วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

เครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้เปิดรับโครงการเมืองไทยตะกาฟุล

คณะกรรมการเมืองไทยชารีอะห์และผู้บริหารเมืองไทยตะกาฟุล เข้าร่วมหารือกับคณะทำงานเครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้เกี่ยวกับโครงการเมืองไทยตะกาฟุล ที่โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี เมื่อวันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้
การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในกรอปความร่วมมือระหว่างเมืองไทยตะกาฟุลและเครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้
ในด้านการให้บริการเมืองไทยตะกาฟุลแก่พี่น้องมุสลิมโดยมีท่านอาจารย์อรุณ บุญชม ประธานคณะกรรมการเมืองไทยชารีอะห์เป็นหัวหน้าคณะทำงานของเมืองไทยตะกาฟุล และ ตัวแทนจากเครือข่ายรวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาหลายท่านเข้าร่วม อาทิเช่น รศ.ดร.อิสมาแอล อาลี ผู้อำนวยการอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี ดร.มะรอนิง สาแลมิง ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิกฮ์ซึ่งเป็น อ.ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี ดร.อับดุลฮาลิม ไซซิง คณบดีคณะอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามยะลา เมืองไทยตะกาฟุลเป็นโครงการของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เพื่อให้บริการที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามแก่พี่น้องมุสลิม
โดยเล็งเห็นว่าโครงการตะกาฟุลที่เป็นที่ยอมรับในประเทศมาเลเซียเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องมุสลิม จึงดำเนินการเพื่อให้บริการที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องมุสลิมในประเทศไทยบ้าง โดยใช้หลักของการมอบอำนาจให้บริษัทเป็นผู้บริหารจัดการ ในฐานะที่บริษัทเป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีความมั่นคง ในการประชุมดังกล่าวได้มีการหารือในด้านหลักวิชาการศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของเมืองไทยตะกาฟุล ทั้งนี้ อ.อรุณ บุญชม ประธานคณะกรรมการเมืองไทยชารีอะห์ ได้กล่าวว่า “การประชุมดังกล่าวเป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่าย เนื่องจากเป็นการประชุมเพื่อหาข้อสรุปในแนวทางการดำเนินการร่วมกัน ในช่วงเริ่มต้นการดำเนินการในหลายๆด้านต้องดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาต อาจจะไม่ได้ดังใจทั้งหมด แต่หากเราร่วมมือกันและเข้มแข็ง เสียงของเราก็จะดังขึ้น กฎระเบียบต่างๆ ก็อาจเป็นไป ตามที่เราต้องการได้” ขณะเดียวกัน อ.บรรจง บินกาซัน กรรมการเมืองไทยชารีอะห์ และนักแปล นักเขียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ให้ได้ข้อคิดเห็นว่า “อยากให้มองว่าตะกาฟุลเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่ามองว่าเป็นเรื่องซื้อ-ขาย ทุกๆฝ่ายได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้และขอให้เหนียตว่าเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะทำให้กลุ่มเหนียวแน่นและมั่นคงขึ้น” การประชุมดังกล่าวเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ เจาะลึกเรื่องการดำเนินการของเมืองไทยตะกาฟุลว่าดำเนินการได้ถูกต้องตามหลักศาสนาอย่างไรบ้าง จะมีการนำมาปรับใช้กับวิถีชีวิตมุสลิมและการดำเนินงานของสหกรณ์ได้อย่างไร ตลอดการประชุมมีการถาม-ตอบและแบ่งปันข้อคิดเห็นซึ่งกันและกันจากท่านผู้รู้ในสาขาต่างๆ
และสามารถสรุปได้ว่า ว่าจะมีสหกรณ์บางส่วนดำเนินการนำร่องไปก่อน แล้วแต่สหกรณ์ไหนจะรับอาสา ทั้งนี้รศ.ดร.อิสมาแอล อาลีได้แสดงความคิดเห็นกับสำนักข่าวมุสลิมไทยต่อตะกาฟุลว่า
“ในปัจจุบันเรื่องประกันมีความจำเป็นและเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต มนุษย์มีความต้องการในเรื่องต่างๆมากขึ้น อย่างไรก็ดีให้พิจารณาดูว่าอันไหนถูกต้องมากที่สุดก็สนับสนุน ไม่ใช่คำนึงถึงผลประโยชน์ ให้สนับสนุนตามหลักการ แนะนำว่าสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้แก้ไข และให้รับและนำไปเผยแพร่ ผลักดันสิ่งที่ดีที่สุด
ขณะเดียวกันก็ให้พิจารณาดูที่ปรึกษาด้วย ที่ปรึกษาไม่ใช่แค่เป็นมุสลิมเท่านั้น แต่ต้องรู้ละเอียดเกี่ยวกับการประกันและหลักชารีอะห์ ตลอดจนดูแลการดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักอิสลาม”
อาจารย์อรุณ บุญชม
บรรยากาศการประชุม

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552

ก้าวสำคัญของ ibank ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยความหวังของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย


พล.ท.สมชาย วิรุฬหผล ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย


เมื่อวานนี้ พล.ท.สมชาย วิรุฬหผล ประธานกรรมการ พร้อมด้วย คุณสัญญา ปรีชาศิลป์ ผู้จัดการส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและสื่อสารองค์กร ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพเลี้ยงขอบคุณคณะสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ที่ห้องอาหารมุสลิมชื่อดัง สินธรสเต็ก (www.steaksinthorn.com)

โดยมีสื่อเข้าร่วมงาน ดังเช่นสำนักข่าวมุสลิมไทย (www.muslimthai.com), หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ, หนังสือพิมพ์เดะพับลิค, หนังสือพิมพ์กัมปง, และนิตยสารนิสา ภายหลังที่การจัดงานเปิดตัวภาพลักษณ์ใหม่ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBank เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างสูง

ซึ่ง พล.ท.สมชาย วิรุฬหผล ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวมุสลิมไทยในประเด็นต่างๆ อย่างน่าสนใจ

ความคืบหน้า อิสลามมิกบอนด์

ท่านได้กล่าวว่า Ibank มีแผนระดมทุนออกพันธบัตรอิสลามมิก หรืออิสลามมิกบอนด์ โดยมีธนาคารอิสลามฯ เป็นที่ปรึกษาการเงิน จากการเดินทางไปตะวันออกกลาง มีนักลงทุนจากคูเวตสนใจเข้ามาลงทุนซื้ออิสลามมิกบอนด์ ซึ่งออกโดยรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เช่น ปตท. กฟผ. โดยต้องการซื้อประมาณ 3,000 ล้านบาท และนักลงทุนจากดูไบมีความประสงค์ต้องการซื้อประมาณ 200 ล้านบาท โดยคาดว่าในอนาคตอิสลามมิกบอนด์จะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทาง ธนาคารอิสลามฯ เองจะต้องระดมทุนจากประเทศอาหรับและประเทศมุสลิมให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของภาครัฐ ดังเช่นสายการบิน หรือแม้แต่โครงการขยายรถไฟฟ้าสายต่างๆในกรุงเทพมหานคร

กรณีการทำธุรกิจส่งออก และธุรกิจอาหารฮาลาล มีวงเงินค้ำประกันสูงถึง 3,000-5,000 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่สถาบันการเงิน ในการเปิดแอลซีกับผู้ส่งออก นอกจากนั้น ธนาคารอิสลามฯ ยังมีแผนในการเปิดสาขาที่ดูไบและบาห์เรน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจไทยในตะวันออกกลางอีกด้วย

การตอบรับจากลูกค้ามุสลิม
ปัจจุบันนี้กลุ่มลูกค้าหลักของ ธนาคารอิสลามฯ เป็นลูกค้ามุสลิมกว่า 60% นอกนั้นจะเป็นลูกค้าต่างศาสนิก ในการทำธุรกรรมทางด้านการเงิน เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วน จะมีมุสลิมมาใช้บริการกับทางธนาคารประมาณ 40% โดยทางธนาคารอิสลามฯ หวังว่าในอนาคตจะมีมุสลิมมาใช้บริการมากยิ่งขึ้น


คณะสื่อมวลชน

การพัฒนาบุคลากรของ Ibank
ผู้สื่อข่าวมุสลิมไทยสอบถามเกี่ยวกับพนักงานในองค์ ซึ่งได้คำตอบว่า ธนาคารอิสลามฯ ยังคงต้องพัฒนาบุคลากรต่างๆอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันนี้พนักงานของธนาคารอิสลามฯ จะเป็นมุสลิมประมาณ 65% พุทธศาสนิกชน 33% ทั้งนี้มีพนักงานที่นับถือศาสนาคริสต์ด้วยประมาณ 2%
พร้อมกันนั้น ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าจากกลางปีที่แล้ว แม้ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับปัญหาทางเศรฐกิจ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้รับพนักงานเพิ่มกว่า 100 ตำแหน่ง และภายในปีนี้จะรับเพิ่มอีกกว่า 50 ตำแหน่ง ซึ่งผู้สนใจที่จะร่วมงานกับทางธนาคารอิสลามฯ สามารถติดต่อรับขอรับใบสมัครงานตามสาขาของธนาคารอิสลามฯ ใกล้บ้าน

ผลประกอบการของธนาคารฯ
ปี 2551 ธนาคารมีผลกำไรกว่า 40 ล้าน ทั้งนี้ในปี 2552 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยคาดการว่าจะมีผลกำไรประมาณ 200 ล้านเป็นอย่างน้อย พร้อมกันนั้นธนาคารมีแผนที่จะเปิดสาขาต่าง อย่างน้อย 4 สาขา ดังเช่น ที่จังหวัดอยุธยา,นครศรีธรรมราช,กรุงเทพ สาขาแจ้งวัฒนะ

ในเร็วๆนี้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จะมีธนาคารเคลื่อนที่หรือ Ibank Mobile เพื่อคอยให้บริการรับ ฝาก ถอนและบริการธุรกรรมต่างๆ กับพี่น้องมุสลิม ยังมัสยิดและงานต่างๆ โดย Ibank mobile จะมีสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์องค์กรได้เป็นอย่างดียิ่ง

ความร่วมเรื่อง Islamic Index กับตลาดหลักทรัยพ์แห่งประเทศไทย
สำหรับนักธุรกิจมุสลิมที่สนใจเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามฯมีข่าวดีว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและธนาคารอิสลามฯ กำลังจะเปิดบริการ Islamic Index ในเร็วๆนี้ เพื่อบริการการลงทุนในตลาดหุ้นที่ถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานเกินรอ

ส่วนความคืบหน้าการดำเนินการตามนโยบายการพื้นฟูและการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
• โครงการสินเชื่อสู่ผู้ประกอบการท่องเที่ยววงเงินสินเชื่อ มูลค่า 5,000 ล้านบาท
• โครงการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย
- โครงการสินเชื่อเพื่อทดแทน Soft Loan มูลค่า 5,000 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 8 โครงการ มูลค่า 10,000 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมอาชีพ มูลค่า 200 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลาม 2,000 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 1,000 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการธุรกิจ SME 2,000 ล้านบาท
- โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการ 3 จังหวัดชายแดนใต้ของธนาคารแห่งประเทศไทย 500 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการธุรกิจฮาลาล 2,000 ล้านบาท

ซึ่งทั้งนี้ยังมีโครงการอื่นๆอีกมากมาย โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ibank.co.th หรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ อาคารคิวเฮ้าส์ อโศก ถนนสุขุมวิท 21 และมีสาขารวม 26 สาขาทั่วประเทศ โทร.0-2-650-6999 - สำนักข่าวมุสลิมไทย

ธอท.เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา 3 ผลิตภัณฑ์ หวังแบ่งเบาภาระผู้บริโภคช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

ธอท.เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา 3 ผลิตภัณฑ์ หวังแบ่งเบาภาระผู้บริโภคช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว


ธนาคาร อิสลามแห่งประเทศไทย เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา ด้วย 3 ผลิตภัณฑ์ สินเชื่อเพื่อไถ่ถอน หรือเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ที่ให้วงเงินสูงสุดถึง 110% ปลอดเงินต้น 3 ปี และสินเชื่อรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต/สินเชื่อบุคคล ที่สามารถเลือกผ่อนชำระได้นานถึง 6 ปี พร้อมปลอดชำระเงินต้นได้สูงสุด 6 เดือน หวังช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ผู้บริโภค

นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น เพราะสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะชะลอการปล่อยสินเชื่อ ประกอบกับหลายอุตสาหกรรมมีการเลิกจ้างงาน ทำให้ผู้บริโภคมีปัญหาภาระหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วน นี้ธนาคารอิสลามได้ให้ความร่วมมือในการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยการออกโครงการสินเชื่อซับน้ำตา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ให้กับผู้บริโภค

สำหรับโครงการสินเชื่อซับน้ำตา ประกอบไปด้วย 3 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ทีหนึ่ง สินเชื่อเพื่อไถ่ถอนที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อไถ่ถอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง บ้าน ทาวเฮาส์ อาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของตนเองและครอบครัวจากสถาบันการเงินอื่น ให้วงเงินสูงสุด 110% ของภาระหนี้คงเหลือ

ผลิตภัณฑ์ที่สอง คือ สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ให้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน ซึ่งทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ จะกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 30 ปี และสามารถขอปลอดชำระเงินต้นได้สูงสุด 3 ปี

นาย ธีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า สินเชื่อเพื่อไถ่ถอนที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย จะคิดอัตรากำไรแบบคงที่พิเศษต่ำสุด ปีที่ 1 คิดอัตรากำไร 4.25% ปีที่ 2 และ 3 อัตรากำไร 6.00% พร้อมปลอดเงินต้น 3 ปี

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่สาม คือ สินเชื่อรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล เพื่อไถ่ถอนหนี้บัตรเครดิตหรือหนี้ส่วนบุคคลจากสถาบันการเงินอื่น วงเงินไม่เกิน 100% ของภาระหนี้คงเหลือรวมทั้งหมดในกรณีที่ลูกค้ารีไฟแนนซ์มากกว่า 1 วงเงิน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า ซึ่งหากมีบุคคลค้ำประกันสามารถเลือกปลอดชำระเงินต้นได้สูงสุด 6 เดือน และมีระยะเวลาชำระสูงสุด 6 ปี อัตรากำไร SPRR+7.75%

“การออก โครงการสินเชื่อซับน้ำตา เชื่อว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และแบ่งเบาภาระหนี้ให้กับผู้บริโภคได้ ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินรัฐวิสาหกิจก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน นโยบายรัฐบาลในการแบ่งเบาภาระหนี้ภาคประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม โดยโครงการนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 31 สิงหาคม 2552” นายธีรศักดิ์ กล่าว

สำนักข่าวมุสลิมไทย : ธอท.เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา 3 ผลิตภัณฑ์ หวังแบ่งเบาภาระผู้บริโภคช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
www.muslimthai.com

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

สารพันปัญหาว่าด้วยการเงินการธนาคาร(Banking and Financial)

สารพันปัญหาว่าด้วยการเงินการธนาคาร
ถาม ไม่เป็นการผิดหรือที่พ่อค้าจะขายสินค้าด้วยเงินสดราคาหนึ่งและเงินผ่อนอีกราคาหนึ่ง กฎหมายอิสลามมีข้อกำหนดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ?
ตอบ มติเอกฉันท์ของนักวิชาการอิสลามถือว่าการขายโดยการผ่อนชำระเป็นที่อนุญาตตาม หลักกฎหมายอิสลามถึงแม้ว่าราคาขายแบบผ่อนชำระจะสูงกว่าราคาขายสด

และเรื่องนี้ได้ผ่านมติรับรองโดยที่ประชุมวิชาการนิติศาสตร์อิสลามที่มีขึ้นที่เมืองญิดด๊ะฮฺระหว่างวันที่ 17-23 เดือนชะอ์บาน ฮ.ศ.1410 หรือตรงกับวันที่ 14-20 มีนาคม ค.ศ.1990 มติเกี่ยวกับเรื่องนี้มีดังนี้

ประการแรก
อนุญาตให้กำหนดราคาเพิ่มสำหรับสินค้าที่ขายแบบผ่อนชำระ นอกจากนี้แล้วก็ยังอนุญาตให้บอกราคาที่แตกต่างกันสำหรับการขายเงินสดและการ ขายแบบผ่อนชำระถึงแม้ว่าราคาผ่อนชำระจะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็ตาม

แต่การขายไม่สามารถเกิดขึ้นได้จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงเรื่องวิธีการจ่าย เงินและระบุว่าจะจ่ายเป็นเงินสดหรือผ่อนชำระ ดังนั้น ถ้าหากการขายเกิดขึ้นโดยไม่ได้ระบุวิธีการจ่ายให้ชัดเจนและปล่อยให้เกิดความ ไม่แน่ใจว่าผู้ซื้อจะจ่ายเป็นเงินสดหรือผ่อนชำระเป็นงวด การขายนั้นก็ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลาม

ประการที่สอง
ตามหลักกฎหมายอิสลาม ในการขายแบบผ่อนชำระ ไม่อนุญาตให้ระบุราคาขายสดและราคาผ่อนชำระไว้ในสัญญา

ประการที่สาม
ถ้าผู้ซื้อ/ลูกหนี้ล่าช้าในการผ่อนชำระหลังจากวันที่ได้กำหนดไว้แล้ว ไม่อนุญาตให้คิดเงินเพิ่มนอกเหนือไปจากหนี้ที่ค้างชำระอยู่ไม่ว่าจะกำหนด เป็นเงื่อนไขล่วงหน้าไว้ในสัญญาหรือเรียกร้องโดยไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วง หน้า เพราะนี่คือริบาซึ่งเป็นที่ต้องห้าม

ประการที่สี่
เป็นที่ต้องห้ามสำหรับลูกหนี้ที่ไม่มีภาระหนี้สินจะล่าช้าในการจ่ายค่างวดเมื่อถึงเวลากำหนด อย่างไรก็ตาม หลักนิติศาสตร์อิสลามก็ไม่อนุญาตให้กำหนดค่าชดใช้เมื่อมีการจ่ายล่าช้า

ประการที่ห้า
ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม อนุญาตให้ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขในการขายผ่อนชำระว่าหากลูกหนี้หรือผู้ซื้อจ่าย เงินบางงวดล่าช้า เงินค่างวดที่ยังค้างอยู่จะต้องจ่ายทันทีก่อนวันที่ได้ตกลงกันไว้ เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขที่ใช้ได้ถ้าผู้ซื้อหรือลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในตอนตกลง ซื้อขาย

ประการที่หก
ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปถือกรรมสิทธิ์(ในสินค้าที่ถูกขายไป)หลังจากที่ การขายได้เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ขายได้รับอนุญาตให้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ซื้อจะต้องจำนองสินค้าไว้กับผู้ ขายเพื่อที่จะเป็นหลักประกันสิทธิของตนในการที่จะได้รับชำระค่างวด นอกจากนั้นแล้ว มติของที่ประชุมทางวิชาการนิติศาสตร์อิสลามที่จัดขึ้นที่เมืองญิดด๊ะ ฮฺระหว่างวันที่ 7-12 เดือนซุลเกาะอ๊ะฮฺ ฮ.ศ.1412 ตรงกับวันที่ 9-14 พฤษภาคม ค.ศ.1992 ก็กล่าวว่า
1. การขายโดยวิธีการผ่อนชำระเป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลามถึงแม้ราคาผ่อนส่งจะสูงกว่าราคาขายสด
2. เอกสารทางการค้า เช่น เช็ค หนังสือมอบอำนาจ ใบถอนเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน เป็นรูปแบบของการยืนยันการเป็นหนี้สินที่ถูกต้อง
3. การซื้อลดเอกสารทางการค้าไม่เป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลามเพราะมันเท่า กับการทำธุรกรรมเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยอันนาซิอ๊ะฮฺ (ดอกเบี้ยที่เกิดจากการจ่ายล่าช้า) ซึ่งเป็นที่ต้องห้ามอย่างชัดเจน
4. การลดหนี้ผ่อนชำระเพื่อเร่งให้จ่ายเงินคืนเร็วขึ้น (จ่ายน้อยแต่จ่ายก่อนเวลา) ไม่ว่าจะเป็นการร้องขอของเจ้าหนี้หรือของลูกหนี้เป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมาย อิสลาม วิธีการนี้ไม่ตกอยู่ในข่ายของดอกเบี้ยที่เป็นสิ่งต้องห้าม ถ้าหากว่าไม่ได้มีการตกลงล่วงหน้ากันไว้ก่อนและตราบใดที่เป็นเรื่องความ สัมพันธ์สองฝ่ายระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ถ้าหากมีฝ่ายที่สามขึ้นมา การลดหนี้ไม่เป็นที่อนุญาตเพราะหากเป็นเช่นนั้นกฎระเบียบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็จะเหมือนกับการซื้อลดเอกสารทางการค้า
5. อนุญาตให้สองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินตกลงกันว่าเงินผ่อนชำระทั้งหมดจะ ต้องจ่ายเมื่อครบกำหนดเวลาถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายค่าผ่อนชำระงวดหนึ่งงวดใด ที่เขายังเป็นหนี้อยู่ตราบใดที่เขาไม่ได้เป็นบุคคลล้มละลาย
6. ถ้าหากถึงเวลากำหนดแล้ว ลูกหนี้เสียชีวิต ล้มละลายหรือผัดหนี้ จะต้องมีการลดหนี้เพื่อเร่งให้มีการจ่ายคืนโดยการยินยอมร่วมกัน
7. เกณฑ์ตัดสินการล้มละลายที่จะนำมาใช้ก็คือลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดเกินกว่า ความจำเป็นขั้นพื้นฐานซึ่งคนเหล่านี้จะต้องได้รับการปลดหนี้


