการใช้เงินหรือทอง ในขณะที่เจ้าของธนาคารมีความรู้สึกว่า ยังมีเงินเป็นจำนวนมากอยู่ในคลังของตน

ผู้ที่นำทรัพย์สินมาฝากไว้กับธนาคารมีความรู้สึกอุ่นใจในการทำธุรกิจแลกเปลี่ยนด้วยกับพันธบัตร ในขณะที่ทรัพย์สินจริง ๆ ของเขายังอยู่กับเจ้าของธนาคาร นานครั้งที่ผู้ฝากจะมาถอนเงินไปใช้ ดังนั้นเจ้าของธนาคารจึงเกิดความคิดที่จะฉวยโอกาสนี้ ทำผลประโยชน์ให้กับตัวเองด้วยกับทรัพย์ที่นำมาฝากไว้ แล้วพวกเขาก็ได้เริ่มปล่อยกู้ โดยมีดอกเบี้ย และพวกเขาก็ใช้จ่ายเสมือนกับว่าเขาคือเจ้าของทรัพย์สินเหล่านั้นจริง ๆ

เมื่อกระบวนการทางธนาคารนี้พัฒนาขึ้น จนทำให้พันธบัตรมาแทนที่ทองในการทำธุรกิจค้าขาย เหล่าเจ้าของธนาคารก็เริ่มที่จะให้ผู้คนเข้ามากู้ยืมพันธบัตรแทนการกู้ยืมเงินทอง ด้วยวิธีการเช่นนี้ ทำให้เจ้าของธนาคารไม่ต้องคืนทรัพย์สินที่นำมาฝาก คืนแก่ผู้ฝาก และไม่ต้องให้กู้ยืมโดยเป็นตัวทรัพย์สินจริง ๆ แก่ผู้ขอกู้ จนทำให้เจ้าของธนาคารกลายเป็นมหาเศรษฐีจากรากฐานของทรัพย์สินของผู้อื่นที่นำมาฝาก และพวกเขาก็เริ่มจ่ายเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้กับผู้ที่เอาทรัพย์สินเงินทองมาฝาก เพื่อเป็นการชักจูงให้พวกเขานำเงินทองมาฝาก และกระบวนการการฝากก็ได้เปลี่ยนมาเป็นการบวนการการกู้ยืม

ด้วยสาเหตุดังกล่าว บทบาทของธนาคารจึงกลายเป็นสื่อกลางระหว่างคนหลาย ๆ คนที่มีทรัพย์สินที่ไม่สามารถนำมาลงทุนด้วยตัวเองได้ และระหว่างผู้ที่มีความต้องการทรัพย์สินเงินทองเพื่อนำไปลงทุน.

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย(The history of interest) ตอนที่ 2

จนกระทั่งมาถึงท้ายศตวรรษที่ 16 ยุโรปเริ่มละเมิดและฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระเจ้าในเรื่องของดอกเบี้ย ในปี ค.ศ. 1593 ได้วางข้อยกเว้นในข้อห้ามของดอกเบี้ยในทรัพย์สินของคนบางกลคน โดยอนุญาตให้ลงทุนโดยนำเอาระบบดอกเบี้ยมาใช้ได้ ซึ่งจะต้องผ่านการอนุมัติจากตุลาการเสียก่อน

หลังจากนั้น ก็ได้เกิดการฉวยโอกาสของคนใหญ่คนโต ในการดำเนินธุรกิจที่มีดอกเบี้ย โดยเฉพาะผู้นำบางคนที่นำเอาระบบดอกเบี้ยมาใช้อย่างเปิดเผย ตัวอย่างเช่น ในปี 1692 ลุยซ์ที่ 14 ได้กู้ยืมโดยมีดอกเบี้ย และในปี 1860 สันตะปาปาที่ 9 ทำธุรกิจโดยใช้ระบบดอกเบี้ย

แต่ดอกเบี้ยก็ยังไม่แพร่หลายสักเท่าไร และไม่ถือว่าเป็นกฎหมายที่ยอมรับกัน จนกระทั่งหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติในครั้งนี้ ก็คือการปฏิวัติทางด้านศาสนา การเมืองการปกครองแบบขุนนางศักดินา และระบอบกษัตริย์

ส่วนหนึ่งจากกฎหมายทางด้านศาสนาซึ่งเป็นที่รู้จักกันในยุโรป ก็คือข้อห้ามในเรื่องของดอกเบี้ย ข้อตัดสินในการห้ามดอกเบี้ยก็ได้ถูกยกเลิกไป ด้วยกับการออกกฎหมายอื่นมาแทน การออกกฎหมายโดยยกเลิกข้อห้ามในเรื่องดอกเบี้ยก็ได้เกิดขึ้น ด้วยกับน้ำมือของกลุ่มยิวในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่อสนองความละโมบของพวกเขาเอง ด้วยสาเหตุดังกล่าว ธนาคารที่ใช้ระบบดอกเบี้ยจึงได้เกิดขึ้น เพื่อให้ความฝันของพวกเขาในการครอบงำทรัพย์สินทั่วโลกเป็นความจริง ดอกเบี้ยได้เป็นที่อนุญาตไปแล้ว และได้มีมติจากสมัชชาสหประชาชาติในฝรั่งเศส โดยออกมาวันที่ 12 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1789 ว่า “อนุญาตให้ทุกคนสามารถจัดการบริหารทรัพย์สินโดยใช้ระบบดอกเบี้ยได้ ซึ่งจะต้องอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้” ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่ละเมิดต่อบทบัญญัติทางด้านศาสนา และปลดศาสนาออกจากการดำรงชีวิต หลังจากนั้นยุโรปก็ได้ดำเนินรอยตามฝรั่งเศสในการละเมิดข้อบังคับทางด้านศาสนา หนึ่งในนั้นก็คือ ข้อห้ามในเรื่องของดอกเบี้ย ในช่วงเวลาดังกล่าวนี่เอง มีนักลงทุนชาวยิวเป็นจำนวนมากได้เริ่มปฏิวัติอุสาหกรรม พวกเขาต้องการเงินเพื่อที่จะนำมาลงทุนโครงการต่าง ๆ จนทำให้นักลงทุนที่ไม่ใช่ยิวต่างถอยหนีจากการลงทุนในโครงการใหม่ ๆ เพราะกลัวขาดทุน

