วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

การธนาคารอิสลาม

ศาสนาอิสลามเห็นว่า การลงทุนเป็นปัจจัยหนึ่งของการผลิต แต่ศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้ปัจจัยนั้นมีสิทธิพิเศษในการทวีค่าการผลิตเป็น รูปของดอกเบี้ย

การรวมธนาคารอิสลามเป็นปรากฎการณ์ใหม่ ที่สร้างความประหลาดใจให้กับหลายคน ระบบของธนาคาร โดยรวมจะดำเนินการตามรูปแบบของอิสลามทั้งในประเทศอิหร่านและปากีสถาน นอกจากนั้นในส่วนอื่นของโลกยังปรากฎว่ามีธนาคารอิสลามอยู่อีกกว่า 30 แห่ง รวมทั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งญิดดะฮฺด้วย (The Jeddah based lslamic Development Bank - IDB) ทั้งนี้ไม่รวมสถาบันการเงินอีกมากมายที่มิใช่ธนาคารอิสลาม และด้วยความรวดเร็วในการเติบโต และความก้าวหน้าของธนาคารอิสลาม รายงานฉบับนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อ
ก. สำรวจความเป็นไปของธนาคารอิสลาม
ข. เพื่อตรวจสอบความเติบโตและการพัฒนาของธนาคารอิสลาม และ
ค. เพื่อเน้นให้เห็นถึงลักษณะเด่นของธนาคารอิสลาม

วิวัฒนาการ

การ ทดลองจัดตั้งธนาคารอิสลามที่ทันสมัยครั้งแรก มีขึ้นที่ประเทศอียิปต์อย่างไม่เปิดเผย และไม่จัดระบบและภาพลักษณ์เป็นอิสลาม เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการปูพื้นฐานศาสนาอิสลามในประเทศ ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการปกครองทางการเมือง โดยความพยายามครั้งแรกเริ่มนำโดย นายอะหมัด อันนัญญาร (Ahmad EI-Najjar) ซึ่งได้รูปแบบธนาคารออมทรัพย์ที่มีการแบ่งปันผลกำไรในเมือง Mlt Ghamr ของอียิปต์ เมื่อปี พ.ศ. 2506 การทดลองนี้ดำเนินไปจนถึงปี พ.ศ. 2510 ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีธนาคารประเภทเดียวกันอยู่รวม 9 ธนาคารในอียิปต์ ธนาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะลงทุนโดยการเข้าร่วมในการค้าและอุตสาหกรรม ทั้งโดยตรงและร่วมหุ้นกับผู้อื่น รวมทั้งแบ่งปันผลกำไรกับผู้ร่วมลงทุนด้วย (ซิดดีกี่ย์, 2531) ดังนั้น ธนาคารเหล่านี้จึงมีหน้าที่เป็นสถาบันการลงทุนแบบออมทรัพย์มากกว่าธนาคาร พาณิชย์ ธนาคารนาซิรโซเชียลแบงค์ (The Nasir Social Bank) ซึ่งก่อตั้งในอียิปต์ เมื่อปี พ.ศ. 2514 ได้รับการประกาศว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ปลอดดอกเบี้ย แม้ว่าใบอนุญาตจะมิได้กล่าวอ้างอิงเกี่ยวกับอิสลามหรือกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮฺ) เลยก็ตาม

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งญิดดะฮฺ (IDB)

ก่อ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 โดยองค์การกลุ่มประเทศอิสลาม หรือโอไอซี (Organization of Islamic Countries – OIC) ซึ่งเป็นธนาคารระหว่างรัฐบาลที่มีจุดมุ่งหมายในการให้เงินทุนแก่โครงการ เพื่อการพัฒนาในประเทศสมาชิก IDB จะให้บริการทางการโดยเก็บค่าธรรมเนียม และให้ความช่วยเหลือทางการเงินในรูปแบบการแบ่งบันกำไรแก่ประเทศสมาชิก การดำเนินงานของ IDB จะปลอดภาษีและดำเนินการตามข้อบังคับของกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮฺ) โดยเปิดเผย ในทศวรรษที่70 ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นในประเทศมุสลิมหลายประเทศ จนกระทั่งไม่มีความจำเป็นในการก่อตั้งสถาบันการเงินอิสลามที่ไม่เปิดเผยขึ้น อีกต่อไป ธนาคารอิสลามจำนวนมากเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ได้แก่ธนาคารอิสลามดูไบ (2518) ธนาคารอิสลามไฟซ่อลแห่งซูดาน (2520) ธนาคารอิสลามไฟซ่อลแห่งอิยิปต์ (2520) และธนาคารอิสลามบะห์เรน เป็นต้น

ใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก็มิได้ละเลยความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ธนาคารอมานะฮฺฟิลิปปินส์ (PAB) จึงก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 โดยประธานาธิบดีได้ประกาศธนาคารดังกล่าวเป็นสถาบันที่ชำนาญด้านการธนาคาร โดยไม่อ้างอิงถึงลักษณะของอิสลามในใบอนุญาตประกอบการธนาคาร ทั้งนี้ การก่อตั้ง PAB เป็นการที่รัฐบาลฟิลิปปินส์สนองตอบต่อกลุ่มที่ถูกเรียกว่ากบฏมุสลิมทางตอน ใต้ ในความต้องการของชุมชนมุสลิมที่ต้องการธนาคารพิเศษ อย่างไรก็ตาม งานสำคัญของ PAB ได้แก่ การช่วยกู้และฟื้นฟูเพื่อมินดาเนา ซูลู และปาลาวัน ทางตอนใต้ (Mastura, 2531) PAB มี 8 สาขา ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ของจังหวัดมุสลิมตอนใต้ รวมทั้งอีก1 แห่งที่มากาติ (Metro Manila) ด้วย นอกเหนือจากสำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่เมืองแซมโบแองก้าในมินดาเนา อย่างไรก็ตาม PAB มิได้เป็นธนาคารอิสลามที่เคร่งครัดนัก เนื่องจากยังการดำเนินการเกี่ยวกับดอกเบี้ย ร่วมไปกับวิธีการจัดการการคลังแบบอิสลามอยู่ แต่เป็นที่น่าสนใจว่า PAB ได้ดำเนินการแบบสอง “หน้าต่าง” หรือวินโดวส์ เพื่อขยายกิจการ ได้แก่ ทั้งแบบดั้งเดิมแบบอิสลาม อย่างไรก็ตามยังคงมีความพยายามในการเปลี่ยน PAB ให้เป็นธนาคารอิสลามอย่างสมบูรณ์ (Mastura, 2531)

ในประเทศ มาเลเซีย ธนาคารอิสลามเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2526 หลังจากมีการตั้งสถาบันการเงินอิสลามครั้งแรกในมาเลเซีย ชื่อ The Muslim Pilgrims Savings Corporation เมื่อปี พ.ศ. 2506 เพื่อช่วยประชาชนออมทรัพย์ไว้แสวงบุญที่มักกะฮฺและมะดีนะฮฺ (หุญญาจ) ในปี พ.ศ. 2506 องค์กรนี้ได้พัฒนาขึ้นเป็นคณะกรรมการเงินทุนและการจัดการเพื่อหุญญาจ หรือ Tabung ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน Tabuag Haji ได้ดำเนินการเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ลงทุนจากเงินออมทรัพย์ของหุญญาจตามกฎหมายอิสลาม แต่บทบาทค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเป็นสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร อย่างไรก็ตามความสำเร็จของTabung Haji เป็นแรงผลักดันหลักให้ก่อตั้ง Bank lslam Malaysia Berhad หรือบีไอเอ็มบี (BIMB) ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์อิสลามที่สมบูรณ์ในมาเลเซีย โดย Tabung Haji ได้ให้เงินช่วยเหลือเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 12.5 ของเงินลงทุนครั้งแรกของบีไอเอ็มบี ซึ่งมีจำนวน 80 ล้านเหรียญมาเลเซีย บีไอเอ็มบีมีสาขากว่า 14 สาขาในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ทั้งนี้มีแผนที่จะเปิดอีก6 สาขาใหม่ ต่อปี เพื่อให้ บีไอเอ็มบี มีสาขาทั้งหมด 33 สาขาภายในปี พ.ศ. 2533 (Man 2531)

นอกจาก นี้ยังมีสถาบันการเงินอิสลามบางแห่งที่ตั้งขึ้นในประเทศที่มีมุสลิมอาศัย อยู่เป็นจำนวนน้อยที่ควรกล่าวถึง เช่น ในอินเดียมีชุมชนที่ให้กู้ยืมและออมทรัพย์ปลอดดอกเบี้ย อย่างแพร่หลายในช่วงทศวรรษที่ 70 (ซิดดีกี่ย์, 2531) ในลักเซมเบิร์ก มีระบบธนาคารอิสลาม (ปัจจุบันเรียก Islamic Finance House) ก่อตั้งขึ้นในปี 2521 ซึ่งเป็นความพยายามในการก่อตั้งธนาคารอิสลามขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกตะวันตก นอกจากนี้ก็มีธนาคารอิสลามระหว่างประเทศของเดนมาร์กในกรุงโคเปนเฮเกน และบริษัทเพื่อการลงทุนของอิสลามในกรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