ผู้เขียนบทความ : บรรจง บินกาซัน

ข้อสงสัยในการทำสัญญาตามหลักการอิสลาม

ข้อสงสัยในการทำสัญญาตามหลักการอิสลาม
ถาม อะกั๊ด หมายถึงอะไร ?
ตอบ คำว่า “อะกั๊ด” (عقد พหูพจน์ คือ عقود) ในภาษาอาหรับหมายถึงความผูกพันทางกายภาพระหว่างสองฝ่าย
นักนิติศาสตร์มีคำจำกัดความ 2 อย่างสำหรับคำว่าอะกั๊ด ดังนี้
คำจำกัดความแรกครอบคลุมทุกสิ่งที่นำไปสู่ความผูกพันหรือความสัมพันธ์ ระหว่างสองฝ่ายหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ดังนั้น ตามคำจำกัดความนี้ อะกั๊ดจึงรวมถึงการซื้อและการขาย การขอร้อง การจำนำ เป็นต้น และอะกั๊ดของฝ่ายหนึ่งจะหมายถึงการชำระหนี้ด้วย
คำจำกัดความที่สองของคำว่าอะกั๊ดก็คือการกระทำที่ต้องอาศัยเจตนาของสอง ฝ่าย คำจำกัดความนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักนิติศาสตร์อิสลาม การกระทำของสองฝ่ายนี้รวมถึงการซื้อ/ขาย การแลกเปลี่ยนเงินตรา การทำสัญญามุฎอรอบ๊ะฮ์ (แบ่งกำไรและขาดทุน) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม (ภายใต้คำจำกัดความนี้) การกระทำที่ทำโดยฝ่ายเดียว เช่น การหย่าภรรยาหรือการชำระหนี้ เดิมทีแล้วจึงไม่ใช่อะกั๊ดถึงแม้ว่ามันจะมีผลตามกฎหมายก็ตาม
นักนิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่กล่าวว่าอะกั๊ดประกอบด้วยคำกล่าวเสนอ คำตอบรับและสิ่งที่เสนอ ทั้งสามนี้เรียกว่าหลักหรือหลักการพื้นฐานของอะกั๊ด
เพื่อให้เป็นไปตามหลักการพื้นฐานดังกล่าว จำเป็นจะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ประการแรก : การเสนอและการตอบรับ
1) ทุกข้อเสนอและคำตอบรับจะต้องแสดงเจตนาของคู่สัญญาอย่างชัดเจน ดังนั้น คู่สัญญาจะต้องเป็นผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถที่จะทำสัญญา คนที่มีสติไม่สมประกอบ คนวิกลจริตและเด็กเล็กไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะทำสัญญา (ซึ่งทำให้สัญญาไม่ถูกต้องและใช้ไม่ได้) เพราะคนเหล่านี้ไม่มีความสามารถที่จะแสดงเจตนารมณ์ในการทำสัญญา
2) มีการเสนอและการตอบรับที่ถูกต้องและเหมาะสม ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขายรถยนต์ให้แก่นาย ข. ในราคา 500,000 บาท และนาย ข.ตกลงตามข้อเสนอของนาย ก. และราคาที่นาย ก.เสนอด้วย
3) การตอบรับจะต้องทำทันทีหลังจากที่มีการเสนอ นี่หมายความว่าการตอบรับจะต้องกระทำในสถานที่เดียวกันนั้น (สถานที่และเวลาของการแลกเปลี่ยน) โดยไม่ปล่อยให้มีช่วงเวลามาขวางกั้นโดยไม่จำเป็นระหว่างการเสนอและการตอบรับ ในหนังสือ “อัลฟิกฮฺ อัลอิสลามี วะอาดิละตุฮา” เล่ม 4 หน้า 106-111 ดร.วะฮ์บะฮ์ อัซซุฮัยลี ได้กล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในสถานที่และเวลาของการทำอะกั๊ด อะกั๊ดก็สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายหนึ่งได้รับทราบความประสงค์ของอีกฝ่าย หนึ่งไม่ว่าจะโดยจดหมาย ตัวแทน โทรศัพท์หรือการติดต่อสื่อสารอย่างอื่นๆที่ทันสมัยกว่า เช่น โทรสาร หรืออีเมล์ เป็นต้น
ประการที่สอง : สิ่งที่นำมาทำสัญญา สิ่งที่นำมาทำสัญญาหมายถึงสิ่งที่เป็นที่มาของอะกั๊ด ซึ่งมี 7 รูปแบบด้วยกัน คือ
1) อะกั๊ดที่ให้กรรมสิทธิ์ ( عقود التمليكات) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.1 อะกั๊ดที่ให้สิทธิ์โดยการแลกเปลี่ยนร่วมกัน ( عقود المعاوضات) เช่น การซื้อและขาย การเช่าและการแต่งงาน เป็นต้น
1.2 อะกั๊ดที่ให้สิทธิ์โดยไม่คิดสิ่งใดตอบแทน ( عقود التبرّعات ) เช่น ของขวัญ การบริจาคและการวะกั๊ฟ (การอุทิศทรัพย์สินให้เป็นสารธารณประโยชน์)
2) อะกั๊ดที่ปล่อยกรรมสิทธิ์ ( عقود الاسقاطات ) เช่น การให้สิทธิ์ในการนำเงินที่ยืมไปใช้ และการหย่า
3) อะกั๊ดที่ให้อนุญาต ( عقودالاطلاقات ) เช่น การแต่งตั้งตัวทน (อัลวะกาละฮฺ) การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ (อัตเตาลีอ๊ะฮ์)
4) อะกั๊ดที่มีข้อจำกัด ( عقود التّقييدات ) เช่นข้อกำหนดที่ใช้กับผู้ล้มละลาย และการเพิกถอนการแต่งตั้ง
5) อะกั๊ดเป็นเอกสารที่ให้ความเชื่อมั่น ( عقود التَّوثِيْقات ) เช่น ความแน่นอนและการจำนำ
6) อะกั๊ดการมีส่วนร่วมกัน ( عقود الاشتراك ) เช่น สัญญามุชารอก๊ะฮ์ และสัญญามุฎอรอบ๊ะฮ์
7) อะกั๊ดดูแลรักษา ( عقود الحفظ ) เช่น สัญญาวาดิอ๊ะฮ์
สัญญาหรืออะกั๊ดเหล่านี้ต่างมีเงื่อนไขต่างๆของมันเอง ดังนี้
1. สิ่งที่จะนำมาทำสัญญาจะต้องไม่ขัดกับเจตนารมณ์ของอะกั๊ดเองและจะต้องเป็นไป ตามกฎของศาสนา เช่น ไม่ใช่ซากสัตว์ สื่งมึนเมา หรือสุกร เป็นต้น
2. สิ่งที่จะนำมาทำสัญญาจะต้องมีอยู่ในตอนที่ทำสัญญา อย่างไรก็ตาม นักนิติศาสตร์อิสลามทั้งหมดก็เห็นพ้องต้องกันว่าเงื่อนไขนี้ไม่ใช่เงื่อนไข เบ็ดเสร็จสำหรับทุกสัญญา
นักนิติศาสตร์อิสลามในสำนักฮันบะลีมีความเห็นว่าอะไรบางอย่างที่ไม่มี อยู่ก็อาจเป็นสิ่งที่นำมาใช้ทำสัญญาได้โดยมีเงื่อนไขว่าคู่สัญญาที่เกี่ยว ข้องสามารถที่จะทำสิ่งนั้นหลังจากที่ทำสัญญาแล้วก็ได้ สิ่งที่สำคัญในการทำสัญญาก็คือจะต้องไม่มีความเสี่ยงใดๆและฝ่ายที่เกี่ยว ข้องสามารถที่จะส่งมอบสิ่งที่ทำสัญญาในเวลาที่กำหนดได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะสำคัญหรือไม่ก็ตามไม่ใช่เงื่อนไข ดังนั้น สัญญาเช่า การแบ่งกำไรและการซื้อขายผลไม้ที่ยังไม่สุกก็ถือว่าใช้ได้เพราะว่าไม่มีความ เสี่ยง การห้ามซื้อสิ่งที่ไม่มีอยู่ตามคำพูดของท่านนบีมุฮัมมัดที่กล่าวว่า “อย่าขายสิ่งที่ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของ” นั้นหมายถึงสิ่งที่ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบแก่ผู้ซื้อ ไมได้หมายถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่ (อิบนุกุดามะฮ, อัลมุฆนี เล่ม 4 หน้า 2000)
3. สิ่งที่ทำสัญญาจะต้องเป็นที่รู้ของทั้งสองฝ่าย
4. สิ่งที่ทำสัญญาจะต้องส่งมอบแก่คู่สัญญาตามเวลาที่กำหนดไว้
ประการที่สาม :
คู่สัญญาจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความสามารถที่จะเข้าร่วมสัญญาได้ หมายความว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดชอบในสัญญาได้ นั่นคือ มีสติสมประกอบ เป็นผู้ใหญ่และรู้จักใช้สติปัญญาได้แล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่ถูกห้ามจากการซื้อขายแลกเปลี่ยน และทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่ถูกบังคับโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดให้ทำสัญญาดังกล่าว

ถาม สัญญา (อะกั๊ด) จะเกิดขึ้นได้อย่างไรในโลกไอทีปัจจุบัน ?
ตอบ การพัฒนาในโลกปัจจุบันได้ทำให้อินเตอร์เนตกลายเป็นสื่อของการ แลกเปลี่ยนในศตวรรษที่ 21 เป็นแหล่งของข้อมูลข่าวสารอันหลากหลาย เป็นระบบสื่อสารที่รวดเร็วและค่าใช้จ่ายต่ำ เป็นเครือข่ายของโลก เป็นการสร้างโลกไซเบอร์ที่จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เปิดโอกาสให้มีการทำ ธุรกิจได้กว้างขวางขึ้น
ด้วยอินเตอร์เนตนี่เองที่ก่อให้เกิดวิธีการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจที่ เรียกว่า อีแบ๊งค์กิ้ง (ธนาคารอีเล็คโทรนิก) อีคอมเมิร์ซ (การพาณิชย์อีเล็กโทรนิก) อีอินชัวรันซ์ (ประกันภัยอีเล็กโทรนิก) ซึ่งสถาบันทางการเงินและตลาดหุ้นนำมาใช้ เท่าที่ผ่านมา เครื่องมือติดต่อสื่อสารทางธุรกิจเหล่านี้เป็นที่รู้กันดีว่ามีประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จ
ก่อนที่จะมีการติดต่อสื่อสารดังกล่าว โลกเราก็เคยมีการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ในทำนองนี้มาแล้ว เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เป็นต้น
กฎของชะรีอ๊ะฮฺในเรื่องการติดต่อสื่อสารสมัยใหม่
หนังสือ “อัลฟิกฮฺ อะลา มะซาฮิบ อัลอัรฺบะอ๊ะฮฺ” เล่ม 2 กล่าวว่าอิสลามกำหนดว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนจะต้องวางพื้นฐานอยู่บนสัญญา (อะกั๊ด) ซึ่งเป็นความผูกพันระหว่างฝ่ายเสนอและฝ่ายตอบรับ
ในการจะเข้ามาร่วมทำสัญญานั้นมีหลักการที่จะต้องปฏิบัติตาม 3 ประการดังนี้ คือ
1) มีคู่สัญญาสองฝ่าย
2) วัตถุประสงค์ของสัญญา
3) การกล่าวคำสัญญา (การเสนอและตอบรับ) เมื่อมีผู้ซื้อ ผู้ขาย สินค้า(สิ่งของ) และข้อความที่ระบุถึงข้อเสนอและการตอบรับ กล่าวคือ เมื่อทั้งสองฝ่ายพึงพอใจกับประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับจากการทำธุรกรรมแล้ว การทำธุรกรรมนั้นก็ถือว่าเป็นที่ถูกต้องเว้นเสียแต่ว่าการทำธุรกรรมนั้นไม่ สอดคล้องกับหลักกฎหมายอิสลาม
อะกั๊ดอาจมี 2 รูปแบบ คือ
1) อะกั๊ดโดยวาจา
2) อะกั๊ดเป็นลายลักษณ์อักษร
ตัวอย่างของสัญญาด้วยวาจาก็คือสัญญาที่ทำกันทางโทรศัพท์ สัญญาเช่นนี้ได้รวมอยู่ในความหมายของคำว่า “สถานที่และเวลา” (มัจญ์ลิส) สำหรับการทำสัญญาด้วย ดังนั้น การไปปรากฏตัวในสถานที่หนึ่งที่ใดจึงไม่จำเป็น รูปแบบของสัญญาประเภทนี้เริ่มด้วยการตอบรับโทรศัพท์ของฝ่ายหนึ่งและจบลงด้วย การตกลงทางโทรศัพท์ของอีกฝ่ายหนึ่ง
ตัวอย่างของสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็คือแฟกซ์ อีแบ๊งค์กิ้ง อีเมล์ เป็นต้น การทำสัญญาจะถูกต้องใช้ได้ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามหลักการของสัญญาซึ่งทำ ให้มันแตกต่างไปจากการเป็นเพียงข้อตกลง สถานที่และเวลาสำหรับการทำสัญญา (มัจญ์ลิส) เริ่มต้นเมื่อสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ถูกอีกฝ่ายหนึ่งตอบรับหลังจาก ที่ได้รับตอบตกลง
บนพื้นฐานดังกล่าวมาก็ไม่มีข้อห้ามใดๆที่จะทำสัญญาโดยการติดต่อสื่อสารสมัยใหม่ในโลกธุรกิจปัจจุบัน
ความจริงแล้ว อิสลามก็ยอมรับสัญญาที่ทำกันด้วยอินเตอร์เนต ในที่ประชุมวิชาการนิติศาสตร์อิสลามซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-23 เดือนชะอ์บาน ฮ.ศ.1410 (ตรงกับวันที่ 14-20 มีนาคม 1990) ได้กล่าวว่า :-
ประการแรก : ถ้าสองฝ่ายทำสัญญากันโดยไม่ได้ปรากฏตัวอยู่ในที่หนึ่ง และไม่สามารถได้ยินหรือเห็นกัน แต่ติดต่อกันโดยการเขียนหรือโดยการใช้เครื่องมือสื่อสารซึ่งรวมทั้งโทรเลข เทเล็กซ์ แฟกซ์หรือคอมพิวเตอร์ สัญญานั้นจะถือว่าสมบูรณ์เมื่อการเสนอได้ถูกติดต่อสื่อสารไปยังฝ่ายที่ ตั้งใจไว้และการยอมรับได้ถูกสื่อสารไปยังผู้ที่ได้ทำการเสนอแล้ว
ประการที่สอง : ถ้าสองฝ่ายทำสัญญากันในเวลาเดียวกัน แต่ทั้งสองฝ่ายอยู่ต่างสถานที่กัน เช่นในกรณีของการทำสัญญาทางโทรศัพท์และวิทยุ ก็ถือว่านั่นเป็นสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายปรากฏตัวอยู่ ในกรณีนี้ ให้นำกฎดั้งเดิมที่นักนิติศาสตร์มุสลิมกำหนดไว้มาใช้
ประการที่สาม : ถ้าหากใครคนหนึ่งอาศัยเครื่องมือเหล่านี้เพิ่มข้อเสนอภายในระยะเวลาที่กำหนด ไว้ เขาจะต้องปฏิบัติตามข้อเสนอของเขาตลอดระยะเวลานั้นและไม่สามารถถอนสัญญาได้
ประการที่สี่ : หลักการทำสัญญา 3 ประการที่กล่าวไว้ข้างต้นไม่ครอบคลุมสัญญาแต่งงาน (เพราะการมีพยาน 2 คนเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการทำให้สัญญามีผลถูกต้อง) และไม่รวมไปถึงสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตรา (เพราะมันต้องอาศัยการเป็นเจ้าของ) และไม่ครอบคลุมถึงสัญญาซื้อขายแบบ “สะลัม"(เพราะว่ามันกำหนดให้มีการจ่ายราคาทุนทันที)
ประการที่ห้า : ในเรื่องของความเป็นไปได้ที่จะมีการปลอม การบิดเบือนหรือการทำผิดนั้นจะต้องอาศัยกฎทั่วไปเกี่ยวกับหลักฐาน


ผู้เขียนบทความ : อ.บรรจง บินกาซัน

รุกขยายตลาดฮาลาลในอเมริกาเหนือ

‘มะกัน-อียู’ ฟุบ กลุ่มตะวันออกกลางอนาคตสดใส

เกษตรฯ รุกขยายตลาด “สินค้าฮาลาล” ในทวีปอเมริกาเหนือ ชี้โอกาสส่ง ออกสูง เพราะกฎระเบียบไม่เข้ม ขณะที่ตุรกี ซูดาน โอมาน น่าสนใจอนาคตสดใส

นาง สาวเมทนี สุคนธรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ปี 2552 นี้ มกอช.ได้มีแผนส่งเสริมผลักดันการส่งออกสินค้าฮาลาลไปยังทวีปอเมริกาเหนือ ทั้งในประเทศแคนาดาและสหรัฐ อเมริกา ซึ่งผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศ มีประชากรมุสลิมรวมกันมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีแนวโน้มค่อนข้างสดใส ประเทศไทยจึงมีโอกาสสูงที่จะขยายตลาดสินค้าฮาลาลเนื่องจากไทยมีความสามารถใน การผลิตสินค้าให้เป็นไปตามศาสนบัญญัติ รวมทั้งมีคุณภาพและราคาที่สามารถแข่งขันได้ทั้ง สินค้าที่เป็นอาหาร เช่น ไก่ปรุงสุก ซอสปรุงรส เครื่องดื่ม และน้ำผลไม้ รวมทั้งสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางและ เสื้อผ้า เป็นต้น - สยามธุรกิจ

เกษตรฯรุกขยายตลาดสินค้า"ฮาลาล"ไปทวีปอเมริกาเหนือ

เกษตรฯรุกขยายตลาดสินค้า"ฮาลาล"ไปทวีปอเมริกาเหนือ

นางสาวเมทนี สุคนธรักษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ปี 2552 นี้ มกอช.ได้มีแผนส่งเสริมผลักดันการส่งออกสินค้าฮาลาลไปยังทวีปอเมริกาเหนือทั้งในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ซึ่ง ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศ มีประชากรมุสลิมรวมกันมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีแนวโน้มค่อนข้างสดใส ประเทศไทยจึงมีโอกาสสูงที่จะขยายตลาดสินค้าฮาลาลเนื่องจากไทยมีความสามารถใน การผลิตสินค้าให้เป็นไปตามศาสนบัญญัติ รวมทั้งมีคุณภาพและราคาที่สามารถแข่งขันได้ทั้งสินค้าที่เป็นอาหาร เช่น ไก่ปรุงสุก ซอสปรุงรส เครื่องดื่ม และน้ำผลไม้ รวมทั้งสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางและเสื้อผ้า เป็นต้น

มกอ ช.ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งศึกษากฎระเบียบและเงื่อนไขการนำเข้า รวมถึงการตลาดสินค้าอาหารฮาลาลในทวีปอเมริกาเหนือ รวมทั้งยังได้ร่วมมือกับ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหรัฐอเมริกาเชิญเลขาธิการสมาคมอิสลามแห่งอเมริกาเหนือ (ISNA) เดินทางมาดูระบบการผลิตและตรวจสอบสินค้าฮาลาลของไทย ผลปรากฏว่า ISNA มีความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการผลิต จึงได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในการยอมรับมาตรฐานของตราสัญลักษณ์ฮาลาลไทย รวมทั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการตรวจสอบสินค้าฮาลาลที่สำคัญของไทย จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการขยายตลาดฮาลาลในอเมริกาเหนือ

“ขณะ นี้ไทยกำลังเร่งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตลาดสินค้าอาหารฮาลาล ทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เช่น รสนิยม พฤติกรรมการบริโภค ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถผลิตสินค้าอาหารฮาลาลเจาะตลาดได้ตรงความต้องการของ ผู้บริโภคในทวีปอเมริกาเหนือ รวมทั้งพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ตราสัญลักษณ์ฮาลาลร่วมกัน เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ใน ตราสัญลักษณ์ของไทย ด้วย นอกจากนี้แคนาดาและสหรัฐฯ ไม่ได้กำหนดกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าฮาลาลเป็นมาตรการภาคบังคับ และไม่ต้องตรวจสอบกระบวนการผลิตก่อนส่งออก ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงโดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ ซึ่งคาดการณ์ว่ามีมูลค่าสินค้าฮาลาลสูงถึง 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี หรือกว่า 396,000 ล้านบาท ขณะที่สินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ในแคนาดาก็มีแนวโน้มสดใสเช่นกัน” นางสาวเมทนี กล่าว

นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน ผู้อำนวยการกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร มกอช.กล่าวว่า ถึงแม้ผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (EU) จะได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจถดถอย ในส่วนของตลาดสินค้าฮาลาลคงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยังมีแนวโน้มดีเพราะกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมก็สามารถรับประทานได้ ซึ่งปีนี้ไทยยังมีโอกาสขยายและเปิดตลาดในกลุ่มตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้น อาทิ ประเทศตุรกี ซูดาน และโอมาน มีความน่าสนใจและเป็นไปได้สูงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับสินค้าอาหารฮาลาลไทย จำเป็นต้องเร่งศึกษาการตลาดเพิ่มเติมโดยเฉพาะเรื่องรสนิยมของผู้บริโภค เพื่อผู้ประกอบการจะได้ผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งจะช่วยผลักดันส่งออกสินค้าฮาลาลไทยไปสู่ตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้น

source : matichon

ธอท.เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา 3 ผลิตภัณฑ์ หวังแบ่งเบาภาระผู้บริโภคช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

