วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ความแตกต่างทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์อิสลาม(The various of economist) ตอนที่ 1

ความแตกต่างทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์อิสลามที่สามารถรวบรวมได้จนถึงปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1 ทัศนะในกลุ่มแรกนี้นำโดย Bagir as-Sadr ด้วยงานเขียนของเขาที่ชื่อว่า “อิกติศอดุนา” ทัศนะในกลุ่มนี้มรความเห็นว่า วิชาเศรษฐศาสตร์นั้นไม่เคยไปในทางเดียวกันกับอิสลาม เศรษฐศาสตร์ก็เป็นเศรษฐศาสตร์ อิสลามก็ยังคงเป็นอิสลาม ทั้งสองไม่สามารถที่จะรวมกันได้เลย เพราะทั้งสองมาจากปรัชญาที่แตกต่างกัน อีกด้านหนึ่งต่อต้านอิสลาม อีกด้านหนึ่งเป็นอิสลาม

ตามทัศนะของกลุ่มนี้มีความเห็นว่า ความแตกต่างทางปรัชญามีผลต่อความแตกต่างทางมุมมองในเรื่องเศรษฐกิจ ตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นเพราะความต้องการของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด ส่วนทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อตอบสนองความต้องการของมุษย์มีอยู่จำนวนจำกัด ตามทัศนะกลุ่มนี้ปฎิเสฐขัอคิดเห็นดังกล่าว เพราะพวกเขาเห็นว่าอิสลามนั้นไม่รู้จักกับคำว่าทรัพยากรมีอยู่จำกัด หลักฐานที่ใช้คือ อายาตอัลกุรอ่านที่มีใจความว่า “แท้จริงทุกๆ สิ่งนั้นเราสร้างมันตามสัดส่วน” (สูเราะห์อัลกอมัร อายาตที่ 49)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺนั้นได้สร้างทรัพยากรที่มีอยู่อย่างพอเพียงต่อมนุษย์ในการมีชีวิตในโลกนี้ ทัศนะกลุ่มนี้เช่นกันได้ปฎิเสฐแนวความคิดที่ว่า มนุษย์นั้นมีความต้องการที่ไม่จำกัด ดูได้จากตัวอย่าง การที่มนุษย์ดื่มน้ำ เมื่อเขาอิ่มเขาก็จะหยุดกินทันที เป็นการไม่จริงที่มนุษย์มีความต้องการไม่จำกัด (จงเปรียบทัศนะนี้กับทฤษฎีอรรถประโยชน์เพิ่ม กฎของการลดน้อยถอยลงและกฎของ Gossen ในวิชาเศรษฐศาสตร์) ทัศนะกลุ่มนี้มีความเห็นว่า เศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นมาจากการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม จนทำให้ผู้ที่แข็งแรงเอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่า มีสิทธิในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรมากกว่า จนทำให้มีความร่ำรวยอย่างล้นหลาม คนที่จนก็จนอย่างน่าเอ็นดู ด้วยเหตุนั้นเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่เกิดขึ้นจากความขาดแคลนทรัพยากร แต่เกิดขึ้นจากความละโมบของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด

ด้วยเหตุนั้นพวกเขาเห็นว่า คำว่าเศรษฐศาสตร์อิสลามไม่เพียงแค่ไม่เหมาะสมหรือผิดเท่านั้น แต่ยังทำให้หลงผิดไปด้วย ดังนั้นให้หยุดใช้คำว่า เศรษฐศาสตร์อิสลามเสีย และเสนอศัพย์ใหม่ให้ ซึ่งมาจากปรัชญาอิสลาม นั้นก็คือค่ำว่า “อิกติศอด” ซึ่งมาจากรากเดิมของคำว่า “กอสด” มีความหมายว่า ความสมดุล ในฐานะที่เท่าเทียมกัน เหมาะสมหรือกึ่งกลาง

ในแนวทางเดียวกันพวกเขาได้ปฎิเสฐและสลัดทิ้งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทั่วไป และพยายามที่จะสร้างและเรียบเรียงทฤษฎีใหม่ที่ได้มาจากการค้นคว้าจากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะห์ นักคิดในกลุ่มนี้นอกจาก Bagir as-Sadr แล้วก็ยังมี Abbas Mirakhor, Baqir al-Hasani, Kadim as-Sadr, Iraj Toutonchian, Hedayati คนอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น