ส่วนชาวยิวก็ได้เริ่มปล่อยดอกเบี้ยให้กับพวกเดียวกัน เพราะถือว่าในการกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยที่เป็นกำไรนั้น คือหลักค้ำประกัน ถึงแม้ว่าผู้ขอกู้จะขาดทุนก็ตาม เมื่อชาวยิวได้ครอบครองกิจการต่าง ๆ และเข้ามาปกครองการบริหารในยุโรป ก็หมายถึงการที่พวกยิวสามารถปกครองและครอบครองโลกทั้งหมด จากจุดนี้เอง พวกยิวได้กำหนดการทำธุรกิจที่มีระบบดอกเบี้ยกับประเทศที่อยู่ภายใต้การปกครองของตะวันตก จนทำให้ระบบดอกเบี้ยแพร่กระจายไปในทุกธุรกิจการค้า และธนาคารต่าง ๆ จนกระทั่งทุกวันนี้ยิวยังครอบครองเศรษฐกิจและธนาคารต่าง ๆ ของโลกไว้ในกำมือ

แน่นอนชาวยิวก็คือผู้อยู่เบื้องหลังการกระจายระบบดอกเบี้ยไปทั่วโลก และผู้ที่ทำธุรกิจโดยใช้ระบบดอกเบี้ยก็คือส่วนหนึ่งจากผู้ที่รับใช้ยิว และเป็นพนักงานในการเพิ่มงบดุลให้กับยิว การกระจายดอกเบี้ยเปรียบเสมือนการกระจายโรคทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และจริยธรรมในสังคม

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย(The history of interest) ตอนที่ 1

ก่อนที่เราจะพูดถึงประวัติความเป็นมาของดอกเบี้ย เราควรรู้ถึงฮูก่ม (ข้อชี้ขาด) ของดอกเบี้ยตามบทบัญญัติของประชาชาติในยุคก่อนอิสลามเสียก่อน เช่นบทบัญญัติที่ลงมายังประชาชาติยิว และคริสเตียน และอย่างไรที่ระบบดอกเบี้ยได้แพร่กระจายไปทั่วโลก
แน่นอนอัลลอฮฺทรงห้ามดอกเบี้ยแก่พวกยิว ซึ่งพวกเขาก็รู้ดีถึงเรื่องนี้ และพวกเขาก็ได้ปฏิบัติตาม โดยไม่นำระบบดอกเบี้ยมาใช้กับธุรกิจในหมู่ยิวด้วยกัน แต่พวกเขาถือว่าเป็นที่อนุมัติให้ใช้ระบบดอกเบี้ยกับผู้ที่ไม่ใช่ยิวได้ ซึ่งได้มีมาในคัมภีร์เตารอดเล่มที่ 5 บทที่ 23 ว่า “สำหรับผู้อื่น (ผู้ที่ไม่ใช่ยิว) ท่านสามารถกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยได้ แต่สำหรับพี่น้องของท่าน (ชาวยิวด้วยกัน) อย่าได้กู้ยืมโดยมีดอกเบี้ย”

และที่มาของเรื่องนี้ก็คือ การที่ชาวยิวมองคนต่างศาสนาว่าเป็นเชื้อชาติที่ต่ำต้อย คัมภีร์เตารอดถึงแม้ว่าจะถูกบิดเบือน แต่ก็มีบางส่วนที่ยังคงอยู่ หนึ่งในนั้นก็คือ การห้ามในเรื่องของดอกเบี้ย แต่พวกยิวก็บิดเบือนตัวบทโดยถือว่า อนุญาตให้พวกเขาทำธุรกิจโดยมีดอกเบี้ยกับศาสนิกอื่นได้

ส่วนศาสนาคริสเตียน ก็ได้ถูกห้ามในเรื่องนี้เช่นกัน ดังที่มีมาในคัมภีร์อินญีลว่า “เมื่อพวกท่านให้ผู้อื่นกู้ยืมโดยหวังสิ่งตอบแทน ไหนกันความประเสริฐซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับให้กับพวกท่าน...แต่ทว่าพวกท่านทั้งหลายจงทำดีเถิด และจงให้กู้ยืมโดยไม่มุ้งหวังสิ่งที่จะได้กลับคืนมา แน่นอนผลบุญของพวกท่านก็คือสิ่งตอบแทน”

จากตัวบทนี้ บรรดาหัวหน้านักบวชต่างก็ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า ดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาด

ข้อห้ามให้เรื่องดอกเบี้ยไม่เคยถูกละเมิดด้วยน้ำมือของบรรดานักบวชทั้งสองศาสนา ยิ่งไปกว่านั้นข้อห้ามในเรื่องดอกเบี้ยยังได้ออกมาจากปากของบรรดานักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง เช่น อารอสโต และอัฟลาโตนซึ่งเป็นนักปราชญ์ชาวยูนานซึ่งเขาได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาว่า “การกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยไม่เป็นที่อนุมัติแก่ผู้ใด”