ธอท.เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา 3 ผลิตภัณฑ์ หวังแบ่งเบาภาระผู้บริโภคช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

สำนักข่าวมุสลิมไทย : ธอท.เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา 3 ผลิตภัณฑ์ หวังแบ่งเบาภาระผู้บริโภคช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว


ธนาคาร อิสลามแห่งประเทศไทย เปิดโครงการสินเชื่อซับน้ำตา ด้วย 3 ผลิตภัณฑ์ สินเชื่อเพื่อไถ่ถอน หรือเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ที่ให้วงเงินสูงสุดถึง 110% ปลอดเงินต้น 3 ปี และสินเชื่อรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต/สินเชื่อบุคคล ที่สามารถเลือกผ่อนชำระได้นานถึง 6 ปี พร้อมปลอดชำระเงินต้นได้สูงสุด 6 เดือน หวังช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ผู้บริโภค

นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น เพราะสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะชะลอการปล่อยสินเชื่อ ประกอบกับหลายอุตสาหกรรมมีการเลิกจ้างงาน ทำให้ผู้บริโภคมีปัญหาภาระหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วน นี้ธนาคารอิสลามได้ให้ความร่วมมือในการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยการออกโครงการสินเชื่อซับน้ำตา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ให้กับผู้บริโภค

สำหรับโครงการสินเชื่อซับน้ำตา ประกอบไปด้วย 3 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ทีหนึ่ง สินเชื่อเพื่อไถ่ถอนที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อไถ่ถอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง บ้าน ทาวเฮาส์ อาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของตนเองและครอบครัวจากสถาบันการเงินอื่น ให้วงเงินสูงสุด 110% ของภาระหนี้คงเหลือ

ผลิตภัณฑ์ที่สอง คือ สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ให้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน ซึ่งทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ จะกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 30 ปี และสามารถขอปลอดชำระเงินต้นได้สูงสุด 3 ปี

นาย ธีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า สินเชื่อเพื่อไถ่ถอนที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย จะคิดอัตรากำไรแบบคงที่พิเศษต่ำสุด ปีที่ 1 คิดอัตรากำไร 4.25% ปีที่ 2 และ 3 อัตรากำไร 6.00% พร้อมปลอดเงินต้น 3 ปี

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่สาม คือ สินเชื่อรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล เพื่อไถ่ถอนหนี้บัตรเครดิตหรือหนี้ส่วนบุคคลจากสถาบันการเงินอื่น วงเงินไม่เกิน 100% ของภาระหนี้คงเหลือรวมทั้งหมดในกรณีที่ลูกค้ารีไฟแนนซ์มากกว่า 1 วงเงิน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า ซึ่งหากมีบุคคลค้ำประกันสามารถเลือกปลอดชำระเงินต้นได้สูงสุด 6 เดือน และมีระยะเวลาชำระสูงสุด 6 ปี อัตรากำไร SPRR+7.75%

“การออก โครงการสินเชื่อซับน้ำตา เชื่อว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และแบ่งเบาภาระหนี้ให้กับผู้บริโภคได้ ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินรัฐวิสาหกิจก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน นโยบายรัฐบาลในการแบ่งเบาภาระหนี้ภาคประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม โดยโครงการนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 31 สิงหาคม 2552” นายธีรศักดิ์ กล่าว

ซะกาตฟิตร์ คืออาหารจำนวนหนึ่งที่มุสลิมจำเป็นต้องจ่ายแก่ผู้ยากไร้

زكاة الفطر

ซะกาต ฟิตร์

ซะกาตฟิตร์ คืออาหารจำนวนหนึ่งที่มุสลิมจำเป็นต้องจ่ายแก่ผู้ยากไร้ เพื่อชำระตนเองให้สะอาดและเพื่อชดเชยข้อบกพร่องต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการถือศีลอดเช่นคำพูดที่ไร้สาระและคำพูดหยาบคายเป็น ต้น

ท่านอิบนุอับบาส (ร.ด.) ได้กล่าวว่า

(( فَرَضَ رسولُ اللهِ صلى اللهُ عليه وسلم زكاةَ الفِطْرِ طُهْرَةً ِللصائِمِ مِنَ اللَّغْوِ والرَّفَثِ وَطُعْمَةً ِللْمَسَاكِيْنِ ))

رواه أبوداود

“ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้กำหนดซะกาตฟิตร์ เพื่อชำระผู้ถือศีลอดให้สะอาดจากคำพูดที่ไร้สาระและหยาบคายและเพื่อเป็น อาหารแก่คนยากไร้” (รายงานโดยอะบูดาวูด)

คุณประโยชน์ในการบัญญัติซะกาต ฟิตร์

ซะกาตฟิตร์ถูกบัญญัติในปีฮิจเราะห์ศักราชที่สองในเดือนรอมาดอน เช่นเดียวกับการถือศีลอด และจากฮะดีษที่ผ่านมาชี้ชัดว่าเคล็ดลับการกำหนดซะกาตฟิตร์ ก็คือสนองความต้องการของผู้ยากไร้และขัดสน ให้ได้มีอาหารไว้รับประทานอย่างสมบูรณ์ และเพื่อสร้างความปีติยินดีแก่พวกเขาจนไม่เกิดความรู้สึกขื่นขม และโดดเดี่ยวในความยากจนและขัดสน ในช่วงเวลาที่มุสลิมทุกคนต่างก็แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงาม มีอาหารการกินอย่างอิ่มหนำสำราญ เนื่องในการเฉลิมฉลองวันอีด ซึ่งมีอยู่ในความหมายของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และอาทรต่อกันของมวลมุสลิม นั่นเอง และการจ่ายซะกาตฟิตร์ยังเป็นการนำตนให้เข้าใกล้ชิดอัลเลาะห์ตาอาลาอีกด้วย และเป็นการขจัดความผิดต่างๆ ที่ผู้ถือศีลอดอาจกระทำขึ้นขณะถือศีลอดเพราะผลของความดีนั้นย่อมลบล้างความ ชั่วออกไปได้

ท่านวะเกียะอ์ได้กล่าวว่า ซะกาตฟิตร์สำหรับเดือนรอมาดอน ก็เหมือนกับสุหยูดซะห์วีย์ในละหมาด ซะกาตฟิตร์จะชดเชยความบกพร่องของการถือศีลอด เช่นเดียวกับสุหยูดซะห์วีย์ก็จะชดเชยความบกพร่องของละหมาด

ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) กล่าวว่า

(( وَاتَّبِعِ السَّيِّئَةَ الْحَسَنَةَ تَمْحُهَا ))

“ท่านจงทำความดีติดตามความชั่วเถิด เพราะความดีสามารถลบล้างความชั่วได้” รายงานโดยอะห์มัดและติรมิซี

เงื่อนไขที่ทำให้จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์

เงื่อนไขที่ทำให้จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์คือ เป็นเสรีชน นับถือศาสนาอิสลาม มีทรัพย์ที่เกินความต้องการของตนและคนที่ตนจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู ในวันอีดและคืนหลังวันอีด และมีชีวิตอยู่ทันได้พบกับส่วนหนึ่งของเดือนรอมาดอน และส่วนหนึ่งของเดือนเซาวาล ดังนั้นทาสจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์ เพราะทาสไม่มีทรัพย์เป็นของตนเอง แต่เจ้าของทาสจะต้องจ่ายซะกาตแทนทาสของตน และคนขัดสนที่ไม่มีทรัพย์เหลือพอเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและคนในครอบครัว ในวันอีด และคืนหลังวันอีดก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์ สำหรับคนที่เสียชีวิตก่อนตะวันตกในวันสุดท้ายของเดือนรอมาดอน และทารกที่คลอดภายหลังตะวันตกในวันสุดท้ายของเดือนรอมาดอน ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์เช่นเดียวกันเพราะขาดเงื่อนไข

หลักฐานที่ยืนยันว่าซะกาตฟิตร์เป็นวาญิบ

หลักฐานที่ยืนยันว่าซะกาตฟิตร์เป็นวาญิบ คือ หะดีษที่รายงานจากอิบนุอุมัร (ร.ด.) ว่า

فَرَضَ رسولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم زَكَاةَ الْفِطْرِ مِنْ رمضانَ صَاعًا مِنْ تَمْرٍ أَوْ صَاعًا مِنْ شَعِيْرٍ عَلَى كُلِّ حُرٍّ أَوْعَبْدٍ ذَكَرٍ أَوْ أُنْثَى مِنَ الْمُسْلِمِيْنَ

“ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้กำหนดซะกาตฟิตร์ของเดือนรอมาดอนไว้จำนวน หนึ่งซออ์ จากผลอินทผลัมหรือหนึ่งซออ์จากข้าวสาลี เหนือทุกคนที่เป็นเสรีชนหรือเป็นทาส เป็นเพศชายหรือเพศหญิง ที่เป็นมุสลิม”


ปริมาณที่ต้องจ่ายเป็นซะกาตฟิตร์

ปริมาณที่แต่ละคนจำเป็นต้องจ่ายเป็นซะกาตฟิตร์คือหนึ่งซออ์ จากอาหารที่ชาวเมืองที่ผู้จ่ายซะกาตหรือผู้ที่ถูกจ่ายซะกาตแทนให้อาศัยอยู่ ส่วนใหญ่ใช้เป็นอาหารหลัก เช่นข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาร ถั่วหรือแป้ง และถ้าหากจะจ่ายอาหารที่ไม่ใช่เป็นอาหารหลักของคนส่วนใหญ่ แต่เป็นอาหารที่มีคุณภาพดีกว่า ก็ถือว่าใช้ได้

ตามมัซฮับซาฟิอีจะออกราคาอาหาร (คือออกเงินที่มีมูลค่าเท่ากับอาหาร) แทนอาหารหนักไม่ได้ แต่จำเป็นต้องออกอาหารหนักที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ในประเทศนั้น

มัซฮับฮะนาฟี อนุญาตให้ออกราคาอาหาร (คือออกเงินที่มีมูลค่าเท่ากับอาหาร) แทนการออกอาหารได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าราคาย่อมเป็นประโยชน์แก่คนยากจนมากกว่าอาหาร และเข้าถึงเป้าหมายได้มากกว่า และไม่มีข้อห้ามถ้าจะตาม(ตักลีด)มัซฮับนี้

ถ้าหากผู้ที่ออกซะกาตให้เช่นพ่อหรือสามีอยู่เมืองหนึ่ง และผู้ที่ถูกออกแทนให้เช่นลูกหรือภรรยาอยู่อีกเมืองหนึ่ง ให้พิจารณาอาหารหลักในเมืองของผู้ที่ถูกออกแทนให้เป็นเกณฑ์ และต้องจ่ายซะกาตฟิตร์ในเมืองของผู้ที่ถูกออกแทนให้ ทั้งนี้เพื่อรักษาความรู้สึกของคนยากจนในเมืองนั้น

สำหรับหนึ่งซออ์นั้นมีน้ำหนักประมาณสองกิโลกรัมสี่ขีดถึงแปดขีด

เวลาที่ต้องจ่ายซะกาตฟิตร์

อนุญาต ให้จ่ายซะกาตฟิตร์ตั้งแต่เข้าเดือนรอมาดอน แต่สุนัตให้จ่ายซะกาตฟิตร์ให้แล้วเสร็จก่อนละหมาดอีดิ้ลฟิตร์ และมักโรห์(ไม่ควรกระทำ) ที่จะนำซะกาตฟิตร์ไปจ่ายหลังละหมาดอีด แต่ถ้าหากมีเหตุผลเช่นรอญาติใกล้ชิด หรือเพื่อนบ้านมารับซะกาตฟิตร์ ก็สุนัตให้จ่ายหลังละหมาดอีด ที่ดีนั้นควรรีบจ่ายซะกาตฟิตร์ เพื่อคนยากจนจะได้นำไปเปลี่ยเป็นอาหารในเดือนรอมาดอน และเพื่อมีเวลาพอที่จะแลกเปลี่ยนและจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็น สำหรับตนเองและลูกเมียได้ทันในวันอีด

จะจ่ายซะกาตฟิตร์แทนใครบ้าง

ผู้ชายที่เป็นเสรีชน จำเป็นต้องจ่ายซะกาตในส่วนของตนเอง และต้องจ่ายแทนบุคคลที่ตนจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ทุกคน ที่เป็นภรรยาหรือทาสหรือเป็นบิดามารดาหรือลูกหลาน แม้จะเป็นภรรยาที่ถูกหย่าแบบที่สามารถคืนดีกันได้ (รอจอีญะห์) หรือถูกหย่าแบบที่คืนดีกันไม่ได้แต่ตั้งครรภ์ก็ตาม

ส่วนภรรยาที่ดื้อดึงไม่อยู่ในโอวาทของสามีนั้น สามีไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์แทนให้ เพราะในขณะนั้นสามีไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ แต่ภรรยาจำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์เองถ้าหากเป็นคนรวย

ในกรณีที่สามีเป็นคนจนและภรรยาเป็นคนรวย สามีไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์แทนให้เพราะสามีจน และภรรยาก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์ของตนเอง ทั้งนี้เพราะภรรยาได้มอบตัวให้แก่สามีโดยสมบูรณ์แล้ว

แม่ จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์แทนลูกของตน ที่เกิดนอกสมรส(ลูกที่เกิดจาซินา) เพราะแม่เป็นผู้ที่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้

พ่อ ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์ แทนลูกที่เป็นผู้เยาว์ของตนที่มีทรัพย์สินเป็นของตนเองในขั้นร่ำรวย แต่ลูกที่เป็นผู้เยาว์จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์จากทรัพย์สินของตนเอง ถ้าหากพ่อเอาทรัพย์ส่วนตัวของตนจ่ายแทนให้ ก็ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้

สำหรับลูกที่ยังเล็กๆ ซึ่งยังไม่บรรลุศาสนภาวะ และไม่มีทรัพย์สินเป็นของตนเอง ถือเป็นภาระที่พ่อจะต้องจ่ายซะกาตฟิตร์แทนให้

ส่วนบุตรที่โตจนบรรลุศาสนภาวะแล้ว และสามารถประกอบอาชีพหารายได้ได้เองแล้ว พ่อก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายแทนให้ แต่บุตรที่โตแล้วนั้นจำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์เอง ถ้าหากพ่อจ่ายแทนให้ ก็ถือว่าซะกาตฟิตร์นั้นยังไม่พ้นไปจากลูก นอกจากต้องได้รับอนุญาตจากลูกเสียก่อน เพราะในเรื่องนี้พ่อจะกระทำโดยพละการไม่ได้

ส่วนลูกผู้หญิงนั้น พ่อจะต้องรับภาระจ่ายซะกาตฟิตร์แทนให้ จนกว่าจะแต่งงาน สามีจึงจะรับภาระในการจ่ายซะกาตฟิตร์แทน หรือลูกผู้หญิงมีอาชีพเลี้ยงตนเองได้ ก็ให้จ่ายซะกาตฟิตร์เอง

ส่วนเด็กกำพร้า (ที่บิดาตาย) ผู้ที่จะต้องจ่ายซะกาตฟิตร์แทนให้ก็คือปู่ของเด็ก และผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าปู่ขึ้นไป แต่ถ้าหากไม่มีปู่และผู้ที่มีศักดิ์สูงขึ้นไป ผู้ที่จะต้องจ่ายซะกาตฟิตร์แทนเด็กกำพร้าโดยจ่ายจากทรัพย์ของเด็กเองก็คือ ผู้ได้รับคำสั่งเสียให้ดูแลเด็ก (วะซีย์) หลังจากนั้นคือเจ้าหน้าที่ดูแลเด็กกำพร้าของรัฐ (กอยยิม) หลังจากนั้นคือฮากิม และอันดับสุดท้ายคือบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลเด็กกำพร้า ถ้าหากเด็กกำพร้าไม่มีทรัพย์ของตนเอง ก็ถือว่าซะกาตฟิตร์หลุดพ้นไป ไม่มีอะไรติดตัว

ถ้าหากเขาไม่มีทรัพย์พอจ่ายซะกาตฟิตร์ให้แก่ทุกคนที่เขาจำเป็นต้องจ่ายค่า เลี้ยงดูได้ ก็ให้เขาจ่ายให้พ้นตัวของเขาเองก่อน ลำดับต่อไปก็ภรรยาของเขา ลูกคนเล็ก พ่อ แม่ของเขา และลูกที่โตแล้ว ซึ่งยังไม่สามารถประกอบอาชีพเองได้


จ่ายซะกาตฟิตร์ให้ใคร

นักวิชาการมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ซะกาตฟิตร์นั้นให้จ่ายแก่บุคคลทั้งแปดจำพวก ที่มีสิทธิ์รับซะกาต ดังปรากฏในอัลกุรอานว่า

إِنَّمَا الصدقاتُ ِللفقراءِ والمساكينِ والعامِلينَ عليهَا والمؤلفةِ قلوبُهم وفي الرِّقَابِ والغارمين وفي سبيلِ اللهِ وابْنِ السَّبيلِ فريضةً مِنَ اللهِ واللهُ عَليمٌ حكيمٌ

“ซะกาตนั้นจะตกเป็นของคนยากไร้ คนขัดสน เจ้าหน้าที่ซะกาต ผู้ที่ศรัทธาใหม่ ในเรื่องไถ่ตัวทาส คนที่มีหนี้สิน ในวิถีทางของอัลเลาะห์ และคนเดินทาง เป็นข้อกำหนดจากอัลเลาะห์ และอัลเลาะห์ทรงรอบรู้ยิ่ง ทรงเชี่ยวชาญยิ่ง” (อัตเตาบะห์ 60)

1. คนยากไร้ (มิสกีน) ได้แก่คนที่มีทรัพย์ไม่พอเป็นค่าอาหาร ค่าเครื่องนุ่งห่มและค่าที่พัก เช่นต้องการใช้จ่ายวันละหนึ่งร้อย แต่หาได้เพียงสามสิบ เป็นต้น
2. คนขัดสน (ฟะกีร) ได้แก่คนที่มีรายรับไม่พอกับรายจ่าย เช่นต้องการใช้วันละหนึ่งร้อย หาได้แปดสิบ เป็นต้น
3. เจ้าหน้าที่รับซะกาต (อามิ้ล) ได้แก่คนงาน เจ้าหน้าที่ และคนเก็บซะกาต ที่ผู้นำจำเป็นต้องใช้คนเหล่านี้ในการจัดเก็บรวบรวม และแจกจ่ายซะกาต
4. ผู้ที่ศรัทธาใหม่ (มุอัลลัฟ) คือผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และการจ่ายซะกาตให้เขาจะทำให้ศรัทาของเขามั่นคงขึ้น
5. ในการไถ่ตัวทาส ได้แก่ทาส (มุกาตับ) ที่ทำสัญญาไถ่ถอนตนเองจากการเป็นทาส โดยหาเงินมาจ่ายให้ผู้เป็นนายเป็นงวดๆ เมื่อจ่ายเงินครบก็จะเป็นอิสระ
6. คนมีหนี้สิน (ฆอริม) คือคนที่มีหนี้สินมาก ไม่สามารถชดใช้ได้ โดยที่การกู้ยืมของเขา เป็นการกู้ยืมเพื่อกระทำสิ่งที่ไม่ผิดบทบัญญัติของศาสนา
7. ในวิถีทางของอัลเลาะห์ (ฟีสะบีลิ้ลลาห์) คือนักรบอาสาสมัครในสงครามป้องกันศาสนา โดยไม่มีค่าตอบแทน และไม่มีเงินเดือน บางทัศนะว่าหมายถึงกิจกรรมทางศาสนาอิสลามทั่วไป โดยไม่ได้เจาะจงเฉพาะนักรบอาสาสมัครเท่านั้น เช่นสร้างโรงเรียน มัสยิด
8. คนเดินทาง (อิบนุสสะบีล) หมายถึงคนเดินทางที่การเดินทางของเขา มีวัตถุประสงค์ไม่ผิดหลักศาสนา แม้จะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวก็ตาม

วิธีการจ่ายซะกาตฟิตร์

ตวงข้าวสารตามจำนวนที่ต้องจ่ายคือคนละประมาณสองกิโลกรัมกับอีกสี่ถึงแปดขีด ให้ครบจำนวนคนที่ตนจำเป็นต้องจ่ายแทนให้ เช่นภรรยา บุตร และพ่อแม่

ใส่ข้าวสารลงในภาชนะเดียวกันทั้งหมด หลังจากนั้นให้เขาตั้งเจตนา(เนียต)ครั้งเดียวว่า “นี่คือซะกาตฟิตร์ของข้าพเจ้า และของคนที่ข้าพเจ้าต้องจ่ายแทนให้เขา”

ในกรณีที่แยกเป็นถุงๆละสองกิโลกรัมกับอีกสี่ถึงแปดขีด ให้เขาตั้งเจตนา(เนียต)ให้แก่ตัวของเขาเองก่อน เมื่อหยิบถึงขึ้นมาว่า “นี่คือซะกาตฟิตร์ของข้าพจ้า”

หลังจากนั้นก็ให้แก่ภรรยา โดยตั้งเจตนาว่า “นี่คือซะกาตฟิตร์ของภรรยาข้าพเจ้า”