หลักการและเหตุผล

ลักษณะ สำคัญของธนาคารอิสลาม ได้แก่ การปลอดดอกเบี้ย แม้ว่ามักจะมีการอ้างว่าธนาคารอิสลามควรมีลักษณะอื่น ๆ มากกว่านี้ เป็นต้นว่า การบริจาคเพื่อให้การปันส่วนของรายได้ และทรัพย์สินที่เท่าเทียมกับยิ่งขึ้น และการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจมากขึ้น (Chapra 2525) อย่างไรก็ตาม ลักษณะเฉพาะของธนาคารอิสลามก็คือจะไม่มีสถาบันที่คิดดอกเบี้ย ทั้งนี้ตามระเบียบของศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลามห้ามมุสลิมคิด ดอกเบี้ยหรือให้ดอกเบี้ย (ริบา) โดยไม่ต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ว่าการกู้ยืมนั้น มีขึ้นเพื่ออะไร รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยว่าจะเป็นเท่าไร มีความพยามยามที่จะแยกระหว่างการให้กู้ยืมเพื่อเรียกดอกเบี้ยอย่างขูดเลือด กับดอกเบี้ยจากเงินออมธรรมดา และระหว่างการให้กู้ยืมเพื่อการบริโภคและเพื่อการผลิตมีการโต้แย้งกันว่า "ริบา" หมายความเฉพาะการให้กู้ยืมที่คิดดอกเบี้ยอย่างขูดเลือด โดยผู้ให้กู้รายย่อย และไม่ได้หมายความถึงดอกเบี้ยที่คิดโดยธนาคาร และว่าริบาจะไม่เกี่ยวข้องกับกรณีการตั้งดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมที่ก่อผล ผลิต แต่ข้อโต้แย้งเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับ นอกเหนือจากความคิดเหล่านี้ นักวิชาการมุสลิมทั่วไปยังชี้ให้เห็นด้วยว่า คำว่าริบาและดอกเบี้ย ไม่มีความแตกต่างกันเลยและสามารถใช้สลับกันได้

ข้อ ห้ามเกี่ยวกับริบา มีกล่าวไว้ในบทต่างๆ4 บทของคัมภีร์อัลกุรอาน บทแรกเน้นว่า ดอกเบี้ยเป็นการตัดการให้พรของพระเจ้า บทที่สองกล่าวโทษดอกเบี้ย และชี้ให้เห็นว่าดอกเบี้ยนั้นอยู่ในพวกเดียวกับทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้มา โดยมิชอบ บทที่สามเห็นว่ามุสลิมควรอยู่ห่างจากดอกเบี้ยเพื่อความอยู่ดีกินดีของตน และบทที่สี่ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยและการค้า รวมทั้งสนับสนุนให้มุสลิมรับแต่เงินต้น และแม้กระทั่วให้ยกเลิกเงินจำนวนดังกล่าวถ้าผู้ยืมไม่สามารถจ่ายคืนได้ โดยคัมภีร์ได้กล่าวว่า ผู้ซึ่งละเลยข้อห้ามเกี่ยวกับดอกเบี้ยจะเป็นศัตรูกับพระเจ้าและพระศาสนา ข้อห้ามเกี่ยวกับดอกเบี้ยยังพบใน อัลหะดีษ (คำกล่าวของศาสดา) ด้วย โดยพระศาสดาจะประนามไม่เพียงผู้ที่รับดอกเบี้ย แต่รวมถึงผู้ที่ให้ดอกเบี้ยและผู้บันทึก และรู้เห็นว่าการกระทำดังกล่าว โดยทั้งหมดถือว่าได้กระทำความผิด

ข้อห้ามที่คล้ายคลึงกันนี้ยัง พบได้ในงานเขียนสมัยก่อนอัลกุรอาน ซึ่งเป็นที่น่าทึ่งว่าศาสนาอิสลามประสบความสำเร็จ ในการล้มเลิกความพยายามทั้งหลาย ที่จะให้การคิดดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามคลองธรรม นักวิชาการบางคนได้นำเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ มาอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมดอกเบี้ยจึงถูกห้ามในศาสนาอิสลาม ตัวอย่างเข่น ได้มีการถกเถียงกันว่า การคิดดอกเบี้ยเป็นการคาดมูลค่าการผลิตรวมล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้เป็นอุปสรรคกับการจ้างงานแบบเต็มรูปแบบ (คาน 2511 ; อะหมัดn. d, Maman 2513) ในลักษณะเดียวกันก็มีการถกเถียงเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ทางการเงินระหว่าง ประเทศที่เองมากจากสถาบันที่มีดอกเบี้ย (Kham, n.d.) และปรากฎการณ์ของดอกเบี้ยมีส่วนสำคัญกับการเกิดขึ้นของวัฎจักรทางการค้า (อะหมัด 2495 ; Su’ ud n.d.) อย่างไรก็ตาม ไม่มีการศึกษาวิจัยรั้งใดที่ประสบความสำเร็จในการเชื่อความสัมพันธ์กัน ระหว่างดอกเบี้ยกับการจ้างงานและวัฎจักรทางการค้า ในการศึกษาวิจัยอื่นซึ่งได้ พยายามพิสูจน์จุดยืนของศาสนาอิสลามเกี่ยวกับดอกเบี้ยได้โต้แย้งว่า ดอกเบี้ยมิได้เป็นเครื่องมือทางโยบายทางการเงิน ที่มีประสิทธิภาพแม้ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมก็ตาม และได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอัตราดอกเบี้ย ในานที่เป็นปัจจัยในการออมทรัพย์และการลงทุน (Aiff 2525)

ในการศึกษาวิจัยเหล่านี้ สิ่งที่เหมือนกันได้แก่ ลักษณะการหาประโยชน์ดอกเบี้ย แม้ว่าการศึกษาบางชิ้นจะชี้นให้เห็นว่า กำไร (ซึ่งถูกกฎอิสลาม) ก็เป็นการหาประโยชน์เช่นกัน แต่คำตอบสำหรับกรณีนี้ก็คือ เราต้องแยกแยะระหว่างกำไรและการทำกำไร ซึ่งศาสนาอิสลามก็ห้ามการทำกำไรด้วย

ในงานเขียนบางชิ้นได้พยายามชี้ให้เป็นถึงลักษณะของ “รายได้ที่ถือว่าไม่ได้รับ” ในเรื่องของการจ่ายดอกเบี้ย ว่าสามารถเป็นทางออกให้กับดอกเบี้ยในศาสนาของอิสลามได้ โดยยกโต้ข้อแย้งว่าการเช่าทรัพย์สินก็ไม่ผิดกฎอิสลามเช่นกัน แต่คำตอบก็คือ จะต้องไม่พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างารเช่าทรัพย์สินกับดอกเบี้ยเงินกู้ เนื่องจากผลประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นแน่นอน ส่วนผลประโยชน์จากการกื้มเงินนั้นไม่แน่นอน นอกจากนี้ทรัพย์สินที่ให้เช่นนั้นมีการผุพังทางกายภาพ ขณะที่เงินที่ให้ยืมนั้นไม่มี ส่วนข้อโต้แย้งเรื่องการเสื่อมถอยของมูลค่าเงินจึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบการ ชี้วัดทางเศรษฐกิจ ก็เป็นสิ่งที่น่าใจ แต่ดาโต๊ะยุติธรรมได้ยกข้อกล่าวอ้างดังกล่าว เนื่องจากตามบทอัลหะดีษในอัลกุรอาน สินค้าจะต้องได้รับกลับคืนในรูปเดิม : “ทองรับทอง เงินรับเงิน ข้าวสาลีรับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์รับข้าวบาร์เลย์ อินทผลัมรับอินทผลัม เกลือรับเกลือ รับคืนในรูปเดิม เท่าเทียมกัน มือจับมือ……”

ประการสุดท้ายก็คือ มุสลิมไม่ต้องการข้อพิสูจน์ในการที่จะปฏิเสธเรื่องดอกเบี้ย :ไม่มีคำอธิบายใดของมนุษย์จะจำเป็นสำหรับการปฏับัติตามคำสั่งของพระเจ้า เนื่องจากมุสลิมรับทราบถึงข้อจำกัดในการให้เหตุผลของมนุษย์ ไม่มีมนุษย์คนใดสามารถหยั่งวัดคำสั่งศักดิ์สิทธิ์นั้นได้อย่างถ่องแท้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของความศรัทธา ข้อห้ามของอิสลามเกี่ยวกับดอกเบี้ยนั้น มิได้หมาความว่า เงินลงทุนจะไร้ผลในระบบของอิสลาม ทั้งนั้นศาสนาอิสลามเห็นว่า การลงทุนเป็นปัจจัยหนึ่งของการผลิต แต่ศาสนาอิสลามอนุญาตให้ปัจจัยนั้นมีสิทธิพิเศษในการทวีค่าการผลิตเป็นรูป ของดอกเบี้ย ในกรณีนี้ทำให้มีปัญหาว่าการใช้อะไรแทนกลไกการตั้ง อัตราดอกเบี้ยในโครงสร้างของอิสลาม จึงมีข้อเสนอแนะว่า การแบ่งปันผลกำไรสามารถเป็นตัวเลือกหนึ่งได้ในศาสนาอิสลามนั้นเจ้าของเงินลง ทุนสามารถแบ่งปันผลกำไรได้รับอนุญาตในศาสนาอิสลาม ในขณะที่ดอกเบี้ยจะไม่ได้รับอนุญาตซึ่งคำตอบก็คือ ในกรณีของการแบ่งปันผลกำไรนั้น เป็นการปันกำไรตามอัตราส่วน มิใช่การกำหนดอัตราผลตอบแทนเอาไว้ล่วงหน้า

มีข้อโต้แย้งกันว่า การแบ่งปันผลกำไรสามารถช่วยให้จัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอัตราส่วนการแบ่งปันผลกำไรจะไปตามกำลังตลาด โดยการลงทุนจะหมุนเวียนไปังส่วนเศรษฐกิจที่ให้การแบ่งปันผลกำไรสูงสุดต่อผู้ ลงทุน แต่ก็มีควรมคิดเห็นคัดค้านว่าการนำหลักการแบ่งปันผลกำไร เข้าแทนที่ด้วยดอกเบี้ยเพื่อเป็นกลไกจัดสรรทรัพยากรนั้นทำได้อย่างหยาบและ ไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามกระแสความคิดแบบอิสลามเกี่ยวกับเรื่องนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำ เป็นที่จะแทนที่ดอกเบี้ยด้วยสิ่งอื่น แม้ว่าจะยังไม่มีคามเห็นพ้องกันที่แน่ชัด เกี่ยวกับรูปแบบของทางเลือกแทนกลไกอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขและยังคงต้องค้นหาทางเลือกดังกล่าวอันอยู่ ต่อไป แต่อย่างไรก็ยังไม่เบี่ยงเบนไปจากความพยายาม ที่จะทดลองทำธนาคารอิสลามซึ่งปราศจากดอกเบี้ย

