วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ธนาคารอิสลามในปากีสถาน(The Pakistan Bank)

ธนาคารอิสลามในปากีสถาน เช่นเดียวกับอิหร่าน ปากีสถานเริ่มทำให้ระบบธนาคารของตนเป็นไปตามหลักการอิสลามในปลายปี ค.ศ.1970 อย่างไรก็ตาม เจตนาในการนำระบบนี้เข้ามาในปากีสถานมีขึ้นตั้งแต่เมื่อก่อนหน้านี้สี่สิบปีแล้ว เพราะในตอนที่มุฮัมมัด อะลี ญินนะฮ์ บิดาแห่งชาติของปากีสถานได้เคยประกาศไว้ว่าจะทำให้ระบบธนาคารของปากีสถานเป็นไปตามหลักการอิสลามเมื่อตอนที่ไปเปิดธนาคารชาติแห่งปากีสถานในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1948 หลังจากนั้น การปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้เป็นแบบอิสาลามก็ได้มีการยืนยันไว้อีกครั้งหนึ่งในคำประกาศเจตนารมณ์ (Objectives Resolution) ของสภารัฐธรรมนูญแห่งปากีสถานใน ค.ศ. 1949 แต่เนื่องจากเหตุผลหลายประการทางโครงสร้างภายในประเทศและความคิดแบบประเทศที่ตกเป็นอาณานิคม จึงทำให้มีการล่าช้าในการปฏิรูปตามเจตนารมณ์ดังกล่าว เมื่อนายพลเซียอุลฮักทำรัฐประการใน ค.ศ.1977 ก็ได้มีการเร่งดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินไปสู่หลักการอิสลามทันที
ในเดือนกันยายน ค.ศ.1977นายพลเซียอุลฮักได้ตั้งสาพอุดมการณ์อิสลามขึ้นซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 19 คนเพื่อทำหน้าที่วางกรอบในการยกเลิกดอกเบี้ยออกจากระบบเศรษฐกิจ แต่เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ของสภานี้มิได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ สภานี้จึงได้แต่งตั้งนักเศรษฐศาสตร์และนักการธนาคารจำนวน 15 คนขึ้นมาคอยให้ความช่วยเหลือในการเตรียมรายงานให้ท่านนายพลเซีย สภาได้นำเสนอวิธีการต่างๆที่เป็นไปได้ซึ่งจะสามารถนำมาใช้แทนระบบดอกเบี้ยคงที่ได้วิธีการต่างๆในการหารายได้ของธนาคารที่ถูกนำเสนอได้แก่การเก็บค่าธรรมเนียมบริการ การให้เช่า การประมูลเพื่อการลงทุน การซื้อผ่อนส่ง การเช่าซื้อ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินบนพื้นฐานของผลตอบแทนตามปกติ การให้เงินกู้แก่กันโดยเพิ่มเวลาให้และการให้เงินกู้พิเศษ พร้อมกันนั้นก็มีการระบุถึงวันเวลาที่จะนำระบบปลอดดอกเบี้ยมาใช้ไว้ในรายงานนั้นด้วย ส่วนที่สองของรายงานได้อธิบายถึงการดำนเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในระบบปลอดดอกเบี้ย ข้อแนะนำในรายงานนี้พูดถึงวิธีการต่างๆทางการเงิน การถอนเงินฝากและธุรกรรมปลีกย่อยอื่นๆ สิ่งสำคัญก็คือการคำนวณกำไรและการขาดทุนระหว่างะนาคารกับผู้ยืม สภาพได้แนะนำว่าการตอบแทนเงินออมด้วยอัตราคงที่นั้นควรจะถูกแทนที่ด้วยการตอบแทนที่ไม่แน่นอนโดยอาศัยแนวความคิดของการแบ่งผลกำไร

นอกจากนี้แล้วก็ยังมีการพูดถึงธุรกรรมระหว่างธนาคาร ความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารกลาง ธุรกรรมต่างประเทศของธนาคารที่จะต้องเก่ยวข้องกับดอกเบี้ยและเงินกู้ของะนาคารให้แก่พนักงานของตน ธุรกรรมระหว่างธนาคารซึ่งรวมทั้งกับธนาคารชาตินั้นได้รับคำแนะนำให้ทำโดยอาศัยพื้นฐานของการแบ่งกำไร มีข้อแนะนำให้ปล่อยเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างของธนาคารด้วย แต่ในรายงานดังล่าวไม่มีเรื่องการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการทำธุรกรรมกับธนาคารต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยไว้ ดังนั้น หนทางในการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายอิสลามก็คือสภาแนะนำว่าควรจะมีการตั้งบริษัทขึ้นมาต่างหากเพื่อบริหารสาขาต่างประเทศของธนาคารปากีสถานทั้งหมด

เงินฝากต่างประเทศที่ธนาคารปากีสถานถืออยู่จะถูกโอนไปยังบริษัทนี้และบริษัทนี้จะถูกสั่งห้ามมิให้รับเงินฝากในท้องถิ่น สถาบันทางการเงินที่เชี่ยวชาญที่รวมอยู่ในรายงานของสภานั้นก็คือบริษัทสิ้นเชื่อและการลงทุนทางอุตสาหกรรมของปากีสถาน, ธนาคารเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งปากีสถาน, บริษัทเงินทุนพัฒนาแห่งชาติ, ธนาคารพัฒนาการทางด้านการเกษตรของปากีสถาน, บริษัทเงินทุนธุรกิจขนาดเล็ก, กองทุนการมีส่วนเข้าร่วมลงทุน, สหธนาคารเพื่อสหกรณ์และสถาบันสินเชื่อสหกรณ์อื่นๆ และบริษัทประกันภัย

สภาเชื่อว่าความรับผิดชอบและการทำงานของธนาคารชาติของปากีสถานหรือธนาคารกลางภายใต้ระบบปลอดดอกเบี้ยจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มันจะทำหน้าที่ของธนาคารกลางสมัยใหม่ซึ่งรวมทั้งการออกธนบัตร การกำหนดเงินและสินเชื่อ เป็นธนาคารและที่ปรึกษาใหแก่รัฐบาลและเป็นแหล่งสำรองสุดท้ายของสภาพคล่องสำหรับระบบการเงินและธนาคาร

เครื่องมือนโยบายทางการเงินที่สภาแห่งนี้เสนอก็คือการสำรองเงินสดขั้นต่ำสุด สัดส่วนสภาพคล่อง เพดานการปล่อยสินเชื่อและการลงทุน เป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้สำหรับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับภาคที่จำเป็น การควบคุมสินเชื่อ การออกคำสั่งแก่ธนาคารในเรื่องต่างๆของการปฏิบัติงานธนาคารที่เครื่องมือนโยบายและการชักชวนไม่สามารถครอบคลุมไปถึงในส่วนของธุรกรรมของรัฐบาลนั้น สภาได้ให้คำแนะนำว่าเงินกู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การของรัฐบาล (กล่าวคือเงินกู้จากธนาคารรัฐที่ให้แก่รัฐบาลหรือเงินกู้ที่รัฐบาลกลางให้แก่รัฐบาลท้องถิ่น) นั้น จะต้องทำบนพื้นฐานของการปลอดดอกเบี้ย ในกรณีของการยืมมาจากภายนอกซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย สภายอมรับว่าการปฏิบัติจะต้องเป็นไปเหมือนเดิม

แต่ขณะเดียวกันก็แนะนำให้รัฐบาลพยายามที่จะลดความเกี่ยวข้องกับเงินกู้ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น