หลังจากนั้นก็ให้แก่บุตร โดยตั้งเจตนาว่า “นี่คือซะกาซฟิตร์ของบุตรข้าพเจ้าชื่อ .... (ใส่ชื่อบุตร)” ตั้งเจตนา(เนียต)อย่างนี้จนครบทุกคน

หลังจากนั้นนำออกแจกจ่ายแก่พวกที่มีสิทธิได้รับ

รวบรวมโดย
อาจารย์อรุณ บุญชม
ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร

เมืองไทยตะกาฟุลออกงานเมาลิดกลางกระบี่

เมืองไทยตะกาฟุลออกงานเมาลิดกลางกระบี่

งานเมาลิดกระบี่ครั้งที่ 28 ที่จัดขึ้นเป็นเวลาถึง 5 วัน ในช่วงวันที่ 20-24 ก.พ. 52 ณ บริเวณสนามหน้ามัสยิดกลางประจำจังหวัดกระบี่

ในงานมีการออกร้านค้ามากมาย ซึ่งมีการจัดบริเวณการตั้งร้านค้าตามประเภทอย่างชัดเจน โดยในบริเวณสนามมัสยิดจะเป็นร้านค้าประเภทเสื้อผ้า และธุรกิจต่างๆ เช่น บู้ธของธ.ก.ส. เมืองไทยตะกาฟุล ร้านหนังสือ และการท่องเที่ยวจังหวัดภาคใต้ เป็นต้น

สำหรับเมืองไทยตะกาฟุล ในการออกบู้ธครั้งนี้ มุสลิมชาวกระบี่และผู้มาร่วมงานในจังหวัดใกล้เคียงได้ให้การตอบรับเป็นอย่าง ดี ทั้งนี้ ตลอดช่วงระยะเวลาของงานเมาลิด มีผู้สนใจหลายร้อยราย

ลูกค้ารายหนึ่ง อาชีพแม่บ้าน ที่สมัครเป็นสมาชิกเมืองไทยตะกาฟุล ได้กล่าวสั้นๆ กับผู้สื่อข่าวมุสลิมไทยว่า “เค้าเองพยายามเก็บเงินด้วยตัวเองมาหลายปี แต่ก็ยังเก็บเงินไม่ได้ตามที่ต้องการ และบ่อยครั้ง ต้องนำเงินไปใช้จ่าย ดังนั้นหวังว่าการเป็นสมาชิกเมืองไทยตะกาฟุล จะช่วยเค้าในการออมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการไปประกอบพิธีฮัจย์ ตามที่ตั้งใจไว้”



สำนักข่าวมุสลิมไทย ตะกาฟุลออกงานเมาลิดกลางกระบี่

เครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้เปิดรับโครงการเมืองไทยตะกาฟุล

เครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้เปิดรับโครงการเมืองไทยตะกาฟุล

คณะกรรมการเมืองไทยชารีอะห์และผู้บริหารเมืองไทยตะกาฟุล เข้าร่วมหารือกับคณะทำงานเครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้เกี่ยวกับโครงการเมือง ไทยตะกาฟุล ที่โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี เมื่อวันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้

การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในกรอปความร่วมมือระหว่างเมืองไทยตะกาฟุลและเครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้

ใน ด้านการให้บริการเมืองไทยตะกาฟุลแก่พี่น้องมุสลิมโดยมีท่านอาจารย์อรุณ บุญชม ประธานคณะกรรมการเมืองไทยชารีอะห์เป็นหัวหน้าคณะทำงานของเมืองไทยตะกาฟุล และ ตัวแทนจากเครือข่ายรวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาหลายท่านเข้าร่วม อาทิเช่น รศ.ดร.อิสมาแอล อาลี ผู้อำนวยการอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี ดร.มะรอนิง สาแลมิง ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิกฮ์ซึ่งเป็น อ.ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี ดร.อับดุลฮาลิม ไซซิง คณบดีคณะอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามยะลา

เมืองไทยตะกาฟุลเป็นโครงการของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เพื่อให้บริการที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามแก่พี่น้องมุสลิม

โดยเล็งเห็นว่าโครงการตะกาฟุลที่เป็นที่ยอมรับในประเทศมาเลเซียเป็นประโยชน์ ต่อพี่น้องมุสลิม จึงดำเนินการเพื่อให้บริการที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องมุสลิมในประเทศ ไทยบ้าง โดยใช้หลักของการมอบอำนาจให้บริษัทเป็นผู้บริหารจัดการ ในฐานะที่บริษัทเป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีความมั่นคง

ในการประชุมดังกล่าวได้มีการหารือในด้านหลักวิชาการศาสนาที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินการของเมืองไทยตะกาฟุล ทั้งนี้ อ.อรุณ บุญชม ประธานคณะกรรมการเมืองไทยชารีอะห์ ได้กล่าวว่า “การประชุมดังกล่าว เป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่าย เนื่องจากเป็นการประชุมเพื่อหาข้อสรุปในแนวทางการดำเนินการร่วมกัน ในช่วงเริ่มต้นการดำเนินการในหลายๆด้านต้องดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาต อาจจะไม่ได้ดังใจทั้งหมด แต่หากเราร่วมมือกันและเข้มแข็ง เสียงของเราก็จะดังขึ้น กฎระเบียบต่างๆ ก็อาจเป็นไป ตามที่เราต้องการได้”

ขณะเดียวกัน อ.บรรจง บินกาซัน กรรมการเมืองไทยชารีอะห์ และนักแปล นักเขียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ให้ได้ข้อคิดเห็นว่า “อยาก ให้มองว่าตะกาฟุลเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่ามองว่าเป็นเรื่องซื้อ-ขาย ทุกๆฝ่ายได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้และขอให้เหนียตว่าเป็นการช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน จะทำให้กลุ่มเหนียวแน่นและมั่นคงขึ้น”

การประชุมดังกล่าวเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ เจาะ ลึกเรื่องการดำเนินการของเมืองไทยตะกาฟุลว่าดำเนินการได้ถูกต้องตามหลัก ศาสนาอย่างไรบ้าง จะมีการนำมาปรับใช้กับวิถีชีวิตมุสลิมและการดำเนินงานของสหกรณ์ได้อย่างไร ตลอดการประชุมมีการถาม-ตอบและแบ่งปันข้อคิดเห็นซึ่งกันและกันจากท่านผู้รู้ในสาขาต่างๆ

และสามารถสรุปได้ว่า ว่าจะมีสหกรณ์บางส่วนดำเนินการนำร่องไปก่อน แล้วแต่สหกรณ์ไหนจะรับอาสา

ทั้งนี้รศ.ดร.อิสมาแอล อาลีได้แสดงความคิดเห็นกับสำนักข่าวมุสลิมไทยต่อตะกาฟุลว่า

“ในปัจจุบันเรื่องประกันมีความจำเป็นและเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต มนุษย์มีความต้องการในเรื่องต่างๆมากขึ้น อย่างไรก็ดีให้พิจารณาดูว่าอันไหนถูกต้องมากที่สุดก็สนับสนุน ไม่ใช่คำนึงถึงผลประโยชน์ ให้สนับสนุนตามหลักการ แนะนำว่าสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้แก้ไข และให้รับและนำไปเผยแพร่ ผลักดันสิ่งที่ดีที่สุด

ขณะเดียวกันก็ให้พิจารณาดูที่ปรึกษาด้วย ที่ปรึกษาไม่ใช่แค่เป็นมุสลิมเท่านั้น แต่ต้องรู้ละเอียดเกี่ยวกับการประกันและหลักชารีอะห์ ตลอดจนดูแลการดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักอิสลาม”


อาจารย์อรุณ บุญชม


บรรยากาศการประชุม


สำนักข่าวมุสลิมไทย

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

พาณิชย์เพิ่มกลยุทธ์สินค้าชายแดนใต้หวังตลาดมุสลิมนอกประเทศ

ปัตตานี 5 มี.ค.- กระทรวงพาณิชย์รุกโครงการเปลี่ยนบังเกอร์เป็นเคาท์เตอร์ เพิ่มกลยุทธ์ผู้ผลิตสินค้าชายแดนใต้ขยายตลาดส่งออกกลุ่มอียูและอาหรับ


นาย กฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่ จ.ปัตตานี ประชุมสัมมนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและสินค้าโอท็อปจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) และ จ.กระบี่ เพื่อขยายตลาดใหม่ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ความต้องการสินค้าฮาลาล อาหารกระป๋อง เครื่องแต่งกายมุสลิม ผ้าบาติก และเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ยังมีความต้องการสูงในกลุ่มประเทศยุโรป (อียู) กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และประเทศแถบแสกนดิเนเวีย


นาย กฤษฎา กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์จาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำเป็นต้องเร่งพัฒนาให้ทันตลาด เพื่อส่งไปจำหน่าย เพราะปัจจุบันยังมีส่วนแบ่งการตลาดน้อยมาก อีกทั้งยังเป็นการสอดรับกับโครงการ “เปลี่ยนบังเกอร์ให้เป็นเคาท์เตอร์” ตามนโยบายของกระทรวงพาณิชย์


นอกจากนี้ ตัวแทนสำนักงานส่งเสริมการค้าประจำ 5 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เดนมาร์ค อิตาลี อิหร่าน และมาเลเซีย รายงานข้อมูลความต้องการของตลาด เช่น ตลาดผ้าบาติกในประเทศอิตาลี เฟอร์นิเจอร์ในตลาดประเทศสแกนดิเนเวียร์ สินค้าฮาลาลและเครื่องแต่งกายมุสลิมในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีชาวมุสลิมกว่า 8 ล้านคน ตลาดสินค้าอาหารทะเลแปรรูปในภูมิภาคตะวันออกกลาง และผลิตภัณฑ์ฮาลาลในตลาดประเทศมาเลเซีย.-สำนักข่าวไทย

ธนาคารอิสลาม(Islamic Bank of Thailand) ปรับทัพ...ก้าวใหม่สู่ I-Bank

สำนักข่าวมุสลิมไทย ปรับทัพ...ก้าวใหม่สู่ I-Bank



สำนัก ส่งเสริมธุรกิจและสื่อสารองค์กร - ศาสตราจารย์ พลโท ดร.สมชาย วิรุฬหผล ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดงาน การจัดประชุมพนักงาน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ประจำปี 2551 ภายใต้แนวคิด “ปรับทัพสร้างโอกาสในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก...ก้าวใหม่ สู่ I-Bank” พร้อมการบรรยายทิศทางและนโยบายปี 2552


โดยมี คุณธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย บรรยายแผนปฏิบัติงาน และในโอกาสนี้ธนาคารยังได้แนะนำกรรมการธนาคารชุดปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วย


คุณสุเทพ สืบสันติวงศ์ กรรมการ
คุณอรัญ วงศ์อนันต์ กรรมการ
คุณกฤษดา กวีญาณ กรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.อิศรา ศานติศาสน์ กรรมการ
คุณนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ กรรมการ
คุณจินดา เทพพัตรา กรรมการ
คุณสายัณห์ สตางค์มงคล กรรมการ
หม่อมราชวงศ์ศศิพฤนท์ จันทรทัต กรรมการ
คุณเจษฎาวัฒน์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการ


โดยมีผู้บริหารและพนักงานกว่า 400 คนเข้าร่วมการประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง ณ ชลพฤกษ์ รีสอร์ท จ.นครนายก

สิงคโปร์ฝันฮับการเงินอิสลาม(Islamic Financial) เดินหน้าออกพันธบัตร Sukuk

ที่ผ่านมา "สิงคโปร์" เป็นหนึ่งในฮับการเงินที่สำคัญของโลก และตอนนี้กำลังก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลาม หลังจากธนาคารชาติสิงคโปร์ได้ออก พันธบัตรอิสลาม หรือ "ซูคุก" (Sukuk) สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์เป็นครั้งแรก


ด้วย เม็ดเงิน 200 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือราว 134.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ธนาคารกลางสิงคโปร์ เป็นธนาคารกลางแห่งแรกของประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิม ที่ออกพันธบัตรอิสลามในสกุลเงินท้องถิ่น


วอลล์สต รีต เจอร์นัล อธิบายว่า พันธบัตรซูคุก เทียบเท่ากับพันธบัตรรัฐบาลสิงคโปร์ แต่ดำเนินตามแนวคิดของการขายหรือการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ถูกใช้และได้รับการยอมรับในการออกพันธบัตรอิสลามทั่วโลก


เฮง วี คีท กรรมการผู้จัดการธนาคารกลางของสิงคโปร์ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถนำเสนอเครื่องมือทางการ เงินที่หลากหลายมากขึ้นสำหรับระบบการเงินอิสลาม เพื่อบริหารจัดการสภาพคล่อง และสอดคล้องกับการจับคู่สินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่


สิงคโปร์ จะออกพันธบัตรอิสลามที่มีเครดิตเรตติ้ง AAA โดยขนาด อายุของพันธบัตรและราคาจะขึ้นอยู่กับความต้องการของนักลงทุนและบรรยากาศใน ตลาด ทั้งนี้ ธนาคารอิสลามแห่งเอเชีย และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จะเป็น ผู้จัดการพันธบัตรอิสลาม ขณะที่อัลเลน แอนด์ เกรดฮิลล์ รับหน้าที่ที่ปรึกษา


สำหรับ ความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญนี้ อับดุลลา ฮาซาน ซาอิฟ ประธานธนาคารอิสลามแห่งเอเชียมองว่า การริเริ่มครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะสนับสนุนความพยายามของสิงคโปร์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลามชั้นนำ แต่จะเป็นกรณีศึกษาของประเทศอื่นๆ ที่มีความปรารถนาและความต้องการของภาคการเงินคล้ายคลึงกัน โดยธนาคารอิสลามแห่งเอเชียจะลงทุนในพันธบัตรอิสลามนี้ ซึ่งถือเป็นนักลงทุนรายแรก


ด้าน วี. ชานการ คณะกรรมการกลุ่มบริหารของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ชี้ว่า ความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสิงคโปร์ ส่งสัญญาณทางบวกแก่สถาบันการเงินอิสลามที่ต้องการดำเนินธุรกิจในสิงคโปร์ และเพิ่มการค้าการลงทุนระหว่างตะวันออก กลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


นักวิเคราะห์ประเมินว่าสินทรัพย์ของธนาคารอิสลามมีมูลค่ากว่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และเติบโตปีละ 15%


นอกจากสิงคโปร์ อินโดนีเซียก็เตรียมออกพันธบัตรอิสลามในปีนี้ ส่วนญี่ปุ่นและจีนก็เตรียมเปิดตัวระบบการเงินอิสลามด้วย


ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

ธนาคารระบบอิสลาม(Islamic Bank System)

แนวคิดเรื่องธนาคารระบบอิสลามหรือระบบการธนาคารที่ดำเนินการภายใต้หลักของศาสนาอิสลาม ซึ่งนิยมเรียกเป็นสามัญว่า “ ธนาคารอิสลาม ” มีมาในสังคมไทยเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปี แต่สำหรับสังคมไทยโดยทั่วไปแล้วเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่มาก

แม้ ว่าการก่อตั้งธนาคารอิสลามดูไบ (Dubai Islamic Bank) ซึ่งเป็นธนาคารระบบอิสลามในรูปแบบปัจจุบันได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2518 และได้ขยายตัวทั้งธนาคารเต็มรูปแบบและเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารระบบเดิม (WINDOWS) โดยได้รับการยอมรับจากทั้งมุสลิม และผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิมไปทั่วทั้งเอเชีย ยุโรป อัฟริกา อเมริกา และออสเตรเลีย ไม่น้อยกว่า 48 ประเทศ มากกว่า 280 ธนาคาร

วิวัฒนาการของธนาคารอิสลาม

ใน ปี พ.ศ.2506 Ahmad El Najjar ได้ก่อตั้งธนาคารเพื่อการออมทรัพย์ขึ้นที่เมือง Mit Ghamr ประเทศอียิปต์ ดำเนินงานโดยยึดหลักการแบ่งปันผลกำไรขึ้นเป็นครั้งแรก และเมื่อปี พ.ศ. 2510 ได้เกิดธนาคารประเภทเดียวกันนี้อีก 9 แห่ง ธนาคารเหล่านี้จะไม่คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ และไม่จ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากเงิน ธนาคารจะนำเงินที่รับฝากไปลงทุนในการค้า และอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นการลงทุนของธนาคารเองทั้งหมด หรือร่วมลงทุนกับบุคคลอื่น แล้วแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากการค้าการลงทุนกับผู้ฝากเงิน ธนาคารเหล่านี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นสถาบันการเงินเพื่อการออมทรัพย์และการลง ทุนมากกว่าการเป็นธนาคารพาณิชย์ การดำเนินของธนาคารในช่วงนี้ไม่สามารถแสดงออกอย่างเปิดเผยได้ว่าเป็นธนาคาร ที่ดำเนินการตามหลักศาสนาอิสลาม หรือธนาคารอิสลาม เนื่องจากขัดกับนโยบายของรัฐบาล

ต่อมาในปี พ.ศ.2517 องค์กรกลุ่มประเทศอิสลาม (Organization of Islamic Countries : OIC) ได้ร่วมกันจัดตั้งธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา (Islamic Development Bank : IDB) ขึ้นที่ เมืองญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดีอารเบีย มีวัตถุประสงค์เพื่อการสนับสนุนด้านการเงินสำหรับโครงการเพื่อการพัฒนาใน กลุ่มประเทศสมาชิก โดยยึดหลักศาสนาอิสลามอย่างเปิดเผยและชัดแจ้ง ซึ่งต่อมาบรรยากาศทางการเมืองในประเทศมุสลิมได้เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินงานธนาคารอิสลามจึงไม่เป็นสิ่งที่ต้องปกปิดอีกต่อไป

ธนาคาร อิสลามจึงได้แพร่หลายไปในกลุ่มประเทศมุสลิมต่าง ๆ จนปัจจุบัน ประเทศปากีสถาน อิหร่าน ซูดาน ได้ยกเลิกระบบธนาคารปกติ (Conventional Banking) มาใช้ธนาคารระบบอิสลามแทนทั้งประเทศ ส่วนประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ได้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินที่ดำเนินการตามหลักศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก ขึ้นตามลำดับ เช่น ที่อังกฤษ ซึ่งเป็นตลาดเงินระบบอิสลามที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มี Barclay Capital , HSBC Amanah Finance, ANZ International Merchant Banking,London. Citibank International Plc.,London. ฯลฯ สหรัฐอเมริกา มี HSBC.USA, Bank Sepa.Iran ฯลฯ ฝรั่งเศส มี Societe General , BNP Paribars เยอรมัน มี Commerz Bank , Deutsche Bank สวิตเซอร์แลนด์ มี Dar Al Maal Al Islami, United Bank of Switzerland (UBS) เป็นต้น

หลักการของธนาคารอิสลาม

หลัก การที่สำคัญของอิสลามเกี่ยวกับระบบธนาคารคือการห้ามเรื่องดอกเบี้ย (Riba) ทั้งการรับและการให้ ซึ่งปรากฏชัดเจนในอัลกุรอาน (2:275) “อัลลอฮฺอนุมัติการค้า และห้ามดอกเบี้ย” (2:276) “อัลลอฮฺตัดสิทธิ์ดอกเบี้ยจากความกรุณาทั้งปวง แต่จักเพิ่มพูนสำหรับการบริจาค” และอื่นๆ อีกพอสรุปได้ 5 ประเด็น คือ

1. ดอกเบี้ยจะกีดกันไม่ให้ได้รับความจำเริญจากอัลลอฮฺ
2. ประณามดอกเบี้ยว่าเป็นสิ่งที่พรากเอาไปจากทรัพย์สินของผู้อื่น อย่างไม่ถูกต้อง
3. ให้มุสลิมอยู่ห่างจากดอกเบี้ย เพื่อประโยชน์แห่งความดีของตัวเอง
4. ให้ความหมายที่บ่งบอกถึงความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยและการค้า
5. สนับสนุนให้มุสลิมเอาเฉพาะเงินต้นคืน อีกทั้งให้ยกหนี้หากลูกหนี้ไม่สามารถใช้หนี้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ อัลลอฮฺได้กำชับว่า ผู้ที่ละเลยไม่คำนึงถึงข้อห้ามเกี่ยวกับดอกเบี้ย เป็นการทำสงครามกับพระองค์ และศาสดา มูฮำหมัด (ซ.ล)

หลัก การของศาสนาอิสลามเน้นความเป็นธรรมในสังคม จะเห็นได้ว่าการกำหนดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ตายตัวของสถาบันการเงิน ย่อมทำให้ผู้กู้เงินแบกรับความเสี่ยงตามลำพัง ธนาคารต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยเงินฝากโดยคิดดอกเบี้ยสูงจากผู้กู้ ผู้ฝากเงินไม่ต้องรับภาระใด ๆ ดังนั้นการที่เจ้าของเงิน ธนาคาร และผู้ฝากเงินร่วมรับภาระและความเสี่ยง แบ่งปันผลกำไรจากการดำเนินงาน จะสร้างความเป็นธรรมและสร้างเสถียรภาพแก่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะสถาบันการเงินได้ดีกว่าระบบการให้กู้ยืมโดยการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ที่แน่นอนตายตัว

ในเมื่ออิสลามได้ห้ามเรื่องดอกเบี้ย(ริบา) ทางออกของธนาคารอิสลาม จึงเป็น “ ธนาคารเพื่อการค้าและการลงทุน ” และให้บริการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย ภายใต้กฎของศาสนาอิสลาม (Shariah)