การศึกษาโครงสร้าง

ตาม ที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ศาสนาอิสลามิได้ปฏิเสธว่า การลงทุนซึ่งนับเป็นปัจจัยหนึ่งของการผลิตควรได้รับผลตอบแทน ศาสนาอิสลามอนุญาตให้เจ้าของเงินทุน มีส่วนในมูลค่าที่เพิ่มขึ้นซึ่งไม่แน่นอนได้ แต่ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอน เจ้าของเงินทุน (รุบบุ้ลมาล) สามารถ“ลงทุน” ได้โดยอนุญาตให้ผู้ประกอบการได้ใช้ความคิด และความเชี่ยวชาญในการใเงินทุนเพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์และสามารถ แบ่งปันผลกำไร (ถ้ามี) จากผู้ที่ให้ผู้ดำเนินกิจารที่เป็นผู้กู้ยืม มุฏอร่อบะฮฺ ในภาษาอิสลาม ได้ใช้มาตั้งแต่สมัยก่อนคัมภีร์อัลกุรอาน และได้รับความเห็นชอบจากพระศาสดาแล้ว

วิธีการทางการเงินในอิส ลามอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการเข้าร่วมลงทุน หรือเรียกว่ามุชาร่อกะฮฺ คือผู้เป็นหุ้นส่วนจะใช้เงินทุนร่วมกันเพื่อก่อเกิดผลกำไรขึ้น ผลกำไรหรือขาดทุนจะร่วมกันรับผิดชอบระหว่างหุ้นส่วนตามสูตร ที่ได้ตกลงกันไว้ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราส่วนทุนที่ลง

มุฏอร่อบะ ฮฺและมุชาร่อกะฮฺ เป็นเสาหลักของการธนาคารอิสลาม ทั้งนี้ หลักมุฏอร่อบะฮฺเน้นโครงสร้างเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันในธนาคารอิสลาม และมีลักษณะคล้ายคลึงกับแนวความคิดสมัยใหม่ เรื่องหุ้นส่วนและการเป็นเจ้าของหุ้นร่วมกัน ในกรณีที่มีผู้ฝากเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ธนาคารอิสลามจะปฏิบัติตัวเป็น mudaribซึ่งจะจัดการเงินทุนของผู้ฝากเงินเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามกฎของ มุฏอร่อบะฮฺ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หรือธนาคารอาจใช้เงินทุนของผู้ฝากบนพื้นฐานของมุฏอร่อบะฮฺ เป็นส่วนเพิ่มเติมนอกเหนือจากวิธีการบริหารเงินที่ถูกต้องอื่น ๆ หรืออีกนัยหนึ่ง ธนาคาจะจัดการตามระบบ มุฏอร่อบะฮฺแบบสองชั้น คือจะเป็นทั้งmudarlbในส่วนของการออม และเป็นทั้งrabbulmalในส่วนของการลงทุน และธนาคารยังสามารถทำสัญญามุชาร่อกะฮฺ กับผู้ใช้เงินทุน เพื่อแบ่งปันผลกำไรและขาดทุน ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น

ในด้าน การรับฝากเงิน ธนาคารอิสลามจะดำเนินการ3 บัญชีกว้าง ๆ ได้แก่ บัญชีกระแสรายวัน บัญชีออมทรัพย์ และบัญชีลงทุน ในกรณีบัญชีกระแสรายวันเป็นเช่นเดียวกับธนาคารทั่ว ๆ ไป คือจะไม่ให้ผลตอบแทนใด ๆ แก่ผู้ฝาก เนื่องจากเป็นเสมือนการรับฝากเพื่อความปลอดภัย (อัลวะดีอะฮฺ) ระหว่างผู้ฝากกับธนาคาร ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้ฝากถอนเงินเมื่อใดก็ได้ และอนุญาตให้ธนาคารใช้เงินของผู้ฝากได้ด้วย และเช่นเดียวกับธนาคารทั่วไป ธนาคารอิสลามจะออกสมุดเช็คให้ผู้ถือบัญชีกระแสรายวัน ซึ่งจะให้ความสะดวกในการจ่ายเงินอย่างกว้างขวาง เช่น มีระบบการเคลียร์เงิน ดราฟท์ธนาคาร ตั๋วแลกเงิน เช็คเดินทาง เป็นต้น (แต่ยังไม่รวมบัตรเครดิต หรือบัตรธนาคาร) ทั้งนี้จะไม่มีการคิดค่าบริการแต่อย่างใด

บัญชี ออมทรัพย์จะดำเนินการอยู่บนพื้นฐาน ของการเก็บรักษาเงินเพื่อความปลอดภัยเช่น แต่ธนาคารจะจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ฝากเงินตามช่วงเวลาขึ้นกับผลกำไรที่ได้รับ การจ่ายในลักษณะนี้ถือว่ากฎหมายในศาสนาอิสลาม เนื่องจากมิใช่เงื่อนไขที่ผู้ฝากเงินให้ธนาคารกู้ยืมเงิน และไม่ได้กำหนดขึ้นไว้ก่อนด้วย ผู้ถือบัญชีออมทรัพย์จะได้รับสมุดบัญชี และได้รับอนุญาตให้ถอนเงินเมื่อต้องการ

บัญชีลงทุนมีพื้นฐาน อยู่ตามกฎของมุฏอร่อบะฮฺ และเงินฝากจะไม่สามารถถอนออกก่อนถึงกำหนดให้อัตราการแบ่งปันผลกำไรจะแตกต่าง ไปแล้วแต่ธนาคาร และเวลาขึ้นกับเงื่อนไขอุปสงค์และอุปทาน ในทางทฤษฎีนั้นอัตราของผลตอบแทนอาจเป็นบวกหรือลบได้ แต่ในทางปฏิบัติ ผลตอบแทนจะเป็นบวกเสมอ และมักจะเทียบเคียงได้กับอัตราที่ธนาคารทั่วไปให้กับเงินฝากระยะเวลานั้น ๆ

ใน ส่วนของการลงทุนนั้น ธนาคารอิสลามจะใช้เครื่องมือหลายอย่าง ทั้งวิธีการแบบมุฏอร่อบะฮฺและมุชาร่อกะฮฺ ซึ่งกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นหลักที่ใช้หมุนเวียนเงินทุนของธนาคาร อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติธนาคารอิสลามมักจะเลือกใช้วิธีการอื่นซึ่งเสี่ยงน้อยกว่า ซึ่งวิธีการที่ใช้มากที่สุดคือวิธีการ “กำหนดราคาเพิ่ม” (Mark – Up) โดยธนาคารจะสนับสนุนเงินในการซื้อสินค้าหรือทรัพย์สิน โดยจะซื้อในนามของลูกค่าก่อนจะขายกลับให้ลูกค้าในราคาเพิ่มขึ้น (Cost-Plus Basis) การปรับราคาเพิ่มขึ้นนี้อาจดูเผิน ๆ เหมือนเป็นดอกเบี้ยที่คิดในธนาคารทั่วไป แต่สิ่งที่ทำให้มุรอฮะบะฮฺมีความถูกต้องตามทรรศนะของอิสลาม ก็คือ ธนาคารจะต้องซื้อทรัพย์นั้นก่อน ซึ่งจะต้องรับความเสี่ยงระหว่างการซื้อและการขายกลับไปให้ลูกค้าธนาคารต้อง รับผิดชอบสินค้าก่อนส่งให้ลูกค้าอย่างปลอดภัย บริการของธนาคารดังกล่าวนี้จึงแตกต่าง จากธนาคารทั่วไป ซึ่งมักจะให้ลูกค้ากู้ยืมเงินไปซื้อสินค้า

ธนาคารอิสลามมักจะ ซื้อ และขายกลับทรัพย์สินบนพื้นฐานการจ่ายชำระภายหลัง ซึ่งเรียกว่า bal’ muajjalซึ่งนักเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามคลองธรรม (ฟิกฮฺ) ในการคิดราคาสินค้าสูงขึ้นหากมีการจ่ายเงินคราวหลัง ซึ่งตามฟิกฮฺนั้นสิ่งนี้ มิใช่การคิดดอกเบี้ย เนื่องจากไม่ใช้การให้กู้ยืม แต่เป็นการทำการค้า การให้เช่า หรืออิญาเราะฮฺก็มักมีการใช้อยู่บ่อย ๆ ในธนาคารอิสลาม ด้วยวิธีการดังกล่าว ธนาคารจะซื้อ เครื่องมือหรือเครื่องจักร และให้ลูกค้าเช่าซึ่งอาจขอซื้อสินค้านั้นก็ได้ ในกรณีที่มีการจ่ายเป็นรายเดือน ค่าเช่า จะประกอบด้วยสององค์ประกอบ คือค่าเช่าเพื่อให้เครื่องมือ และการวางเงินตามราคาซื้อ

อีก วิธีคือการจ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อซื้อสินค้า ซึ่งเรียกว่าbal’ salamซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ในธนาคารอิสลามเพื่อสนับสนุนเงินในการผลิตสินค้า โดยจะจ่ายค่าสินค้ในเวลาทำสัญญา แต่การมองส่งสินค้าจะกระทำในภายหลัง วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าให้แก่ธนาคาร ในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งธนาคารอิสลามได้ขยายการดำเนินการด้านนี้ไปสู่ภาคการผลิตด้วย เพื่อให้เหมาะกับสภาพปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่า ธนาคารอิสลามมีการดำเนินการนอกเหนือจากกิจกรรมทั่วไปทางการเงินที่ะนาคา รทั่วไปกระทำธนาคารอิสลามจะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทางการเงินทั้งด้านทุน และการค้า ซึ่งเมื่อมองจากลักษณะพื้นฐานแล้วธนาคารอิสลามเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารโดยทั่วไป เนื่องจากการแบ่งปันความเสี่ยงเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินการทางการเงิน ของอิสลามทั้งหมด อ่างไรก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงนั้นธนาคารอิสลามได้กระจายการดำเนินการไปในหลาย ๆ ด้านและตั้งเงินทุนสำรองจากกำไรที่ได้มาเพื่อรอบรับในกรณีที่เกิดการขาดทุน มาก ๆ

