วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มติและคำแนะนำสภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม เลขที่ 66(4/7) เกี่ยวกับเรื่องการขายที่มีเงื่อนไขจำนอง

มติและคำแนะนำสภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม เลขที่ 66(4/7) เกี่ยวกับเรื่อง “บัยอฺ อัลวะฟาอฺ” (การขายที่มีเงื่อนไขจำนอง)

ในการประชุมครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-12 ซุลเกาะอฺด๊ะฮฺ ฮ.ศ.1412 ตรงกับวันที่ 9-14 พฤษภาคม ค.ศ.1992 ในนครญิดด๊ะฮฺ (อาณาจักรซาอุดิอารเบีย) สภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม(The Council of Islamic Fiqh Academy)ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยองค์การที่ประชุมอิสลาม (OIC) ได้พิจารณาเอกสารการศึกษาค้นคว้าที่สภาได้รับมาเกี่ยวกับเรื่อง “การขายที่มีเงื่อนไขจำนำ” (การขายที่ผู้ขายจ่ายคืนราคาให้แล้ว ผู้ซื้อก็คืนสินค้าที่ซื้อมาให้)

และหลังจากที่ได้ฟังการถกเถียงกันถึงเรื่องนี้แล้ว สภาได้มีมติว่า :-

1) การขายเช่นนี้ความจริงแล้วเป็น “เงินกู้อย่างหนึ่งซึ่งได้ก่อให้เกิดกำไรแล้ว” ดังนั้น มันจึงเป็นการหลอกลวงในเรื่อง “ริบา” และตามทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง

2) ตามหลักกฎหมาย สัญญานี้ไม่เป็นที่อนุญาต หมายเหตุ : บัยอฺ อัลวะฟาอฺ (การขายโดยมีเงื่อนไขจำนำ) เป็นการขายโดยมีเงื่อนไขที่ว่าเมื่อผู้ขายคืนราคาให้ ผู้ซื้อก็จะคืนสิ่งที่ซื้อมาให้ ตามฮุกุม(กฎ) การค้าขายเป็นที่อนุญาตถ้ามองในแง่ที่ว่าผู้ซื้อได้รับกำไร อย่างไรก็ตาม การค้านี้ถูกมองว่าเหมือนกับ “การจำนำ” ที่ผู้ซื้อไม่มีสิทธิ์ที่จะขายสินค้าของตนให้คนอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น