ส่วนชาวอาหรับในยุคก่อนอิสลาม ถึงแม้ว่าพวกเขาจะทำธุรกิจโดยมีดอกเบี้ย แต่พวกเขาก็ยังมองว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ต่ำต้อย และไร้เกียรติอยู่ดี ไม่มีหลักฐานที่จะชี้ชัดถึงเรื่องดังกล่าวมากไปกว่าการที่ชาวกุเรชได้ทำการบูรณะกะบะห์ โดยขอเรี้ยรายทรัพย์สินเงินทองจากบ้านหลายหลังคาเรือนที่ไม่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดอกเบี้ย เพราะไม่ต้องการให้เงินที่ฮารอม (เงินต้องห้าม) เข้ามามีส่วนในการสร้างกะบะห์ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังที่ท่านอบูวาฮับ บุตรท่านอาบีด บุตรท่านอิมรอน บุตรท่านมัคซูมได้ประกาศว่า “โอ้กลุ่มชนชาวกุเรชเอ๋ย ! พวกท่านอย่าได้นำรายได้ใด ๆ ของพวกท่านเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างกะบะห์ นอกจากจะต้องมาจากรายได้ที่ดีเท่านั้น และอย่าได้นำเอาเงินทองของโสเภณีเข้ามาร่วมในการสร้างกะบะห์ และอย่าเอาเงินที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยเข้ามา และอย่าได้เอาสิ่งที่ทุจริตมาสร้างกะบะห์”

ดังนั้นเมื่อดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับทุกศาสนาแล้ว อย่างไรที่มันได้ถูกเริ่ม และแพร่กระจายไปทั่วโลกได้?

แน่นอนชาวอาหรับในยุคญาฮิลียะห์ (ยุคก่อนอิสลาม) ทำธุรกิจโดยนำเอาดอกเบี้ยเขามามีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อมาอิสลามได้มาห้ามถึงเรื่องนี้ และได้ปิดประตูเพื่อป้องกันการนำเอาระบบดอกเบี้ยมาใช้ แม้กระทั่งสิ่งที่คลุมเครือหรือสงสัยว่าเป็นดอกเบี้ยก็ถูกห้าม เช่นเดียวกับการที่ท่านศาสดามูฮัมหมัดได้สั่งห้ามขายอินทผลัมเกรดต่ำ 2 เซออฺ ด้วยกับอินทผลัมเกรดดี 1 เซออฺ และผู้คนก็ปฏิบัติตามคำสั่งห้ามดังกล่าวอย่างเคร่งคัด และทำลายระบบดอกเบี้ยลง เช่นเดียวกับชาวคริสเตียนในยุคต้น ๆ ที่พวกเขากู้ยืมกันโดยไม่มีดอกเบี้ย เพราะพวกเขาถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้าม ส่วนชาวยิวพวกเขาถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามในหมู่พวกเขา แต่สำหรับศาสนิกอื่น พวกเขาสามารถขูดเลือดขูดเนื้อด้วยระบบดอกเบี้ยได้ แต่ถึงอย่างไร ชาวยิวก็ยังถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจอยู่ดี

อิสลามกับการพัฒนา และ ดอกเบี้ย(The islam development and interest)

ในประวัติศาสตร์การแพร่หลายของศาสนา รวมทั้งศาสนาอิสลาม เราจะพบเห็นแนวความคิดในการตีความคำสอนของศาสนาหลายแนวด้วยกัน แนวใหญ่ ๆ มีสองแนวจึงทำให้สังคมแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามแนวความคิดนั้น ๆ ด้วย แนวหรือกลุ่มดังกล่าวนั้น คือกลุ่มที่ตีความคัดค้านความคิดแบบก้าวหน้าและสนับสนุนความคิดเก่า ๆ อีกกลุ่มหนึ่งตีความเพื่อความสมัยใหม่ เพื่อความก้าวหน้า และเพื่อความเป็นธรรมในระหว่างมนุษยชาติ ทั้งสองกลุ่มนี้จะปรากฏในสังคมทุกยุคสมัย จนถึงยุคของเรานี้ และในสังคมของเราเดี๋ยวนี้

ในทุกวันนี้ เราสามารถเห็นสองกลุ่มดังกล่าวในสังคมมุสลิมเรา ที่เรียกว่า กลุ่มหัวเก่า หรือ “คณะเก่า” และกลุ่มหัวใหม่ หรือ “คณะใหม่” หรือถ้าจะพูดตามภาษาสมัยนี้ก็คือ พวกขวา กับ พวกซ้าย

กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่มีผลประโยชน์อย่างมากในระบบสังคมของเรา ปัจจุบันการตีความคำสอนศาสนาของกลุ่มนี้ตามข้อเท็จจริงแล้ว มีความมุ่งหมายสืบต่อเจตน์จำนงแห่งระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่มีอยู่แล้วในอดีตและกำลังมีอยู่ในปัจจุบัน ฉะนั้น ไม่ว่าพวกเขาจะตีความเรื่องอะไร พวกเขามักจะโยนความผิดให้แก่ประชาชน เป็นต้นว่า ไม่ศรัทธา, ไม่เข้าใจศาสนา, ไม่มีศาสนา, มีความรู้เรื่องศาสนาไม่เพียงพอ ฯลฯ พวกเขาไม่ยอมแตะต้องระบบของสังคมนั้นแม้แต่อย่างใด