ทฤษฎี

เป็นไปไม่ได้ ที่บทความนี้ครอบคลุมถึงสิ่งพิ่มพ์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับธนาคารอิสลาม เนื่องจากมีสิ่งตีพิมพ์มากมายทั้งในภาษาอาหรับและอุรดู่ ซึ่งมีความสำคัญในข้อโต้แย้งทางทฤษฎี ผู้เขียนในระยะแรก ๆ จะเหมือนกันเพียงคิดออกอย่างคร่าว ๆ มากกว่าการเสนอแนวคิดที่มีการตกผลึกมาแล้ว ตัวอย่างเช่น หนังสือที่เขียนกุรัยชี่ย์เรื่องอิสลามและทฤษฎี (กุรัยชี่ย์ 2489) จะมองดูธนาคารเป็นบริการทางสังคม ซึ่งควรได้รับการสนับสนุนจากรับาลเหมือนการบริการสาธารณสุขและการให้การ ศึกษา กุรัยชี่ย์ยังได้ใช้ความคิดที่ว่า ธนาคารไม่ควรจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ถือบัญชี และไม่ควรคิดดอกเบี้ยแก่เงินกู้ด้วย กุรัยชี่ย์ยังได้กล่าวถึงความเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างธนาคารและนักธุรกิจฐาน เป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง และร่วมกันรับผลการขาดทุนถ้ามี โดยไม่ได้กล่าวถึงการแบ่งปันกำไร

ในหนังสือบทที่ 7 ของหนังสือเศรษฐศาสตร์อิสลาม (Economics of lslam) ของอะหมัด (อะหมัด, 2495) ได้อธิบายถึงการก่อตั้งธนาคารอสลามบนพื้นฐานของบริษัทร่วมหุ้น ตามความคิดของอะหมัด นอกเหนือจากบัญชีกระแสรายวันแล้ว ยังมีบัญชีซึ่งประชาชนสามารถฝากเงินบนพื้นฐานของการหุ้นส่วนกันได้ ซึ่งผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลสูงกว่าผู้ถือสมุดบัญชีเงินฝากจากผลกำไรที่ ได้ เช่นเดียวกับกุรัยชี่ย์ อะหมัดได้กล่าวถึง การร่วมกันเป็นหุ้นส่วนกับนักธุรกิจซึ่งต้องการเงินทุนจากธนาคาร อย่างไรก็ตาม กฎการร่วมหุ้นังคงไม่มีการพูกถึงและยังไม่ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้รับผิดของ ความขาดทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เขายังแนะนำว่าธนาคารควรรับขึ้นเงินแก่ตั๋วเงินเพื่อการค้าโดยไม่คิด ดอกเบี้ย โดยใช้เงินทุนจากบัญชีกระแสรายวัน

กฎมุฏอร่อบะฮฺบน พื้นฐานกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮฺ) ได้รับการตอบรับจาก อุซัยร์ (2538) ซึ่งเสนอแนะว่ามุฏอร่อบะฮฺ เป็นเสมือนฐานหลักของธนาคารปลอดดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เข้าได้โต้แย้งว่า ธนาคารไม่ควรทำการลงทุนใด ๆ ด้วยเงินฝากของธนาคารเอง ซึ่งข้อโต้แย้งนี้ทำให้บทวิเคราะฮฺของเขาปฏิบัติตามได้ยาก อัล-อะร่อบีย์ (2539) เห็นว่า ระบบธนาคารมีมุฏอร่อบะฮฺเป็นเสมือนเสาหลัก เขาได้พัฒนาความคิดเกี่ยวกับระบบ มุฏอร่อบะฮฺ 2ชั้น ซึ่งให้ธนาคารสามารถใช้เงินออมทรัพย์บนพื้นฐาน มุฏอร่อบะฮฺและจัดสรรเงินทุนบนพื้นฐาน มุฏอร่อบะฮฺด้วย อีกนัยหนึ่ง คือ ธนาคารจะเป็นเสมือนมุฏอริบของผู้ฝากเงินในขณะที่กู้เงินจะเป็น มุฏอริบของธนาคาร ตามความคิดของเขา ธนาคารสามารถให้กู้ยืมไม่เพียงแต่ในเงินทุนที่มาจากเงินฝาก แต่รวมทั้งเงินทุที่มาจากผู้ถือหุ้นของตนด้วย นอกจากนี้เขายังเห็นว่าการแบ่งปันผลกำไร และการรับผิดชอบต่อผลขาดทุนต่าง ๆ จะต้องเป็นไปตามกฎหมายอิสลามโดยเคร่งครัด

อิรชาด (2507) ยังได้กล่าวถึงมุฏอร่อบะฮฺ ในฐานะที่เป็นพื้นฐานการธนาคารอิสลามด้วย แต่แนวความคิดเกี่ยวกับมุฏอร่อบะฮฺ นี้ ค่อนข้างแตกต่างจากของความคิดดั้งเดิมของ อิรชาดที่คิดถึงเงินทุนและแรงงาน (รวมทั้งเจ้าของกิจการ) ว่ามีส่วนเท่า ๆ กันในผลผลิต ดังนั้นจึงต้องแบ่งปันทั้งผลกำไรและขาดทุนเท่า ๆ กัน นั่นคือเจ้าของเงินทุนกับผู้ดำเนินการจะมีส่วนแบ่ง 50 – 50 ซึ่งจะขัดกับจุดยืนขอชะรีอะฮฺ โดยอิรชาด อธิบายว่าบัญชีเงินฝากธนาคารมี 2 ประเภท ประเภทแรกคล้างกับบัญชีกระแสรายวัน ในแง่ที่ว่าธนาคารจะจ่ายเมื่อทวงถาม แต่เงินที่ฝากไว้นี้ให้นำไปใช้ในโครงการสวัสดิการสังคมต่าง ๆ ไดเพราะผู้ฝากจะไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ บัญชีประเภทที่สองจะเป็นเงินฝากประจำ ให้ผู้ฝากมีหุ้นในผลกำไรเมื่อสิ้นปีตามสัดส่วนของจำนวนและระยะเวลาของการฝาก ทั้งนี้ อิรชาดได้เสนอแนะให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรอง ซึ่งจะช่วยแบกรับผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้ผู้ฝากไม่ต้องรับผิดชอบผล ขาดทุนนั้น อิรชาดเห็นว่า ผลขาดทุนสามารถได้รับการชดเชยจากกองทุนสำรองหรือแบกรับไวัโดยผู้ถือหุ้นของ ธนาคาร

ความพยายามครั้งแรกในการวางโครงสร้าง โดยละเอียดของธนาคารอิสลามเกิดขึ้นในหนังสือภาษาอุรดู่ (Urdu) โดยซิดดีกี่ย์เมื่อปี พ.ศ. 2511 (ภาคภาษาอังกฤษพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2526) ต้นแบบธนาคารอิสลามของ ซิดดีกี่ย์มีพื้นฐานอยู่บนมุฏอร่อบะฮฺ และชิรกะฮฺ (ความเป็นหุ้นส่วนหรือ มุชาร่อกะฮฺที่ปัจจุบันเรียกกันทั่วไป) ต้นแบบของเขามีพื้นฐานอยู่บนระบบ มุฏอร่อบะฮฺ 2 ชั้น ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบกิจการ-ผู้ปล่อยกู้ และได้บรรยายกลไกของการดำเนินกิจการดังกล่าวในรายละเอียดด้วย ตัวอย่างทั้งทางคณิตศาสตร์และสมมติฐานมากมาย ซิดดีกี่ย์ได้แยกแยะการดำเนินการของธนาคารอิสลามออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. การบริการที่คิดค่าธรรมเนียม ค่าคอมมิชชั่นหรือค่าบริการที่กำหนดแน่นอน
2. การเงินการคลังบนพื้นฐานของ มุฏอร่อบะฮฺและการเป็นหุ้นส่วนกัน และ
3. บริการที่ไม่คิดค่าบริการ

บทวิเคราะฮฺของซิดดีกี่ย์

ซิ ดดีกี่ย์สรุปว่า ธนาคารที่ปลอดดอกเบี้ยจะเป็นตัวเลือกให้กับธนาคารพาณิชย์ที่มีดอกเบี้ยทั่ว ไป นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง การให้กู้ยืมเพื่อการบริโภคที่ก่อเกิดปัญหา เนื่องจากไม่มีผลกำไรที่นำมาแบ่งปัน ซึ่งเขาได้กล่าวถึงปัญหานี้แต่ก็เพียงผิวเผิน และชี้ถึงความจำเป็นการของการให้กู้ยืมแบบปลอดดอกเบี้ย (qard hasan) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน โดยคิดว่าเป็นหน้าที่ของชุมชนและรัฐ (ผ่านกระทรวงการคลัง หรือบัยตุ้ลมาล) ในการสนองตอบความต้องการดังกล่าว เพราะวัตถุประสงค์หลักของธนาคารอิสลามก็เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องการผลกำไร ดังนั้น เขาจึงต้งอการที่จะลดบทบาทของธนาคารอิสลามในการให้กู้ยืมเพื่อการบริโภคลง โดยเสนอแนะให้ธนาคารดำเนินการให้เบิกเงินเกินบัญชี แบบจำกัดจำนวนโดยไม่มีดอกเบี้ยแทน เขายังได้พูดถึงการจัดเงินทุนส่วนหนึ่งไว้เพื่อให้กูยืม เพื่อการบริโภคด้วยโดยให้รัฐรับประกันการชำระคืน และยังได้เสนอแนะด้วยว่า ผู้บริโภคที่ซื้อสิ่งของด้วยสินเชื่อจะออก “ใบรับรองการขาย” (Certificates of Sale) ซึ่งผู้ขายสามารถนำไปขึ้นเงินได้ที่ธนาคาร ดังนั้นจึงเป็นผู้ขายไม่ใช่ผู้ซื้อ ที่มีพันธะผูกพันกับธนาคาร อย่างไรก็ตาม เขามิได้พูดถึงกฎ murababhและbai’ muajjal

