วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บัญชี ซะกาต

หลักการซะกาต

เป็นหลักการสำคัญข้อหนึ่งจากหลักการอิสลามทั้งห้าประการ ในทางภาษา ซะกาต คือความเพิ่มพูน และความเจริญงอกงาม และยังหมายถึงการชำระตัวผู้จ่ายซะกาต และทรัพย์สินของเขาให้สะอาดอีกด้วย ในทางศาสนา ซะกาต คือ ส่วนหนึ่งของทรัพย์ตามที่ศาสนากำหนด ที่จะต้องจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ

ผู้ที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต
คือ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม และครอบครองทรัพย์สินไว้ครบพิกัดครบหนึ่งปีจันทรคติ

ทรัพย์ที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต
ได้แก่ ทองคำและเงิน, ปศุสัตว์ เช่น แพะแกะ วัวควาย อูฐ, ธัญญพืช เช่น ข้าวสาร ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโพด ถั่ว และผลไม้จำพวกอินทผลัมแห้ง องุ่นแห้ง, ทรัพย์สินที่ใช้ในการค้าหรือสินค้า

พิกัดซะกาต
ทองคำ มีน้ำหนักตั้งแต่ 20 มิซกอลหรือ 85 กรัม (ประมาณ 5.6 บาท) เงิน มีน้ำหนักตั้งแต่ 200 ดิรฮัมหรือ 672 กรัม ซึ่งแต่เดิมมีค่าเท่ากับทองคำ 20 มิซกอล ให้ตีราคาทองคำตามราคาตลาด ณ วันที่ครบรอบปีเป็นธนบัตร และจ่ายซะกาต 2.5 %

วิธีคิดซะกาต
เช่น ขณะนี้ทองคำมีราคาบาทละ 9,150 บาท X 5.6 ═ 51,240 บาท X 2.5 ÷ 100 ═ 1,281 บาทดังนั้นผู้ที่มีเงินเก็บไว้ตั้งแต่ 51,240 บาท ไว้จนครบรอบปีจันทรคติ เขาจะต้องจ่ายซะกาตเป็นเงินจำนวน 1,281 บาท

องค์กรจัดเก็บซะกาตในประเทศไทย ยังไม่มีองค์กรจัดเก็บซะกาตในประเทศไทย กฎหมายที่ระบุเรื่องซะกาต คือ พระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “บัญชีซะกาต” หมายความว่า บัญชีที่ธนาคารจัดตั้งขึ้นเพื่อบริจาค และรับดำเนินการบริจาคตามหลักการของศาสนาอิสลาม

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งบัญชีซะกาตขึ้นแล้ว ชื่อบัญชี บัญชีซะกาต บัญชีเลขที่ 001-2-03879-0 สาขาคลองตัน และจ่ายซะกาตสมทบ เข้าบัญชีได้ที่ทุกสาขา

การดำเนินการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 3 “บัญชีซะกาต”
1- เป็นตัวแทนรับจ่ายซะกาต และจากผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมสมทบกับบัญชีซะกาตของธนาคาร และจ่ายซะกาตธนาคารจะจ่ายซะกาตจากบัญชีของลูกค้าได้หรือไม่ ?ลูกค้าคือผู้ที่จะจ่ายซะกาตจากบัญชีของตนเอง แต่มีบางกรณีที่ธนาคารอาจเข้าทำหน้าที่จ่ายซะกาต จากบัญชีของลูกค้าได้ คือ ในกรณีที่ลูกค้ามอบอำนาจให้ธนาคารจ่ายซะกาตแทนตนเงินฝากของลูกค้าต้องจ่ายซะกาตหรือไม่ ?ทรัพย์สินของมุสลิมที่อยู่ในธนาคารอิสลาม จะต้องจ่ายซะกาต ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้หลักวะดีอะห์หรือภายใต้หลักมุฎอรอบะฮ์ ก็ตาม

2- ให้บริการรับโอนซะกาต คือ เมื่อลูกค้ามีความประสงค์จะโอนเงินซะกาตของตน ไปให้แก่บุคคลที่ตนต้องการผ่านธนาคาร การให้บริการนี้ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเงิน

3- จ่ายสมทบเข้าบัญชีซะกาต ทรัพย์สินในธนาคารมีสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นของผู้ถือหุ้น และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากของลูกค้า ส่วนที่ธนาคารจะจ่ายสมทบเข้าบัญชีซะกาต คือ ผลกำไรที่เกิดจากการประกอบการของธนาคาร

ปีบัญชีซะกาต คิดบัญชีซะกาต ตามปฏิทินจันทรคติ และจ่ายซะกาตในอัตราร้อยละ 2.5 % ไม่ยินยอมให้ใช้ปฏิทินสุริยคติ นอกจากกรณีจำเป็น เช่นบริษัทต่างๆที่มีปีงบดุลตามปฏิทินสุริยคติ ซึ่งมากกว่าปฏิทินจันทรคติ ประมาณ 11 วัน และจะต้องจ่ายซะกาตเพิ่มขึ้น เป็นอัตราร้อยละ 2.5775 %

ผู้มีสิทธิ์รับซะกาต
ตามที่ศาสนากำหนดคือ คนยากจน, คนยากไร้, เจ้าหน้าที่เก็บซะกาต, ผู้ที่ศรัทธาใหม่, ทาสที่ต้องการไถ่ตน, คนมีหนี้สินในวิถีทางของอัลเลาะห์, และคนเดินทาง

คณะกรรมการซะกาตของธนาคาร คือ คณะที่ปรึกษาด้านศาสนาของธนาคาร มีหน้าที่พิจารณากิจการซะกาต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น