วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ธุรกิจประกันในอิสลาม(Insurance of Islam)

ตะกาฟุล​ ​ธุรกิจประ​กัน​ใน​อิสลาม​

นอก​จาก​อาหาร​ ​เครื่องนุ่งห่ม​ ​ที่​อยู่​อาศัย​ ​ยารักษา​โรค​ ​หรือ​ที่​เรียกว่าปัจจัยสี่​จะ​มี​ความ​จำ​เป็น​สำ​หรับมนุษย์​แล้ว มนุษย์​ยัง​ต้อง​การหลักประ​กัน​ความ​มั่นคงปลอดภัย​ใน​การดำ​รงชีวิต​และ​การดำ​เนินธุรกิจการค้าของตน​ด้วย ดัง​นั้น​ ​นับตั้งแต่อดีต​ ​มนุษย์​จึง​หาหนทางที่​จะ​สร้าง​ความ​มั่นคงปลอดภัย​และ​มาตรการบรรเทา​ความ​สูญเสียต่างๆ​ใน​การดำ​รงชีวิต​และ​การทำ​ธุรกิจของตนหลากหลายวิธี​ ​เช่น​ ​จ้างคนคุ้มครอง​ ​จ่ายส่วย​ให้​แก่​เจ้า​เมือง​ ​เก็บรักษาพืชผล​หรือ​ผลผลิตของตัวเอง​ไว้​เพื่อ​ใช้​ใน​ยามขาดแคลน​ ​เป็น​ต้น

สัญชาตญาณ​ใน​การเตรียมตัวเพื่อ​ความ​มั่นคงปลอดภัย​และ​บรรเทาภาระ​ความ​เดือดร้อนนี้มี​อยู่​ใน​สิ่งมีชีวิตแม้​แต่สัตว์​ ​เช่น​ ​มดรู้จักสะสมเสบียง​ไว้​ใน​ภาวะขาดแคลน​ ​คนป่าหันมาปลูกพืช​และ​เลี้ยงสัตว์​เพื่อ​เป็น​หลักประ​กัน​ความ​ไม่​แน่นอน​ใน​อนาคต​ ​แม้​แต่นบียูซุฟเองก็สะสมเมล็ดข้าว​ไว้​เตรียมพร้อมสำ​หรับภาวะขาดแคลนที่​จะ​เกิดขึ้น​เป็น​เวลา 7 ปีตามคำ​ทำ​นายฝันของท่าน​ ​เป็น​ต้น

ศาสนาก็มีหลักคำ​สอนที่​จะ​ช่วย​เหลือสมาชิก​ใน​สังคมเช่น​กัน​ ​เช่น​ ​หลักคำ​สอนเรื่องการทำ​ทานที่มี​ใน​ทุกศาสนา

นอก​จาก​นี้​แล้ว​ ​รัฐก็มีหน้าที่หลัก​ใน​การรักษา​ความ​มั่นคงปลอดภัย​และ​บรรเทา​ความ​เดือดร้อน​ให้​แก่ประชาชนของตน​ด้วย​ ​นี่คือเหตุผลว่าทำ​ไมประชาชน​จึง​มีหน้าที่​ต้อง​จ่ายภาษี​ให้​แก่รัฐ บางประ​เทศที่​ใช้​นโยบายรัฐสวัสดิการอย่างเช่นอังกฤษก็ดำ​เนินนโยบายประ​กัน​สังคม​โดย​การเรียกเก็บภาษี​(เบี้ย)​ประ​กัน​สังคม​จาก​ประชาชน​ใน​อัตราสูง​โดย​รัฐรับประ​กัน​การรักษาพยาบาล​ให้​ฟรี​และ​มี​เงินบำ​นาญ​ให้​หลังการปลดเกษียณ