ซิดดี กี่ย์ เห็นชอบกับการรักษาจำนวนผู้ถือหุ้นให้มีจำนวนน้อยที่สุดโดยไม่ให้เหตุผลใด ๆ ซึ่งตรงข้ามกับความคิดโดยทั่วไปที่ธนาคารอิสลามควรดำเนินการบนพื้นฐานของ บริษัทร่วมหุ้น ซึ่งความคิดนี้สอดคล้องกับค่านิยมทางอิสลาม ที่มีพื้นฐานอยู่ที่การกระจายความเป็นเจ้าของ ไม่ใช่การรวมศูนย์ความเป็นเจ้าของและความมั่งคั่งร่ำรวย ซิดดีกี่ย์คิดว่าธนาคารแบบปลอดดอกเบี้จะดำเนินไปได้เฉพาะในประเทศที่ ดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย และกิจกรรมใด ๆ ที่มีดอกเบี้ยต้องถูกประกาศให้เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย และต้องถูกลงโทษ (2526 : 13) เขายังคิดอีกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้กฎหมายอิสลามีผลบังคับใช้ ก่อนที่จะมีการดำเนินกิจการธนาคารปลอดดอกเบี้ย แต่ความคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากมีธนาคารอิสลามหลายแห่งที่ดำเนินการอย่างมีผลกำไร ทั้งที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยตามที่ Siddigiได้กล่าวไว้

ต้น แบบธนาคารของ Chapra (Chapra, 2525) ก็เช่นเดียวกับ ซิดดีกี่ย์คือ มีพื้นฐานอยู่บนกฎของมุฏอร่อบะฮฺอย่างไรก็ตาม ความคิดหลักของเขาอยู่ที่บทบาทของอุปสงค์เทียมจากการสร้างสินเชื่อ เขายังได้เสนอแนะว่า“ผลประโยชน์” ที่ได้จากอุปสงค์ดังกล่าวควรโอนไปที่กระทรวงการคลัง เพื่อความเท่าเทียมและยุติธรรม Chapraยังกังวลถึงการที่ธนาคารเอกชน จะเป็นศูนย์รวมอำนาจทางเศรษฐกิจในระบบที่มี พื้นฐานจากการให้กู้ยืมโดยร่วมทุน (Equity Financing) ดังนั้น เขาจึงอยากเห็นธนาคารขนาดกลางซึ่งไม่ใหญ่จนมีอำนาจมากเกินไป หรือไม่เล็กจนไม่มีผลทางเศรษฐกิจ ต้องแบบของChapraจึงมีข้อเสนอที่จะตั้งเงินทุนสำรองเพื่อชดเชยความเสียหาย และเครื่องมือในการประกันความเสียหาย เขายังได้กล่าวถึงสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารซึ่งเชี่ยวชาญในการนำนักการ เงิน และผู้ประกอบกิจการมาพบกัน แล้วปฏิบัติตนเป็นทรัสต์ด้านการลงทุน

มุ ห์ซิน (2525) ได้นำเสนอโครงสร้างอย่างละเอียดของธนาคารอิสลามสมัยใหม่ ซึ่งมีต้นแบบประกอบด้วย ลักษณะของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการพัฒนา ธนาคารเพื่อการค้า แล้วผสมผสานให้เป็นแบบใหม่ ต้นแบบนี้ได้เพิ่มบริการที่มิใช่ธนาคาร เช่น ธนาคารทรัสต์,ตัวแทนธุรกิจ, (Factoring) ,ธุรกิจพัฒนาที่ดินและบริษัทที่ปรึกษา เสมือกับว่าธนาคารปลอดดอกเบี้ยจะไม่สามารถอยู่ได้โดยธุรกิจธนาคารเพียงอย่าง เดียว กิจกรรมหลายอย่างที่กลาวถึงเป็นกิจกรรมที่นอกเหนือกิจกรรมของธนาคารพาณิชย์ และมีลักษณะเฉพาะและสลับซับซ้อนที่คิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศมุสลิม ส่วนใหญ่ในช่วงแรกของการพัฒนา ต้นแบบมุห์ซินถูกออกแบบให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมแบบทุนนิยม ซึ่งจริง ๆ แล้วมุห์ซินก็ได้เน้นว่าธนาคารปลอดดอกเบี้ยสามารถอยู่ร่วมกับธนาคารที่มีดอก เบี้ยได้

ธนาคารอิสลามมีอะไรมากกว่าเพียงการล้มเลิกระบบ ดอกเบี้ย Chapra (2528) ชี้ว่า ธนาคารอิสลามมีลักษณะพื้นฐาน รูปแบบ และการดำเนินการแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากธนาคารทั่วไป นอกจากไม่อนุญาตการคิดระบะ (ริบา) แล้วChapraยังเห็นว่า ธนาคารอิสลาม เนื่องจากเป็นผู้จัดการกองทุนสาธารณะควรจะรักษาผลประโยชน์สาธารณะมากกว่าของ บุคคลหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อีกนัยหนึ่งคือ ธนาคารควรคำนึงถึงบทบาทด้านประโยชน์สาธารณะมากกว่าบทบาทการทำกำไร เขาเห็นว่าธนาคารอิสลามซึ่งเป็นสิ่งผสมหลายแก่ลูกค้า ซึ่งต่างกับธนาคารทั่วไปที่การดำเนินการส่วนใหญ่อยู่กับ “การเรียกทรัพย์สินเป็นประกัน และไม่เข้าร่วมกับความเสี่ยงตาย” (หน้า155) แต่ธนาคารอิสลามต้องมีการประเมินค่าโครงการ โดยเฉพาะในการให้กู้ยืมแบบร่วมทุน และเนื่องจากการดำเนินการแบบแบ่งปันทั้งกำไรและขาดทุน ทำให้สัมพันธ์ระหว่างธนาคารและลูกค้าของธนาคารอิสลามเป็นไปอย่างใกล้ชิดและ ถ้อยทีถ้ออาศัยมากกว่าธนาคารทั่วไป ประการสุดท้ายธนาคารอิสลามจะมีการจัดการปัญหาเรื่องการขาดแคลนสภาพคล่อง และส่วนเกิดสภาพคล่องต่างออกไปเพราะต้องห้ามเรื่องดอกเบี้ย ทำให้ธนาคารไม่สามารถพึ่งแหล่งเงินจากตลาดเงินหรือธนาคารกลางได้ Chapraจึงแนะนำทางเลือกอื่นไว้ เช่น การช่วยเหลือต่างตอบแทนระหว่างธนาคารโดยไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย และการจัดตั้งกองทุนกลางที่ธนาคารกลางเพื่อดูดซับสภาพคล่องเกิน และช่วยปล่อยสภาพคล่องเมื่อเกิดขาดแคลนโดยไม่ต้องมีดอกเบี้ย

บทความบางชิ้นยังมีการพูดถึงการธนาคารกลางในกรอบศาสนาอิสลามด้วย ความเห็นทั่วไปมีว่า พื้นฐานการธนาคารกลางสมัยใหม่ มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่บ้างในระบบการเงินอิสลาม แม้ว่ากลไกอาจต้องต่างออกไป เช่น ไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือคุมอัตราระหว่างธนาคารได้ (ฺBank Rate Instrument) อุซัยร์ (2525) แนะนำให้ใช้อัตราการปันส่วนผลกำไรแทนดอกเบี้ยในการควบคุมอัตราธนาคาร โดยวิธีนี้ การปล่อยสินเชื่อจะยากขึ้น หากลดส่วนแบ่งที่นักธุรกิจจะได้ลง และง่ายขึ้นหากเพิ่มส่วนแบ่ง ซิดดีกี่ย์ (2525) แนะนำว่า “อัตราการปล่อยกู้ต่อ” (Refinance Ratio) (การที่ธนาคารกลางปล่อยกู้ให้กับเงินกู้ปราศจากดอกเบี้ย) ซึ่งธนาคารกลางสามารถปรับได้ตามสหถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในส่วนนี้ มีข้อเสนอของ Uzaur (2525) ว่าธนาคารกลางควรเข้ามีหุ้นในธาคารพาณิชย์โดยถือหุ้น สมมติว่า สักร้อยละ25 ของหุ้นทุนในธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารกลางมีช่องทางถึงแหล่งเงินได้ที่แน่นอน เพื่อสามารถดำรงตนเป็นผู้กู้รายสุดท้ายได้
อย่างไรก็ตาม ข้อถกเถียงเรื่องการธนาคารกลางในระบบอิสลามยังมีน้อย อาจเป็เพราะยังดูเป็นเรื่องไกลตัวเว้นแต่ในอิหร่านและปากีสถาน

สรุปจากสิ่งเหล่านี้ได้ว่า ธนาคารอิสลามมีลักษณะพิเศษ3 ลักษณะ คือ

1) ปราศจากดอกเบี้ย
2) เอนกประสงค์และไม่เป็นการค้าเต็มตัว
3) เป็นระบบชี้นำด้วยทุนอย่างมาก

