วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นิติศาสตร์อิสลามเกี่ยวกับการตกลงซื้อ-ขายในรูปแบบต่างๆ

มติและคำแนะนำของสภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม เลขที่ 65(2/7) เกี่ยวกับเรื่องการขายแบบผ่อนชำระ ในการประชุมครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-12 ซุลเกาะอฺด๊ะฮฺ ฮ.ศ.1412 ตรงกับวันที่ 9-14 พฤษภาคม ค.ศ.1992 ในนครญิดด๊ะฮฺ (อาณาจักรซาอุดิอารเบีย) สภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม(The Council of Islamic Fiqh Academy)ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยองค์การที่ประชุมอิสลาม (OIC) ได้พิจารณาเอกสารการศึกษาค้นคว้าที่สภาได้รับมาเกี่ยวกับเรื่อง “การขายแบบผ่อนชำระ” และเป็นเรื่องสืบนื่องมาจากมติหมายเลข 51(2/6) ในการประชุมของสภาครั้งที่ 6

หลังจากได้พิจารณาข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว สภาได้ลงมติว่า :-

1) การขายผ่อนชำระเป็นงวดๆเป็นที่อนุญาตในหลักกฎหมายอิสลามถึงแม้ว่าราคาขายผ่อนจะเกินกว่าราคาขายสด (ที่จ่ายกันทันทีเมื่อซื้อขาย)

2) เอกสารทางการค้า เช่น เช็ค หนังสือมอบอำนาจ ใบเบิกถอน ตั๋วสัญญาใช้เงินและใบแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นรูปแบบบางอย่างของเอกสารรับรองหนี้ที่เชื่อถือได้

3) การลดมูลค่าเอกสารการค้าไม่เป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลามเพราะมันเหมือนกับการค้าที่เกี่ยวข้องกับริบาอันนาซิอ๊ะฮฺ (ดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากการเลื่อนเวลาจ่ายเงิน) ซึ่งเป็นที่ต้องห้าม(ฮะรอม)อย่างชัดเจน

4) การลดหนี้ผ่อนชำระเพื่อกระตุ้นให้จ่ายหนี้เร็วขึ้นไม่ว่าจะโดยการขอร้องของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ (จ่ายน้อยแต่จ่ายก่อนกำหนดเวลา) ถือเป็นที่อนุญาตในหลักกฎหมายอิสลาม วิธีการนี้ไม่ตกอยู่ในข่ายริบาที่ต้องห้าม ถ้าหากไม่ได้มีการตกลงล่วงหน้ากันไว้ก่อนและตราบใดที่ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้อยู่ ถ้าหากมีฝ่ายที่สามระหว่างทั้งสองฝ่าย การลดหนี้ไม่เป็นที่อนุญาตเพราะกฎ(ฮุกุม)ในเรื่องนี้จะเหมือนกับกฎของการซื้อลดเอกสารทางการค้า

5) เป็นที่อนุญาตให้สองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินตกลงกันว่าค่างวดทั้งหมดจะต้องได้รับการชำระถ้าหากลูกหนี้ปฏิเสธที่จะชำระหนี้งวดหนึ่งงวดใดตราบใดที่ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

6) ถ้าหากถึงเวลาชำระหนี้ หากมีการตาย การล้มละลายหรือการล่าช้าของลูกหนี้ ในกรณีที่กล่าวมานี้ทั้งหมด จำนวนหนี้อาจลดได้ทั้งนี้เพื่อที่จะให้มีการชำระหนี้เร็วขึ้นโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องได้รับการยินยอมร่วมกันของทั้งสองฝ่าย

7) เกณฑ์ตัดสินการล้มละลายที่จะนำมาใช้ก็คือลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่เกินความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่เขาจะชำระหนี้เป็นเงินสดหรือเป็นสิ่งของ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น