ส่วนกลุ่มหลัง พวกเขาได้ตีความของคำสอนแห่งอิสลามแบบนำหน้าและแฉของต้องห้ามต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลในสังคมแห่งยุคสมัยของตน เป็นต้นว่าระบบ “ดอกเบี้ย” ซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญยิ่งในสังคมแห่งทุนนิยม ซึ่งเป็นของต้องห้ามในอิสลาม แต่เราไม่ค่อยได้ยินจากกลุ่มแรกที่แสดงออกในการแช่งระบบดังกล่าวในสังคมที่พวกเขาประสบอยู่เว้นแต่ด้วยวิธีธรรมดาที่สุด

ผู้เขียนคือ อาจารย์ กอสิม อะหฺมัด(Kassim Ahmad) อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya) ซึ่งขณะนี้รัฐบาลมาเลเซียได้คุมตัวในที่คุมขังอยู่ โดยไม่ได้รับการพิจารณาใด ๆ เลย ได้พยายามเปิดเผยว่า แนวความคิดในการพัฒนาในอิสลามนั้น แตกต่าง “และ” ขัดกันกับแนวความคิดในการพัฒนาตามระบอบทุนนิยม ซึ่งเป็นระบอบที่มีอำนาจอยู่ในโลกนี้ และโลกตะวันตกในปัจจุบัน

เรื่องแรกในหนังสือเล่มนี้คือ “แนวความคิดในการพัฒนาตามระบอบอิสลาม” นั้น ผู้เขียนได้ร่างขึ้นมาเพื่อเตรียมจะพูดในที่ประชุมแห่งหนึ่ง ซึ่งจัดโดยสถาบันการสงเคราะห์มลายูแห่งสภาเทศบาลกรุงกัวลาลุมปูรฺ ซึ่งตามหมายกำหนดการจัดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน 1975 แต่การประชุมดังกล่าวถูกยกเลิกไป ผุ้เขียนจึงได้นำส่วนใหญ่ของต้นบับไปลงในหนังสือพิมพ์ “อุตุสซัน มาเลเซีย์ (Utusan Malaysia) ฉบับที่ 22 และ 23 ตุลาคม 1975 ส่วนเรื่องหลังเป็นบทความที่ผู้ได้เขียนเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1975

อนึ่ง ในหนังสือเล่มนี้ เราได้ผนวกเรื่อง “ระบบธนาคารอิสลาม” เข้าไว้ด้วย ซึ่งเป็นบทความที่เขียนโดยคุณบรรจง บินกาซัน ในหนังสือ “ดอกเบี้ย” และระบบธนาคารอิสลาม” จัดพิมพ์โดยกลุ่ม “นักศึกษามุสลิมกรุงเทพ, พ.ศ.2520 เราขอขอบคุณผุ้เขียนที่ได้อนุญาตให้เราพิมพ์เรื่องนั้น ผนวกในหนังสือเล่มนี้มา ณ โอกาสนี้ด้วย

เศรษฐศาสตร์อิสลามกับการบริโภค(The consume of islamic economics)

อิสลามแบ่งการบริโภคสินค้าออกเป็นขั้นดังนี้
1. ฎอรูรียะ ขั้นการบริโภคสินค้าที่จำเป็น เพียงเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดในโลกนี้เท่านั้น สินค้าประเภทนี้ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค

2. ฮาจยียะ ก็คือสินค้าฏอรูรียะนั่นแหละ เพียงแต่ว่ามีสเป็กดีขึ้นมาหน่อย หรือไม่ก็เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทำให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสาร แต่เอาแค่พอใช้ได้ก็แล้วกัน

3. กมาลียะ คือ การบริโภคสินค้าขั้นที่ดีที่สุด ซึ่งบางทีอาจเป็นสินค้าฟุ่มเฟื่อยสำหรับบางคนก็ได้ เช่นรถยนต์ราคาแพง เครื่องประดับต่างๆ ซึ่งจริงๆแล้วอิสลามก็ไม่ได้ถึงขนาดว่าจะห้ามใช้เลย แต่เมื่อคิดว่าตัวเองมีความสามารถพอที่จะซื้อหาของเหล่านี้ได้ ก็สามารถนำมาใช้ได้บ้าง

4. ตารอฟียะ คือการบริโภคสินค้าต้องห้าม เช่น สุรา เนื้อหมู เป็นต้น หรือการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยซะจนเกินขอบเขต ซึ่งอิสลามห้ามบริโภคสินค้าประเภทนี้อย่างเด็ดขาด

ต่อข้อถามที่ว่า ในสังคมปัจจุบันนี้จะมีสินค้าประเภท กมาลียะอยู่มากมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าบรรดาผู้ร่ำรวยในสังคมเขาใช้กัน เคยมีรุ่นน้องคนหนึ่งถามผมว่า มีเศรษฐีต่างประเทศคนหนึ่งใส่เสื้อราคาตัวละหลายแสนหรือหลายล้านบาท อย่างนี้ถือว่าเป็นการฟุ่มเฟือยหรือเปล่า ผมจึงตอบน้องเขาไปว่า จริงๆ แล้วการบริโภคอย่างนี้เราต้องพิจารณาถึงอำนาจซื้อของแต่ละบุคคล หมายความว่าถ้าเศรษฐีผู้นั้นมีความสามารถที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้ามาบริโภคได้ แม้ว่าจะราคาแพงเท่าไหร่ก็ตาม และเขาก็ไม่เดือดร้อนที่จะจ่ายออกไป เขาก็สามารถทำเช่นั้นได้