บทความต่าง ๆ มักไม่วิจารณ์ถึงลักษณะการปราศจากดอกเบี้ย เนื่องจากเป็นที่ยอมรับของมุสลิมไปแล้ว หากแต่จะแสดงความวิตกเกี่ยวกับการขาดช่องทาง การดำเนินงานด้านการเงินที่ปราศจากดอกเบี้ย ซึ่งก็มีความเห็นทั่ว ๆ ไปขึ้นมาแล้วว่า ธนาคารอิสลามสามารถดำเนินได้อย่างดีแม้ไม่มีดอกเบี้ย จากการศึกษาของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยอิกบาลและMirakhor (2530) พบว่าธนาคารอิสลามเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้และจะส่งผลให้มีการจัดสรรทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งแนะนำว่าธนาคารในระบบอิสลาม จะมีความเสี่ยงในเรื่องการล้มละลาย และสภาพคล่องน้อยกว่าธนาคารทั่ว ๆ ไป

แม้ ธนาคารอิสลามจะมีลักษณะเอนกประสงค์ และมากไปกว่าการเป็นองค์กรของการค้า แต่ก็ไม่ได้เกิดปัญหามากนัก เพราะการที่ล้มเลิกระบบดอกเบี้ย ทำให้ธนาคารต้องหาช่องทางธรกิจอื่น นอกเนื่องจากกิจการธนาคารทั่วไป ซึ่งทำให้มีขอบเขตการทำงานกว้างขวาง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเป็นธนาคารเอนกประสงค์ ก็มีปัญหาอย่างมากในการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องทักษะของบุคลากรที่จะต้องจัดการในเรื่องที่หลาย หลาก และสลับซับซ้อน (อิกบาลและ Mirakhor 2530)

การที่ธนาคาร อิสลามเน้นกิจกรรมปล่อยกู้แบบร่วมทุน โดยเฉพาะกิจการมุฏอร่อบะฮฺ ได้ถูกวิจารณ์ว่าเพียงแต่เปลี่ยนการให้ดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เป็นกำไรที่ไม่แน่นอนนั้น ไม่ถือว่าทำให้กิจการดังกล่าวเป็นเรื่องถูกต้องทางศาสนาอิสลามได้ เพราะกำไรก็สามารถเป็นการฉวยโอกาสได้เท่า ๆ กับดอกเบี้ย หาก “มากเกินไป” (Naqui 2524) เขาชี้ด้วยว่า การเกิดขึ้นของมุฏอร่อบะฮฺไม่ได้สำคัญมากถึงขนาดจะโต้แย้งไม่ได้ โดยกล่าวว่ามุฏอร่อบะฮฺไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของกุรอาน หรืออัลหะดีษ แต่เป็นการปฏิบัติของพวกอาหรับยุคก่อนอิสลาม ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้ว มุฏอร่อบะฮฺมีไว้ให้คนแค่ ผู้หญิง และเด็ก ที่มีทุนสามารถเข้าร่วมทุนกับพ่อค้าเพื่อแบ่งผลกำไรได้โดยผลขาดทุนจะตกเป็น ของเจ้าของทุนทั้งสิ้น ดังนั้นไม่สามารถกล่าวว่า มุฏอร่อบะฮฺเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามศาสนาได้ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงยังคงเป็นว่าศาสดา ไม่เคยโต้แย้งมุฏอร่อบะฮฺ ดังนั้น อย่างน้อยมุฏอร่อบะฮฺก็ไม่ใช่เรื่องขัดกับอิสลาม

การ แบ่งกำไรในกิจการมุฏอร่อบะฮฺมีความยุ่งยากในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ร่วมให้ทุนหลายราย แต่ก็ไม่ได้ถึงกับจะแก้ไขอะไรไม่ได้ มีรายงานของคณะมนตรีอิสลามแห่งปากีสถาน (Pakistan’s Council of lslamic ldeologe) (CII 2526) ได้แนะนำว่า การร่วมลงทุนของแต่ละฝ่าย สามารถคิดคำนวณได้โดยนำจำนวนเงินที่ลงคูณด้วยจำนวนวันที่เงินแต่ะส่วน เช่น ทุนดำเนินงานของบริษัทเอง ส่วนเกินเงินสดหรือสินเชื่อผู้ขายส่งได้ถูกใช้ในกิจการบนพื้นฐานของผลผลิต รายวัน ในส่วนสำหรับผู้ฝากเงิน ตัวกำไร (สุทธิโดยหักค่าใช้จ่ายบริหาร ภาษีและทุนสำรองแล้ว) จะถูกแบ่งออกระหว่างผู้ถือหุ้นของธนาคาร และผู้ฝากเงิน บนพื้นฐานของผลผลิตรายวัน

การปฏิบัติ

ใน ระยะหลัง ๆ นี้มีการศึกษาเกี่ยวกับธนาคารอิสลามอย่างกว้างขวาง เริ่มด้วยคาน (2526) ซึ่งศึกษาระบบซูดาน สหรัฐอาหรับเอมิเรทส์ คูเวต จอร์แดน และอียิปต์ ว่ามีปัญหาไม่มากนัก ในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับชะรีอะฮฺ เขาชี้ถึงบัญชีลงทุนสองประเภท : หนึ่ง คือ บัญชีที่ผู้ฝากอนุญาตให้ธนาคารลงทุนในโครงการได้ อีกประเภทหนึ่งคือ บัญชีที่ผู้ฝากมีส่วนในการเลือกโครงการ ที่จะลงทุน ในส่วนของทรัพย์สินธนาคารสามารถใช้วิธี มุฏอร่อบะฮฺ มุชาร่อกะฮฺ และ มุรอฮะบะฮฺ การศึกษาของคานรายงานว่า อัตรากำไรมีตั้งแต่ร้อยละ 9 ถึงร้อยละ 20 ซึ่งสามารถแข่งขันกับธนาคารทั่วไปในประเทศนั้นได้ อัตราผลตอบแทนแก่ผู้ฝากเงินอยู่ระหว่างร้อยละ 8 ถึง 15 ซึ่งก็เทียบได้กับอัตราผลตอบแทนธนาคารทั่วไป
ผลการศึกษาชี้ว่า ธนาคารอิสลามมักเลือกปล่อยกู้ทางการค้า และลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และมักเลือกลงทุนที่มีผลตอบแทนเร็ว ซึ่งสามารถเข้าใจได้ว่า เพราะสถาบันตั้งใหม่เหล่านี้ต้องการให้ผลการดำเนินงานเป็นบวก แม้ในตอนต้นของการเริ่มดำเนินธุรกิจ Nienhaaus (2531) เห็นว่าความสามารถในการทำกำไรของธนาคารอิสลาม โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง ในระยะหลังมานี้ ส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของมูลค่าทรัพย์สิน (อสังหาริมทรัพย์) อย่างมาก ซึ่งดูได้จากกรณีที่ธนาคารเกิดผลขาดทุนใหญ่ เนื่องมาจากเกิดการตกต่ำของภาคอสังหาริมทรัพย์

การศึกษาของIMF โดยอิกบาล และ mirakhor (2530) มีการตั้งข้อสังเกตในหลาย ๆ ด้านที่น่าสนใจ โดยส่วนใหญ่จะจำกัดอยู่ในประสบการณ์ธนาคารอิสลามในอิหร่าน และปากีสถาน ซึ่งทั้งสองประเทศต่างก็พยายามที่จะทำให้ระบบธนาคารทั้งหมดเป็นระบบอิสลาม

อิหร่าน เปลี่ยนเป็นธนาคารอิสลามในเดือนสิงหาคม 2526 โดยมีระยะเปลี่ยนแปลงสามปี โดยระบบของอิหร่าน อนุญาตให้ธนาคารรับฝากบัญชีกระแสรายวันและออมทรัพย์ โดยไม่ต้องจ่ายผลตอบแทนแต่ให้มีรางวัลต่างๆ หรือโบนัสในรูปของเงินหรือสิ่งใกล้เคียงเป็นสิ่งจูงใจ ส่วนการฝากประจำ (ทั้งระยะยาวและสั้น) ให้มีอัตราผลตอบแทนคำนวนบนพื้นฐานกำไรของธนาคารและตามวาระครบกำหนด แต่ยังไม่ได้มีการศึกษาในปัญหาที่ว่า ดอกเบี้ยหรือการแบ่งปันกำไร จะจูงใจผู้ฝากเงินมากกว่ากัน ในการดึงดูดการออมเงินในภาคเอกชน

อิก บาล และ Mirakhor ชี้ว่า การเปลี่ยนเป็นระบบธนาคารอิสลาม ในด้านทรัพย์สิน ดำเนินไปช้ากว่าในด้านเงินฝาก ระบบอิสลามในอิหร่าน สามารถใช้ทรัพยากรของระบบได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของระบบได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของ ระบบเพื่อปล่อยสินเชื่อให้ภาคเอกชน ซึ่งโดยมากเป็นสินเชื่อระยะสั้น คือ การดำเนินธุรกิจการค้าการพาณิชย์ เขาชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพย์สินที่เกิดช้ากว่า มาจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะในการปล่อยสินเชื่อระยะยาว อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าประสิทธิภาพของนโยบายการเงินในอิหร่าน เปลี่ยนแปลงไปจากการเปลี่ยนเป็นระบบอิสลามครั้งนี้