รูปแบบการประกอบธุรกิจของธนาคารอิสลาม

การ ประกอบธุรกิจของธนาคารอิสลามโดยทั่วไป จะมีความแตกต่างกับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยและธุรกรรมที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาอิส ลาม ธุรกรรมโดยทั่วไป มี

1. การรับฝากเงิน
โดยทั่ว ๆ ไปธนาคารอิสลามจะรับฝากเงินจากลูกค้าใน 2 ลักษณะ คือ

1.1 รับฝากเพื่อการรักษาทรัพย์ (Safe Custody) ธนาคารรับฝากเงินจากลูกค้าเพื่อการรักษาทรัพย์สินให้ปลอดภัย และยินยอมให้ธนาคารนำเงินดังกล่าวไปลงทุนได้ ส่วนผลตอบแทนที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นของธนาคาร (โดยทั่วไปธนาคารที่ได้ดำเนินการมาแล้วในประเทศต่าง ๆ จะจ่ายผลตอบแทนให้เป็นของขวัญ แต่ไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ธนาคารต้องจ่าย) ธนาคารจะรับประกันเงินฝากทั้งหมดและคืนเงินเต็มจำนวนเมื่อลูกค้าทวงถาม ธนาคารในระบบอิสลามเรียกเงินฝากประเภทนี้ว่า อัล-วะดีอะห์ (Al Wadiah) มีบัญชี 2 ประเภทคือ
- บัญชีกระแสรายวัน (Current Account)
- บัญชีออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์ (Savings Account)

1.2 รับฝากเพื่อนำเงินไปลงทุน (Investment) ธนาคารรับฝากเงินจากลูกค้าเพื่อนำเงินไปประกอบการค้าหรือลงทุน โดยแบ่งผลตอบแทนจากกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายของธนาคาร ในอัตราส่วนที่ได้ตกลงกันตอนฝากเงิน หรือในกรณีขาดทุน ผู้ฝากเงินรับภาระในส่วนเงินลงทุนเท่านั้น ธนาคารจะรับภาระค่าบริหารจัดการทั้งหมดและไม่สามารถจะไปหักจากเงินฝากของ ลูกค้าได้ เงินฝากประเภทนี้เรียกว่า อัล-มูฎอรอบะห์ (Al Mudarabah) ซึ่งมีบัญชีสำหรับการลงทุนทั่วไปของธนาคารหรืออาจมีบัญชีเพื่อการลงทุนเฉพาะ โครงการใดโครงการหนึ่งก็ได้

2. การให้สินเชื่อและการลงทุน
การ ให้สินเชื่อของธนาคารอิสลาม นอกจากจะพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ โอกาสของธุรกิจ ความสามารถในการชำระหนี้คืนของลูกหนี้ ผลตอบแทนที่ธนาคารจะได้รับจาการให้สินเชื่อ และปัจจัยอื่น ๆ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไปแล้ว ธนาคารอิสลามจะต้องพิจารณาถึงประโยชน์ของการให้สินเชื่อที่จะเกิดแก่ผู้กู้ และสังคมโดยรวมด้วย ไม่เป็นการให้กู้ยืมเพื่อสนองความต้องการอุปโภคบริโภคที่ฟุ่มเฟือย ไม่เป็นกิจการที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม เช่น กิจการที่เกี่ยวข้องกับสุรา สถานบันเทิง การพนัน เป็นต้น มีรูปแบบการให้สินเชื่อและการลงทุนโดยทั่วไปดังนี้

2.1 สินเชื่อโครงการ ภายใต้หลัก อัล มูฎอรอบะห์ Al Mudarabah (Trust Financing) ธนาคารจะเป็นผู้ลงทุนด้านการเงินเองทั้งหมด ลูกค้าหรือเจ้าของโครงการเป็นผู้บริหารจัดการ โดยแบ่งกำไรตามอัตราส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ ในกรณีขาดทุน ผู้ฝากเงินรับภาระขาดทุน ธนาคารรับภาระในส่วนค่าใช้จ่ายของ ธนาคาร ลูกค้ารับภาระค่าบริหาร

2.2 สินเชื่อโครงการ ภายใต้หลัก อัล มูชารอกะห์ Al Musharaka (Venture capital finance) ธนาคารลงทุนเงินร่วมกับลูกค้าในฐานะหุ้นส่วน โดยตกลงอัตราส่วนแบ่งกำไรไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนได้ ในกรณีขาดทุนทุกฝ่ายรับภาระตามสัดส่วนการลงทุน

2.3 สินเชื่อเพื่อการจัดหาทรัพย์สิน ภายใต้หลักอัล มูรอบาฮะห์ Al Murabaha (Cost plus financing) เป็นสินเชื่อที่ธนาคารจะจัดหาทรัพย์สินหรือสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ โดยบวกเพิ่มกำไร เสนอขายแก่ลูกค้าพร้อมเงื่อนไขในการชำระเงินให้ลูกค้าพิจารณา ลูกค้าจะชำระค่าสินค้าหรือทรัพย์สินตามสัญญาเท่านั้น ไม่บวกเพิ่มดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อทั่วไป

2.4 สินเชื่อเพื่อสิทธิในการใช้บริการของทรัพย์สิน ภายใต้หลัก อัล อิญาเราะห์ Al Ijara (Leasing) ธนาคารจัดหาทรัพย์สินให้ลูกค้าเช่าตามความจำนงของลูกค้า โดยมีระยะเวลาและอัตราค่าเช่าที่แน่นอน เมื่อครบระยะเวลาเช่าลูกค้าต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนหรือซื้อทรัพย์สินนั้น ในกรณีที่ระบุไว้ในสัญญา

2.5 สินเชื่อเพื่อการสงเคราะห์และช่วยเหลือ ภายใต้หลักก็อด อัล หะซัน Qard Al Hasan ธนาคารให้สินเชื่อโดยไม่คิดผลตอบแทนหรือกำไรจากลูกค้า เป็นการให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและสงเคราะห์ เช่นสินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อเพื่อผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ

2.6 สินเชื่อเพื่อการค้า (Trade financing) เป็นการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจของลูกค้า ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย การส่งออก นำเข้าสินค้า เครื่องจักร การจัดหาวัตถุดิบ อะไหล่ เช่น การซื้อขายล่วงหน้าภายใต้หลัก Bai Al Salam, Letter of credit, Letter of guarantee, Islamic export credit refinancing, Islamic accept bills เป็นต้น

3. บริการอื่น ๆ
เช่น เดียวกับธนาคารพาณิชย์ ที่ไม่ขัดต่อหลักของศาสนาอิสลาม เช่น บริการโอนเงิน บริการเรียกเก็บเงินตามตราสาร ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ บริหารจัดการเงินกองทุน เป็นต้น

นอกจากธนาคารอิสลามได้ แพร่หลายและได้รับการยอมรับโดยมีการจัดตั้งทั่วไปแล้ว ได้มีประเทศต่าง ๆ ที่ไม่มีธนาคารอิสลาม แต่ได้ใช้สินเชื่อระบบอิสลาม เช่น บริษัทอุตสาหกรรมของเกาหลี 3 บริษัท ได้รับสินเชื่อในปี 2542-2543 จากธนาคารอิสลามในลอนดอน จำนวน 147 ล้านเหรียญหรือประมาณ 6,321 ล้านบาท แล้ว หลักการ อิสลามได้ถูกนำมาใช้ในธุรกิจประกันชิวิต-ประกันภัย (Takaful) กองทุนร่วมลงทุน (Islamic mutual fund) ตลาดทุน (Islamic index) อีกด้วย และได้รับการจัด Islamic finance awards โดย Euromoney Magazine ฉบับเดือน มกราคม 2546 มีรายละเอียดดังนี้

Best at Islamic bonds : Aseambankers (Maybank Malaysia)
Best in Islamic project finance : Shamil Bank (Bahrain)
Most innovative Islamic finance house : First Islamic Investment Bank (Bahrain)
Best at takaful : Takaful Nasional (Malaysia)
Best at Islamic leasing : Kuwait Finance House (Kuwait)
Best at Islamic commodities dealing : Al-Rajhi Bank (Saudi Arabia)
Best at Islamic asset management : National Commercial Bank (UAE)
Best at Islamic retail bank : Maybank (Malaysia)
Best Islamic commercial bank : Bahrain Islamic Bank (Bahrain)

-------------------------
คัดลอกจาก: Thaiislamiccenter.com

การธนาคารอิสลาม

ศาสนาอิสลามเห็นว่า การลงทุนเป็นปัจจัยหนึ่งของการผลิต แต่ศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้ปัจจัยนั้นมีสิทธิพิเศษในการทวีค่าการผลิตเป็น รูปของดอกเบี้ย

การรวมธนาคารอิสลามเป็นปรากฎการณ์ใหม่ ที่สร้างความประหลาดใจให้กับหลายคน ระบบของธนาคาร โดยรวมจะดำเนินการตามรูปแบบของอิสลามทั้งในประเทศอิหร่านและปากีสถาน นอกจากนั้นในส่วนอื่นของโลกยังปรากฎว่ามีธนาคารอิสลามอยู่อีกกว่า 30 แห่ง รวมทั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งญิดดะฮฺด้วย (The Jeddah based lslamic Development Bank - IDB) ทั้งนี้ไม่รวมสถาบันการเงินอีกมากมายที่มิใช่ธนาคารอิสลาม และด้วยความรวดเร็วในการเติบโต และความก้าวหน้าของธนาคารอิสลาม รายงานฉบับนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อ
ก. สำรวจความเป็นไปของธนาคารอิสลาม
ข. เพื่อตรวจสอบความเติบโตและการพัฒนาของธนาคารอิสลาม และ
ค. เพื่อเน้นให้เห็นถึงลักษณะเด่นของธนาคารอิสลาม

วิวัฒนาการ

การ ทดลองจัดตั้งธนาคารอิสลามที่ทันสมัยครั้งแรก มีขึ้นที่ประเทศอียิปต์อย่างไม่เปิดเผย และไม่จัดระบบและภาพลักษณ์เป็นอิสลาม เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการปูพื้นฐานศาสนาอิสลามในประเทศ ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการปกครองทางการเมือง โดยความพยายามครั้งแรกเริ่มนำโดย นายอะหมัด อันนัญญาร (Ahmad EI-Najjar) ซึ่งได้รูปแบบธนาคารออมทรัพย์ที่มีการแบ่งปันผลกำไรในเมือง Mlt Ghamr ของอียิปต์ เมื่อปี พ.ศ. 2506 การทดลองนี้ดำเนินไปจนถึงปี พ.ศ. 2510 ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีธนาคารประเภทเดียวกันอยู่รวม 9 ธนาคารในอียิปต์ ธนาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะลงทุนโดยการเข้าร่วมในการค้าและอุตสาหกรรม ทั้งโดยตรงและร่วมหุ้นกับผู้อื่น รวมทั้งแบ่งปันผลกำไรกับผู้ร่วมลงทุนด้วย (ซิดดีกี่ย์, 2531) ดังนั้น ธนาคารเหล่านี้จึงมีหน้าที่เป็นสถาบันการลงทุนแบบออมทรัพย์มากกว่าธนาคาร พาณิชย์ ธนาคารนาซิรโซเชียลแบงค์ (The Nasir Social Bank) ซึ่งก่อตั้งในอียิปต์ เมื่อปี พ.ศ. 2514 ได้รับการประกาศว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ปลอดดอกเบี้ย แม้ว่าใบอนุญาตจะมิได้กล่าวอ้างอิงเกี่ยวกับอิสลามหรือกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮฺ) เลยก็ตาม

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งญิดดะฮฺ (IDB)

ก่อ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 โดยองค์การกลุ่มประเทศอิสลาม หรือโอไอซี (Organization of Islamic Countries – OIC) ซึ่งเป็นธนาคารระหว่างรัฐบาลที่มีจุดมุ่งหมายในการให้เงินทุนแก่โครงการ เพื่อการพัฒนาในประเทศสมาชิก IDB จะให้บริการทางการโดยเก็บค่าธรรมเนียม และให้ความช่วยเหลือทางการเงินในรูปแบบการแบ่งบันกำไรแก่ประเทศสมาชิก การดำเนินงานของ IDB จะปลอดภาษีและดำเนินการตามข้อบังคับของกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮฺ) โดยเปิดเผย ในทศวรรษที่70 ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นในประเทศมุสลิมหลายประเทศ จนกระทั่งไม่มีความจำเป็นในการก่อตั้งสถาบันการเงินอิสลามที่ไม่เปิดเผยขึ้น อีกต่อไป ธนาคารอิสลามจำนวนมากเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ได้แก่ธนาคารอิสลามดูไบ (2518) ธนาคารอิสลามไฟซ่อลแห่งซูดาน (2520) ธนาคารอิสลามไฟซ่อลแห่งอิยิปต์ (2520) และธนาคารอิสลามบะห์เรน เป็นต้น

ใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก็มิได้ละเลยความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ธนาคารอมานะฮฺฟิลิปปินส์ (PAB) จึงก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 โดยประธานาธิบดีได้ประกาศธนาคารดังกล่าวเป็นสถาบันที่ชำนาญด้านการธนาคาร โดยไม่อ้างอิงถึงลักษณะของอิสลามในใบอนุญาตประกอบการธนาคาร ทั้งนี้ การก่อตั้ง PAB เป็นการที่รัฐบาลฟิลิปปินส์สนองตอบต่อกลุ่มที่ถูกเรียกว่ากบฏมุสลิมทางตอน ใต้ ในความต้องการของชุมชนมุสลิมที่ต้องการธนาคารพิเศษ อย่างไรก็ตาม งานสำคัญของ PAB ได้แก่ การช่วยกู้และฟื้นฟูเพื่อมินดาเนา ซูลู และปาลาวัน ทางตอนใต้ (Mastura, 2531) PAB มี 8 สาขา ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ของจังหวัดมุสลิมตอนใต้ รวมทั้งอีก1 แห่งที่มากาติ (Metro Manila) ด้วย นอกเหนือจากสำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่เมืองแซมโบแองก้าในมินดาเนา อย่างไรก็ตาม PAB มิได้เป็นธนาคารอิสลามที่เคร่งครัดนัก เนื่องจากยังการดำเนินการเกี่ยวกับดอกเบี้ย ร่วมไปกับวิธีการจัดการการคลังแบบอิสลามอยู่ แต่เป็นที่น่าสนใจว่า PAB ได้ดำเนินการแบบสอง “หน้าต่าง” หรือวินโดวส์ เพื่อขยายกิจการ ได้แก่ ทั้งแบบดั้งเดิมแบบอิสลาม อย่างไรก็ตามยังคงมีความพยายามในการเปลี่ยน PAB ให้เป็นธนาคารอิสลามอย่างสมบูรณ์ (Mastura, 2531)

ในประเทศ มาเลเซีย ธนาคารอิสลามเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2526 หลังจากมีการตั้งสถาบันการเงินอิสลามครั้งแรกในมาเลเซีย ชื่อ The Muslim Pilgrims Savings Corporation เมื่อปี พ.ศ. 2506 เพื่อช่วยประชาชนออมทรัพย์ไว้แสวงบุญที่มักกะฮฺและมะดีนะฮฺ (หุญญาจ) ในปี พ.ศ. 2506 องค์กรนี้ได้พัฒนาขึ้นเป็นคณะกรรมการเงินทุนและการจัดการเพื่อหุญญาจ หรือ Tabung ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน Tabuag Haji ได้ดำเนินการเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ลงทุนจากเงินออมทรัพย์ของหุญญาจตามกฎหมายอิสลาม แต่บทบาทค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเป็นสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร อย่างไรก็ตามความสำเร็จของTabung Haji เป็นแรงผลักดันหลักให้ก่อตั้ง Bank lslam Malaysia Berhad หรือบีไอเอ็มบี (BIMB) ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์อิสลามที่สมบูรณ์ในมาเลเซีย โดย Tabung Haji ได้ให้เงินช่วยเหลือเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 12.5 ของเงินลงทุนครั้งแรกของบีไอเอ็มบี ซึ่งมีจำนวน 80 ล้านเหรียญมาเลเซีย บีไอเอ็มบีมีสาขากว่า 14 สาขาในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ทั้งนี้มีแผนที่จะเปิดอีก6 สาขาใหม่ ต่อปี เพื่อให้ บีไอเอ็มบี มีสาขาทั้งหมด 33 สาขาภายในปี พ.ศ. 2533 (Man 2531)

นอกจาก นี้ยังมีสถาบันการเงินอิสลามบางแห่งที่ตั้งขึ้นในประเทศที่มีมุสลิมอาศัย อยู่เป็นจำนวนน้อยที่ควรกล่าวถึง เช่น ในอินเดียมีชุมชนที่ให้กู้ยืมและออมทรัพย์ปลอดดอกเบี้ย อย่างแพร่หลายในช่วงทศวรรษที่ 70 (ซิดดีกี่ย์, 2531) ในลักเซมเบิร์ก มีระบบธนาคารอิสลาม (ปัจจุบันเรียก Islamic Finance House) ก่อตั้งขึ้นในปี 2521 ซึ่งเป็นความพยายามในการก่อตั้งธนาคารอิสลามขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกตะวันตก นอกจากนี้ก็มีธนาคารอิสลามระหว่างประเทศของเดนมาร์กในกรุงโคเปนเฮเกน และบริษัทเพื่อการลงทุนของอิสลามในกรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

หลักการและเหตุผล

ลักษณะ สำคัญของธนาคารอิสลาม ได้แก่ การปลอดดอกเบี้ย แม้ว่ามักจะมีการอ้างว่าธนาคารอิสลามควรมีลักษณะอื่น ๆ มากกว่านี้ เป็นต้นว่า การบริจาคเพื่อให้การปันส่วนของรายได้ และทรัพย์สินที่เท่าเทียมกับยิ่งขึ้น และการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจมากขึ้น (Chapra 2525) อย่างไรก็ตาม ลักษณะเฉพาะของธนาคารอิสลามก็คือจะไม่มีสถาบันที่คิดดอกเบี้ย ทั้งนี้ตามระเบียบของศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลามห้ามมุสลิมคิด ดอกเบี้ยหรือให้ดอกเบี้ย (ริบา) โดยไม่ต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ว่าการกู้ยืมนั้น มีขึ้นเพื่ออะไร รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยว่าจะเป็นเท่าไร มีความพยามยามที่จะแยกระหว่างการให้กู้ยืมเพื่อเรียกดอกเบี้ยอย่างขูดเลือด กับดอกเบี้ยจากเงินออมธรรมดา และระหว่างการให้กู้ยืมเพื่อการบริโภคและเพื่อการผลิตมีการโต้แย้งกันว่า "ริบา" หมายความเฉพาะการให้กู้ยืมที่คิดดอกเบี้ยอย่างขูดเลือด โดยผู้ให้กู้รายย่อย และไม่ได้หมายความถึงดอกเบี้ยที่คิดโดยธนาคาร และว่าริบาจะไม่เกี่ยวข้องกับกรณีการตั้งดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมที่ก่อผล ผลิต แต่ข้อโต้แย้งเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับ นอกเหนือจากความคิดเหล่านี้ นักวิชาการมุสลิมทั่วไปยังชี้ให้เห็นด้วยว่า คำว่าริบาและดอกเบี้ย ไม่มีความแตกต่างกันเลยและสามารถใช้สลับกันได้

ข้อ ห้ามเกี่ยวกับริบา มีกล่าวไว้ในบทต่างๆ4 บทของคัมภีร์อัลกุรอาน บทแรกเน้นว่า ดอกเบี้ยเป็นการตัดการให้พรของพระเจ้า บทที่สองกล่าวโทษดอกเบี้ย และชี้ให้เห็นว่าดอกเบี้ยนั้นอยู่ในพวกเดียวกับทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้มา โดยมิชอบ บทที่สามเห็นว่ามุสลิมควรอยู่ห่างจากดอกเบี้ยเพื่อความอยู่ดีกินดีของตน และบทที่สี่ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยและการค้า รวมทั้งสนับสนุนให้มุสลิมรับแต่เงินต้น และแม้กระทั่วให้ยกเลิกเงินจำนวนดังกล่าวถ้าผู้ยืมไม่สามารถจ่ายคืนได้ โดยคัมภีร์ได้กล่าวว่า ผู้ซึ่งละเลยข้อห้ามเกี่ยวกับดอกเบี้ยจะเป็นศัตรูกับพระเจ้าและพระศาสนา ข้อห้ามเกี่ยวกับดอกเบี้ยยังพบใน อัลหะดีษ (คำกล่าวของศาสดา) ด้วย โดยพระศาสดาจะประนามไม่เพียงผู้ที่รับดอกเบี้ย แต่รวมถึงผู้ที่ให้ดอกเบี้ยและผู้บันทึก และรู้เห็นว่าการกระทำดังกล่าว โดยทั้งหมดถือว่าได้กระทำความผิด