การประ​กัน​ภัยก่อนสมัยอิสลาม

ใน​สมัยก่อนหน้าอิสลาม​ ​เมื่อพ่อค้าชาวอาหรับ​จะ​นำ​กองคาราวานออกเดินทางไปค้าขาย​ยัง​แดน​ไกล​ ​ชาวอาหรับรู้ดีว่า​เส้นทาง​ใน​ทะ​เลทรายมีอันตราย​จาก​ทั้ง​โจร​และ​ภัยธรรมชาติ​ ​ดัง​นั้น​ ​ก่อนออกเดินทาง​ ​พ่อค้าชาวอาหรับก็​จะ​นำ​เงิน​ส่วน​หนึ่งมารวม​ไว้​เป็น​กองกลาง​โดย​ให้​คนที่​ไว้​ใจ​ได้​เป็น​ผู้​ดู​แล​และ​ตกลง​กัน​ว่า​ถ้า​หากพ่อค้าคน​ใด​ประสบภัย​หรือ​ความ​เสียหายระหว่างการเดินทางค้าขาย​ ​เงินกองกลางนี้​จะ​ถูกนำ​ไป​ช่วย​บรรเทาทุกข์​หรือ​ความ​เสียหาย​ให้​แก่พ่อค้าคน​นั้น​ ​หากกองคาราวานเดินทางกลับมา​โดย​ปลอดภัย​ ​เงินกองกลางก็​จะ​ถูกแบ่ง​ให้​ผู้​ดู​แลเงิน​ส่วน​หนึ่ง​เป็น​ค่าจ้าง​ ​ส่วน​ที่​เหลือก็​จะ​คืน​ให้​แก่สมาชิก​ผู้​จ่ายเงิน​ ​วิธีการเช่นนี้​ใน​ภาษาอาหรับเรียกว่า "ตะกาฟุล" ซึ่ง​หมาย​ถึง​ความ​ร่วมมือเพื่อ​ช่วย​เหลือ​กัน​ใน​หมู่คณะ

ประ​กัน​ภัยกลาย​เป็น​ธุรกิจ

เมื่อโลกเจริญก้าวหน้า​ไปตามกาลเวลา​และ​การดำ​เนินธุรกิจการค้ามี​ความ​สลับซับซ้อนขยายกว้างออกไปมากยิ่งขึ้น​ ​รัฐ​ไม่​สามารถ​ตอบสนอง​ความ​ต้อง​การของประชาชน​ ​พ่อค้า​และ​นักธุรกิจ​ใน​การ​ให้​หลักประ​กัน​ความ​ปลอดภัย​และ​การบรรเทา​ความ​เดือดร้อน​ได้​อย่างเพียงพอ​และ​ทันการ ภาระนี้​ส่วน​หนึ่ง​จึง​ถูกปล่อย​ให้​เอกชน​เข้า​มาดำ​เนินการ​กัน​เอง​ใน​รูปขององค์กรการกุศล​และ​องค์กรบรรเทาทุกข์​ ​เช่น​ ​สมาคมฌาปนกิจ​ ​สมาคมสงเคราะห์ต่างๆ​ ​และ​บริษัทประ​กัน​ภัย​ซึ่ง​ทำ​หน้าที่รับประ​กัน​วินาศภัย​และ​ประ​กัน​ชีวิตเพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของรัฐ​ใน​การดู​แล​ช่วย​เหลือ​และ​บรรเทาทุกข์ของสมาชิก​ใน​สังคม ดัง​นั้น​ ​การประ​กัน​ภัย​จึง​กลาย​เป็น​ธุรกิจขึ้นมา​ด้วย​ความ​จำ​เป็น​ของสถานการณ์

ธุรกิจประ​กัน​ใน​มุมมองของอิสลาม

ธุรกิจประ​กัน​ภัยอย่างที่​เรารู้จัก​ใน​ปัจจุบันนี้มีขึ้นมานานหลายร้อยปี​แล้ว​ใน​ประ​เทศตะวันตก​และ​เจริญก้าวหน้าอย่างรวด​เร็ว แต่​เนื่อง​จาก​ธุรกิจประ​กัน​ได้​คืบคลาน​เข้า​มาสู่​โลกอิสลามจนกลาย​เป็น​ความ​จำ​เป็น​ที่ขาดเสียมิ​ได้​ใน​การดำ​เนินธุรกิจสมัย​ใหม่​เช่นเดียว​กับ​สถาบันการเงินระบบดอกเบี้ยที่ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลาม​ ​ดัง​นั้น​ ​ใน​ช่วง​ 30-40 ปีที่ผ่านมา​ ​นักวิชาการมุสลิม​จึง​มองธุรกิจประ​กัน​จาก​มุมมองของอิสลาม​และ​เห็นว่าธุรกิจประ​กัน​โดย​หลักการ​แล้ว​สอดคล้อง​กับ​เจตนารมณ์ของอิสลาม​ ​แต่วิธีการดำ​เนินธุรกิจประ​กัน​ภัยมีบางสิ่งที่ขัดต่อบทบัญญัติ​และ​เจตนารมณ์ของอิสลาม​ ​เช่น

