วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

สารพันปัญหาว่าด้วยการเงินการธนาคาร(Banking and Financial)

สารพันปัญหาว่าด้วยการเงินการธนาคาร
ถาม ไม่เป็นการผิดหรือที่พ่อค้าจะขายสินค้าด้วยเงินสดราคาหนึ่งและเงินผ่อนอีกราคาหนึ่ง กฎหมายอิสลามมีข้อกำหนดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ?
ตอบ มติเอกฉันท์ของนักวิชาการอิสลามถือว่าการขายโดยการผ่อนชำระเป็นที่อนุญาตตาม หลักกฎหมายอิสลามถึงแม้ว่าราคาขายแบบผ่อนชำระจะสูงกว่าราคาขายสด

และเรื่องนี้ได้ผ่านมติรับรองโดยที่ประชุมวิชาการนิติศาสตร์อิสลามที่มีขึ้นที่เมืองญิดด๊ะฮฺระหว่างวันที่ 17-23 เดือนชะอ์บาน ฮ.ศ.1410 หรือตรงกับวันที่ 14-20 มีนาคม ค.ศ.1990 มติเกี่ยวกับเรื่องนี้มีดังนี้

ประการแรก
อนุญาตให้กำหนดราคาเพิ่มสำหรับสินค้าที่ขายแบบผ่อนชำระ นอกจากนี้แล้วก็ยังอนุญาตให้บอกราคาที่แตกต่างกันสำหรับการขายเงินสดและการ ขายแบบผ่อนชำระถึงแม้ว่าราคาผ่อนชำระจะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็ตาม

แต่การขายไม่สามารถเกิดขึ้นได้จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงเรื่องวิธีการจ่าย เงินและระบุว่าจะจ่ายเป็นเงินสดหรือผ่อนชำระ ดังนั้น ถ้าหากการขายเกิดขึ้นโดยไม่ได้ระบุวิธีการจ่ายให้ชัดเจนและปล่อยให้เกิดความ ไม่แน่ใจว่าผู้ซื้อจะจ่ายเป็นเงินสดหรือผ่อนชำระเป็นงวด การขายนั้นก็ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลาม

ประการที่สอง
ตามหลักกฎหมายอิสลาม ในการขายแบบผ่อนชำระ ไม่อนุญาตให้ระบุราคาขายสดและราคาผ่อนชำระไว้ในสัญญา

ประการที่สาม
ถ้าผู้ซื้อ/ลูกหนี้ล่าช้าในการผ่อนชำระหลังจากวันที่ได้กำหนดไว้แล้ว ไม่อนุญาตให้คิดเงินเพิ่มนอกเหนือไปจากหนี้ที่ค้างชำระอยู่ไม่ว่าจะกำหนด เป็นเงื่อนไขล่วงหน้าไว้ในสัญญาหรือเรียกร้องโดยไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วง หน้า เพราะนี่คือริบาซึ่งเป็นที่ต้องห้าม

ประการที่สี่
เป็นที่ต้องห้ามสำหรับลูกหนี้ที่ไม่มีภาระหนี้สินจะล่าช้าในการจ่ายค่างวดเมื่อถึงเวลากำหนด อย่างไรก็ตาม หลักนิติศาสตร์อิสลามก็ไม่อนุญาตให้กำหนดค่าชดใช้เมื่อมีการจ่ายล่าช้า

ประการที่ห้า
ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม อนุญาตให้ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขในการขายผ่อนชำระว่าหากลูกหนี้หรือผู้ซื้อจ่าย เงินบางงวดล่าช้า เงินค่างวดที่ยังค้างอยู่จะต้องจ่ายทันทีก่อนวันที่ได้ตกลงกันไว้ เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขที่ใช้ได้ถ้าผู้ซื้อหรือลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในตอนตกลง ซื้อขาย

ประการที่หก
ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปถือกรรมสิทธิ์(ในสินค้าที่ถูกขายไป)หลังจากที่ การขายได้เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ขายได้รับอนุญาตให้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ซื้อจะต้องจำนองสินค้าไว้กับผู้ ขายเพื่อที่จะเป็นหลักประกันสิทธิของตนในการที่จะได้รับชำระค่างวด นอกจากนั้นแล้ว มติของที่ประชุมทางวิชาการนิติศาสตร์อิสลามที่จัดขึ้นที่เมืองญิดด๊ะ ฮฺระหว่างวันที่ 7-12 เดือนซุลเกาะอ๊ะฮฺ ฮ.ศ.1412 ตรงกับวันที่ 9-14 พฤษภาคม ค.ศ.1992 ก็กล่าวว่า
1. การขายโดยวิธีการผ่อนชำระเป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลามถึงแม้ราคาผ่อนส่งจะสูงกว่าราคาขายสด
2. เอกสารทางการค้า เช่น เช็ค หนังสือมอบอำนาจ ใบถอนเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน เป็นรูปแบบของการยืนยันการเป็นหนี้สินที่ถูกต้อง
3. การซื้อลดเอกสารทางการค้าไม่เป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมายอิสลามเพราะมันเท่า กับการทำธุรกรรมเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยอันนาซิอ๊ะฮฺ (ดอกเบี้ยที่เกิดจากการจ่ายล่าช้า) ซึ่งเป็นที่ต้องห้ามอย่างชัดเจน
4. การลดหนี้ผ่อนชำระเพื่อเร่งให้จ่ายเงินคืนเร็วขึ้น (จ่ายน้อยแต่จ่ายก่อนเวลา) ไม่ว่าจะเป็นการร้องขอของเจ้าหนี้หรือของลูกหนี้เป็นที่อนุญาตตามหลักกฎหมาย อิสลาม วิธีการนี้ไม่ตกอยู่ในข่ายของดอกเบี้ยที่เป็นสิ่งต้องห้าม ถ้าหากว่าไม่ได้มีการตกลงล่วงหน้ากันไว้ก่อนและตราบใดที่เป็นเรื่องความ สัมพันธ์สองฝ่ายระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ถ้าหากมีฝ่ายที่สามขึ้นมา การลดหนี้ไม่เป็นที่อนุญาตเพราะหากเป็นเช่นนั้นกฎระเบียบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็จะเหมือนกับการซื้อลดเอกสารทางการค้า
5. อนุญาตให้สองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินตกลงกันว่าเงินผ่อนชำระทั้งหมดจะ ต้องจ่ายเมื่อครบกำหนดเวลาถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายค่าผ่อนชำระงวดหนึ่งงวดใด ที่เขายังเป็นหนี้อยู่ตราบใดที่เขาไม่ได้เป็นบุคคลล้มละลาย
6. ถ้าหากถึงเวลากำหนดแล้ว ลูกหนี้เสียชีวิต ล้มละลายหรือผัดหนี้ จะต้องมีการลดหนี้เพื่อเร่งให้มีการจ่ายคืนโดยการยินยอมร่วมกัน
7. เกณฑ์ตัดสินการล้มละลายที่จะนำมาใช้ก็คือลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดเกินกว่า ความจำเป็นขั้นพื้นฐานซึ่งคนเหล่านี้จะต้องได้รับการปลดหนี้


ผู้เขียนบทความ : บรรจง บินกาซัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น