ในปากีสถาน เริ่มเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนเป็นระบบอิสลามตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 โดยในระยะแรกสิ้นสุดในวันที่ 1 มกราคม 2528 ซึ่งให้ธนาคารในประเทศดำเนินการทั้ง 2 อย่าง โดยเปิดหน้าต่างไร้ดอกเบี้ย และมีดอกเบี้ยควบคู่กัน ในระยะเปลี่ยนแปลงที่สอง ระบบธนาคารถูกปรับปรุงให้ดำเนินกิจการทั้งหมดในพื้นฐานที่ปราศจากดอกเบี้ย จะยกเว้นก็แต่เงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เงินกู้ต่างประเทศและหนี้รัฐบาลปากีสถานพยายามให้ระบบการปล่อยสินเชื่อไม่ กระทบกระเทือน การดำเนินการและโครงสร้างพื้นฐานของระบบธนาคาร ซึ่งเมื่อรวมกับการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปแล้ว ก็ทำให้ธนาคารในปากีสถานสามารถปรับเข้ากับระบบใหม่ได้ง่ายขึ้น อัตราผลตอบแทนในบัญชีปันส่วนผลกำไรขาดทุน ไม่เพียงแต่โดยทั่วไปแล้วจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนเปลี่ยนเป็นอิสลามเท่า นั้น แต่ก็ยังแตกต่างหลากหลายระหว่างแต่ละธนาคารด้วย ซึ่งแสดงถึงระดับการแข่งขันในอุตสาหกรรมธนาคาร อิกบาลและ Mirakhor กล่าวด้วยว่าระบบการแบ่งปันผลกำไร และการปล่อยสินเชื่อแบบใหม่ ให้ความยืดหยุ่นแก่ธนาคารและลูกค้ามาก ซึ่งสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพในนโยบายการเงินของปากีสถาน ไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการเปลี่ยนแปลงนี้

อย่างไรก็ตาม การศึกษาของ IMF ชี้ว่า ยังมีปัญหาในเรื่องที่ทรัพย์สินของธนาคาร กระจุกตัวในการปล่อยสินเชื่อการค้าระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ซึ่งไม่เป็นผลดี เพราะจะขัดกับวัตถุประสงค์ของระบบใหม่ และการกระจุกตัวกับทรัพย์สินเพียงบางประเภทจะเพิ่มความเสี่ยง และอาจทำให้การลงทุนในทรัพย์สิน เกิดความไม่มั่นคงได้ การศึกษายังพบว่ามีความยุ่งยากในทั้งอิหร่านและปากีสถาน ในการใช้สินเชื่อแก่การจัดทำงบประมาณขาดดุล (financing budget deficits) ภายใต้ระบบไร้ดอกเบี้ย ซึ่งมีความจำเป็นต้องค้นหาช่องทางการเงิน แบบไร้ดอกเบี้ยที่เหมาะสมอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ดี อิหร่านได้ออกกฎหมายว่า การกู้ยืมของรัฐในอัตราผลตอบแทนคงที่ จะระบบธนาคารของรัฐไม่ถือเป็นดอกเบี้ย จึงสามารถทำได้ ซึ่งเหตุผลก็คือเนื่องจากธนาคารทั้งหมดเป็นของรัฐ อัตราดอกเบี้ยและการชำระดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร จึงหักลบกันไปในบัญชีร่วม (นี่เป็นตัวอย่างจากธุรกิจของธนาคารที่ทำกับลูกค้า ที่มิใช่ธนาคาร)

มี การศึกษาธนาคารอิสลามในบังคลาเทศ (Hup) อียิปต์ (มุฮัมมัด 2529) มาเลเซีย (ฮาติม 2531) ปากีสถาน (คาน 2529) และซูดาน (ซะลามะฮฺ 2531b) บัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ในทุกกรณี ดำเนินอยู่ในหลักการของอัลวะดีอะฮฺ (ฝากเพื่อความปลอดภัย) โดยมี “ของขวัญ” ให้กับผู้ฝากบ้าง ตามดุลยพินิจของธนาคาร เพื่อเป็นการแบ่งปันกำไร บัญชีเงินฝากลงทุนอยู่บนพื้นฐานของ มุฏอร่อบะฮฺ แต่มีความหลากหลายพอสมควร ตัวอย่างเช่น ธนาคารอิสลามในบังคลาเทศมีบริการบัญชีเงินฝากแบ่งปันกำไร (PLS Deposit Accounts) บัญชีเงินฝากแบ่งปันกำไรแจ้งล่วงหน้า (PLS Special Native Deposit Account) และบัญชีเงินฝากประจำแบ่งกำไร (PLS Term Deposit Accounts) ขณะที่ในมาเลเซียมีบัญชีลงทุน 2 ประเภท คือ แบบสาธารณชนทั่วไปกับแบบลูกค้าสถาบัน

อัตราการแบ่งปันกำไร และเงื่อนไขการจ่ายคืนต่างกันไปในแต่ละที่แต่ละเวลา เช่น กำไรจะกาศทุก ๆ เดือนในมาเลเซีย ทุกไตรมาศในอียิปต์ ทุกครึ่งปีในบังคลาเทศและปากีสถาน และเป็นรายปีในซูดานลักษณะเด่นชัดที่เหมือนกันหมดคือ บัญชีลงทุนมักเป็นแบบระยะสั้น ซึ่งแสดงถึงความชอบของผู้ฝากเงินที่ต้องการมีทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงสุด เท่าที่จะเป็นได้ แม้ในมาเลเซียที่มีบัญชีลงทุนในสัดส่วนสูงสุดเกือบทั้งหมดก็ยังอยู่ในระยะ เวลาต่ำกว่าสองปี ขณะที่ในซูดาน บัญชีเกือบทั้งหมด ประกอบด้วยบัญชีออมทรัพย์และกระแสรายวัน ซึ่งเป็นเพราะองค์กรการเงินของซูดาน ได้กำหนดเพดานในบัญชีลงทุนไว้ เนื่องจากโอกาสการลงทุนที่มีจำกัด ในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ

นอก จากนี้ รูปแบบการใช้ทรัพยากรในธนาคารอิสลาม ก็มีความหลากหลายใน ซูดาน รูปแบบการลงทุนแบบ มุชาร่อกะฮฺ มีความสำคัญกว่ามุรอฮะบะฮฺมาก ขณะที่ในมาเลเซียกลับตรงกันข้าม แต่โดยเฉลี่ยแล้ว มุรอฮะบะฮฺ baimuajjal และ อิญาเราะฮฺ จะเป็นช่องทางการให้สินเชื่อที่ใช้กันทั่วไปกว่า มุชาร่อกะฮฺ ซึ่งกรณีศึกษาบ่งชี้ว่าโครงสร้างลูกค้าส่วนใหญ่ จะประกอบด้วยคนในกลุ่มร่ำรวยของสังคม ซึ่งก็ไม่เป็นที่สงสัย เพราะธนาคารมักจะตั้งอยู่ในใจกลางเมือง โดยมีสาขาเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป
ปัญหา หลักสองปัญหา ที่พบจากกรณีศึกษาคือ การขาดช่องทางการดำเนินทางการเงิน และตลาดทุนสำหรับระบบไร้ดอกเบี้ยที่เหมาะสม และอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้ที่มีอยู่สูง ซึ่งปัญหาแรกได้รับการแก้ไขบางส่วน โดยให้ธนาคารอิสลามใช้ระบบจัดการ ระหว่างธนาคารร่วมกัน และได้รับการช่วยเหลือจากธนาคารกลาง อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ตัวอย่างเช่น ธนาคารอิสลามมาเลเซีย ได้ฝากสภาพคล่องส่วนเกินไว้กับธนาคารกลางซึ่งจะใช้ดุลยพินิจที่จะให้ตอบแทน กลับคืนบ้าง ส่วนปัญหาไม่ชำระหนี้นั้นเป็นปัญหาใหญ่ บ่อยครั้งที่การชำระคืนตาม มุรอฮะบะฮฺ จะมีปัญหาเพราะไม่มีการลงโทษ เมื่อชำระคืนล่าช้า ซึ่งต่างกับดอกเบี้ยที่การชำระคืนช้าจะหมายถึงต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นโดย อัตโนมัติ เพื่อแก้ปัญหานี้ธนาคารปากีสถานจึงใช้ระบบ “คิดหักออก” (mark – down) ซึ่งตรงกับ (mark – up –ผลกำไรที่คิดโดยคำนวณกำไรรวมเข้ากับต้นทุน ซึ่งเป็นวิธีในการดำเนินกิจการ มุรอฮะบะฮฺ ) วิธี “คิดหักออก” จะให้ส่วนลดเป็นเครื่องจูงใจแก่การชำระเงินคืนก่อนกำหนดแต่ยังมีปัญหาว่าการ ใช้วิธีนี้ถูกต้องตามชาริอะฮฺหรือไม่ เพราะเป็นการติดตามเวลาซึ่งเหมือนการพยายามคิดดอกเบี้ยในส่วนของเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ มีการศึกษาเกี่ยวกับธนาคารอิสลามมาเลเซียโดย Man (2531) และของธนาคารอะมานะฮฺ ฟิลิปปินส์ โดย Mastura (2531) Man ชี้ว่า อัตราผลตอบแทนแก่ผู้ฝากเงินเฉลี่ยแล้วสามารถเทียบได้กับธนาคารทั่ว ๆ ไปภายในปี 2529 หลังเริ่มดำเนินงานได้ 3 ปี ธนาคารมีทั้งหมดสิบสี่สาขาโดยร้อยละ 90 ของเงินฝาก มีกำหนดสองปีหรือต่ำกว่า และมีบัญชีฝากของคนที่ไม่ใช่มุสลิมเพียงร้อยละ 2 ของทั้งหมด Man วิจารณ์ว่า การดำเนินการแบบmadaraba และ มุชาร่อกะฮฺ ซึ่งถือว่าสำคัญในสายตาของนักวิชาการทั่วไป จริง ๆ แล้ว ถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อยของการลงทุนของธนาคารทั้งหมด ขณะที่ Bai’ muajjal และ อิญาเราะฮฺ กลับเป็นส่วนที่สำคัญ

