วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

การซื้อขายแบบลดแล้วชำระ

รูปแบบลดแล้วชำระที่ผู้เขียนกล่าวถึงมีรูปแบบคือ การที่ผู้ซื้อ (ในการซื้อขายแบบเงินผ่อน) ยอมลดจำนวนหนี้ (งวด) ที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระบางส่วน โดยที่ผู้ซื้อจะต้องชำระราคางวดดังกล่าวโดยทันที ตัวอย่างเช่น นายมุฮัมมัดขายรถจักรยานยนต์แก่นายอะลีแบบเงินผ่อนด้วยราคา 40,000 บาท โดยกำหนดการชำระราคาเป็น 20 งวดๆละ 2,000 บาท ทุกๆเดือน พอนายอาลีชำระราคาได้ 10 งวด นายมุฮัมมัดก็กล่าวแก่นายอะลีว่า ฉันจะลดจำนวนงวดที่ยังไม่ถึงเวลาชำระจากเดิม 20,000 บาท เหลือ 10,000 บาท โดยที่เธอจะต้องชำระราคางวดจำนวนดังกล่าวแก่ฉันทันที

ทัศนะของบรรดานักวิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้
บรรดานักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกเป็น 3 ทัศนะด้วยกัน
1- เป็นที่อนุมัติ
ทัศนะ นี้เป็นของท่านอิบนุอับบาส อิหม่ามนะเคาะอีย์ อิหม่ามซุฟัร และอิหม่ามอบูเซารฺ (อัลมุฆนีวัชชัรหุลกะบีรของอิหม่ามอิบนุ กุดามะฮฺ เล่มที่ 4 หน้า 174 , ชัรหุซซุกอนีย์ เล่มที่ 3 หน้า 23 , บิดายะตุลมุจตะฮิด ของอิหม่ามอิบนุรุชดฺ เล่มที่ 2 หน้า 143 )

2- ไม่เป็นที่อนุมัติ
ทัศนะ นี้เป็นของศอหาบะฮฺและตาบิอีนส่วนใหญ่ อิหม่ามหะนะฟีย์ อิหม่ามมาลิก อิหม่ามชาฟิอีย์ อิหม่ามอะหมัดและนักวิชาการส่วนใหญ่ (อัลมุฆนีวัชชัรหุลกะบีรของอิหม่ามอิบนุ กุดามะฮฺ เล่มที่ 4 หน้า 174 - 175 , ชัรหุซซุกอนีย์ เล่มที่ 3 หน้า 23 , ฟัตหุลอะซีซ เล่มที่ 10 หน้า 300 )


3- การแยกรายละเอียดกล่าวคือ ถ้าหากว่ามันเกิดจากการวางเงื่อนไข (ไม่ว่าจากผู้ขายหรือผู้ซื้อ) ก็ถือว่าไม่เป็นที่อนุมัติ และถ้ามันไม่ได้เกิดจากการวางเงื่อนไขก็ถือว่าเป็นที่อนุมัติ และการวางเงื่อนไขที่ทำให้การซื้อขายไม่เป็นที่อนุมัติคือการวางเงื่อนไขใน ขณะการทำสัญญาซื้อขาย
ทัศนะนี้เป็นของนักวิชาการในมัซฮับชาฟิอีย์ (ฟะตาวาอัสสุบกีย์ เล่มที่ 1 หน้า 351)

สาเหตุของการขัดแย้ง
ท่าน อิหม่ามอิบนุรุชดฺกล่าวว่า "และหลักฐานของกลุ่มที่มีทัศนะว่ามันไม่เป็นที่อนุมัติคือมันมีความคล้าย คลึงกับการเพิ่มอันเนื่องมาจากการขยายระยะเวลาชำระ (ดอกเบี้ย) ซึ่งส่วนที่คล้ายกันคือมีการประเมินค่าระยะเวลาเป็นส่วนหนึ่งของราคา และหลักฐานของกลุ่มที่มีทัศนะว่ามันเป็นที่อนุมัติคือหะดีษอิบนุอับบาส (ดังที่ผู้เขียนจะนำเสนอในข้อ 1.1) ดังนั้นสาเหตุของการขัดแย้งคือการขัดกันระหว่างการเทียบเคียง (กิยาส) กับหะดีษ" (บิดายะตุลมุจตะฮิด ของอิหม่ามอิบนุรุชดฺ เล่มที่ 4 หน้า 75)