1) ธุรกิจประ​กัน​ภัยสมัย​ใหม่​มี​เรื่องของ​ความ​เสี่ยงแบบการพนัน​อยู่​ ​เช่น​ ​ข้อเสนอ​จะ​ให้​เงินชด​ใช้​แก่​ผู้​ซื้อประ​กัน​เป็น​วงเงิน​ถึง​ 1 แสนบาท​ถ้า​หาก​ผู้​ซื้อประ​กัน​จ่ายเงินเบี้ยประ​กัน​จำ​นวน​ 100 บาท​และ​เสียชีวิตลง​ใน​ระยะ​เวลา​ 1 ปี​ ​แต่​ถ้า​หาก​ผู้​ซื้อประ​กัน​ไม่​เสียชีวิต​ใน​ช่วงระยะ​เวลาดังกล่าว​ ​ผู้​เอาประ​กัน​ก็​จะ​สูญเสียเงิน​นั้น​ไป​เพราะ​ได้​ซื้อประ​กัน​นั้น​ไป​แล้ว​ ​ลักษณะของการประ​กัน​ดังกล่าวนี้​ไม่​ต่างอะ​ไรไป​จาก​การซื้อล็อตเตอรี่ที่หากว่า​ไม่​ถูกรางวัลก็​เสียเงินเปล่า​ ​แต่​ถ้า​หากถูกรางวัลก็​ได้​รับเงินก้อนโตไป​ ​ซึ่ง​ไม่​ต่างอะ​ไรไป​จาก​การพนันที่ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลาม

กรณีของการประ​กัน​วินาศภัยก็​เช่น​กัน​ ​ถ้า​หาก​ผู้​เอาประ​กัน​ซื้อประ​กัน​รถยนต์หนึ่งปี​และ​ไม่​มีอุบัติ​เหตุ​หรือ​รถ​ไม่​สูญหายตามเงื่อนไข​ ​ผู้​เอาประ​กัน​ก็​จะ​เสียเงินเบี้ยประ​กัน​ไป​และ​จะ​ได้​รับ​ส่วน​ลดค่า​เบี้ยประ​กัน​ใน​ปีถัดไป​ถ้า​หากมีการต่อประ​กัน​กับ​บริษัทเดิม​ ​แต่หากเปลี่ยนบริษัทประ​กัน​ก็​จะ​ไม่​ได้​รับประ​โยชน์​ใดๆ​จาก​ส่วน​ลดนี้​ ​ถ้า​หากเกิดอุบัติ​เหตุ​หรือ​รถยนต์ที่ทำ​ประ​กัน​หาย​ ​ผู้​เอาประ​กัน​ก็​จะ​ได้​รับการชด​ใช้​ตามที่​ได้​ตกลง​กัน​ไว้​ ​ถึง​แม้​ผู้​เอาประ​กัน​จะ​ได้​รับการชด​ใช้​เพื่อบรรเทาทุกข์​ ​แต่สัญญาประ​กัน​ภัยก็​ไม่​ต่างอะ​ไรไป​จาก​การพนัน​ ​และ​บริษัทประ​กัน​ก็​ไม่​ต่างอะ​ไรไป​จาก "เจ้ามือ"

2) เรื่องของ​ความ​ไม่​แน่นอนที่​จะ​เกิดขึ้น​ใน​ระหว่างสัญญา​ ​เพราะ​ทั้ง​ผู้​เอาประ​กัน​และ​ผู้​ประ​กัน​ต่างก็​ไม่​รู้ว่าอุบัติ​เหตุ​หรือ​ความ​ตาย​จะ​เกิดขึ้นเมื่อ​ใด​ ​และ​ทรัพย์สินที่​เสียหาย​นั้น​มีจำ​นวน​เท่า​ใด​ ​นักวิชาการอิสลาม​จึง​นำ​เรื่องนี้มา​เป็น​ประ​เด็นโต้​แย้งว่าธุรกิจประ​กัน​ภัย​ไม่​ใช่​การซื้อขาย​ใน​ความ​หมายของอิสลาม​ถึง​แม้​จะ​ใช้​คำ​ว่า "ซื้อประ​กัน" "ขายประ​กัน" ก็ตาม​ ​เพราะ​ใน​การซื้อขายตามหลักของอิสลาม​นั้น​ ​ทั้ง​ผู้​ซื้อ​และ​ผู้​ขาย​จะ​ต้อง​รู้ชัดเจน​ถึง​จำ​นวนสินค้า​และ​เวลาที่ส่งมอบ​ ​แต่ธุรกิจประ​กัน​ภัย​ไม่​สามารถ​ให้​คำ​ตอบ​ได้​ใน​เรื่องนี้