การวิเคราะฮฺโดย mastura ชี้ว่า ธนาคารอมานะฮฺ ฟิลิปปินส์ (PAB) ตามจริงแล้วมิใช่ธนาคารอิสลามเพราะกิจการมีดอกเบี้ยก็ยังคงอยู่ควบคู่กันไป กับกิจการอิสลาม ซึ่งดำเนินการทั้งแบบดอกเบี้ยและเปิด “หน้าต่าง” อิสลามสำหรับเงินฝาก mustura แสดงหลักฐานว่า ธนาคารPAB เน้นหนักการดำเนินการ มุรอฮะบะฮฺ โดยละเลย มุฏอร่อบะฮฺ และ มุชาร่อกะฮฺ PAB ยังใช้วิธีที่ไม่ถูกต้องนักในการจัดการสภาพคล่องที่เหลือ โดยใช้พันธบัตรกระทรวงการคลัง ที่มีดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามPAB ใช้ใน kilusang Kabuhayan และ kaunlaran (KKK) และอ้างถึงการดำเนินการ อิญาเราะฮฺ เพื่อจัดหาวัตถุดิบและเครื่องจักการเกษตรในโครงการผลิตอาหาร Quedon ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลปัจจุบัน

จนบัดนี้ ยังไม่มีการกล่าวถึงอินโดนีเชีย ประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีมุสลิมกว่าร้อยละ 90 ของประชากร 165 ล้านคน เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในจาวา เป็นมุสลิมในนาม เพราะอินโดนีเซียนับถือลัทธิ Pancasila ซึ่งมีลักษณะที่ไม่เคร่งกับศาสนา รัฐบาลปัจจุบันก็ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของระบบธนาคารอิสลามนัก นอกจากนั้น วัฒนธรรมในอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียงหลายท่านรวมทั้ง Hatta (อดีตรองประธานาธิบดี) ตั้งข้อสังเกตว่าริบะที่เป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม ไม่ใช่สิ่งเดียวกับดอกเบี้ยที่คิดในระบบธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าผู้บังคับกฎอิสลามในอินโดนีเซีย จะมีความเห็นตรงกันข้ามก็ตาม ซึ่งสาธารณาชนมุสลิมก็ดูจะวางเฉยกับเรื่องนี้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีสถาบันการเงินไร้ดอกเบี้ยในอินโดนีเซีย การกู้ยืมปราศจากดอกเบี้ยแบบดั้งเดิม ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ชนบทรู้จักกันในนาม ijon (เขียว) เนื่องจากมีการประกันเงินกู้ด้วยพืชที่ปลูกตามที่ Partadireja (2517) ได้อธิบายไว้อีกประเภทคือ ระบบarisanที่ใช้กันในกลุ่มผู้บริโภค กลุ่มพ่อค้าและช่างฝีมือรายย่อย โดยที่สมาชิกจะสมทบเงินจำนวนหนึ่งเป็นประจำ และได้รับเงินกู้ปราศจากดอกเบี้ยจากเงินส่วนกลางนั้นโดยการจับฉลาก จึงสรุปได้ว่าโอกาสที่จะเกิดธนาคารอิสลามในอินโดนีเซียยังห่างไกล (Rahardjo 2531)

สิ่งตีพิมพ์เกี่ยวกับธนาคารอิสลามล่าสุดเป็น ของ Nieuhaus (2531) สรุปว่า ธนาคารอิสลาม เป็นสิ่งที่ทำได้ในเศรษฐกิจระดับจุลภาค แต่ปฏิเสธข้ออ้างว่า ธนาคารอิสลามเป็นระบบที่เหนือกว่า เพราะเห็นว่ายังมีความล้มเหลวในบางจุด จากตัวอย่างเช่น สถาบันการเงินคูเวต เสียมากจากการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างในคูเวต ในปี 2527 และธนาคารอิสลามนานาชาติแห่งเดนมาร์ค ที่ขาดทุนย่อยยับในปี2528 และ2529ถึงกว่าร้อยละ 30ของทุนเรียกชำระแล้ว แต่Nienhousก็ชี้แจงว่าปัญหาที่ยกขึ้นนี้ เป็นปัญหาภายในที่แต่ละธนาคารมีอยู่เป็นการเฉพาะ ซึ่งคงไม่เหมาะที่จะหาข้อสรุปทั่วไปจากกรณีเฉพาะนี้ได้

Nienhaus ตั้งข้อสังเกตต่อว่า อัตราการเติบโตที่สูงในระยะแรกก็เริ่มลดลง แต่ก็ไม่หมายความว่าธนาคารอิสลามจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว แต่การเติบโตที่ลดลง น่าจะมาจากมูลค่าของฐานที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งดูจากผลการเติบโตโดยเปรียบเทียบแล้ว ธนาคารอิสลามก็ยังทำได้ดีในเกือบทุกกรณี ส่นแบ่งการตลาดก็เพิ่มขึ้นตามระยะเวลา แม้การเติบโตของเงินฝากจะเพิ่มในอัตราที่ลดลงก็ตาม เว้นแต่กรณีของธนาคารอิสลามไฟซ่อลแห่งซูดาน (FIBS) ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดลดลงจากร้อยละ 15 ในปี 2525 เหลือเพียงร้อยละ 7 ในปี 2529 แต่มูลค่าการตลาดที่เสียไปมิใช่ให้กับธนาคารทั่วไป แต่ให้กับธนาคารอิสลามที่ตั้งใหม่ในซูดาน
การปล่อยกู้การ ค้าระยะสั้น เป็นช่องทางที่ธนาคารอิสลามส่วนใหญ่เลือกทำ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเล็กหรือใหญ่ ซึ่งตรงข้ามกับการคาดการณ์ไว้ว่าธนาคารอิสลาม จะดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่ในการปล่อยกู้ แก่บริษัทบนพื้นฐานการเข้าร่วมลงทุน Nienhausกล่าวถึงสาเหตุว่า เป็นเพราะธนาคารมีเงินไม่มากพอและความต้องการเงินกู้ที่มีน้อยกว่า เพราะเจ้าของกิจการอาจชอบต้นทุนที่กำหนดเป็นดอกเบี้ยมากกว่าการปันผลกำไรกับ ธนาคาร

บทสรุป

ข้ออภิปราย ข้างต้น ทำให้เห็นชัดว่า ธนาคารอิสลาม ไม่ใช่สิ่งที่จะมองข้ามได้ หรือเป็นเพียง ปรากฎการณ์ชั่วคราว แต่เป็นสิ่งที่จะคงอยู่ และมีแนวโน้มว่ากำลังเติบโตและขยายออกไป แม้ผู้ที่ไม่ได้เชื่อถือในหลักการของอิสลาม ที่ต่อต้านการคิดดอกเบี้ย ก็อาจเห็นว่าแนวคิดใหม่ ๆ ของธนาคารอิสลามสามารถเพิ่มช่องทางความหลากหลายให้กับเครือข่ายการเงินที่มี อยู่ได้
จุดขายใหญ่ของธนาคารอิสลามอย่างน้อยก็ในทฤษฎี คือ ธนาคารจะคำนึงถึงความเป็นไปได้ และความสามารถในการทำกำไรของโครงการ หรือการดำเนินธุรกิจมากกว่าขนาด ซึ่งไม่เหมือนกับธนาคารทั่ว ๆ ไป โครงการที่ดี อาจไม่ได้รับการปล่อยกู้จากธนาคารทั่วไป แต่อาจได้รับจากธนาคารอิสลาม ที่ใช้พื้นฐานการปันผลกำไร ในแง่นี้ธนาคารอิสลามจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ แน่นอนว่าในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ มีธนาคารเพื่อการพัฒนาทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ธนาคารอิสลามจะมีลักษณะเป็นธุริจมากกว่าธนาคารเพื่อการพัฒนา อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว ธนาคารมักจะสนใจการปล่อยกู้ระยะสั้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำสุด ซึ่งอธิบายได้ว่า เพราะการปล่อยกู้ระยะยาวต้องการความเชี่ยวชาญสูง ซึ่งไม่ได้มีเสนอไป และการขาอโครงสร้างทางสถาบันที่มารองรับเช่น ตลาดทุนสำหรับตราสารการเงินอิสลาม หรืออาจเป็นได้ว่า แนวโน้มปล่อยกู้ระยะสั้น อาจมาจากที่ธนาคารอิสลามเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มดำเนินงาน ซึ่งเงินกู้ระยะสั้นจะบริหารง่ายกว่า และมีผลตอบแทนเร็วกว่า โดยธนาคารอาจเริ่มปล่อยกู้แบบร่วมทุนมากขึ้น เมื่อธนาคารเติบโตขึ้น

มี บางคนกล่าวว่าธนาคารอิสลามดูเหมือนจะไม่กระตือรือร้นนัก และมักจะทำตัวเหมือนว่าเป็นครอบตลาดของคนมุสลิม ซึ่งอย่างไรก็ต้องมาหาธนาคารอิสลามตามพื้นฐานศาสนา ซึ่งจะเห็นได้ชัดขึ้นอีกในประเทศที่มีธนาคารอิสลามเพียงธนาคารเดียว อิสลามิกชนหลายคนเห็นว่า การติดต่อกับธนาคารทั่วไปมีความสะดวกกว่า และไม่ได้รู้สึกผิดอย่างไร ที่จะเลือกฝากเงินกับธนาคารทั่วไป หรือธนาคารอิสลามก็ได้ ตามแต่ที่ใดให้ผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งเป็นกรณีที่ชี้ได้ว่า ธนาคารอิสลามในประเทศเหล่านี้ก็มีความจำเป็นต้องปรับตัว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตน อีกทางแก้หนึ่งก็คือ การอนุญาตให้ธนาคารทั่วไปดำเนินการให้กู้แบบร่วมทุน หรือการเปิด “หน้าต่าง” หรือ “ช่องบริการ” อิสลามขึ้น โดยต้องขึค้นอยู่กับกฎชะรีอะฮฺอย่างเคร่งครัด บางทีมันอาจเป็นข้อเสนอที่ไม่เกินเลยไปนัก ที่จะแนะนำว่า สถาบันการเงินอิสลาม จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิให้มีธนาคารมุฏอร่อบะฮฺ ธนาคารมุรอฮะบะฮฺ และธนาคารมุชาร่อกะฮฺ มีการแข่งขันซึ่งกันและกันเพื่อให้บริการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น