ข้อห้ามที่คล้ายคลึงกันนี้ยัง พบได้ในงานเขียนสมัยก่อนอัลกุรอาน ซึ่งเป็นที่น่าทึ่งว่าศาสนาอิสลามประสบความสำเร็จ ในการล้มเลิกความพยายามทั้งหลาย ที่จะให้การคิดดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามคลองธรรม นักวิชาการบางคนได้นำเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ มาอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมดอกเบี้ยจึงถูกห้ามในศาสนาอิสลาม ตัวอย่างเข่น ได้มีการถกเถียงกันว่า การคิดดอกเบี้ยเป็นการคาดมูลค่าการผลิตรวมล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้เป็นอุปสรรคกับการจ้างงานแบบเต็มรูปแบบ (คาน 2511 ; อะหมัดn. d, Maman 2513) ในลักษณะเดียวกันก็มีการถกเถียงเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ทางการเงินระหว่าง ประเทศที่เองมากจากสถาบันที่มีดอกเบี้ย (Kham, n.d.) และปรากฎการณ์ของดอกเบี้ยมีส่วนสำคัญกับการเกิดขึ้นของวัฎจักรทางการค้า (อะหมัด 2495 ; Su’ ud n.d.) อย่างไรก็ตาม ไม่มีการศึกษาวิจัยรั้งใดที่ประสบความสำเร็จในการเชื่อความสัมพันธ์กัน ระหว่างดอกเบี้ยกับการจ้างงานและวัฎจักรทางการค้า ในการศึกษาวิจัยอื่นซึ่งได้ พยายามพิสูจน์จุดยืนของศาสนาอิสลามเกี่ยวกับดอกเบี้ยได้โต้แย้งว่า ดอกเบี้ยมิได้เป็นเครื่องมือทางโยบายทางการเงิน ที่มีประสิทธิภาพแม้ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมก็ตาม และได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอัตราดอกเบี้ย ในานที่เป็นปัจจัยในการออมทรัพย์และการลงทุน (Aiff 2525)

ในการศึกษาวิจัยเหล่านี้ สิ่งที่เหมือนกันได้แก่ ลักษณะการหาประโยชน์ดอกเบี้ย แม้ว่าการศึกษาบางชิ้นจะชี้นให้เห็นว่า กำไร (ซึ่งถูกกฎอิสลาม) ก็เป็นการหาประโยชน์เช่นกัน แต่คำตอบสำหรับกรณีนี้ก็คือ เราต้องแยกแยะระหว่างกำไรและการทำกำไร ซึ่งศาสนาอิสลามก็ห้ามการทำกำไรด้วย

ในงานเขียนบางชิ้นได้พยายามชี้ให้เป็นถึงลักษณะของ “รายได้ที่ถือว่าไม่ได้รับ” ในเรื่องของการจ่ายดอกเบี้ย ว่าสามารถเป็นทางออกให้กับดอกเบี้ยในศาสนาของอิสลามได้ โดยยกโต้ข้อแย้งว่าการเช่าทรัพย์สินก็ไม่ผิดกฎอิสลามเช่นกัน แต่คำตอบก็คือ จะต้องไม่พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างารเช่าทรัพย์สินกับดอกเบี้ยเงินกู้ เนื่องจากผลประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นแน่นอน ส่วนผลประโยชน์จากการกื้มเงินนั้นไม่แน่นอน นอกจากนี้ทรัพย์สินที่ให้เช่นนั้นมีการผุพังทางกายภาพ ขณะที่เงินที่ให้ยืมนั้นไม่มี ส่วนข้อโต้แย้งเรื่องการเสื่อมถอยของมูลค่าเงินจึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบการ ชี้วัดทางเศรษฐกิจ ก็เป็นสิ่งที่น่าใจ แต่ดาโต๊ะยุติธรรมได้ยกข้อกล่าวอ้างดังกล่าว เนื่องจากตามบทอัลหะดีษในอัลกุรอาน สินค้าจะต้องได้รับกลับคืนในรูปเดิม : “ทองรับทอง เงินรับเงิน ข้าวสาลีรับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์รับข้าวบาร์เลย์ อินทผลัมรับอินทผลัม เกลือรับเกลือ รับคืนในรูปเดิม เท่าเทียมกัน มือจับมือ……”

ประการสุดท้ายก็คือ มุสลิมไม่ต้องการข้อพิสูจน์ในการที่จะปฏิเสธเรื่องดอกเบี้ย :ไม่มีคำอธิบายใดของมนุษย์จะจำเป็นสำหรับการปฏับัติตามคำสั่งของพระเจ้า เนื่องจากมุสลิมรับทราบถึงข้อจำกัดในการให้เหตุผลของมนุษย์ ไม่มีมนุษย์คนใดสามารถหยั่งวัดคำสั่งศักดิ์สิทธิ์นั้นได้อย่างถ่องแท้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของความศรัทธา ข้อห้ามของอิสลามเกี่ยวกับดอกเบี้ยนั้น มิได้หมาความว่า เงินลงทุนจะไร้ผลในระบบของอิสลาม ทั้งนั้นศาสนาอิสลามเห็นว่า การลงทุนเป็นปัจจัยหนึ่งของการผลิต แต่ศาสนาอิสลามอนุญาตให้ปัจจัยนั้นมีสิทธิพิเศษในการทวีค่าการผลิตเป็นรูป ของดอกเบี้ย ในกรณีนี้ทำให้มีปัญหาว่าการใช้อะไรแทนกลไกการตั้ง อัตราดอกเบี้ยในโครงสร้างของอิสลาม จึงมีข้อเสนอแนะว่า การแบ่งปันผลกำไรสามารถเป็นตัวเลือกหนึ่งได้ในศาสนาอิสลามนั้นเจ้าของเงินลง ทุนสามารถแบ่งปันผลกำไรได้รับอนุญาตในศาสนาอิสลาม ในขณะที่ดอกเบี้ยจะไม่ได้รับอนุญาตซึ่งคำตอบก็คือ ในกรณีของการแบ่งปันผลกำไรนั้น เป็นการปันกำไรตามอัตราส่วน มิใช่การกำหนดอัตราผลตอบแทนเอาไว้ล่วงหน้า

มีข้อโต้แย้งกันว่า การแบ่งปันผลกำไรสามารถช่วยให้จัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอัตราส่วนการแบ่งปันผลกำไรจะไปตามกำลังตลาด โดยการลงทุนจะหมุนเวียนไปังส่วนเศรษฐกิจที่ให้การแบ่งปันผลกำไรสูงสุดต่อผู้ ลงทุน แต่ก็มีควรมคิดเห็นคัดค้านว่าการนำหลักการแบ่งปันผลกำไร เข้าแทนที่ด้วยดอกเบี้ยเพื่อเป็นกลไกจัดสรรทรัพยากรนั้นทำได้อย่างหยาบและ ไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามกระแสความคิดแบบอิสลามเกี่ยวกับเรื่องนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำ เป็นที่จะแทนที่ดอกเบี้ยด้วยสิ่งอื่น แม้ว่าจะยังไม่มีคามเห็นพ้องกันที่แน่ชัด เกี่ยวกับรูปแบบของทางเลือกแทนกลไกอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขและยังคงต้องค้นหาทางเลือกดังกล่าวอันอยู่ ต่อไป แต่อย่างไรก็ยังไม่เบี่ยงเบนไปจากความพยายาม ที่จะทดลองทำธนาคารอิสลามซึ่งปราศจากดอกเบี้ย

การศึกษาโครงสร้าง

ตาม ที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ศาสนาอิสลามิได้ปฏิเสธว่า การลงทุนซึ่งนับเป็นปัจจัยหนึ่งของการผลิตควรได้รับผลตอบแทน ศาสนาอิสลามอนุญาตให้เจ้าของเงินทุน มีส่วนในมูลค่าที่เพิ่มขึ้นซึ่งไม่แน่นอนได้ แต่ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอน เจ้าของเงินทุน (รุบบุ้ลมาล) สามารถ“ลงทุน” ได้โดยอนุญาตให้ผู้ประกอบการได้ใช้ความคิด และความเชี่ยวชาญในการใเงินทุนเพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์และสามารถ แบ่งปันผลกำไร (ถ้ามี) จากผู้ที่ให้ผู้ดำเนินกิจารที่เป็นผู้กู้ยืม มุฏอร่อบะฮฺ ในภาษาอิสลาม ได้ใช้มาตั้งแต่สมัยก่อนคัมภีร์อัลกุรอาน และได้รับความเห็นชอบจากพระศาสดาแล้ว

วิธีการทางการเงินในอิส ลามอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการเข้าร่วมลงทุน หรือเรียกว่ามุชาร่อกะฮฺ คือผู้เป็นหุ้นส่วนจะใช้เงินทุนร่วมกันเพื่อก่อเกิดผลกำไรขึ้น ผลกำไรหรือขาดทุนจะร่วมกันรับผิดชอบระหว่างหุ้นส่วนตามสูตร ที่ได้ตกลงกันไว้ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราส่วนทุนที่ลง

มุฏอร่อบะ ฮฺและมุชาร่อกะฮฺ เป็นเสาหลักของการธนาคารอิสลาม ทั้งนี้ หลักมุฏอร่อบะฮฺเน้นโครงสร้างเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันในธนาคารอิสลาม และมีลักษณะคล้ายคลึงกับแนวความคิดสมัยใหม่ เรื่องหุ้นส่วนและการเป็นเจ้าของหุ้นร่วมกัน ในกรณีที่มีผู้ฝากเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ธนาคารอิสลามจะปฏิบัติตัวเป็น mudaribซึ่งจะจัดการเงินทุนของผู้ฝากเงินเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามกฎของ มุฏอร่อบะฮฺ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หรือธนาคารอาจใช้เงินทุนของผู้ฝากบนพื้นฐานของมุฏอร่อบะฮฺ เป็นส่วนเพิ่มเติมนอกเหนือจากวิธีการบริหารเงินที่ถูกต้องอื่น ๆ หรืออีกนัยหนึ่ง ธนาคาจะจัดการตามระบบ มุฏอร่อบะฮฺแบบสองชั้น คือจะเป็นทั้งmudarlbในส่วนของการออม และเป็นทั้งrabbulmalในส่วนของการลงทุน และธนาคารยังสามารถทำสัญญามุชาร่อกะฮฺ กับผู้ใช้เงินทุน เพื่อแบ่งปันผลกำไรและขาดทุน ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น

ในด้าน การรับฝากเงิน ธนาคารอิสลามจะดำเนินการ3 บัญชีกว้าง ๆ ได้แก่ บัญชีกระแสรายวัน บัญชีออมทรัพย์ และบัญชีลงทุน ในกรณีบัญชีกระแสรายวันเป็นเช่นเดียวกับธนาคารทั่ว ๆ ไป คือจะไม่ให้ผลตอบแทนใด ๆ แก่ผู้ฝาก เนื่องจากเป็นเสมือนการรับฝากเพื่อความปลอดภัย (อัลวะดีอะฮฺ) ระหว่างผู้ฝากกับธนาคาร ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้ฝากถอนเงินเมื่อใดก็ได้ และอนุญาตให้ธนาคารใช้เงินของผู้ฝากได้ด้วย และเช่นเดียวกับธนาคารทั่วไป ธนาคารอิสลามจะออกสมุดเช็คให้ผู้ถือบัญชีกระแสรายวัน ซึ่งจะให้ความสะดวกในการจ่ายเงินอย่างกว้างขวาง เช่น มีระบบการเคลียร์เงิน ดราฟท์ธนาคาร ตั๋วแลกเงิน เช็คเดินทาง เป็นต้น (แต่ยังไม่รวมบัตรเครดิต หรือบัตรธนาคาร) ทั้งนี้จะไม่มีการคิดค่าบริการแต่อย่างใด

บัญชี ออมทรัพย์จะดำเนินการอยู่บนพื้นฐาน ของการเก็บรักษาเงินเพื่อความปลอดภัยเช่น แต่ธนาคารจะจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ฝากเงินตามช่วงเวลาขึ้นกับผลกำไรที่ได้รับ การจ่ายในลักษณะนี้ถือว่ากฎหมายในศาสนาอิสลาม เนื่องจากมิใช่เงื่อนไขที่ผู้ฝากเงินให้ธนาคารกู้ยืมเงิน และไม่ได้กำหนดขึ้นไว้ก่อนด้วย ผู้ถือบัญชีออมทรัพย์จะได้รับสมุดบัญชี และได้รับอนุญาตให้ถอนเงินเมื่อต้องการ

บัญชีลงทุนมีพื้นฐาน อยู่ตามกฎของมุฏอร่อบะฮฺ และเงินฝากจะไม่สามารถถอนออกก่อนถึงกำหนดให้อัตราการแบ่งปันผลกำไรจะแตกต่าง ไปแล้วแต่ธนาคาร และเวลาขึ้นกับเงื่อนไขอุปสงค์และอุปทาน ในทางทฤษฎีนั้นอัตราของผลตอบแทนอาจเป็นบวกหรือลบได้ แต่ในทางปฏิบัติ ผลตอบแทนจะเป็นบวกเสมอ และมักจะเทียบเคียงได้กับอัตราที่ธนาคารทั่วไปให้กับเงินฝากระยะเวลานั้น ๆ

ใน ส่วนของการลงทุนนั้น ธนาคารอิสลามจะใช้เครื่องมือหลายอย่าง ทั้งวิธีการแบบมุฏอร่อบะฮฺและมุชาร่อกะฮฺ ซึ่งกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นหลักที่ใช้หมุนเวียนเงินทุนของธนาคาร อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติธนาคารอิสลามมักจะเลือกใช้วิธีการอื่นซึ่งเสี่ยงน้อยกว่า ซึ่งวิธีการที่ใช้มากที่สุดคือวิธีการ “กำหนดราคาเพิ่ม” (Mark – Up) โดยธนาคารจะสนับสนุนเงินในการซื้อสินค้าหรือทรัพย์สิน โดยจะซื้อในนามของลูกค่าก่อนจะขายกลับให้ลูกค้าในราคาเพิ่มขึ้น (Cost-Plus Basis) การปรับราคาเพิ่มขึ้นนี้อาจดูเผิน ๆ เหมือนเป็นดอกเบี้ยที่คิดในธนาคารทั่วไป แต่สิ่งที่ทำให้มุรอฮะบะฮฺมีความถูกต้องตามทรรศนะของอิสลาม ก็คือ ธนาคารจะต้องซื้อทรัพย์นั้นก่อน ซึ่งจะต้องรับความเสี่ยงระหว่างการซื้อและการขายกลับไปให้ลูกค้าธนาคารต้อง รับผิดชอบสินค้าก่อนส่งให้ลูกค้าอย่างปลอดภัย บริการของธนาคารดังกล่าวนี้จึงแตกต่าง จากธนาคารทั่วไป ซึ่งมักจะให้ลูกค้ากู้ยืมเงินไปซื้อสินค้า

ธนาคารอิสลามมักจะ ซื้อ และขายกลับทรัพย์สินบนพื้นฐานการจ่ายชำระภายหลัง ซึ่งเรียกว่า bal’ muajjalซึ่งนักเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามคลองธรรม (ฟิกฮฺ) ในการคิดราคาสินค้าสูงขึ้นหากมีการจ่ายเงินคราวหลัง ซึ่งตามฟิกฮฺนั้นสิ่งนี้ มิใช่การคิดดอกเบี้ย เนื่องจากไม่ใช้การให้กู้ยืม แต่เป็นการทำการค้า การให้เช่า หรืออิญาเราะฮฺก็มักมีการใช้อยู่บ่อย ๆ ในธนาคารอิสลาม ด้วยวิธีการดังกล่าว ธนาคารจะซื้อ เครื่องมือหรือเครื่องจักร และให้ลูกค้าเช่าซึ่งอาจขอซื้อสินค้านั้นก็ได้ ในกรณีที่มีการจ่ายเป็นรายเดือน ค่าเช่า จะประกอบด้วยสององค์ประกอบ คือค่าเช่าเพื่อให้เครื่องมือ และการวางเงินตามราคาซื้อ

อีก วิธีคือการจ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อซื้อสินค้า ซึ่งเรียกว่าbal’ salamซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ในธนาคารอิสลามเพื่อสนับสนุนเงินในการผลิตสินค้า โดยจะจ่ายค่าสินค้ในเวลาทำสัญญา แต่การมองส่งสินค้าจะกระทำในภายหลัง วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าให้แก่ธนาคาร ในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งธนาคารอิสลามได้ขยายการดำเนินการด้านนี้ไปสู่ภาคการผลิตด้วย เพื่อให้เหมาะกับสภาพปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่า ธนาคารอิสลามมีการดำเนินการนอกเหนือจากกิจกรรมทั่วไปทางการเงินที่ะนาคา รทั่วไปกระทำธนาคารอิสลามจะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทางการเงินทั้งด้านทุน และการค้า ซึ่งเมื่อมองจากลักษณะพื้นฐานแล้วธนาคารอิสลามเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารโดยทั่วไป เนื่องจากการแบ่งปันความเสี่ยงเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินการทางการเงิน ของอิสลามทั้งหมด อ่างไรก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงนั้นธนาคารอิสลามได้กระจายการดำเนินการไปในหลาย ๆ ด้านและตั้งเงินทุนสำรองจากกำไรที่ได้มาเพื่อรอบรับในกรณีที่เกิดการขาดทุน มาก ๆ

ทฤษฎี

เป็นไปไม่ได้ ที่บทความนี้ครอบคลุมถึงสิ่งพิ่มพ์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับธนาคารอิสลาม เนื่องจากมีสิ่งตีพิมพ์มากมายทั้งในภาษาอาหรับและอุรดู่ ซึ่งมีความสำคัญในข้อโต้แย้งทางทฤษฎี ผู้เขียนในระยะแรก ๆ จะเหมือนกันเพียงคิดออกอย่างคร่าว ๆ มากกว่าการเสนอแนวคิดที่มีการตกผลึกมาแล้ว ตัวอย่างเช่น หนังสือที่เขียนกุรัยชี่ย์เรื่องอิสลามและทฤษฎี (กุรัยชี่ย์ 2489) จะมองดูธนาคารเป็นบริการทางสังคม ซึ่งควรได้รับการสนับสนุนจากรับาลเหมือนการบริการสาธารณสุขและการให้การ ศึกษา กุรัยชี่ย์ยังได้ใช้ความคิดที่ว่า ธนาคารไม่ควรจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ถือบัญชี และไม่ควรคิดดอกเบี้ยแก่เงินกู้ด้วย กุรัยชี่ย์ยังได้กล่าวถึงความเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างธนาคารและนักธุรกิจฐาน เป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง และร่วมกันรับผลการขาดทุนถ้ามี โดยไม่ได้กล่าวถึงการแบ่งปันกำไร

ในหนังสือบทที่ 7 ของหนังสือเศรษฐศาสตร์อิสลาม (Economics of lslam) ของอะหมัด (อะหมัด, 2495) ได้อธิบายถึงการก่อตั้งธนาคารอสลามบนพื้นฐานของบริษัทร่วมหุ้น ตามความคิดของอะหมัด นอกเหนือจากบัญชีกระแสรายวันแล้ว ยังมีบัญชีซึ่งประชาชนสามารถฝากเงินบนพื้นฐานของการหุ้นส่วนกันได้ ซึ่งผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลสูงกว่าผู้ถือสมุดบัญชีเงินฝากจากผลกำไรที่ ได้ เช่นเดียวกับกุรัยชี่ย์ อะหมัดได้กล่าวถึง การร่วมกันเป็นหุ้นส่วนกับนักธุรกิจซึ่งต้องการเงินทุนจากธนาคาร อย่างไรก็ตาม กฎการร่วมหุ้นังคงไม่มีการพูกถึงและยังไม่ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้รับผิดของ ความขาดทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เขายังแนะนำว่าธนาคารควรรับขึ้นเงินแก่ตั๋วเงินเพื่อการค้าโดยไม่คิด ดอกเบี้ย โดยใช้เงินทุนจากบัญชีกระแสรายวัน

กฎมุฏอร่อบะฮฺบน พื้นฐานกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮฺ) ได้รับการตอบรับจาก อุซัยร์ (2538) ซึ่งเสนอแนะว่ามุฏอร่อบะฮฺ เป็นเสมือนฐานหลักของธนาคารปลอดดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เข้าได้โต้แย้งว่า ธนาคารไม่ควรทำการลงทุนใด ๆ ด้วยเงินฝากของธนาคารเอง ซึ่งข้อโต้แย้งนี้ทำให้บทวิเคราะฮฺของเขาปฏิบัติตามได้ยาก อัล-อะร่อบีย์ (2539) เห็นว่า ระบบธนาคารมีมุฏอร่อบะฮฺเป็นเสมือนเสาหลัก เขาได้พัฒนาความคิดเกี่ยวกับระบบ มุฏอร่อบะฮฺ 2ชั้น ซึ่งให้ธนาคารสามารถใช้เงินออมทรัพย์บนพื้นฐาน มุฏอร่อบะฮฺและจัดสรรเงินทุนบนพื้นฐาน มุฏอร่อบะฮฺด้วย อีกนัยหนึ่ง คือ ธนาคารจะเป็นเสมือนมุฏอริบของผู้ฝากเงินในขณะที่กู้เงินจะเป็น มุฏอริบของธนาคาร ตามความคิดของเขา ธนาคารสามารถให้กู้ยืมไม่เพียงแต่ในเงินทุนที่มาจากเงินฝาก แต่รวมทั้งเงินทุที่มาจากผู้ถือหุ้นของตนด้วย นอกจากนี้เขายังเห็นว่าการแบ่งปันผลกำไร และการรับผิดชอบต่อผลขาดทุนต่าง ๆ จะต้องเป็นไปตามกฎหมายอิสลามโดยเคร่งครัด