จริงๆ แล้วผมอยากให้เรามองภาพรวมทางเศรษฐกิจทั้งหมดมากกว่า เพราะการบริโภคสินค้าในแต่ละอย่าง ย่อมหมายถึงการกระจายรายได้จะเกิดขึ้นในสังคม ตามทฤษฎีการแบ่งแยกแรงงาน (Division of Labour) เพราะในแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องใช้ความเชี่ยวชาญของแรงงานในการผลิตมากมาย ในกรณีข้างต้น การผลิตเสื้อจะต้องเริ่มจากการผลิตเส้นใย ถักหรือทอ ตกแต่งให้สวยงาม ต้องทำการตลาด ขนส่ง พนังานขาย ฯลฯ ซึ่งต้องมีค่าตอบแทนแก่บุคคลเหล่านี้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นโดยส่วนตัวของผมเองเห็นว่า ถ้าหากมีความสามารถที่จะบริโภคสินค้าชนิดหนึ่ง แม้ว่าจะมีราคาที่แพงในสายตาผู้อื่นก็ตาม ย่อมเป็นเรื่องปกติสำหรับการบริโภคของบุคคลนั้นแต่อย่างใด

ความหมายเศรษฐศาสตร์อิสลาม(Definition of Islamic Economics)

ความหมายเศรษฐศาสตร์อิสลาม(Definition of Islamic Economics) คือ "หลักกการต่างๆทางเศรษฐกิจที่รวบรวมมาจากอัลกุรอ่านและอัซซุนนะห์ และยังแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ได้รับการบูรณาการมาหลักการพื้นฐานต่างๆดังกล่าว สามารถใช้ได้กับทุกสถานภาพและยุคสมัย"

ส่วนนิยามของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก คือ การใช้ทรัพยากรที่ทีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดแต่ในทางอิสลามไม่สามารถเอานิยามนี้มาใช้ได้หมด เนื่องจากทรัพยากรที่ได้มานั้นมาจากอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นริสกีที่ได้มาจากอัลลอฮฺซึ่งไม่สามารถทราบได้ว่าริสกีที่อัลลอฮฺทรงประทานให้นั้นมีจำนวนมากเพียงใด ซึ่งไม่ใช่ริสกีที่จำกัด

อิสลามถือว่าปัจจัยตามธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น แผ่นดิน น้ำ และความอุดมสมบูรณ์อื่นๆนั้น มิได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด มนุษย์เป็นแต่เพียงผู้ดูแลรักษาเท่านั้น และการดูแลรักษานั้นก็มีเงื่อนไขให้มนุษย์นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเสมอภาคกัน มิใช่เพื่อเอารัดเอาเปรียบหรือสร้างความมั่งคั่งให้แก่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ดังนั้น อิสลามจึงอนุมัติให้มีการแสวงหาทรัพย์สินและมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งที่แสวงหามาได้ แต่ก็กำหนดให้เจ้าของทรัพย์สินนั้นใช้มันไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

สรุปก็คือ ขณะที่อิสลามอนุญาติให้บุคคลแสวงหาหรือผลิตสินค้า อิสลามก็กระตุ้นให้บุคคลไม่ลืมว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเตือนให้เขาเห็นถึงความจำเป็นในอันที่จะปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของเพื่อนร่วมโลกของเขาด้วย
1. จะต้องนำทรัพย์สินมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่โดยไม่สร้างความเสียหายให้แก่สังคม
2. จะต้องจ่ายซะกาต
3. จะต้องใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ
4. จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของดอกเบี้ย
5. จะต้องหลีกเลี่ยงจากการเกี่ยวข้องกับการทุจริต การสะสม การกักตุน และการผูกขาด

ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม(The system of islamic economics)

ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามนั้นให้ความสำคัญกับความยุติธรรม ความพยายามที่ให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมนั้นจะประสบผลสำเร็จไม่ได้ หากมนุษย์ไม่มีความตระหนักและมีความเข้าใจว่าแท้จริงแล้วนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และพระผู้สร้าง และสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบๆตัวเขา ความสัมพันธ์เหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของปัจเจกชน นิยามเศรษฐศาสตร์อิสลาม
ได้มีนักเศรษฐศาสตร์อิสลามหลายๆท่านให้นิยามของเศรษฐศาสตร์อิสลามที่มีทั้งที่เหมือนและแตกต่างกันในหลายด้าน Ibn Khandun ได้ให้นิยามเศรษฐศาสตร์ว่า ? การดำเนินชีวิตของมนุษย์จากรูปแบบหรือความต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยยังชีพและความพยายามต่างๆเพื่อให้ได้มา ? แน่นอนทีเดียวคนที่เป็นมุสลิมย่อมมีหลักการและรูปแบบในการดำเนินการนี้ที่แตกต่างจากประชาชาติอื่นๆ แต่โดยธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นผู้ที่ลืมง่าย และละเลยหน้าที่และความรับผิดชอบของตัวเอง มุสลิมจึงต้องการนิยามเศรษฐศาสตร์อิสลามที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย

ท่าน Akram Khan ได้ให้นิยามเศรษฐศาสตร์อิสลามไว้ว่า ? เป็นการศึกษาถึง อัลฟาละฮฺ (al-falah ) ของมนุษย์ผ่านการจัดสรรทรัพยากรตั้งอยู่บนพื้นฐานความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ท่าน Hasan-uz-Zaman กล่าวว่า ? เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์และการใช้หลักการและกฏข้อบังคับของชะรีอะฮฺเพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมในการใช้ทรัพยากรตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และทำให้เขาสามารถปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ และสังคมโดยรวม ?

ท่าน Masudul Alam Choudhury ได้ให้นิยามของเศรษฐศาสตร์อิสลามว่า ? การศึกษาประวัติศาสตร์ การสังเกต และทฤษฎีในการวิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์ และสังคมโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการอิสลาม ? ท่าน Mannan ได้กล่าวว่า ? เศรษฐศาสตร์อิสลามเป็นวิชาแขนงหนึ่งทางสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยใช้หลักการอิสลาม ?