3) ประ​เด็นที่สำ​คัญคือบริษัทประ​กัน​ภัย​ใน​ปัจจุบัน​ไม่​ต่างอะ​ไรไป​จาก​สถาบันการเงิน​ใน​ระบบดอกเบี้ยที่​แสวงหากำ​ไร​โดย​การนำ​เงินเบี้ยประ​กัน​ส่วน​ใหญ่​ของลูกค้า​ไปบริหารเพื่อหาราย​ได้​ ​ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​แล้ว​ก็ทำ​โดย​การซื้อพันธบัตร​ ​การปล่อยกู้ระยะสั้น​ ​การเก็งกำ​ไร​ใน​ตลาดหุ้นเพื่อเอาดอกเบี้ย​และ​ราย​ได้​จาก​การเก็งกำ​ไรมาจัดสรร​เป็น​ผลประ​โยชน์​แก่​ผู้​เอาประ​กัน​ตามที่ตกลง​กัน​

สรุป​แล้ว​ ​ธุรกิจประ​กัน​ภัย​และ​ประ​กัน​ชีวิตที่ปฏิบัติ​กัน​อยู่​ใน​ปัจจุบัน​จึง​มีอะ​ไรที่ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลามมากกว่าธนาคารเสียอีก

ของดีที่ควรเก็บ​ไว้​ ​และ​ของเสียที่ควรแก้​ไข

จะ​เห็น​ได้​ว่าธุรกิจประ​กัน​ภัยสมัย​ใหม่​มี​ทั้ง​สิ่งที่สอดคล้อง​กับ​เจตนารมณ์​และ​วิธีการที่ขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลาม​อยู่​รวม​กัน

สิ่งดีที่สอดคล้อง​กับ​เจตนารมณ์ของอิสลามก็คือการ​ช่วย​เหลือ​กัน​ใน​หมู่​ผู้​เอาประ​กัน​โดย​การจ่ายค่า​เบี้ยประ​กัน​เพื่อ​ให้​บริษัทประ​กัน​เป็น​ผู้​บริหารงานรับประ​กัน แต่​เนื่อง​จาก​บริษัทประ​กัน​เป็น​เอกชน​และ​ดำ​เนินธุรกิจ​ ​ดัง​นั้น​ ​เป้าหมายของบริษัทประ​กัน​ก็คือกำ​ไร ยิ่งมี​ผู้​เอาประ​กัน​มีจำ​นวนมาก​ ​บริษัทประ​กัน​ก็ยิ่งมั่นคง​และ​ยิ่งเจริญเติบโต​ ​เพราะ​ธุรกิจประ​กัน​ก็​เหมือน​กับ​ธุรกิจ​อื่นๆ​ที่​ต้อง​ใช้​หลัก​ "จำ​นวนมาก" เป็น​ฐาน​ใน​การทำ​ธุรกิจ​ ​ถึง​แม้ธุรกิจประ​กัน​จะ​เป็น​ธุรกิจที่รับ​ความ​เสี่ยง แต่ก็​เป็น​ความ​เสี่ยงที่ถูกคำ​นวณมา​เป็น​อย่างดี​แล้ว​ว่า​อยู่​ใน​เกณฑ์ที่รับ​ได้​และ​ทำ​กำ​ไรดี​ ​เพราะ​ถึง​แม้คน​จะ​จ่ายเบี้ยประ​กัน​สุขภาพ​หรือ​ประ​กัน​รถยนต์​ ​แต่ก็​ไม่​มี​ใครอยาก​จะ​ป่วย​หรือ​อยาก​จะ​ขับรถชนใคร​หรือ​อยาก​ให้​ใครมาชน​ ​ดัง​นั้น​ ​ธุรกิจนี้​จึง​ต้อง​มีฝ่ายหนึ่ง​ได้​และ​ฝ่ายหนึ่งเสีย

ปัญหา​จึง​อยู่​ที่ว่า​จะ​ทำ​อย่างไรที่​จะ​ทำ​ลายร่องรอยของ​ความ​เสี่ยงเยี่ยงการพนันนี้​ให้​หมดไป​จาก​การธุรกิจประ​กัน ? และ​ทำ​ให้​ผู้​ที่ร่วมเอาประ​กัน​เปลี่ยน​ความ​รู้สึก​จาก​ "ความ​เสี่ยง" มา​เป็น "ความ​ช่วย​เหลือ​ซึ่ง​กัน​และ​กัน" หรือ​ที่ศัพท์ทางวิชาการอิสลามเรียกว่า​ "ตะกาฟุล"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น