วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เศรษฐศาสตร์อิสลามกับการบริโภค(The consume of islamic economics)

อิสลามแบ่งการบริโภคสินค้าออกเป็นขั้นดังนี้
1. ฎอรูรียะ ขั้นการบริโภคสินค้าที่จำเป็น เพียงเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดในโลกนี้เท่านั้น สินค้าประเภทนี้ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค

2. ฮาจยียะ ก็คือสินค้าฏอรูรียะนั่นแหละ เพียงแต่ว่ามีสเป็กดีขึ้นมาหน่อย หรือไม่ก็เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทำให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสาร แต่เอาแค่พอใช้ได้ก็แล้วกัน

3. กมาลียะ คือ การบริโภคสินค้าขั้นที่ดีที่สุด ซึ่งบางทีอาจเป็นสินค้าฟุ่มเฟื่อยสำหรับบางคนก็ได้ เช่นรถยนต์ราคาแพง เครื่องประดับต่างๆ ซึ่งจริงๆแล้วอิสลามก็ไม่ได้ถึงขนาดว่าจะห้ามใช้เลย แต่เมื่อคิดว่าตัวเองมีความสามารถพอที่จะซื้อหาของเหล่านี้ได้ ก็สามารถนำมาใช้ได้บ้าง

4. ตารอฟียะ คือการบริโภคสินค้าต้องห้าม เช่น สุรา เนื้อหมู เป็นต้น หรือการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยซะจนเกินขอบเขต ซึ่งอิสลามห้ามบริโภคสินค้าประเภทนี้อย่างเด็ดขาด

ต่อข้อถามที่ว่า ในสังคมปัจจุบันนี้จะมีสินค้าประเภท กมาลียะอยู่มากมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าบรรดาผู้ร่ำรวยในสังคมเขาใช้กัน เคยมีรุ่นน้องคนหนึ่งถามผมว่า มีเศรษฐีต่างประเทศคนหนึ่งใส่เสื้อราคาตัวละหลายแสนหรือหลายล้านบาท อย่างนี้ถือว่าเป็นการฟุ่มเฟือยหรือเปล่า ผมจึงตอบน้องเขาไปว่า จริงๆ แล้วการบริโภคอย่างนี้เราต้องพิจารณาถึงอำนาจซื้อของแต่ละบุคคล หมายความว่าถ้าเศรษฐีผู้นั้นมีความสามารถที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้ามาบริโภคได้ แม้ว่าจะราคาแพงเท่าไหร่ก็ตาม และเขาก็ไม่เดือดร้อนที่จะจ่ายออกไป เขาก็สามารถทำเช่นั้นได้

จริงๆ แล้วผมอยากให้เรามองภาพรวมทางเศรษฐกิจทั้งหมดมากกว่า เพราะการบริโภคสินค้าในแต่ละอย่าง ย่อมหมายถึงการกระจายรายได้จะเกิดขึ้นในสังคม ตามทฤษฎีการแบ่งแยกแรงงาน (Division of Labour) เพราะในแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องใช้ความเชี่ยวชาญของแรงงานในการผลิตมากมาย ในกรณีข้างต้น การผลิตเสื้อจะต้องเริ่มจากการผลิตเส้นใย ถักหรือทอ ตกแต่งให้สวยงาม ต้องทำการตลาด ขนส่ง พนังานขาย ฯลฯ ซึ่งต้องมีค่าตอบแทนแก่บุคคลเหล่านี้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นโดยส่วนตัวของผมเองเห็นว่า ถ้าหากมีความสามารถที่จะบริโภคสินค้าชนิดหนึ่ง แม้ว่าจะมีราคาที่แพงในสายตาผู้อื่นก็ตาม ย่อมเป็นเรื่องปกติสำหรับการบริโภคของบุคคลนั้นแต่อย่างใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น