สรุปความหมายข้างต้น เศรษฐศาสตร์อิสลามเป็นวิชาว่าด้วยกิจกรรมของมนุษย์ที่สอดคล้องกับหลักการชะรีอะฮฺในด้านการจัดหา การใช้หรือบริโภค การจัดการ และจัดสรรทรัพยากรเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และส่วนรวม เพื่อให้ได้มาซึ่งความโปรดปรานของอัลลอฮฺ สิ่งที่มีความสำคัญคือ เครื่องมือซึ่งได้แก่ทรัพยากร อิสลามให้เป็นประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า สิ่งต่อมาคือหลักการ เพราะมุสลิมเป็นที่เชื่อมั่นในหลักการของอิสลาม จึงจำเป็นต้องนำหลักการนั้นมาใช้ในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป้าหมายก็เป็นอีกอย่างที่มีความสำคัญ เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์อิสลามสามารถมองได้สองระดับ คือ เป้าหมายตอบสนองความต้องการ และเป้าหมายที่เป็นหน้าที่ ความนอบน้อมต่อพระเจ้า และ อัลฟาละฮฺ (al-falah)

การศึกษาระบบเศรษฐศาสตร์ของอิสลาม(Education of Islamic Economics)

ในปัจจุบันสังคมมุสลิมได้มีการตื่นตัวอย่างมากที่จะนำวิถีการดำเนินชีวิตแบบอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และทางด้านอื่นๆ ประชาชาติอิสลามในประเทศต่างๆทั่วโลก ทั้งประเทศที่มีมุสลิมเป็นประชากรส่วนมากของประเทศ เช่นประเทศในตะวันออกกลาง ในแอฟริกา หรือในประเทศที่มุสลิมเป็นประชาชนส่วนน้อยของประเทศ เช่นในอเมริกา ยุโรป และหลายๆประเทศในทวีปเอเชีย จำนวนธนาคารและสถาบันการเงินอิสลามที่ดำเนินงานตามหลักการชะรีอะฮฺได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ในขณะนี้ธนาคารและสถาบันการเงินอิสลามมีจำนวนมากกว่า 190 แห่งทั่วโลกหัวข้อทางด้านชะรีอะฮฺ การศึกษาอิสลาม และการเงินการธนาคารอิสลาม เป็นที่สนใจของนักวิชาการ นักปฏิบัติ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก ได้มีการสัมมนา การศึกษากลุ่ม และการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลามอย่างกว้างขวางทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก

ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาระดับสูงทั้งในเอเชีย เช่น สถาบันการศึกษาในประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศปากีสถาน ประเทศอินเดีย ประเทศจอร์แดน และประเทศอื่นๆ ที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรเศรษฐศาสตร์อิสลาม การเงินการธนาคารอิสลามทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับสูงกว่าปริญญาตรี สถาบันการศึกษาในโลกตะวันตกก็ได้มีการเปิดการเรียนการสอนทางด้านนี้เช่นเดียวกัน เช่นสถาบันการศึกษาในประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ความตื่นตัว และความต้องการของประชาชาติ โดยเฉพาะประชาชาติมุสลิม ที่จะมีรูปแบบทางเศรษฐกิจที่ตามหลักการชะรีอะฮฺ และเป็นรูปแบบทางเลือกจากระบบเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับระบบดอกเบี้ยเช่นในปัจจุบัน ประชาชาติมุสลิมมีความคาดหวังและความต้องการอย่างยิ่งยวดที่จะสามารถนำศาสนาอิสลามที่มีความสมบูรณ์สู่การปฏิบัติในทุกอณูของการดำรงชีวิต

อิสลามห้ามการกินดอกเบี้ย(The interest of islam)

หลักคำสอนของอิสลามในเรื่องการใช้จ่ายทรัพย์สิน ก็คือ มนุษย์จะต้องนำทรัพย์สินมาใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุดโดยไม่สร้างความเสียหายให้แก่สังคม และประการที่สำคัญที่สุด ก็คือ มุสลิมทุกคนจะต้องจ่ายซะกาตตามหลักการ และข้อกำหนดในบทบัญญัติของอิสลาม นั่นก็คือ การใช้จ่ายทรัพย์สินไปในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า หลีกเลี่ยงจากการทุจริต การคดโกง การลักขโมย การปล้นและการได้ทรัพย์สินมาโดยไม่ชอบธรรม มุสลิมจะต้องห่างไกลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับดอกเบี้ย เพราะดอกเบี้ยเป็นการเอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และพระองค์อัลลอฮฺ (ซุบฮาฯ) ก็ทรงห้ามในเรื่องการกินดอกเบี้ย ดังที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน บทอัลบะกอเราะฮฺ โองการที่ 275 ความว่า: บรรดาผู้กินดอกเบี้ยนั้น พวกเขาจะไม่ยืนขึ้น (ฟื้นขึ้นจากสุสานในปรภพได้อย่างท่าทางปรกติ) นอกจาก (พวกเขาจะยืนขึ้นมาในท่าที) ประดุจดังผู้ที่มารร้ายสิ่งสู่เนื่องจากความวิกลจริต นั่นเป็นเพราะพวกเขากล่าวว่า “อันที่จริงการค้าขายก็เหมือนกับดอกเบี้ยนั่นเอง” และอัลลอฮฺทรงอนุมัติการค้าขาย แต่ทรงห้ามการดอกเบี้ย

