วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

อิสลามกับการพัฒนา และ ดอกเบี้ย(The islam development and interest)

ในประวัติศาสตร์การแพร่หลายของศาสนา รวมทั้งศาสนาอิสลาม เราจะพบเห็นแนวความคิดในการตีความคำสอนของศาสนาหลายแนวด้วยกัน แนวใหญ่ ๆ มีสองแนวจึงทำให้สังคมแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามแนวความคิดนั้น ๆ ด้วย แนวหรือกลุ่มดังกล่าวนั้น คือกลุ่มที่ตีความคัดค้านความคิดแบบก้าวหน้าและสนับสนุนความคิดเก่า ๆ อีกกลุ่มหนึ่งตีความเพื่อความสมัยใหม่ เพื่อความก้าวหน้า และเพื่อความเป็นธรรมในระหว่างมนุษยชาติ ทั้งสองกลุ่มนี้จะปรากฏในสังคมทุกยุคสมัย จนถึงยุคของเรานี้ และในสังคมของเราเดี๋ยวนี้

ในทุกวันนี้ เราสามารถเห็นสองกลุ่มดังกล่าวในสังคมมุสลิมเรา ที่เรียกว่า กลุ่มหัวเก่า หรือ “คณะเก่า” และกลุ่มหัวใหม่ หรือ “คณะใหม่” หรือถ้าจะพูดตามภาษาสมัยนี้ก็คือ พวกขวา กับ พวกซ้าย

กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่มีผลประโยชน์อย่างมากในระบบสังคมของเรา ปัจจุบันการตีความคำสอนศาสนาของกลุ่มนี้ตามข้อเท็จจริงแล้ว มีความมุ่งหมายสืบต่อเจตน์จำนงแห่งระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่มีอยู่แล้วในอดีตและกำลังมีอยู่ในปัจจุบัน ฉะนั้น ไม่ว่าพวกเขาจะตีความเรื่องอะไร พวกเขามักจะโยนความผิดให้แก่ประชาชน เป็นต้นว่า ไม่ศรัทธา, ไม่เข้าใจศาสนา, ไม่มีศาสนา, มีความรู้เรื่องศาสนาไม่เพียงพอ ฯลฯ พวกเขาไม่ยอมแตะต้องระบบของสังคมนั้นแม้แต่อย่างใด

ส่วนกลุ่มหลัง พวกเขาได้ตีความของคำสอนแห่งอิสลามแบบนำหน้าและแฉของต้องห้ามต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลในสังคมแห่งยุคสมัยของตน เป็นต้นว่าระบบ “ดอกเบี้ย” ซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญยิ่งในสังคมแห่งทุนนิยม ซึ่งเป็นของต้องห้ามในอิสลาม แต่เราไม่ค่อยได้ยินจากกลุ่มแรกที่แสดงออกในการแช่งระบบดังกล่าวในสังคมที่พวกเขาประสบอยู่เว้นแต่ด้วยวิธีธรรมดาที่สุด

ผู้เขียนคือ อาจารย์ กอสิม อะหฺมัด(Kassim Ahmad) อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya) ซึ่งขณะนี้รัฐบาลมาเลเซียได้คุมตัวในที่คุมขังอยู่ โดยไม่ได้รับการพิจารณาใด ๆ เลย ได้พยายามเปิดเผยว่า แนวความคิดในการพัฒนาในอิสลามนั้น แตกต่าง “และ” ขัดกันกับแนวความคิดในการพัฒนาตามระบอบทุนนิยม ซึ่งเป็นระบอบที่มีอำนาจอยู่ในโลกนี้ และโลกตะวันตกในปัจจุบัน

เรื่องแรกในหนังสือเล่มนี้คือ “แนวความคิดในการพัฒนาตามระบอบอิสลาม” นั้น ผู้เขียนได้ร่างขึ้นมาเพื่อเตรียมจะพูดในที่ประชุมแห่งหนึ่ง ซึ่งจัดโดยสถาบันการสงเคราะห์มลายูแห่งสภาเทศบาลกรุงกัวลาลุมปูรฺ ซึ่งตามหมายกำหนดการจัดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน 1975 แต่การประชุมดังกล่าวถูกยกเลิกไป ผุ้เขียนจึงได้นำส่วนใหญ่ของต้นบับไปลงในหนังสือพิมพ์ “อุตุสซัน มาเลเซีย์ (Utusan Malaysia) ฉบับที่ 22 และ 23 ตุลาคม 1975 ส่วนเรื่องหลังเป็นบทความที่ผู้ได้เขียนเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1975

อนึ่ง ในหนังสือเล่มนี้ เราได้ผนวกเรื่อง “ระบบธนาคารอิสลาม” เข้าไว้ด้วย ซึ่งเป็นบทความที่เขียนโดยคุณบรรจง บินกาซัน ในหนังสือ “ดอกเบี้ย” และระบบธนาคารอิสลาม” จัดพิมพ์โดยกลุ่ม “นักศึกษามุสลิมกรุงเทพ, พ.ศ.2520 เราขอขอบคุณผุ้เขียนที่ได้อนุญาตให้เราพิมพ์เรื่องนั้น ผนวกในหนังสือเล่มนี้มา ณ โอกาสนี้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น