วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ตะกาฟุล ประกันภัยแบบอิสลาม(Takaful in islam)

ตะกาฟุล​ ​ประ​กัน​ภัยแบบอิสลาม

โดย​ปกติ​ ​เมื่อ​ผู้​เอาประ​กัน​จ่ายเบี้ยประ​กัน​ไป​แล้ว​ ​ผู้​เอาประ​กัน​จะ​ไม่​รู้​เลยว่าบริษัทประ​กัน​จะ​บริหาร​และ​จัดสรรเงินเบี้ยประ​กัน​อย่างไร​ ​เพราะ​เมื่อซื้อประ​กัน​แล้ว​ ​ผู้​เอาประ​กัน​ก็ถือว่า​ "เป็น​เรื่องของเอ็ง​ ​รถข้าประสบอุบัติ​เหตุ​เมื่อ​ใด​ ​เอ็งจ่ายเงินประ​กัน​ให้​ข้าก็​แล้ว​กัน" ความ​คิดดังกล่าว​จึง​เป็น​ความ​คิดแบบตัวใครตัวมัน​ ​ขอ​ให้​ตัวเอง​ได้​ก็​แล้ว​กัน​

แต่​ความ​คิดเช่นนี้​จะ​หมดไป​ถ้า​หาก

1) ผู้​เอาประ​กัน​ได้​รู้ว่า​เบี้ยประ​กัน​ของตน​จะ​ถูกหักออกไปจำ​นวนหนึ่ง​ ​สมมุติ​ 2.5% เป็น "เงินบริจาค​ช่วย​เหลือ​ผู้​เอาประ​กัน​กัน​คน​อื่นๆ​ที่ประสบภัย" และ​ตัวเลขนี้​ต้อง​ระบุ​ให้​ชัดเจนว่า​เป็น​อะ​ไร​และ​จำ​นวน​เท่า​ใด

2) ผู้​เอาประ​กัน​ได้​รู้ว่า​เขา​เป็น​หุ้น​ส่วน​ใน​บริษัทที่​เขา​จ่ายเบี้ยประ​กัน​ด้วย​ ​บริษัทประ​กัน​ไม่​ใช่​เจ้ามือ​ ​แต่​เป็น​คณะ​ผู้​รับมอบอำ​นาจ​ใน​การบริหารเงินเบี้ยประ​กัน​ของพวก​เขา​ใน​การนำ​ไป​ช่วย​เหลือสมาชิก​ผู้​จ่ายเบี้ยประ​กัน​ร่วม​กับ​พวก​เขา​เมื่อประสบอุบัติ​เหตุ​ ​เจ็บไข้​ได้​ป่วย​หรือ​เสียชีวิตตามที่ตกลง​กัน​ไว้​ใน​กรมธรรม์ แต่​เมื่อบริษัท​ต้อง​มี​ผู้​บริหาร​ ​ผู้​จัดการ​ ​พนักงาน​ ​ค่า​ใช้​จ่ายต่างๆ​ ​พวก​เขา​ก็ยินดีที่​จะ​จ่าย​ ​ขอ​ให้​กำ​หนดมา​ให้​ชัดเจนก็​แล้ว​กัน

ส่วน​เงินที่​เหลือ​จาก​นั้น​ ​บริษัท​ผู้​บริหารเงินประ​กัน​จะ​ต้อง​ใช้​ความ​สามารถ​ใน​การนำ​ไป​ ​แสวงหาราย​ได้​ที่​ไม่​ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลาม (ชะรีอ๊ะฮฺ) หาก​ได้​กำ​ไรก็​จะ​ปันผลแก่​ผู้​จ่ายเบี้ยประ​กัน​ตามสัด​ส่วน​ที่ตกลง​กัน​ไว้​เมื่อกรมธรรม์ครบอายุ​ใน​กรณีของการประ​กัน​อุบัติ​เหตุ​หรือ​นำ​ไปสะสม​ไว้​ใน​บัญชีของ​ผู้​ถือกรมธรรม์ประ​กัน​ชีวิต​ใน​ระยะยาว เงินกำ​ไรนี้​ ​บริษัท​สามารถ​ที่​จะ​นำ​ส่วน​หนึ่งไปสะสม​ไว้​ใน​ "บัญชีบริจาค" ก็​ได้​เพื่อ​เป็น​การเพิ่มสวัสดิการแก่สมาชิก​และ​รักษาบรรยากาศการแข่งขัน​ใน​การ​ให้​บริการ

หาก​เป็น​ไปดังที่กล่าวมาข้างต้น​ ​ธุรกิจประ​กัน​ก็​ไม่​มีอะ​ไรที่ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลาม

การเติบโตของธุรกิจตะกาฟุล

ถึง​แม้อิสลาม​จะ​เริ่มต้นที่ซาอุดีอารเบีย​ ​แต่การนำ​หลักการอิสลามมาประยุกต์​ใช้​ใน​ธุรกิจตะกาฟุลกลับเริ่มต้นที่ซูดาน​และ​มา​เติบโตที่มา​เลเซีย​ ​บริษัทตะกาฟุลของมา​เลเซียถูกจัดตั้งขึ้น​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ.2527 หลัง​จาก​ที่​ได้​มีการก่อตั้งธนาคารอิสลามขึ้นมาก่อน​ ​ทั้ง​นี้​เนื่อง​จาก​ธุรกิจประ​กัน​เป็น​สิ่งจำ​เป็น​สำ​หรับธุรกิจธนาคาร​และ​เนื่อง​จาก​รัฐบาลประ​เทศมา​เลเซียมีนโยบายที่​จะ​ให้​ระบบการเงินอิสลาม​เป็น​ทางเลือกของประชาชนที่นับถืออิสลาม​ ​รัฐบาลมา​เลเซียก็​ได้​ออกพระราชบัญญัติตะกาฟุลมาสนับสนุนจนธุรกิจตะกาฟุลของมา​เลเซียมี​ความ​เข้มแข็ง

อาจกล่าว​ได้​ว่า​ใน​ปัจจุบัน​ ​ถึง​แม้มา​เลเซีย​จะ​เป็น​ประ​เทศ​เล็กๆ​ที่มีประชาชนนับถืออิสลามประมาณ​ 60 % แต่ประ​เทศมุสลิม​ทั่ว​โลกก็ยอมรับว่ามา​เลเซีย​เป็น​ชาติ​ผู้​นำ​และ​เป็น​แบบอย่างทางด้านสถาบันการเงินอิสลาม​ ​ธุรกิจตะกาฟุลเติบโตอย่างรวด​เร็ว​และ​มีจำ​นวนเพิ่มมากขึ้น​ใน​มา​เลเซีย​ ​ถึง​แม้ประ​เทศต่างๆ​ใน​ภูมิภาคเอเชีย​จะ​ประสบปัญหา​เศรษฐกิจฟองสบู่​แตก​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ.2540 แต่​ด้วย​ระบบของอิสลาม​ ​ทั้ง​ธนาคารอิสลาม​และ​ธุรกิจตะกาฟุลของมา​เลเซียก็​สามารถ​ยืนท้าทายฝ่าวิกฤตมา​ได้​อย่างสง่างาม​ ​เป็น​หลักฐานพิสูจน์ว่าระบบของอิสลาม​สามารถ​นำ​มา​ใช้​ได้​ใน​โลกปัจจุบัน​

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น