อิสลามห้ามดอกเบี้ย เพราะในความเป็นจริงนั้น อัตราดอกเบี้ยสูงจะไม่ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณของการที่นายทุนจะนำเงินไปลงทุนธุรกิจกันมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามธนาคารจะทำให้เกิดปัญหาการว่างงานมาขึ้น เพราะยิ่งอัตราอกเบี้ยสูงจะเกิดการลงทุนต่ำ นักธุรกิจและนายทุนไม่อยากที่จะลงทุนเมื่อกำไรที่ได้รับน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ย เช่น ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยทั่วไปอยู่ในระดับ 4% และมีนายทุนคนหนึ่งจะกู้เงินไปทำธุรกิจส่งออกอาหารกระป๋องแต่ได้กำไรเพียง 3% (ซึ่งได้กำไรน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กู้เงินมา) ดังนั้นในความคิดเห็นของนักลงทุนแล้ว จะเห็นว่าธุรกิจการส่งออกอาหารกระป๋องไม่น่าจะลงทุนสู่เอาเงินไปฝากธนาคาร แล้วนอนอยู่บ้านคอยรับดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งให้ค่าตอบแทนมากกว่า ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการลงทุนก็ไม่เกิดขึ้น อัตราการว่างงานก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง และในที่สุดก็จะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม คนที่มีเงินก็จะยิ่งรวยมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามคนที่ไม่มีก็จะยิ่งยากจนมากขึ้น และเมื่อใดก็ตามที่คนไม่มีงานทำ ไม่มีเงินที่จะมาซื้ออาหาร หรือปัจจัยยังชีพเพื่อประทังความหิวโหยก็จะหาทางออกโดยการปล้น ฉกชิง วิ่งราว และยิ่งกลายเป็นปัญหาสังคมมากขึ้นทุกวัน

อิสลามจึงได้พยายามที่จะสร้างความเสมอภาคในสังคม เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนยากจน โดยผ่านทางกระบวนการที่เรียกว่า “ซะกาต” โดยเก็บจากเงินทุนส่วนเกินหรือผู้ที่มีทรัพย์สินมากเกินพอกับความต้องการไปให้กับคนยากจน ทั้งนี้เพื่อที่จะเป็นการกระจายความมั่งคั่งจากคนมั่งมีไปสู่คนยากจน และเมื่อใดก็ตามที่สังคมปราศจากความยากจน มนุษย์ทุกคนก็จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข
ดังนั้น ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามจึงเป็นระบบที่มีมาเพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์เป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทั้งนี้ก็จะต้องเป็นไปตามกรอบหรือขอบเขตที่อิสลามได้วางไว้ มนุษย์เองก็อยู่ในฐานะของผู้ถูกสร้างเช่นเดียวกัน แต่มนุษย์ได้รับสิทธิที่เหนือกว่าสิ่งที่ถูกสร้างอื่น ๆ มนุษย์สามารถใช้สติปัญญาในการคิด ไตรตรอง และเลือกทำให้สิ่งที่ถูกต้องได้ มนุษย์เปรียบเสมือนตัวแทนของพระองค์อัลลอฮฺ

ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์(Problem of Economics)

ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นมาก็เพราะความจริงที่ว่ามนุษย์เรามีความต้องการนั่นเอง และความต้องการของมนุษย์ก็เป็นความต้องการที่ไม่สิ้นสุด ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ มนุษย์ก็ย่อมจะต้องแสวงหาสิ่งต่าง ๆ มาบำบัดความต้องการของตนอย่างไม่จบสิ้น แต่เนื่องจากว่าทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในโลกนี้มีจำนวนจำกัด ขณะที่มนุษย์มีความต้องการอย่างไม่จำกัด จึงก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นมาทันทีว่าจะจัดแบ่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์กันอย่างไร มนุษย์จึงจะได้รับความพอใจสูงสุด มนุษย์ควรจะเป็นเจ้าของปัจจัยได้มากน้อยแค่ไหน ? มนุษย์จะมีเสรีภาพในการบริโภคเพียงใด ? ตลอดจนเราจะใช้อะไรเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ปัญหาต่าง ๆ เหล่นี้เป็นปัญหาร่วมกันของมนุษย์ และสิ่งที่ก่อให้เกิดทฤษฎีต่าง ๆ ขึ้น เช่น ทฤษฎีของลัทธิทนนิยม และสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ ซึ่งทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านี้ก็มีเป้าหมายแนวความคิด และวิธีในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของมนุษย์ที่แตกต่างกันออกไป

ในเศรษฐศาสตร์แบบทุนนิยมนั้นให้สิทธิเสรีภาพแก่บุคคลทุกคนในการใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลในสังคมแต่ในเศรษฐศาสตร์อิสลาม มนุษย์ไม่อยู่ในฐานะที่จะจัดสรรทรัพยากรเองได้ตามอำเภอใจ เพราะอิสลามมีข้อจำกัดทางศีลธรรมอันเข้มงวด โดยมีบทบัญญัติแห่งคัมภีร์อัลกุรอ่านและแบบอย่างคำสอนของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งมุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ฉะนั้นเศรษฐศาสตร์อิสลามจึงมิได้ศึกษาแต่เพียงเรื่องของมนุษย์ในสังคมเท่านั้น แต่ยังศึกษาถึงมนุษย์ที่มีศาสนา มีคุณธรรมอยู่ในหัวใจด้วย และเศรษฐศาสตร์อิสลามไม่เพียงแต่จะเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในเรื่องการประกอบอาชีพ การจับจ่ายใช้สอยเท่านั้น แต่อิสลามยังเน้นถึงเรื่องการหาเลี้ยงชีพอย่างถูกต้อง และห้ามการแสวงหาทรัพย์สินด้วยวิธีการที่ผิดต่อกฎหมาย หรือขัดกับหลักการที่ถูกวางไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่านและอัลฮาดิษ ทั้งนี้เพราะการทุจริตการคดโกงนั้นจะมีผลในการทำลายมนุษย์ด้วยกันเอง

