วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สถานภาพของระบบทุนนิยมปัจจุบัน

พัฒนาการทางสังคมที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมจากจุดแรกเริ่มมาถึงปัจจุบันเราเห็นได้อย่างชัดเจน ในแง่เทคโนโลยี มันมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ล่าสุดคอมพิวเตอร์ ,พันธุวิศวกรรม สิ่งใหม่เกิดขึ้นเพื่อทดแทนสิ่งเก่าโดยมีแรงผลักดันที่สำคัญ ๆ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มอัตรากำไร ทั้งในด้านการผลิตและโครงสร้างทางสังคม

ในยุคปัจจุบันแน่นอนที่สุดว่า การพัฒนาขั้นสูงไม่ได้ถูกใช้เพื่อสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่แต่อย่างใด ดังนั้นความอดอยากจึงดำรงอยู่คู่กันเป็นเส้นขนาน เพื่อเปิดประตูเข้าสู่การค้นหาความจริงว่า เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธสามารถที่จะแทรกตัวเข้าสู่ระบบปัจจุบันได้หรือไม่? เมื่อโครงสร้างทางสังคมโดยรวมของโลกเป็นระบบทุนนิยม ประชากรโลกอยู่ในโครงข่ายวิถีการผลิตของระบบทุน โครงสร้างทางสังคม สถาบันทางสังคม คุก ศาล ทหาร ตำรวจ รัฐสภา ล้วนมีอยู่เพื่อสอดรับพิทักษ์ผลประโยชน์ของทุน ไม่เว้นแม้กระทั่งสถาบันทางศาสนา พุทธเศรษฐศาสตร์จะเข้ามาจุติ ณ ที่แห่งใดในแรกเริ่ม กลุ่มพลังใดจะเป็นตัวผลักดันการเปลี่ยนแปลง? และมีพลังจริงหรือไม่?

มีวิธีการรับอำนาจเก่าอย่างไร? วิธีการจัดการกับทุนในระบบเศรษฐกิจมีอะไร? เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตตรงไหน? วิธีการสะสมทุนเพื่อสร้างสวัสดิการทางสังคมจะเอามาจากไหน? เหล่านี้ล้วนแต่เป็นโจทย์สำคัญที่แนวศาสนาต้องตอบให้ได้ว่าจะจัดการกับระบบเดิมอย่างไร ความเชื่อ ความศรัทธา จะเข้ากับความเป็นจริงได้หรือไม่?(วารสารประชาธิปไตยแรงงาน ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือนกพ.2547)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น