อิรชาด (2507) ยังได้กล่าวถึงมุฏอร่อบะฮฺ ในฐานะที่เป็นพื้นฐานการธนาคารอิสลามด้วย แต่แนวความคิดเกี่ยวกับมุฏอร่อบะฮฺ นี้ ค่อนข้างแตกต่างจากของความคิดดั้งเดิมของ อิรชาดที่คิดถึงเงินทุนและแรงงาน (รวมทั้งเจ้าของกิจการ) ว่ามีส่วนเท่า ๆ กันในผลผลิต ดังนั้นจึงต้องแบ่งปันทั้งผลกำไรและขาดทุนเท่า ๆ กัน นั่นคือเจ้าของเงินทุนกับผู้ดำเนินการจะมีส่วนแบ่ง 50 – 50 ซึ่งจะขัดกับจุดยืนขอชะรีอะฮฺ โดยอิรชาด อธิบายว่าบัญชีเงินฝากธนาคารมี 2 ประเภท ประเภทแรกคล้างกับบัญชีกระแสรายวัน ในแง่ที่ว่าธนาคารจะจ่ายเมื่อทวงถาม แต่เงินที่ฝากไว้นี้ให้นำไปใช้ในโครงการสวัสดิการสังคมต่าง ๆ ไดเพราะผู้ฝากจะไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ บัญชีประเภทที่สองจะเป็นเงินฝากประจำ ให้ผู้ฝากมีหุ้นในผลกำไรเมื่อสิ้นปีตามสัดส่วนของจำนวนและระยะเวลาของการฝาก ทั้งนี้ อิรชาดได้เสนอแนะให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรอง ซึ่งจะช่วยแบกรับผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้ผู้ฝากไม่ต้องรับผิดชอบผล ขาดทุนนั้น อิรชาดเห็นว่า ผลขาดทุนสามารถได้รับการชดเชยจากกองทุนสำรองหรือแบกรับไวัโดยผู้ถือหุ้นของ ธนาคาร

ความพยายามครั้งแรกในการวางโครงสร้าง โดยละเอียดของธนาคารอิสลามเกิดขึ้นในหนังสือภาษาอุรดู่ (Urdu) โดยซิดดีกี่ย์เมื่อปี พ.ศ. 2511 (ภาคภาษาอังกฤษพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2526) ต้นแบบธนาคารอิสลามของ ซิดดีกี่ย์มีพื้นฐานอยู่บนมุฏอร่อบะฮฺ และชิรกะฮฺ (ความเป็นหุ้นส่วนหรือ มุชาร่อกะฮฺที่ปัจจุบันเรียกกันทั่วไป) ต้นแบบของเขามีพื้นฐานอยู่บนระบบ มุฏอร่อบะฮฺ 2 ชั้น ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบกิจการ-ผู้ปล่อยกู้ และได้บรรยายกลไกของการดำเนินกิจการดังกล่าวในรายละเอียดด้วย ตัวอย่างทั้งทางคณิตศาสตร์และสมมติฐานมากมาย ซิดดีกี่ย์ได้แยกแยะการดำเนินการของธนาคารอิสลามออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. การบริการที่คิดค่าธรรมเนียม ค่าคอมมิชชั่นหรือค่าบริการที่กำหนดแน่นอน
2. การเงินการคลังบนพื้นฐานของ มุฏอร่อบะฮฺและการเป็นหุ้นส่วนกัน และ
3. บริการที่ไม่คิดค่าบริการ

บทวิเคราะฮฺของซิดดีกี่ย์

ซิ ดดีกี่ย์สรุปว่า ธนาคารที่ปลอดดอกเบี้ยจะเป็นตัวเลือกให้กับธนาคารพาณิชย์ที่มีดอกเบี้ยทั่ว ไป นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง การให้กู้ยืมเพื่อการบริโภคที่ก่อเกิดปัญหา เนื่องจากไม่มีผลกำไรที่นำมาแบ่งปัน ซึ่งเขาได้กล่าวถึงปัญหานี้แต่ก็เพียงผิวเผิน และชี้ถึงความจำเป็นการของการให้กู้ยืมแบบปลอดดอกเบี้ย (qard hasan) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน โดยคิดว่าเป็นหน้าที่ของชุมชนและรัฐ (ผ่านกระทรวงการคลัง หรือบัยตุ้ลมาล) ในการสนองตอบความต้องการดังกล่าว เพราะวัตถุประสงค์หลักของธนาคารอิสลามก็เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องการผลกำไร ดังนั้น เขาจึงต้งอการที่จะลดบทบาทของธนาคารอิสลามในการให้กู้ยืมเพื่อการบริโภคลง โดยเสนอแนะให้ธนาคารดำเนินการให้เบิกเงินเกินบัญชี แบบจำกัดจำนวนโดยไม่มีดอกเบี้ยแทน เขายังได้พูดถึงการจัดเงินทุนส่วนหนึ่งไว้เพื่อให้กูยืม เพื่อการบริโภคด้วยโดยให้รัฐรับประกันการชำระคืน และยังได้เสนอแนะด้วยว่า ผู้บริโภคที่ซื้อสิ่งของด้วยสินเชื่อจะออก “ใบรับรองการขาย” (Certificates of Sale) ซึ่งผู้ขายสามารถนำไปขึ้นเงินได้ที่ธนาคาร ดังนั้นจึงเป็นผู้ขายไม่ใช่ผู้ซื้อ ที่มีพันธะผูกพันกับธนาคาร อย่างไรก็ตาม เขามิได้พูดถึงกฎ murababhและbai’ muajjal

ซิดดี กี่ย์ เห็นชอบกับการรักษาจำนวนผู้ถือหุ้นให้มีจำนวนน้อยที่สุดโดยไม่ให้เหตุผลใด ๆ ซึ่งตรงข้ามกับความคิดโดยทั่วไปที่ธนาคารอิสลามควรดำเนินการบนพื้นฐานของ บริษัทร่วมหุ้น ซึ่งความคิดนี้สอดคล้องกับค่านิยมทางอิสลาม ที่มีพื้นฐานอยู่ที่การกระจายความเป็นเจ้าของ ไม่ใช่การรวมศูนย์ความเป็นเจ้าของและความมั่งคั่งร่ำรวย ซิดดีกี่ย์คิดว่าธนาคารแบบปลอดดอกเบี้จะดำเนินไปได้เฉพาะในประเทศที่ ดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย และกิจกรรมใด ๆ ที่มีดอกเบี้ยต้องถูกประกาศให้เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย และต้องถูกลงโทษ (2526 : 13) เขายังคิดอีกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้กฎหมายอิสลามีผลบังคับใช้ ก่อนที่จะมีการดำเนินกิจการธนาคารปลอดดอกเบี้ย แต่ความคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากมีธนาคารอิสลามหลายแห่งที่ดำเนินการอย่างมีผลกำไร ทั้งที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยตามที่ Siddigiได้กล่าวไว้

ต้น แบบธนาคารของ Chapra (Chapra, 2525) ก็เช่นเดียวกับ ซิดดีกี่ย์คือ มีพื้นฐานอยู่บนกฎของมุฏอร่อบะฮฺอย่างไรก็ตาม ความคิดหลักของเขาอยู่ที่บทบาทของอุปสงค์เทียมจากการสร้างสินเชื่อ เขายังได้เสนอแนะว่า“ผลประโยชน์” ที่ได้จากอุปสงค์ดังกล่าวควรโอนไปที่กระทรวงการคลัง เพื่อความเท่าเทียมและยุติธรรม Chapraยังกังวลถึงการที่ธนาคารเอกชน จะเป็นศูนย์รวมอำนาจทางเศรษฐกิจในระบบที่มี พื้นฐานจากการให้กู้ยืมโดยร่วมทุน (Equity Financing) ดังนั้น เขาจึงอยากเห็นธนาคารขนาดกลางซึ่งไม่ใหญ่จนมีอำนาจมากเกินไป หรือไม่เล็กจนไม่มีผลทางเศรษฐกิจ ต้องแบบของChapraจึงมีข้อเสนอที่จะตั้งเงินทุนสำรองเพื่อชดเชยความเสียหาย และเครื่องมือในการประกันความเสียหาย เขายังได้กล่าวถึงสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารซึ่งเชี่ยวชาญในการนำนักการ เงิน และผู้ประกอบกิจการมาพบกัน แล้วปฏิบัติตนเป็นทรัสต์ด้านการลงทุน

มุ ห์ซิน (2525) ได้นำเสนอโครงสร้างอย่างละเอียดของธนาคารอิสลามสมัยใหม่ ซึ่งมีต้นแบบประกอบด้วย ลักษณะของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการพัฒนา ธนาคารเพื่อการค้า แล้วผสมผสานให้เป็นแบบใหม่ ต้นแบบนี้ได้เพิ่มบริการที่มิใช่ธนาคาร เช่น ธนาคารทรัสต์,ตัวแทนธุรกิจ, (Factoring) ,ธุรกิจพัฒนาที่ดินและบริษัทที่ปรึกษา เสมือกับว่าธนาคารปลอดดอกเบี้ยจะไม่สามารถอยู่ได้โดยธุรกิจธนาคารเพียงอย่าง เดียว กิจกรรมหลายอย่างที่กลาวถึงเป็นกิจกรรมที่นอกเหนือกิจกรรมของธนาคารพาณิชย์ และมีลักษณะเฉพาะและสลับซับซ้อนที่คิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศมุสลิม ส่วนใหญ่ในช่วงแรกของการพัฒนา ต้นแบบมุห์ซินถูกออกแบบให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมแบบทุนนิยม ซึ่งจริง ๆ แล้วมุห์ซินก็ได้เน้นว่าธนาคารปลอดดอกเบี้ยสามารถอยู่ร่วมกับธนาคารที่มีดอก เบี้ยได้

ธนาคารอิสลามมีอะไรมากกว่าเพียงการล้มเลิกระบบ ดอกเบี้ย Chapra (2528) ชี้ว่า ธนาคารอิสลามมีลักษณะพื้นฐาน รูปแบบ และการดำเนินการแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากธนาคารทั่วไป นอกจากไม่อนุญาตการคิดระบะ (ริบา) แล้วChapraยังเห็นว่า ธนาคารอิสลาม เนื่องจากเป็นผู้จัดการกองทุนสาธารณะควรจะรักษาผลประโยชน์สาธารณะมากกว่าของ บุคคลหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อีกนัยหนึ่งคือ ธนาคารควรคำนึงถึงบทบาทด้านประโยชน์สาธารณะมากกว่าบทบาทการทำกำไร เขาเห็นว่าธนาคารอิสลามซึ่งเป็นสิ่งผสมหลายแก่ลูกค้า ซึ่งต่างกับธนาคารทั่วไปที่การดำเนินการส่วนใหญ่อยู่กับ “การเรียกทรัพย์สินเป็นประกัน และไม่เข้าร่วมกับความเสี่ยงตาย” (หน้า155) แต่ธนาคารอิสลามต้องมีการประเมินค่าโครงการ โดยเฉพาะในการให้กู้ยืมแบบร่วมทุน และเนื่องจากการดำเนินการแบบแบ่งปันทั้งกำไรและขาดทุน ทำให้สัมพันธ์ระหว่างธนาคารและลูกค้าของธนาคารอิสลามเป็นไปอย่างใกล้ชิดและ ถ้อยทีถ้ออาศัยมากกว่าธนาคารทั่วไป ประการสุดท้ายธนาคารอิสลามจะมีการจัดการปัญหาเรื่องการขาดแคลนสภาพคล่อง และส่วนเกิดสภาพคล่องต่างออกไปเพราะต้องห้ามเรื่องดอกเบี้ย ทำให้ธนาคารไม่สามารถพึ่งแหล่งเงินจากตลาดเงินหรือธนาคารกลางได้ Chapraจึงแนะนำทางเลือกอื่นไว้ เช่น การช่วยเหลือต่างตอบแทนระหว่างธนาคารโดยไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย และการจัดตั้งกองทุนกลางที่ธนาคารกลางเพื่อดูดซับสภาพคล่องเกิน และช่วยปล่อยสภาพคล่องเมื่อเกิดขาดแคลนโดยไม่ต้องมีดอกเบี้ย

บทความบางชิ้นยังมีการพูดถึงการธนาคารกลางในกรอบศาสนาอิสลามด้วย ความเห็นทั่วไปมีว่า พื้นฐานการธนาคารกลางสมัยใหม่ มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่บ้างในระบบการเงินอิสลาม แม้ว่ากลไกอาจต้องต่างออกไป เช่น ไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือคุมอัตราระหว่างธนาคารได้ (ฺBank Rate Instrument) อุซัยร์ (2525) แนะนำให้ใช้อัตราการปันส่วนผลกำไรแทนดอกเบี้ยในการควบคุมอัตราธนาคาร โดยวิธีนี้ การปล่อยสินเชื่อจะยากขึ้น หากลดส่วนแบ่งที่นักธุรกิจจะได้ลง และง่ายขึ้นหากเพิ่มส่วนแบ่ง ซิดดีกี่ย์ (2525) แนะนำว่า “อัตราการปล่อยกู้ต่อ” (Refinance Ratio) (การที่ธนาคารกลางปล่อยกู้ให้กับเงินกู้ปราศจากดอกเบี้ย) ซึ่งธนาคารกลางสามารถปรับได้ตามสหถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในส่วนนี้ มีข้อเสนอของ Uzaur (2525) ว่าธนาคารกลางควรเข้ามีหุ้นในธาคารพาณิชย์โดยถือหุ้น สมมติว่า สักร้อยละ25 ของหุ้นทุนในธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารกลางมีช่องทางถึงแหล่งเงินได้ที่แน่นอน เพื่อสามารถดำรงตนเป็นผู้กู้รายสุดท้ายได้
อย่างไรก็ตาม ข้อถกเถียงเรื่องการธนาคารกลางในระบบอิสลามยังมีน้อย อาจเป็เพราะยังดูเป็นเรื่องไกลตัวเว้นแต่ในอิหร่านและปากีสถาน

สรุปจากสิ่งเหล่านี้ได้ว่า ธนาคารอิสลามมีลักษณะพิเศษ3 ลักษณะ คือ

1) ปราศจากดอกเบี้ย
2) เอนกประสงค์และไม่เป็นการค้าเต็มตัว
3) เป็นระบบชี้นำด้วยทุนอย่างมาก

บทความต่าง ๆ มักไม่วิจารณ์ถึงลักษณะการปราศจากดอกเบี้ย เนื่องจากเป็นที่ยอมรับของมุสลิมไปแล้ว หากแต่จะแสดงความวิตกเกี่ยวกับการขาดช่องทาง การดำเนินงานด้านการเงินที่ปราศจากดอกเบี้ย ซึ่งก็มีความเห็นทั่ว ๆ ไปขึ้นมาแล้วว่า ธนาคารอิสลามสามารถดำเนินได้อย่างดีแม้ไม่มีดอกเบี้ย จากการศึกษาของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยอิกบาลและMirakhor (2530) พบว่าธนาคารอิสลามเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้และจะส่งผลให้มีการจัดสรรทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งแนะนำว่าธนาคารในระบบอิสลาม จะมีความเสี่ยงในเรื่องการล้มละลาย และสภาพคล่องน้อยกว่าธนาคารทั่ว ๆ ไป

แม้ ธนาคารอิสลามจะมีลักษณะเอนกประสงค์ และมากไปกว่าการเป็นองค์กรของการค้า แต่ก็ไม่ได้เกิดปัญหามากนัก เพราะการที่ล้มเลิกระบบดอกเบี้ย ทำให้ธนาคารต้องหาช่องทางธรกิจอื่น นอกเนื่องจากกิจการธนาคารทั่วไป ซึ่งทำให้มีขอบเขตการทำงานกว้างขวาง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเป็นธนาคารเอนกประสงค์ ก็มีปัญหาอย่างมากในการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องทักษะของบุคลากรที่จะต้องจัดการในเรื่องที่หลาย หลาก และสลับซับซ้อน (อิกบาลและ Mirakhor 2530)

การที่ธนาคาร อิสลามเน้นกิจกรรมปล่อยกู้แบบร่วมทุน โดยเฉพาะกิจการมุฏอร่อบะฮฺ ได้ถูกวิจารณ์ว่าเพียงแต่เปลี่ยนการให้ดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เป็นกำไรที่ไม่แน่นอนนั้น ไม่ถือว่าทำให้กิจการดังกล่าวเป็นเรื่องถูกต้องทางศาสนาอิสลามได้ เพราะกำไรก็สามารถเป็นการฉวยโอกาสได้เท่า ๆ กับดอกเบี้ย หาก “มากเกินไป” (Naqui 2524) เขาชี้ด้วยว่า การเกิดขึ้นของมุฏอร่อบะฮฺไม่ได้สำคัญมากถึงขนาดจะโต้แย้งไม่ได้ โดยกล่าวว่ามุฏอร่อบะฮฺไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของกุรอาน หรืออัลหะดีษ แต่เป็นการปฏิบัติของพวกอาหรับยุคก่อนอิสลาม ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้ว มุฏอร่อบะฮฺมีไว้ให้คนแค่ ผู้หญิง และเด็ก ที่มีทุนสามารถเข้าร่วมทุนกับพ่อค้าเพื่อแบ่งผลกำไรได้โดยผลขาดทุนจะตกเป็น ของเจ้าของทุนทั้งสิ้น ดังนั้นไม่สามารถกล่าวว่า มุฏอร่อบะฮฺเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามศาสนาได้ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงยังคงเป็นว่าศาสดา ไม่เคยโต้แย้งมุฏอร่อบะฮฺ ดังนั้น อย่างน้อยมุฏอร่อบะฮฺก็ไม่ใช่เรื่องขัดกับอิสลาม

การ แบ่งกำไรในกิจการมุฏอร่อบะฮฺมีความยุ่งยากในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ร่วมให้ทุนหลายราย แต่ก็ไม่ได้ถึงกับจะแก้ไขอะไรไม่ได้ มีรายงานของคณะมนตรีอิสลามแห่งปากีสถาน (Pakistan’s Council of lslamic ldeologe) (CII 2526) ได้แนะนำว่า การร่วมลงทุนของแต่ละฝ่าย สามารถคิดคำนวณได้โดยนำจำนวนเงินที่ลงคูณด้วยจำนวนวันที่เงินแต่ะส่วน เช่น ทุนดำเนินงานของบริษัทเอง ส่วนเกินเงินสดหรือสินเชื่อผู้ขายส่งได้ถูกใช้ในกิจการบนพื้นฐานของผลผลิต รายวัน ในส่วนสำหรับผู้ฝากเงิน ตัวกำไร (สุทธิโดยหักค่าใช้จ่ายบริหาร ภาษีและทุนสำรองแล้ว) จะถูกแบ่งออกระหว่างผู้ถือหุ้นของธนาคาร และผู้ฝากเงิน บนพื้นฐานของผลผลิตรายวัน

การปฏิบัติ

ใน ระยะหลัง ๆ นี้มีการศึกษาเกี่ยวกับธนาคารอิสลามอย่างกว้างขวาง เริ่มด้วยคาน (2526) ซึ่งศึกษาระบบซูดาน สหรัฐอาหรับเอมิเรทส์ คูเวต จอร์แดน และอียิปต์ ว่ามีปัญหาไม่มากนัก ในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับชะรีอะฮฺ เขาชี้ถึงบัญชีลงทุนสองประเภท : หนึ่ง คือ บัญชีที่ผู้ฝากอนุญาตให้ธนาคารลงทุนในโครงการได้ อีกประเภทหนึ่งคือ บัญชีที่ผู้ฝากมีส่วนในการเลือกโครงการ ที่จะลงทุน ในส่วนของทรัพย์สินธนาคารสามารถใช้วิธี มุฏอร่อบะฮฺ มุชาร่อกะฮฺ และ มุรอฮะบะฮฺ การศึกษาของคานรายงานว่า อัตรากำไรมีตั้งแต่ร้อยละ 9 ถึงร้อยละ 20 ซึ่งสามารถแข่งขันกับธนาคารทั่วไปในประเทศนั้นได้ อัตราผลตอบแทนแก่ผู้ฝากเงินอยู่ระหว่างร้อยละ 8 ถึง 15 ซึ่งก็เทียบได้กับอัตราผลตอบแทนธนาคารทั่วไป
ผลการศึกษาชี้ว่า ธนาคารอิสลามมักเลือกปล่อยกู้ทางการค้า และลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และมักเลือกลงทุนที่มีผลตอบแทนเร็ว ซึ่งสามารถเข้าใจได้ว่า เพราะสถาบันตั้งใหม่เหล่านี้ต้องการให้ผลการดำเนินงานเป็นบวก แม้ในตอนต้นของการเริ่มดำเนินธุรกิจ Nienhaaus (2531) เห็นว่าความสามารถในการทำกำไรของธนาคารอิสลาม โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง ในระยะหลังมานี้ ส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของมูลค่าทรัพย์สิน (อสังหาริมทรัพย์) อย่างมาก ซึ่งดูได้จากกรณีที่ธนาคารเกิดผลขาดทุนใหญ่ เนื่องมาจากเกิดการตกต่ำของภาคอสังหาริมทรัพย์

การศึกษาของIMF โดยอิกบาล และ mirakhor (2530) มีการตั้งข้อสังเกตในหลาย ๆ ด้านที่น่าสนใจ โดยส่วนใหญ่จะจำกัดอยู่ในประสบการณ์ธนาคารอิสลามในอิหร่าน และปากีสถาน ซึ่งทั้งสองประเทศต่างก็พยายามที่จะทำให้ระบบธนาคารทั้งหมดเป็นระบบอิสลาม

อิหร่าน เปลี่ยนเป็นธนาคารอิสลามในเดือนสิงหาคม 2526 โดยมีระยะเปลี่ยนแปลงสามปี โดยระบบของอิหร่าน อนุญาตให้ธนาคารรับฝากบัญชีกระแสรายวันและออมทรัพย์ โดยไม่ต้องจ่ายผลตอบแทนแต่ให้มีรางวัลต่างๆ หรือโบนัสในรูปของเงินหรือสิ่งใกล้เคียงเป็นสิ่งจูงใจ ส่วนการฝากประจำ (ทั้งระยะยาวและสั้น) ให้มีอัตราผลตอบแทนคำนวนบนพื้นฐานกำไรของธนาคารและตามวาระครบกำหนด แต่ยังไม่ได้มีการศึกษาในปัญหาที่ว่า ดอกเบี้ยหรือการแบ่งปันกำไร จะจูงใจผู้ฝากเงินมากกว่ากัน ในการดึงดูดการออมเงินในภาคเอกชน