หลักฐานของแต่ละกลุ่ม

หลักฐานของกลุ่มที่มีทัศนะว่าลดแล้วชำระเป็นที่อนุมัติ
ความ ว่า จากท่านอิบนิอับบาส แท้จริงท่านนบีครั้นเมื่อท่านขับไล่ชาวยิวบนีอันนะฎิร (ออกจากมาดี นะหฺ) ได้มีส่วนหนึ่งจากพวกเขามาหาท่านนบีแล้วกล่าวว่า โอ้ท่านนบีของอัลลอฮฺ ท่านขับ ไล่พวกเรา ทั้งๆที่มนุษย์ (ชาวมาดีนะหฺ) ยังมีหนี้สินที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระกับพวกเรา? ท่านนบีก็ตอบว่า พวกเจ้าจงลดจำนวนหนี้และจงสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้โดยเร็ว (อัลหากิม. 1990.อัลมุสตัดร็อกอะลัศศอหีหัยนฺ (เบรุต : ดารุลกุตุบุลอิลมียะฮฺ) ,เล่มที่ 2 หน้า 52)

1.จากหะดีษ

2. คำชี้ขาดของท่านอิบนุอับบาส
ท่าน อิบนุอับบาสได้ถูกถามเกี่ยวกับชายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลา ชำระ แล้วเขาก็กล่าวแก่ลูกหนี้ของเขาว่า "เธอจงชำระหนี้แก่ฉันเถิด แล้วฉันจะลดจำนวนหนี้แก่เธอ" ท่านอิบนุอับบาสตอบว่า "ไม่เป็นไร แท้จริงแล้วดอกเบี้ยนั้นมีรูปแบบคือการที่ลูกหนี้กล่าวแก่เจ้าหนี้ว่า ขอให้ท่านขยายเวลาชำระหนี้แก่ฉันเถิด แล้วฉันจะเพิ่มจำนวนหนี้แก่ท่าน มิใช่การที่เจ้าหนี้กล่าวแก่ลูกหนี้ว่า เธอจงชำระหนี้แก่ฉันเถิด แล้วฉันจะลดจำนวนหนี้แก่เธอ" (อัลมุศ็อนนัฟ ของอิหม่ามอับดุลร็อซซาค เล่มที่ 8 หน้า 72)

3.จากเหตุผลทางปัญญา
การที่ผู้ขายทำ เช่นนี้ถือว่าเขายอมสละสิทธิส่วนหนึ่งของตัวเองซึ่งเป็นที่อนุมัติให้ทำได้ เหมือนกับกรณีการชำระราคาแบบเงินสดซึ่งเป็นที่อนุมัติให้ผู้ขายลดราคาสินค้า แก่ผู้ซื้อได้เช่นกัน (มาญัลละห์มุญัมมาอุลฟิกหิลอิสลามี , ฉบับที่ 6, เล่มที่ 1 , ปี ฮ.ศ 1410 หน้า 288)

หลักฐานของกลุ่มที่มีทัศนะว่าลดแล้วชำระไม่เป็นที่อนุมัติ

1. จากหะดีษ

ความ ว่า จากท่านมิกดาด อิบนุ อัสวัดกล่าวว่า ฉันให้ยืมเงินชายคนหนึ่งจำนวน 100 ดีนาร์ แล้วปรากฏว่าฉันมีชื่ออยู่ในรายชื่อทหารที่ท่านนบีจะส่งออกไปรบ ฉันจึงกล่าวแก่ชายคนนั้นว่า จงจ่าย 90 ดีนาร์แก่ฉันแล้วฉันจะลดให้เธอ 10 ดีนาร์ เขาตอบว่า ตกลง แล้วเขาก็เล่าเรื่องนี้แก่ท่านรอซูลฟัง ท่านกล่าวว่า ท่านได้กินดอกเบี้ยของมิกดาดแล้ว (รายงายโดยอิหม่ามอัลบัยฮะกียฺ ในอัสสุนันอัลกุบรอ)

2. รายงานจากศอหาบะฮฺ
2.1 คำชี้ขาดของท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร
ท่าน อับดุลรอหมาน อิบนุ มุฏอิม เล่าว่าฉันได้ถามท่านอิบนุอุมัรเกี่ยวกับชายคนหนึ่วที่ติดหนี้ฉันซึ่งยังไม่ ถึงกำหนดเวลาชำระแล้วฉันก็กล่าวแก่เขาว่าจงชำระหนี้ของฉันเดี่ยวนี้ แล้วฉันจะลดจำนวนหนี้บางส่วนแก่เธอ ท่านก็ได้ห้ามฉันจากมัน (อัลมุศ็อนนัฟ ของอิหม่ามอับดุรร็อซซาค เล่มที่ 8 หน้า 74)

2.2 ท่านซัยดฺ อิบนุ ซาบิต ก็ได้สั่งห้ามจากมันเช่นกัน (ฟะตาวาอัสสุบกีย์ เล่มที่ 1 หน้า 351)
หลัก ฐานของกลุ่มที่มีทัศนะว่าถ้าหากว่ามันเกิดจากการวางเงื่อนไขก็ถือว่าไม่เป็น ที่อนุมัติ และถ้ามันไม่ได้เกิดจากการวางเงื่อนไขก็ถือว่าเป็นที่อนุมัติ
มี การขัดกันระหว่างหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามันเป็นที่อนุมัติกับหลักฐานที่บ่งชี้ ว่ามันไม่เป็นที่อนุมัติ เราจึงนำหลักฐานดังกล่าวมารวมกันโดยการแยกรายละเอียด (ฟะตาวาอัสสุบกีย์ เล่มที่ 1 หน้า 351)

