วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม(The system of islamic economics)

ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามนั้นให้ความสำคัญกับความยุติธรรม ความพยายามที่ให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมนั้นจะประสบผลสำเร็จไม่ได้ หากมนุษย์ไม่มีความตระหนักและมีความเข้าใจว่าแท้จริงแล้วนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และพระผู้สร้าง และสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบๆตัวเขา ความสัมพันธ์เหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของปัจเจกชน นิยามเศรษฐศาสตร์อิสลาม
ได้มีนักเศรษฐศาสตร์อิสลามหลายๆท่านให้นิยามของเศรษฐศาสตร์อิสลามที่มีทั้งที่เหมือนและแตกต่างกันในหลายด้าน Ibn Khandun ได้ให้นิยามเศรษฐศาสตร์ว่า ? การดำเนินชีวิตของมนุษย์จากรูปแบบหรือความต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยยังชีพและความพยายามต่างๆเพื่อให้ได้มา ? แน่นอนทีเดียวคนที่เป็นมุสลิมย่อมมีหลักการและรูปแบบในการดำเนินการนี้ที่แตกต่างจากประชาชาติอื่นๆ แต่โดยธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นผู้ที่ลืมง่าย และละเลยหน้าที่และความรับผิดชอบของตัวเอง มุสลิมจึงต้องการนิยามเศรษฐศาสตร์อิสลามที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย

ท่าน Akram Khan ได้ให้นิยามเศรษฐศาสตร์อิสลามไว้ว่า ? เป็นการศึกษาถึง อัลฟาละฮฺ (al-falah ) ของมนุษย์ผ่านการจัดสรรทรัพยากรตั้งอยู่บนพื้นฐานความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ท่าน Hasan-uz-Zaman กล่าวว่า ? เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์และการใช้หลักการและกฏข้อบังคับของชะรีอะฮฺเพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมในการใช้ทรัพยากรตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และทำให้เขาสามารถปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ และสังคมโดยรวม ?

ท่าน Masudul Alam Choudhury ได้ให้นิยามของเศรษฐศาสตร์อิสลามว่า ? การศึกษาประวัติศาสตร์ การสังเกต และทฤษฎีในการวิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์ และสังคมโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการอิสลาม ? ท่าน Mannan ได้กล่าวว่า ? เศรษฐศาสตร์อิสลามเป็นวิชาแขนงหนึ่งทางสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยใช้หลักการอิสลาม ?

สรุปความหมายข้างต้น เศรษฐศาสตร์อิสลามเป็นวิชาว่าด้วยกิจกรรมของมนุษย์ที่สอดคล้องกับหลักการชะรีอะฮฺในด้านการจัดหา การใช้หรือบริโภค การจัดการ และจัดสรรทรัพยากรเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และส่วนรวม เพื่อให้ได้มาซึ่งความโปรดปรานของอัลลอฮฺ สิ่งที่มีความสำคัญคือ เครื่องมือซึ่งได้แก่ทรัพยากร อิสลามให้เป็นประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า สิ่งต่อมาคือหลักการ เพราะมุสลิมเป็นที่เชื่อมั่นในหลักการของอิสลาม จึงจำเป็นต้องนำหลักการนั้นมาใช้ในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป้าหมายก็เป็นอีกอย่างที่มีความสำคัญ เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์อิสลามสามารถมองได้สองระดับ คือ เป้าหมายตอบสนองความต้องการ และเป้าหมายที่เป็นหน้าที่ ความนอบน้อมต่อพระเจ้า และ อัลฟาละฮฺ (al-falah)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น