ดังนั้นอิสลามจึงได้วางกฎบางประการที่คอยควบคุม และกำหนดรูปแบบตลอดจนจิตสำนึกในการแสวงหารายได้ของมนุษย์ได้อย่างเข้มงวด โดยกำหนดให้ทุกขั้นตอนของระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับข้อกำหนดทางศีลธรรม ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและมีความเจริญรุ่งเรือง และที่สำคัญก็คือเพื่อความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

ในรูปแบบเศรษฐศาสตร์อิสลามมีความเชื่อว่า ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกนี้รวมทั้งสรรพสิ่งต่าง ๆ ทั้งปวงนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าโดยเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว พระองค์คือผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ และเป็นเจ้าของทุกสรรพสิ่งดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน บทอาละอิมรอน โองการที่ 189
ความว่า: และเป็นสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺนั้นคือ ปริมาณมณฑล แห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน และพระองค์อัลลอฮฺทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง

มนุษย์จึงเป็นเพียงตัวแทนของพระองค์ที่ถูกส่งลงมายังโลกและบนผืนแผ่นดินเท่านั้น มนุษย์จึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และใช้สรรพสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและบุคคบในสังคม ทั้งนี้ต้องอยู่ในกรอบหรือขอบเขตที่อิสลามได้กำหนดไว้ เพราะสรรสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกสร้างมานั้นก้เพื่อมนุษย์ทั้งสิน ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน บทอัลบากอเราะฮฺ โองการที่ 29
ความว่า: พระองค์คือผู้ได้ทรงสร้างสิ่งทั้งมวลในโลกนี้ไว้สำหรับพวกเจ้าภายหลังได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้าและได้ทำให้มันสมบูรณ์ขึ้นเป็นเจ็ดชั้นฟ้า และพระองค์นั้นได้ทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง

ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีว่าสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างทั้งหมดนั้นก็เพื่อมวลมนุษย์ มนุษย์มีความสามารถที่จะถือกรรสิทธิ์หรือครอบครองสิ่งต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้จะต้องเป็นการถือครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ได้มาอย่างถูกต้องตามหลักการของศาสนา และตามตัวบทกฎหมายที่วางไว้ กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลตามกฎหมายนั้น คือ การที่อิสลามยอมรับและคุ้มครองสิทธิการเป็นเจ้าของการจับจ่ายใช้สอย การโอนและการโยกย้ายทรัพย์สินส่วนบุคคล กรรมสิทธิ์ในการครอบครองทรัพย์สินต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับทางศีลธรรม และแม้แต่สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่นอกจากมนุษย์ก้มีส่วนร่วมในสรรพสิ่งที่ถูกสร้างด้วยเช่นกัน ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน บทอัซซาริยาต โองการที่ 19
ความว่า: และในทรัพย์สมบัติของพวกเขาจัดไว้เป็นส่วนของผู้เอ๋ยขอ และผู้ไม่เอ๋ยขอ

อิสลามถือว่าปัจจัยหรือทรัพยากรตามธรรมชาติที่มีอยู่ เช่นพื้นดิน น้ำ ลำธาร ต้นไม้ และความอุดมสมบูรณ์อื่น ๆ นั้นมิได้เป็นของผู้ใดผู้หนึ่ง มนุษย์เป็นแต่เพียงผู้ดูแลรักษาเท่านั้น และการดูแลรักษานั้นก็มีเงื่อนไขให้มนุษย์นำทรัพยากรที่มีอยู่นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเสมอภาคกัน มิใช่เพื่อเอารัดเอาเปรียบ หรือสร้างความมั่งคั่ง ร่ำรวยให้แก่คนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ดังนั้น อิสลามจึงอนุมัติให้มีการแสวงหาทรัพย์สิน และให้มนุษย์สามารถครอบครองกรรมสิทธิ์ หรือมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งที่มนุษย์แสวงหามาได้อย่างถูกต้อง และอิสลามก็กำหนดให้เจ้าของทรัพสินนั้นใช้มันไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม จากคำกล่าวนี้เราสามารถกล่าวโดยสรุปก็คือ “ขณะที่อิสลามอนุญาตให้บุคคลแสวงหาหรือผลิตสินค้า อิสลามก็กระตุ้นให้บุคคลไม่ลืมว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และอิสลามก็เตือนให้เขาเห็นถึงความจำเป็นในการที่จะช่วยกันปกป้อง และส่งเสริมประโยชน์ของเพื่อนร่วมโลกของเขาด้วย”

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์เศรษฐศาตร์อิสลาม(Islamic Economics)

“เศรษฐศาสตร์” คือวิชาที่ว่าด้วยการกระทำของมนุษย์ในการดำรงชีวิตการเลือกใช้ทรัยการการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับบุคคลในสังคมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งเราอาจจะกล่าวได้ว่า “เศรษฐกิจเป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการเลือกหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตซึ่งมีอยู่อย่างจำกันเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย” นั่นเอง
สำหรับเศรษฐศาสตร์อิสลามเป็นศาสตร์ทางสังคมซึ่งมุ่งศึกษาถึงปัญหาทางเศรษฐกิจของคนโดยอาศัยหลักการของอิสลามมาเป็นบรรทัดฐานในการดำรงชีวิต และครอบคลุมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนต่อการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริโภค หรือในด้านการผลิตซึ่งได้แก่ความศรัทธา จริยธรรม กฎหมาย และอื่น ๆ เป็นต้น