อิก บาล และ Mirakhor ชี้ว่า การเปลี่ยนเป็นระบบธนาคารอิสลาม ในด้านทรัพย์สิน ดำเนินไปช้ากว่าในด้านเงินฝาก ระบบอิสลามในอิหร่าน สามารถใช้ทรัพยากรของระบบได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของระบบได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของ ระบบเพื่อปล่อยสินเชื่อให้ภาคเอกชน ซึ่งโดยมากเป็นสินเชื่อระยะสั้น คือ การดำเนินธุรกิจการค้าการพาณิชย์ เขาชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพย์สินที่เกิดช้ากว่า มาจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะในการปล่อยสินเชื่อระยะยาว อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าประสิทธิภาพของนโยบายการเงินในอิหร่าน เปลี่ยนแปลงไปจากการเปลี่ยนเป็นระบบอิสลามครั้งนี้

ในปากีสถาน เริ่มเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนเป็นระบบอิสลามตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 โดยในระยะแรกสิ้นสุดในวันที่ 1 มกราคม 2528 ซึ่งให้ธนาคารในประเทศดำเนินการทั้ง 2 อย่าง โดยเปิดหน้าต่างไร้ดอกเบี้ย และมีดอกเบี้ยควบคู่กัน ในระยะเปลี่ยนแปลงที่สอง ระบบธนาคารถูกปรับปรุงให้ดำเนินกิจการทั้งหมดในพื้นฐานที่ปราศจากดอกเบี้ย จะยกเว้นก็แต่เงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เงินกู้ต่างประเทศและหนี้รัฐบาลปากีสถานพยายามให้ระบบการปล่อยสินเชื่อไม่ กระทบกระเทือน การดำเนินการและโครงสร้างพื้นฐานของระบบธนาคาร ซึ่งเมื่อรวมกับการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปแล้ว ก็ทำให้ธนาคารในปากีสถานสามารถปรับเข้ากับระบบใหม่ได้ง่ายขึ้น อัตราผลตอบแทนในบัญชีปันส่วนผลกำไรขาดทุน ไม่เพียงแต่โดยทั่วไปแล้วจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนเปลี่ยนเป็นอิสลามเท่า นั้น แต่ก็ยังแตกต่างหลากหลายระหว่างแต่ละธนาคารด้วย ซึ่งแสดงถึงระดับการแข่งขันในอุตสาหกรรมธนาคาร อิกบาลและ Mirakhor กล่าวด้วยว่าระบบการแบ่งปันผลกำไร และการปล่อยสินเชื่อแบบใหม่ ให้ความยืดหยุ่นแก่ธนาคารและลูกค้ามาก ซึ่งสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพในนโยบายการเงินของปากีสถาน ไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการเปลี่ยนแปลงนี้

อย่างไรก็ตาม การศึกษาของ IMF ชี้ว่า ยังมีปัญหาในเรื่องที่ทรัพย์สินของธนาคาร กระจุกตัวในการปล่อยสินเชื่อการค้าระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ซึ่งไม่เป็นผลดี เพราะจะขัดกับวัตถุประสงค์ของระบบใหม่ และการกระจุกตัวกับทรัพย์สินเพียงบางประเภทจะเพิ่มความเสี่ยง และอาจทำให้การลงทุนในทรัพย์สิน เกิดความไม่มั่นคงได้ การศึกษายังพบว่ามีความยุ่งยากในทั้งอิหร่านและปากีสถาน ในการใช้สินเชื่อแก่การจัดทำงบประมาณขาดดุล (financing budget deficits) ภายใต้ระบบไร้ดอกเบี้ย ซึ่งมีความจำเป็นต้องค้นหาช่องทางการเงิน แบบไร้ดอกเบี้ยที่เหมาะสมอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ดี อิหร่านได้ออกกฎหมายว่า การกู้ยืมของรัฐในอัตราผลตอบแทนคงที่ จะระบบธนาคารของรัฐไม่ถือเป็นดอกเบี้ย จึงสามารถทำได้ ซึ่งเหตุผลก็คือเนื่องจากธนาคารทั้งหมดเป็นของรัฐ อัตราดอกเบี้ยและการชำระดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร จึงหักลบกันไปในบัญชีร่วม (นี่เป็นตัวอย่างจากธุรกิจของธนาคารที่ทำกับลูกค้า ที่มิใช่ธนาคาร)

มี การศึกษาธนาคารอิสลามในบังคลาเทศ (Hup) อียิปต์ (มุฮัมมัด 2529) มาเลเซีย (ฮาติม 2531) ปากีสถาน (คาน 2529) และซูดาน (ซะลามะฮฺ 2531b) บัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ในทุกกรณี ดำเนินอยู่ในหลักการของอัลวะดีอะฮฺ (ฝากเพื่อความปลอดภัย) โดยมี “ของขวัญ” ให้กับผู้ฝากบ้าง ตามดุลยพินิจของธนาคาร เพื่อเป็นการแบ่งปันกำไร บัญชีเงินฝากลงทุนอยู่บนพื้นฐานของ มุฏอร่อบะฮฺ แต่มีความหลากหลายพอสมควร ตัวอย่างเช่น ธนาคารอิสลามในบังคลาเทศมีบริการบัญชีเงินฝากแบ่งปันกำไร (PLS Deposit Accounts) บัญชีเงินฝากแบ่งปันกำไรแจ้งล่วงหน้า (PLS Special Native Deposit Account) และบัญชีเงินฝากประจำแบ่งกำไร (PLS Term Deposit Accounts) ขณะที่ในมาเลเซียมีบัญชีลงทุน 2 ประเภท คือ แบบสาธารณชนทั่วไปกับแบบลูกค้าสถาบัน

อัตราการแบ่งปันกำไร และเงื่อนไขการจ่ายคืนต่างกันไปในแต่ละที่แต่ละเวลา เช่น กำไรจะกาศทุก ๆ เดือนในมาเลเซีย ทุกไตรมาศในอียิปต์ ทุกครึ่งปีในบังคลาเทศและปากีสถาน และเป็นรายปีในซูดานลักษณะเด่นชัดที่เหมือนกันหมดคือ บัญชีลงทุนมักเป็นแบบระยะสั้น ซึ่งแสดงถึงความชอบของผู้ฝากเงินที่ต้องการมีทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงสุด เท่าที่จะเป็นได้ แม้ในมาเลเซียที่มีบัญชีลงทุนในสัดส่วนสูงสุดเกือบทั้งหมดก็ยังอยู่ในระยะ เวลาต่ำกว่าสองปี ขณะที่ในซูดาน บัญชีเกือบทั้งหมด ประกอบด้วยบัญชีออมทรัพย์และกระแสรายวัน ซึ่งเป็นเพราะองค์กรการเงินของซูดาน ได้กำหนดเพดานในบัญชีลงทุนไว้ เนื่องจากโอกาสการลงทุนที่มีจำกัด ในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ

นอก จากนี้ รูปแบบการใช้ทรัพยากรในธนาคารอิสลาม ก็มีความหลากหลายใน ซูดาน รูปแบบการลงทุนแบบ มุชาร่อกะฮฺ มีความสำคัญกว่ามุรอฮะบะฮฺมาก ขณะที่ในมาเลเซียกลับตรงกันข้าม แต่โดยเฉลี่ยแล้ว มุรอฮะบะฮฺ baimuajjal และ อิญาเราะฮฺ จะเป็นช่องทางการให้สินเชื่อที่ใช้กันทั่วไปกว่า มุชาร่อกะฮฺ ซึ่งกรณีศึกษาบ่งชี้ว่าโครงสร้างลูกค้าส่วนใหญ่ จะประกอบด้วยคนในกลุ่มร่ำรวยของสังคม ซึ่งก็ไม่เป็นที่สงสัย เพราะธนาคารมักจะตั้งอยู่ในใจกลางเมือง โดยมีสาขาเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป
ปัญหา หลักสองปัญหา ที่พบจากกรณีศึกษาคือ การขาดช่องทางการดำเนินทางการเงิน และตลาดทุนสำหรับระบบไร้ดอกเบี้ยที่เหมาะสม และอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้ที่มีอยู่สูง ซึ่งปัญหาแรกได้รับการแก้ไขบางส่วน โดยให้ธนาคารอิสลามใช้ระบบจัดการ ระหว่างธนาคารร่วมกัน และได้รับการช่วยเหลือจากธนาคารกลาง อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ตัวอย่างเช่น ธนาคารอิสลามมาเลเซีย ได้ฝากสภาพคล่องส่วนเกินไว้กับธนาคารกลางซึ่งจะใช้ดุลยพินิจที่จะให้ตอบแทน กลับคืนบ้าง ส่วนปัญหาไม่ชำระหนี้นั้นเป็นปัญหาใหญ่ บ่อยครั้งที่การชำระคืนตาม มุรอฮะบะฮฺ จะมีปัญหาเพราะไม่มีการลงโทษ เมื่อชำระคืนล่าช้า ซึ่งต่างกับดอกเบี้ยที่การชำระคืนช้าจะหมายถึงต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นโดย อัตโนมัติ เพื่อแก้ปัญหานี้ธนาคารปากีสถานจึงใช้ระบบ “คิดหักออก” (mark – down) ซึ่งตรงกับ (mark – up –ผลกำไรที่คิดโดยคำนวณกำไรรวมเข้ากับต้นทุน ซึ่งเป็นวิธีในการดำเนินกิจการ มุรอฮะบะฮฺ ) วิธี “คิดหักออก” จะให้ส่วนลดเป็นเครื่องจูงใจแก่การชำระเงินคืนก่อนกำหนดแต่ยังมีปัญหาว่าการ ใช้วิธีนี้ถูกต้องตามชาริอะฮฺหรือไม่ เพราะเป็นการติดตามเวลาซึ่งเหมือนการพยายามคิดดอกเบี้ยในส่วนของเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ มีการศึกษาเกี่ยวกับธนาคารอิสลามมาเลเซียโดย Man (2531) และของธนาคารอะมานะฮฺ ฟิลิปปินส์ โดย Mastura (2531) Man ชี้ว่า อัตราผลตอบแทนแก่ผู้ฝากเงินเฉลี่ยแล้วสามารถเทียบได้กับธนาคารทั่ว ๆ ไปภายในปี 2529 หลังเริ่มดำเนินงานได้ 3 ปี ธนาคารมีทั้งหมดสิบสี่สาขาโดยร้อยละ 90 ของเงินฝาก มีกำหนดสองปีหรือต่ำกว่า และมีบัญชีฝากของคนที่ไม่ใช่มุสลิมเพียงร้อยละ 2 ของทั้งหมด Man วิจารณ์ว่า การดำเนินการแบบmadaraba และ มุชาร่อกะฮฺ ซึ่งถือว่าสำคัญในสายตาของนักวิชาการทั่วไป จริง ๆ แล้ว ถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อยของการลงทุนของธนาคารทั้งหมด ขณะที่ Bai’ muajjal และ อิญาเราะฮฺ กลับเป็นส่วนที่สำคัญ

การวิเคราะฮฺโดย mastura ชี้ว่า ธนาคารอมานะฮฺ ฟิลิปปินส์ (PAB) ตามจริงแล้วมิใช่ธนาคารอิสลามเพราะกิจการมีดอกเบี้ยก็ยังคงอยู่ควบคู่กันไป กับกิจการอิสลาม ซึ่งดำเนินการทั้งแบบดอกเบี้ยและเปิด “หน้าต่าง” อิสลามสำหรับเงินฝาก mustura แสดงหลักฐานว่า ธนาคารPAB เน้นหนักการดำเนินการ มุรอฮะบะฮฺ โดยละเลย มุฏอร่อบะฮฺ และ มุชาร่อกะฮฺ PAB ยังใช้วิธีที่ไม่ถูกต้องนักในการจัดการสภาพคล่องที่เหลือ โดยใช้พันธบัตรกระทรวงการคลัง ที่มีดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามPAB ใช้ใน kilusang Kabuhayan และ kaunlaran (KKK) และอ้างถึงการดำเนินการ อิญาเราะฮฺ เพื่อจัดหาวัตถุดิบและเครื่องจักการเกษตรในโครงการผลิตอาหาร Quedon ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลปัจจุบัน

จนบัดนี้ ยังไม่มีการกล่าวถึงอินโดนีเชีย ประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีมุสลิมกว่าร้อยละ 90 ของประชากร 165 ล้านคน เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในจาวา เป็นมุสลิมในนาม เพราะอินโดนีเซียนับถือลัทธิ Pancasila ซึ่งมีลักษณะที่ไม่เคร่งกับศาสนา รัฐบาลปัจจุบันก็ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของระบบธนาคารอิสลามนัก นอกจากนั้น วัฒนธรรมในอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียงหลายท่านรวมทั้ง Hatta (อดีตรองประธานาธิบดี) ตั้งข้อสังเกตว่าริบะที่เป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม ไม่ใช่สิ่งเดียวกับดอกเบี้ยที่คิดในระบบธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าผู้บังคับกฎอิสลามในอินโดนีเซีย จะมีความเห็นตรงกันข้ามก็ตาม ซึ่งสาธารณาชนมุสลิมก็ดูจะวางเฉยกับเรื่องนี้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีสถาบันการเงินไร้ดอกเบี้ยในอินโดนีเซีย การกู้ยืมปราศจากดอกเบี้ยแบบดั้งเดิม ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ชนบทรู้จักกันในนาม ijon (เขียว) เนื่องจากมีการประกันเงินกู้ด้วยพืชที่ปลูกตามที่ Partadireja (2517) ได้อธิบายไว้อีกประเภทคือ ระบบarisanที่ใช้กันในกลุ่มผู้บริโภค กลุ่มพ่อค้าและช่างฝีมือรายย่อย โดยที่สมาชิกจะสมทบเงินจำนวนหนึ่งเป็นประจำ และได้รับเงินกู้ปราศจากดอกเบี้ยจากเงินส่วนกลางนั้นโดยการจับฉลาก จึงสรุปได้ว่าโอกาสที่จะเกิดธนาคารอิสลามในอินโดนีเซียยังห่างไกล (Rahardjo 2531)

สิ่งตีพิมพ์เกี่ยวกับธนาคารอิสลามล่าสุดเป็น ของ Nieuhaus (2531) สรุปว่า ธนาคารอิสลาม เป็นสิ่งที่ทำได้ในเศรษฐกิจระดับจุลภาค แต่ปฏิเสธข้ออ้างว่า ธนาคารอิสลามเป็นระบบที่เหนือกว่า เพราะเห็นว่ายังมีความล้มเหลวในบางจุด จากตัวอย่างเช่น สถาบันการเงินคูเวต เสียมากจากการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างในคูเวต ในปี 2527 และธนาคารอิสลามนานาชาติแห่งเดนมาร์ค ที่ขาดทุนย่อยยับในปี2528 และ2529ถึงกว่าร้อยละ 30ของทุนเรียกชำระแล้ว แต่Nienhousก็ชี้แจงว่าปัญหาที่ยกขึ้นนี้ เป็นปัญหาภายในที่แต่ละธนาคารมีอยู่เป็นการเฉพาะ ซึ่งคงไม่เหมาะที่จะหาข้อสรุปทั่วไปจากกรณีเฉพาะนี้ได้

Nienhaus ตั้งข้อสังเกตต่อว่า อัตราการเติบโตที่สูงในระยะแรกก็เริ่มลดลง แต่ก็ไม่หมายความว่าธนาคารอิสลามจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว แต่การเติบโตที่ลดลง น่าจะมาจากมูลค่าของฐานที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งดูจากผลการเติบโตโดยเปรียบเทียบแล้ว ธนาคารอิสลามก็ยังทำได้ดีในเกือบทุกกรณี ส่นแบ่งการตลาดก็เพิ่มขึ้นตามระยะเวลา แม้การเติบโตของเงินฝากจะเพิ่มในอัตราที่ลดลงก็ตาม เว้นแต่กรณีของธนาคารอิสลามไฟซ่อลแห่งซูดาน (FIBS) ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดลดลงจากร้อยละ 15 ในปี 2525 เหลือเพียงร้อยละ 7 ในปี 2529 แต่มูลค่าการตลาดที่เสียไปมิใช่ให้กับธนาคารทั่วไป แต่ให้กับธนาคารอิสลามที่ตั้งใหม่ในซูดาน
การปล่อยกู้การ ค้าระยะสั้น เป็นช่องทางที่ธนาคารอิสลามส่วนใหญ่เลือกทำ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเล็กหรือใหญ่ ซึ่งตรงข้ามกับการคาดการณ์ไว้ว่าธนาคารอิสลาม จะดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่ในการปล่อยกู้ แก่บริษัทบนพื้นฐานการเข้าร่วมลงทุน Nienhausกล่าวถึงสาเหตุว่า เป็นเพราะธนาคารมีเงินไม่มากพอและความต้องการเงินกู้ที่มีน้อยกว่า เพราะเจ้าของกิจการอาจชอบต้นทุนที่กำหนดเป็นดอกเบี้ยมากกว่าการปันผลกำไรกับ ธนาคาร

บทสรุป

ข้ออภิปราย ข้างต้น ทำให้เห็นชัดว่า ธนาคารอิสลาม ไม่ใช่สิ่งที่จะมองข้ามได้ หรือเป็นเพียง ปรากฎการณ์ชั่วคราว แต่เป็นสิ่งที่จะคงอยู่ และมีแนวโน้มว่ากำลังเติบโตและขยายออกไป แม้ผู้ที่ไม่ได้เชื่อถือในหลักการของอิสลาม ที่ต่อต้านการคิดดอกเบี้ย ก็อาจเห็นว่าแนวคิดใหม่ ๆ ของธนาคารอิสลามสามารถเพิ่มช่องทางความหลากหลายให้กับเครือข่ายการเงินที่มี อยู่ได้
จุดขายใหญ่ของธนาคารอิสลามอย่างน้อยก็ในทฤษฎี คือ ธนาคารจะคำนึงถึงความเป็นไปได้ และความสามารถในการทำกำไรของโครงการ หรือการดำเนินธุรกิจมากกว่าขนาด ซึ่งไม่เหมือนกับธนาคารทั่ว ๆ ไป โครงการที่ดี อาจไม่ได้รับการปล่อยกู้จากธนาคารทั่วไป แต่อาจได้รับจากธนาคารอิสลาม ที่ใช้พื้นฐานการปันผลกำไร ในแง่นี้ธนาคารอิสลามจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ แน่นอนว่าในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ มีธนาคารเพื่อการพัฒนาทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ธนาคารอิสลามจะมีลักษณะเป็นธุริจมากกว่าธนาคารเพื่อการพัฒนา อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว ธนาคารมักจะสนใจการปล่อยกู้ระยะสั้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำสุด ซึ่งอธิบายได้ว่า เพราะการปล่อยกู้ระยะยาวต้องการความเชี่ยวชาญสูง ซึ่งไม่ได้มีเสนอไป และการขาอโครงสร้างทางสถาบันที่มารองรับเช่น ตลาดทุนสำหรับตราสารการเงินอิสลาม หรืออาจเป็นได้ว่า แนวโน้มปล่อยกู้ระยะสั้น อาจมาจากที่ธนาคารอิสลามเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มดำเนินงาน ซึ่งเงินกู้ระยะสั้นจะบริหารง่ายกว่า และมีผลตอบแทนเร็วกว่า โดยธนาคารอาจเริ่มปล่อยกู้แบบร่วมทุนมากขึ้น เมื่อธนาคารเติบโตขึ้น

มี บางคนกล่าวว่าธนาคารอิสลามดูเหมือนจะไม่กระตือรือร้นนัก และมักจะทำตัวเหมือนว่าเป็นครอบตลาดของคนมุสลิม ซึ่งอย่างไรก็ต้องมาหาธนาคารอิสลามตามพื้นฐานศาสนา ซึ่งจะเห็นได้ชัดขึ้นอีกในประเทศที่มีธนาคารอิสลามเพียงธนาคารเดียว อิสลามิกชนหลายคนเห็นว่า การติดต่อกับธนาคารทั่วไปมีความสะดวกกว่า และไม่ได้รู้สึกผิดอย่างไร ที่จะเลือกฝากเงินกับธนาคารทั่วไป หรือธนาคารอิสลามก็ได้ ตามแต่ที่ใดให้ผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งเป็นกรณีที่ชี้ได้ว่า ธนาคารอิสลามในประเทศเหล่านี้ก็มีความจำเป็นต้องปรับตัว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตน อีกทางแก้หนึ่งก็คือ การอนุญาตให้ธนาคารทั่วไปดำเนินการให้กู้แบบร่วมทุน หรือการเปิด “หน้าต่าง” หรือ “ช่องบริการ” อิสลามขึ้น โดยต้องขึค้นอยู่กับกฎชะรีอะฮฺอย่างเคร่งครัด บางทีมันอาจเป็นข้อเสนอที่ไม่เกินเลยไปนัก ที่จะแนะนำว่า สถาบันการเงินอิสลาม จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิให้มีธนาคารมุฏอร่อบะฮฺ ธนาคารมุรอฮะบะฮฺ และธนาคารมุชาร่อกะฮฺ มีการแข่งขันซึ่งกันและกันเพื่อให้บริการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้