วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มติและคำแนะนำสภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม เลขที่ 110(9/12) เกี่ยวกับเรื่องเงินเฟ้อและการขึ้นลงของอัตราเงิน

มติและคำแนะนำสภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม เลขที่ 110(9/12) เกี่ยวกับเรื่องเงินเฟ้อและการขึ้นลงของอัตราเงิน

ในการประชุมครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ญะมาดิลอาคิรฺ ถึงวันที่ 1 เดือนเราะญับ ฮ.ศ.1421 ตรงกับวันที่ 23 -28 กันยายน ค.ศ.2000 ในกรุงริย้าด (อาณาจักรซาอุดิอารเบีย) สภาวิชาการนิติศาสตร์อิสลาม(The Council of Islamic Fiqh Academy) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยองค์การที่ประชุมอิสลาม (OIC) ได้พิจารณาการศึกษาครั้งล่าสุดและการแนะนำของสภานิติศาสตร์เศรษฐกิจเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าเรื่องเงินเฟ้อ (ซึ่งจัดขึ้นสามครั้งในญิดด๊ะฮฺ, กัวลาลัมเปอร์และมานาม) และหลังจากที่ได้ฟังการพูดคุยกันถึงเรื่องนี้โดยผู้เชี่ยวชาญและนักนิติศาสตร์อิสลามแล้ว สภามีมติว่า :

1) ยืนยันมติหมายเลข 42 (4/5) ก่อนหน้านี้ซึ่งกล่าวว่า :- “สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงในการชำระเงินกู้คืนก็คือการจ่ายเงินคืนจะต้องจ่ายด้วยเงินสกุลเดียวกันในจำนวนที่เท่ากัน ไม่ใช่จ่ายโดยมูลค่าของสกุลเงินนั้น เพราะเงินกู้จะต้องจ่ายคืนด้วยเงินจำนวนเดียวกัน ดังนั้น จึงไม่เป็นที่อนุญาตให้ผูกการจ่ายเงินกู้ไว้กับการขึ้นลงของอัตราสกุลเงินไม่ว่าจะสกุลเงินอะไรก็ตาม”

2) อนุญาตให้กำหนดมาตรการระวังล่วงหน้าเมื่อทำสัญญากู้เงินในช่วงเวลาของเงินเฟ้อโดยไม่ต้องใช้สกุลเงินที่คิดว่าจะมีอัตราผันผวน เงินกู้อาจทำได้โดยสิ่งต่อไปนี้ :

ก) ทองคำหรือเงิน

ข) สินค้าที่เหมือนกัน

ค) สินค้าที่เหมือนกันจำนวนหนึ่ง

ง) เงินต่างประเทศที่แข็งค่ากว่า

จ) เงินจำนวนหนึ่ง เป็นเรื่องจำเป็นที่เครื่องมือการชำระเงินในกรณีดังกล่าวมาข้างต้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากับจำนวนที่กู้มา ผู้ให้กู้จะต้องได้รับเฉพาะสิ่งที่ตัวเองให้กู้ไปเท่านั้น กรณีดังกล่าวแตกต่างไปจากกรณีต้องห้ามที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งให้เงินกู้ไปสกุลหนึ่งและกำหนดให้ผู้กู้จ่ายคืนด้วยเงินอีกสกุลหนึ่งหรือจำนวนหนึ่ง ข้อห้ามในกรณีเช่นนี้ได้ถูกประกาศไว้แล้วในมติเลขที่ 75 (6/8) ของสภาในการประชุมครั้งที่ 8

3) จากทัศนะของอิสลาม ไม่เป็นที่อนุญาตให้ทำสัญญาที่มีข้อตกลงผูกพันเงินกู้ไว้กับสิ่งต่อไปนี้ :-

ก) สกุลเงินที่ใช้หักหนี้

ข) ดัชนีครองชีพหรือดัชนีอื่นๆ

ค) ทองคำและเงิน

ง) ราคาของสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง

จ) ดัชนีการพัฒนาผลผลิตแห่งชาติ

ฉ) สกุลเงินอื่น

ช) ดอกเบี้ย

ซ) ดัชนีราคาของสินค้าบางอย่าง

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการผูกพันดังกล่าวนำไปสู่การหลอกลวงและคู่สัญญาไม่รู้แน่ชัดถึงสิทธิ์และความรับผิดชอบของตน สัญญาจะถูกต้องใช้ได้ก็ต่อเมื่อคู่สัญญารู้แน่ชัดในสัญญาและทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นล่วงหน้าในการทำสัญญา ถ้าเงินกู้ถูกกำหนดไว้ให้ขึ้นอยู่กับการขึ้นราคาของสินค้าแล้ว เงินกู้ก็จะไม่มีมูลค่าเท่าเดิมในตอนชำระคืน และการเพิ่มขึ้นใดในสิ่งที่ได้ถูกกำหนดไว้ในสัญญาก็คือดอกเบี้ย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น