การแสดงทัศนะที่ถูกต้องที่สุดในทัศนะของผู้เขียน
ทัศนะ ที่ถูกต้องที่สุดในทัศนะของผู้เขียนคือทัศนะของกลุ่มที่ 3 ที่มีทัศนะว่าถ้าหากว่ามันเกิดจากการวางเงื่อนไขก็ถือว่าไม่เป็นที่อนุมัติ และถ้ามันไม่ได้เกิดจากการวางเงื่อนไขก็ถือว่าเป็นที่อนุมัติ การที่ผู้เขียนมีทัศนะเช่นนี้เพราะว่าหะดีษที่ 2 กลุ่มแรกนำมาอ้างเป็นหลักฐานนั้นเป็นหะดีษที่อ่อนแอ ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้ กล่าวคือ หะดีษของท่านอิบนุอับบาสที่ว่า

ความว่า จากท่านอิบนิอับบาส แท้จริงท่านนบีครั้นเมื่อท่านขับไล่ชาวยิวบนีอันนะฎิร (ออกจากมาดี นะหฺ) ได้มีส่วนหนึ่งจากพวกเขามาหาท่านนบีแล้วกล่าวว่า โอ้ท่านนบีของอัลลอฮฺ ท่านขับ ไล่พวกเรา ทั้งๆที่มนุษย์ (ชาวมาดีนะหฺ) ยังมีหนี้สินที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระกับพวกเรา? ท่านนบีก็ตอบว่า พวกเจ้าจงลดจำนวนหนี้และจงสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้โดยเร็ว
รายงานโดยอิหม่ามอัลหากิมและอัดดารุกุฏนีย์ (อ้างแล้ว)

ใน สายรายงานของหะดีษนี้มีชายคนหนึ่งชื่อมุสลิม บิน คอลิด ซึ่งท่านอิหม่ามอัดดารุกุฏนีย์กล่าวถึงชายคนนี้ว่า เป็นผู้ที่เชื่อถือได้แต่มีความจำที่ไม่ค่อยดี 1 (สุนันอัดดารุกุฏนีย์, เล่มที่ 2 หน้า 46)
ส่วนหะดีษของท่านท่านมิกดาด ที่ว่า

ความ ว่า จากท่านมิกดาด อิบนุ อัสวัดกล่าวว่า ฉันให้ยืมเงินชายคนหนึ่งจำนวน 100 ดีนาร์ แล้วปรากฏว่าฉันมีชื่ออยู่ในรายชื่อทหารที่ท่านนบีจะส่งออกไปรบ ฉันจึงกล่าวแก่ชายคนนั้นว่า จงจ่าย 90 ดีนาร์แก่ฉันแล้วฉันจะลดให้เธอ 10 ดีนาร์ เขาตอบว่า ตกลง แล้วเขาก็เล่าเรื่องนี้แก่ท่านรอซูลฟัง ท่านกล่าวว่า ท่านได้กินดอกเบี้ยของมิกดาดแล้วรายงายโดยอิหม่ามอัลบัยฮะกียฺ (อ้างแล้ว)
ท่านอิหม่ามอัสสุบกีย์กล่าวว่า สายรายงานของมันฎออีฟ (อ่อนแอ) (ฟะตาวาอัสสุบกีย์ เล่มที่ 1 หน้า 351)

ส่วน คำชี้ขาดของท่านอิบนุอับบาสซึ่งเป็นหลักฐานของกลุ่มที่ 1 ก็ถูกแย้งโดยคำชี้ขาดของท่านอิบนุอุมัรและท่านซัยดฺ อิบนุ ซาบิต ซึ่งเป็นหลักฐานของกลุ่มที่ 2 ทั้งสองจึงไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้

ส่วน หลักฐานทางสติปัญญาของกลุ่มที่ 1 นั้นก็คือ การที่ผู้ขายทำเช่นนี้ถือว่าเขายอมสละสิทธิส่วนหนึ่งของตัวเองซึ่งเป็นที่ อนุมัติให้ทำได้ เหมือนกับกรณีการชำระราคาแบบเงินสดซึ่งเป็นที่อนุมัติ ให้ผู้ขายลดราคาสินค้าแก่ผู้ซื้อได้เช่นกัน หลักฐานนี้ก็สนับสนุนทัศนะของกลุ่มที่ 3 แต่จะต้องไม่มีการวางเงื่อนไขในขณะการทำสัญญาซื้อขาย ทั้งนี้เพราะการวางเงื่อนไขนั้นทำให้การกระทำแบบดังกล่าวคล้ายกับดอกเบี้ย

คัดลอกจาก: ห้องสมุดอิสลามยะลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น